Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Latest discussion Paper
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Latest aBRIDGEd
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Upcoming workshop
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
Latest PIER Economics Seminar
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn
Institute for
Economic Research
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
Latest announcement
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Blogblog
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/ebeade022229ff343b50b1ac6925969b/41624/fig_cover.jpg
1 November 2023
20231698796800000

หลักประกันสินเชื่อของเกษตรกรไทย รูปแบบไหนควรถูกทบทวน?

Lathaporn RatanavararakSommarat Chantarat

เพียง 60% ของครัวเรือนเกษตรกรไทยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน (Attavanich et al., 2019) ในขณะที่กว่า 90% มีหนี้สิน และ 72% มีหนี้สินจากสถาบันการเงินในระบบ (Chantarat et al., 2023) บทความนี้จะชวนผู้อ่านมาสำรวจกันว่าเกษตรกรไทยที่กู้ในระบบใช้อะไรเป็นหลักประกันเพื่อให้ได้มาซึ่งการเข้าถึงสินเชื่อ และผู้กู้ที่ใช้หลักประกันสินเชื่อที่แตกต่างกันนั้นมีลักษณะการผิดนัดชำระหนี้แตกต่างกันอย่างไร

จากข้อมูลเกษตรกรผู้กู้ตัวอย่าง 1 ล้านรายที่สุ่มจากฐานข้อมูลผู้กู้รายย่อยของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ณ 31 มีนาคม 2566 เราสามารถแบ่งลักษณะการใช้หลักประกันสินเชื่อของเกษตรกรไทยออกเป็น 4 ลักษณะหลักคือ

  1. การใช้สินทรัพย์เป็นหลักประกัน (collateralized loan) ซึ่งประกอบไปด้วย อสังหาริมทรัพย์ สินทรัพย์ทางการเงิน และผลผลิตทางการเกษตร เช่น ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง สลากออมทรัพย์ เงินฝาก
  2. การใช้คนค้ำประกันในรูปแบบหนึ่งคนกู้หลายคนค้ำ (personal guaranteed loan) โดยมีคนได้เงินกู้เพียงแค่หนึ่งคนในหนึ่งสัญญา ส่วนผู้ค้ำประกันที่เหลือเป็นเพียงผู้ค้ำและไม่ได้มีการเบิกเงินกู้ออกไปด้วย
  3. การใช้การค้ำประกันแบบร่วมกันค้ำทุกคน (joint liability loan) หรือเรียกว่าสินเชื่อกลุ่ม ซึ่งเกษตรกรรวมกลุ่มกันมากู้ แต่ลักษณะจะต่างจาก (2) ตรงที่ทุกคนเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกัน และทุกคนมีสิทธิเบิกเงินกู้ในส่วนของตัวเองออกไป โดย ธ.ก.ส. ได้มีการใช้กลไกสินเชื่อกลุ่มเกษตรกรมานานกว่า 30 ปี พร้อม ๆ กับ microfinance ในต่างประเทศที่ใช้กลไกนี้ในการเปิดโอกาสให้ผู้กู้ที่มีศักยภาพแต่ขาดหลักประกันสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ ภายใต้สมมุติฐานว่า เมื่อเกษตรกรต้องรวมกลุ่มกันมากู้และจะต้องรับผิดชอบในการชำระหนี้ร่วมกัน (joint liability) จะสามารถสร้าง “กลไกกลุ่ม” จากความรู้จักและความสัมพันธ์ทางสังคมของสมาชิก ในการคัดกรองผู้กู้ที่มีคุณภาพมาร่วมกู้ (screening) ในการดูแลตรวจสอบการใช้เงินกู้และการคืนเงินของสมาชิกภายในกลุ่มกันเอง (monitoring) ตลอดถึงในการบังคับชำระหนี้ของสมาชิกในกลุ่ม (enforcement) ทำให้ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อให้กับสมาชิกทุกคนได้โดยไม่ต้องอาศัยหลักประกันอื่น (Ghatak & Guinnane, 1999) ซึ่งงานวิจัยในอดีตที่สำคัญอย่าง Siamwalla et al. (1990) ก็ได้เคยยกย่องกลไกสินเชื่อกลุ่มของ ธ.ก.ส. ว่าเป็นนวัตกรรมทางการเงินที่สำคัญที่ได้ช่วยให้เกษตรกรไทยสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. การใช้สินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน (unsecured loan) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อหมุนเวียนที่เกษตรกรต้องกู้ทุกปี และได้รวมสินเชื่อที่มีการค้ำประกันด้วยสิทธิเข้าไปด้วย เช่น สิทธิการเช่า สิทธิการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก ประมาณ 0.1% ของบัญชีสินเชื่อที่มีการค้ำด้วยสิทธิ
รูปที่ 1: สัดส่วนผู้กู้และโอกาสการผิดนัดชำระหนี้รายกลุ่มผู้กู้ แยกตามการใช้หลักประกันสินเชื่อ

สัดส่วนผู้กู้และโอกาสการผิดนัดชำระหนี้รายกลุ่มผู้กู้ แยกตามการใช้หลักประกันสินเชื่อ

