Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Latest discussion Paper
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Latest aBRIDGEd
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Upcoming workshop
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
Latest PIER Economics Seminar
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn
Institute for
Economic Research
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
Latest announcement
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Blogblog
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/882f8eed284704b97165827012e4fae5/e9a79/cover.png
19 October 2022
20221666137600000

ชาวนาไทยกับการรับมือความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ

Chonnakan RittinonBoontida Sa-ngimnetSurasak Choedpasuporn

ภัยธรรมชาติเป็นความเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อชาวนาผู้มีผลผลิตและรายได้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศโดยตรง สะท้อนได้จากการศึกษาของ Chantarat et al. (2016) ที่พบว่า โดยเฉลี่ยแล้วร้อยละ 85 ของพื้นที่เพาะปลูกของครัวเรือนชาวนาไทยได้รับความเสียหายจากมหาอุทกภัยในปี ค.ศ. 2011 ส่งผลให้เกิดการสูญเสียรายได้จากการทำนาเฉลี่ยร้อยละ 75 ต่อครัวเรือน และอีกกว่าร้อยละ 20–25 ของครัวเรือนที่ต้องลดการบริโภคลง แสดงให้เห็นถึงความเปราะบางทางเศรษฐกิจของครัวเรือนชาวนาไทยต่อภัยธรรมชาติ ซึ่งนับเป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยในระยะยาว

บทความนี้จะมาพูดถึงความแปรปรวนของสภาพอากาศที่ชาวนาไทยต้องเผชิญ ก่อนจะพาผู้อ่านไปทำความเข้าใจถึงลักษณะการเกิดภัยและความรุนแรงของภัยพิบัติ ตลอดจนการจัดการความเสี่ยงของชาวนา

รูปที่ 1 แสดงให้เห็นถึงความแปรปรวนของสภาพอากาศที่เกษตรกรต้องเผชิญ สะท้อนได้จากดัชนี SPEI (Standardised Precipitation-Evapotranspiration Index) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความแห้งแล้งที่คำนวนจากข้อมูลปริมาณน้ำฝนร่วมกับข้อมูลอุณหภูมิรายเดือน ดัชนีที่มีค่าน้อยกว่า 0 แสดงให้เห็นถึงความแห้งแล้ง และดัชนีมีค่ามากกว่า 0 แสดงให้เห็นถึงความชื้น จากรูปที่ 1 แถวที่ 1 จะเห็นได้ว่าในฤดูกาลเพาะปลูกข้าวนาปี (แถบสีเขียว) ค่าของดัชนี SPEI มีความไม่แน่นอน โดยมีค่ามากกว่า 0 และน้อยกว่า 0 แตกต่างกันไปในแต่ละปี

รูปที่ 1: ดัชนี SPEI และพื้นที่นาที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ

ดัชนี SPEI และพื้นที่นาที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ

ที่มา: Laboratory of Climate Services an Climatology, กรมส่งเสริมการเกษตร

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาดัชนี SPEI ร่วมกับข้อมูลผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืชจากกรมส่งเสริมการเกษตร พบว่า ความเสียหายของพื้นที่นาในประเทศไทยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับดัชนี SPEI โดยจะสังเกตได้ว่า เมื่อค่าของดัชนี SPEI เข้าใกล้ 1 จะมีพื้นที่นาที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วม (รูปที่ 1 แถวที่ 1 และ 2) ในขณะที่เมื่อค่าของดัชนี SPEI เข้าใกล้ -1 จะมีพื้นที่นาที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ความแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (รูปที่ 1 แถวที่ 1 และ 3)

รูปที่ 2: อัตราส่วนขนาดพื้นที่ความเสียหายต่อขนาดพื้นที่เพาะปลูกข้าว แยกตามภูมิภาค และประเภทของภัยพิบัติ ระหว่างปี ค.ศ. 2015–2021

อัตราส่วนขนาดพื้นที่ความเสียหายต่อขนาดพื้นที่เพาะปลูกข้าว แยกตามภูมิภาค และประเภทของภัยพิบัติ ระหว่างปี ค.ศ. 2015–2021

