Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Building Thailand’s Beveridge Curve: New Insights of Thailand’s Labour Markets with Internet Job Platforms
Latest discussion Paper
Building Thailand’s Beveridge Curve: New Insights of Thailand’s Labour Markets with Internet Job Platforms
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Latest aBRIDGEd
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
World Bank x PIER Climate Finance Policy Forum
Latest policy forum
World Bank x PIER Climate Finance Policy Forum
Market Design in Practice
Latest PIER Economics Seminar
Market Design in Practice
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn
Institute for
Economic Research
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
Latest announcement
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Blogblog
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/9221026d608e0c5bd027c503f7a24bde/e9a79/cover.png
6 September 2022
20221662422400000

เกษตรกรไทยกับโครงการพักชำระหนี้

Lathaporn Ratanavararak
สัดส่วนเกษตรกรผู้กู้ที่เข้าโครงการพักชำระหนี้ แยกตามโครงการที่เข้าร่วม
คลิกที่ชื่อโครงการเพื่อเลือกแสดงเฉพาะบางโครงการ; Double click ที่ชื่อโครงการ เพื่อดูเฉพาะโครงการนั้น ๆ โครงการเดียวหมายเหตุ: แท่งแต่ละสีคือการเข้าโครงการพักหนี้ 1 รูปแบบ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งการเข้าพักหนี้ 1 โครงการ (เช่น Pracharat, Rice farmers) หรือเข้ามากกว่า 1 โครงการ (combination) ซึ่งแสดงโดยชื่อที่มีเครื่องหมายบวก (เช่น Pracharat + Low income หมายถึงเข้าทั้งโครงการเกษตรประชารัฐและโครงการพักชำระหนี้ผู้มีรายได้น้อยพร้อมกัน) หรือแท่งสีเทาเข้มซึ่งแสดงถึงการเข้าร่วมพักหนี้โครงการอื่นหลายโครงการพร้อมกันใน combination อื่น ๆ (Other DM or other mixes)

โครงการพักชำระหนี้ (debt moratorium: DM) เป็นโครงการช่วยเหลือเกษตรกรไทยด้านสินเชื่อ โดยยกเว้นการจ่ายคืนเงินต้นในช่วงระหว่างพักหนี้ หรือขยายเวลาชำระคืนเงินต้น ควบคู่กับการลดดอกเบี้ยเงินกู้หรือยกเว้นการจ่ายดอกเบี้ยด้วยในบางโครงการ จากการศึกษาข้อมูลสุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่เป็นผู้กู้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 1 ล้านราย ในช่วงปี 2015 ถึง 2021 พบว่า

  • โครงการพักชำระหนี้มีทุกปี ปีละหลายโครงการ โดยมีเพียงประมาณ 1 ใน 3 ที่เป็นโครงการเพื่อช่วยลดผลกระทบจากภัยพิบัติต่อเกษตรกร (risk-contingent แสดงในแท่งสีเหลือง ส้ม หรือแดง) ส่วนที่เหลือเป็นแบบให้แก่เกษตรกรเป็นการทั่วไป (แสดงในแท่งสีฟ้าหรือน้ำเงิน) และมีการให้พักหนี้เป็นกรณีพิเศษ คือ มาตรการช่วยเหลือในช่วงโควิด-19 (แท่งสีเขียว)

  • โครงการพักหนี้มีเกษตรกรเข้าร่วมจำนวนมาก1 ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมามีเกษตรกรที่เป็นผู้กู้จาก ธ.ก.ส. เข้าร่วมโครงการพักหนี้ คิดเป็นสัดส่วนเฉลี่ย 43.6% ต่อปี และสูงถึง 77.1% ในปี 2021 โครงการพักหนี้ที่มีคนเข้าร่วมสูงที่สุดคือ โครงการขยายเวลาชำระหนี้ภายใต้มาตรการลดภาระหนี้เพื่อสนับสนุนการปฏิรูปภาคการเกษตรตามแนวทางเกษตรประชารัฐ ซึ่งมีสัดส่วนผู้เข้าร่วมสูงถึง 69% จากเกษตรกรผู้กู้ ธ.ก.ส. ทั้งหมดในกลุ่มตัวอย่าง

  • 41.4% ของเกษตรกรผู้กู้ ธ.ก.ส. เคยได้รับการพักหนี้มาแล้วมากกว่า 4 ปี เกษตรกร 1 คนสามารถเข้าร่วมพักหนี้ได้มากกว่า 1 โครงการในเวลาเดียวกัน จากการมีสินเชื่อหลายบัญชี ที่แต่ละบัญชีได้รับการพักหนี้ในต่างโครงการกัน (แท่งสีม่วง น้ำเงินเข้ม และเทาเข้ม) และการที่มีโครงการพักหนี้หลายโครงการต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรสามารถได้รับการพักหนี้ได้เรื่อย ๆ โดยการออกจากโครงการหนึ่งแล้วเข้าอีกโครงการต่อ

แต่การที่จะตอบคำถามได้ว่าโครงการพักชำระหนี้ช่วยเหลือเกษตรกรได้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด ช่วยเหลือเกษตรกรกลุ่มไหนได้บ้าง จำเป็นต้องมีการศึกษาผลของโครงการด้วยวิธีทางเศรษฐมิติอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยในโครงการวิจัย สนามทดลองเพื่อพัฒนาระบบประกันภัยพืชผลและสินเชื่อเกษตรด้วยเทคโนโลยีและเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งจะมีการเผยแพร่ผลการศึกษาฉบับเต็มต่อไป

ที่มาของข้อมูล: ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ภายใต้บันทึกความเข้าใจเรื่อง "การพัฒนาระบบการประกันภัยพืชผลการเกษตรของประเทศไทย" ระหว่างสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และสมาคมประกันวินาศภัยไทย


  1. การนับว่าเกษตรกรเข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้พิจารณาจากเกษตรกรมีสิทธิ์ได้เข้าโครงการ (eligibility) และยอดหนี้คงค้างไม่ลดลงหรือลดลงจากปีก่อนไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งแสดงถึงการใช้สิทธิ์พักหนี้ในการไม่ต้องจ่ายคืนเงินต้นในปีนั้น ส่วนเกษตรกรที่มีสิทธิ์พักหนี้แต่นำเงินมาจ่ายคืน จะถือว่าไม่ใช้สิทธิ์พักหนี้ ซึ่งแสดงในแท่งสีเทา (DM eligible, but not exploit)↩
Lathaporn Ratanavararak
Lathaporn Ratanavararak
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
The views expressed in this workshop do not necessarily reflect the views of the Puey Ungphakorn Institute for Economic Research or the Bank of Thailand.

Puey Ungphakorn Institute for Economic Research

273 Samsen Rd, Phra Nakhon, Bangkok 10200

Phone: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

Terms of Service | Personal Data Privacy Policy

Copyright © 2025 by Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.

Content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license.

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

Get PIER email updates

Facebook
YouTube
Email