ที่มา: ข้อมูลจาก ธ.ก.ส. วิเคราะห์โดยผู้เขียน หมายเหตุ: โอกาสผิดนัดชำระหนี้รายผู้กู้แต่ละค่า คำนวณจากสัดส่วนจำนวนผู้กู้ที่มีหลักประกันประเภทนั้น ๆ ที่ผิดนัดชำระหนี้ต่อจำนวนผู้กู้ที่มีหลักประกันประเภทนั้น ๆ ทั้งหมด เช่น ผู้กู้ที่มีสินเชื่อกลุ่มเพียงอย่างเดียวคิดเป็นสัดส่วน 4% จากผู้กู้ทั้งหมด และ 49% ของผู้กู้ที่มีสินเชื่อกลุ่มเพียงอย่างเดียวมีสถานะผิดนัดชำระหนี้

รูปที่ 1a แสดงสัดส่วนของเกษตรกรผู้กู้แยกตามลักษณะของการใช้หลักประกันสินเชื่อ และโอกาสการผิดนัดชำระหนี้ของแต่ละกลุ่ม ซึ่งพบว่า ในภาพรวม ผู้กู้เกษตรกรไทยมีสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันมากที่สุด (56% ของผู้กู้) ตามมาด้วยกลุ่มที่มีสินเชื่อที่ใช้สินทรัพย์เป็นหลักประกัน (53% ของผู้กู้) กลุ่มที่มีสินเชื่อที่ใช้หนึ่งคนกู้หลายคนค้ำ (43% ของผู้กู้) และมีเพียง 15% ของผู้กู้ที่ยังใช้สินเชื่อกลุ่ม

ครึ่งหนึ่งของผู้กู้เกษตรกรไทยมีการใช้หลักประกันหลายประเภทในการเข้าถึงสินเชื่อ โดยจาก 100% ของผู้กู้เกษตรกร เราพบว่า กลุ่มที่มีโอกาสผิดนัดชำระหนี้ต่ำที่สุด (5% ในรูป 1b) คือกลุ่มที่มีเพียงสินเชื่อที่ใช้สินทรัพย์เป็นหลักประกัน (19% ของผู้กู้) ตามมาด้วยกลุ่มที่มีทั้งสินเชื่อที่ใช้สินทรัพย์เป็นหลักประกัน ร่วมกับสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันหรือสินเชื่อที่ใช้หนึ่งคนกู้หลายคนค้ำ (รวมเป็น 28% ของผู้กู้ แสดงโดยตัวเลขสีเทา) และโอกาสผิดนัดชำระหนี้จะเริ่มสูงขึ้นเกือบเท่าตัวสำหรับกลุ่มที่มีเฉพาะสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน และ/หรือสินเชื่อที่ใช้หนึ่งคนกู้หลายคนค้ำเท่านั้น (รวมเป็น 38% ของผู้กู้ แสดงโดยตัวเลขสีดำ)

และที่น่าสนใจก็คือ ผู้กู้ที่มีสินเชื่อกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่ไม่ได้มีสินทรัพย์อื่นเป็นหลักประกัน กลับเป็นกลุ่มที่มีโอกาสผิดนัดชำระหนี้สูงที่สุด (แสดงโดยตัวเลขสีแดง) และอาจสูงเกิน 40% ซึ่งสูงกว่ากลุ่มที่มีเพียงสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันเพียงอย่างเดียวไปกว่าเท่าตัว (โอกาสผิดนัดชำระหนี้ 21%)

สถิติเบื้องต้นนี้ก็นำมาซึ่งคำถามว่าสินเชื่อกลุ่มที่เคยเป็นกลไกสำคัญในการสร้างหลักประกันให้เกษตรกรไทยเข้าถึงสินเชื่อได้ในอดีต ยังทำงานอย่างมีประสิทธิภาพอยู่หรือไม่ในการคัดกรองคุณภาพผู้กู้ ในการตรวจสอบและบังคับชำระหนี้? แล้วสินเชื่อกลุ่มยังมีบทบาทในการช่วยให้เกษตรกรไทยเข้าถึงสินเชื่อมากน้อยเพียงใด? และควรมีการปรับเปลี่ยนอย่างไร? เป็นคำถามสำคัญสำหรับการศึกษาในเชิงลึกต่อไป

เอกสารอ้างอิง

Attavanich, W., Chantarat, S., Chenphuengpawn, J., Mahasuweerachai, P., & Thampanishvong, K. (2019). Farms, Farmers and Farming: A Perspective through Data and Behavioral Insights (Discussion Paper No. 122). Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.
Chantarat, S., Chawanote, C., Ratanavararak, L., Rittinon, C., Sa-ngimnet, B., & Adultananusak, N. (2023). Financial Lives and the Vicious Cycle of Debt among Thai Agricultural Households (Discussion Paper No. 204). Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.
Ghatak, M., & Guinnane, T. W. (1999). The economics of lending with joint liability: Theory and practice. Journal of Development Economics, 60(1), 195–228.
Siamwalla, A., Pinthong, C., Poapongsakorn, N., Satsanguan, P., Nettayarak, P., Mingmaneenakin, W., & Tubpun, Y. (1990). The Thai rural credit system: public subsidies, private information, and segmented markets. The World Bank Economic Review, 4(3), 271–295.
Lathaporn Ratanavararak
Lathaporn Ratanavararak
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Sommarat Chantarat
Sommarat Chantarat
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
The views expressed in this workshop do not necessarily reflect the views of the Puey Ungphakorn Institute for Economic Research or the Bank of Thailand.

Puey Ungphakorn Institute for Economic Research

273 Samsen Rd, Phra Nakhon, Bangkok 10200

Phone: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

Terms of Service | Personal Data Privacy Policy

Copyright © 2025 by Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.

Content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license.

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

Get PIER email updates

Facebook
YouTube
Email