ที่มา: กรมส่งเสริมการเกษตร

ทั้งนี้ ความเสี่ยงที่ชาวนาต้องเผชิญนั้นมีความความแตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาคและเวลา โดยจากรูปที่ 2 จะเห็นได้ว่า ภัยพิบัติส่วนใหญ่ที่เกษตรกรไทยต้องเผชิญได้แก่ น้ำท่วมและภัยแล้ง ซึ่งรวมถึงฝนทิ้งช่วง ทั้งนี้ ประเภทของภัยที่เกิดขึ้นนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละปี เช่น ในปี ค.ศ. 2016 ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่คือน้ำท่วม และในปี ค.ศ. 2019 ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่คือภัยแล้ง นอกจากนี้แล้ว ความรุนแรงของภัยพิบัตินั้นยังแตกต่างกันไปในแต่ละปี โดยจะเห็นได้ว่า ในปีที่เกิดภัยพิบัติในระดับรุนแรงนั้นมักจะเกิดขึ้นเป็นวงกว้างพร้อมกันในทุกภูมิภาค ต่างจากปีที่ภัยพิบัติไม่รุนแรงนั้นจะเกิดขึ้นในบางภูมิภาคเท่านั้น ทั้งนี้ ในแต่ละภูมิภาคมีลักษณะของการเกิดภัยพิบัติที่แตกต่างกัน โดยจะสังเกตได้ว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางมักจะเผชิญกับภัยแล้งเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ภาคใต้มักจะเผชิญกับน้ำท่วม ทั้งนี้ ชาวนาไทยมีการปรับตัวและการรับมือกับความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติที่หลากหลาย อย่างไรก็ดี จากการศึกษาของ Chantarat et al. (2019) พบว่า การจัดการความเสี่ยงของชาวนาด้วยการใช้กลยุทธ์พึ่งพาตนเอง (self-insurance) อย่างการขายสินทรัพย์ การใช้เงินออม การหารายได้เสริม การกู้เงิน หรือแม้กระทั่งการขอความช่วยเหลือจากชุมชนหรือเครือญาติ (social insurance) มีประสิทธิภาพในการจัดการกับความเสี่ยงสำหรับภัยขนาดเล็กเท่านั้น แต่ในกรณีภัยพิบัติขนาดใหญ่ที่เกิดเป็นวงกว้างนั้น จำเป็นที่จะต้องอาศัยกลไกอื่นในการรับมือ ซึ่งในปัจจุบันสองเครื่องมือหลักที่รัฐนำมาใช้เพื่อช่วยบรรเทาความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ได้แก่

  • โครงการให้ความช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ1 ซึ่งนับเป็นการบรรเทาความเสียหายขั้นพื้นฐานให้แก่ชาวนาในรูปของเงินเยียวยาอัตราไร่ละ 1340 บาท (ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ไร่)
  • โครงการประกันภัยข้าวนาปี2 เป็นการนำระบบตลาดเข้ามาช่วยจัดการความเสี่ยงของชาวนา โดยมีรัฐและ ธกส. ช่วยสนับสนุนค่าเบี้ยประกันให้บางส่วน สำหรับความคุ้มครองสูงสุดที่ชาวนาจะได้รับอยู่ที่อัตรา 1430 บาทต่อไร่

อย่างไรก็ดี ทั้งสองเครื่องมือหลักของรัฐสามารถแบ่งรับการสูญเสียต้นทุนของชาวนาจากภัยพิบัติได้รวมกันเพียงแค่ร้อยละ 60 ของต้นทุนการผลิตต่อไร่เท่านั้น ซึ่งการสูญเสียอีกกว่าร้อยละ 40 ของต้นทุนการผลิตต่อไร่ รวมถึงการสูญเสียโอกาสในการสร้างรายได้นั้น ถือเป็นส่วนที่ชาวนาต้องแบกรับไว้เอง

ท้ายที่สุด ท่ามกลางความไม่แน่นอนของสภาพอากาศที่ชาวนาต้องเผชิญ แต่เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการจัดการความเสี่ยงนั้นยังมีอยู่อย่างจำกัด จึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่และสถานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือนชาวนาไทย

เอกสารอ้างอิง

Chantarat, S., Lertamphainont, S., Samphantharak, K., & others. (2016). Floods and Farmers: Evidence from the Field in Thailand. Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.
Chantarat, S., Oum, S., Samphantharak, K., & Sann, V. (2019). Natural disasters, preferences, and behaviors: evidence from the 2011 mega flood in Cambodia. Journal of Asian Economics, 63, 44–74.

  1. คุณสมบัติของชาวนาที่มีสิทธิได้รับเงินเยียวยาความเสียหาย คือ (1) ได้ลงทะเบียนเกษตรกรแล้ว (2) ไร่นาที่เสียหายจะต้องอยู่ในเขตพื้นที่ภัยพิบัติที่ประกาศโดยผู้ว่าราชการจังหวัด (3) ไร่นาจะต้องได้รับความเสียหายอย่างสิ้นเชิง↩
  2. กรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปี 2565 คิดเบี้ยประกันภัยตามระดับความเสี่ยงและแบ่งความคุ้มครองออกเป็น 2 ขั้น ประกันพื้นฐาน (tier 1) มีค่าเบี้ยประกัน 99–218 บาทต่อไร่ตามระดับความเสี่ยง โดยจะได้ความคุ้มครองพื้นฐาน 1190 บาทต่อไร่ กรณีที่ชาวนาต้องการความคุ้มครองเพิ่มสามารถทำได้โดยซื้อ ประกันภัยส่วนเพิ่ม (tier 2) ซึ่งมีค่าเบี้ยประกันส่วนเพิ่มอีก 27–110 บาทต่อไร่ตามระดับความเสี่ยง โดยจะได้รับความคุ้มครองส่วนเพิ่มอีก 240 บาทต่อไร่↩
Chonnakan Rittinon
Chonnakan Rittinon
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Boontida Sa-ngimnet
Boontida Sa-ngimnet
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Surasak Choedpasuporn
Surasak Choedpasuporn
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
The views expressed in this workshop do not necessarily reflect the views of the Puey Ungphakorn Institute for Economic Research or the Bank of Thailand.

Puey Ungphakorn Institute for Economic Research

273 Samsen Rd, Phra Nakhon, Bangkok 10200

Phone: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

Terms of Service | Personal Data Privacy Policy

Copyright © 2025 by Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.

Content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license.

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

Get PIER email updates

Facebook
YouTube
Email