Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Latest discussion Paper
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Latest aBRIDGEd
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Upcoming workshop
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
Latest PIER Economics Seminar
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn
Institute for
Economic Research
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
Latest announcement
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Blogblog
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/951e6c6eb5ff76430bb0b1e91ee33d34/e9a79/cover.png
23 November 2023
20231700697600000

โอกาสที่ไม่เท่าเทียมของการหางานในตลาดแรงงานไทย: หลักฐานจากประกาศงาน online

Nuttapol LertmethaphatNuarpear LekfuangfuNada Wasi

สถิติจากข้อมูลที่ได้มาจากการประกาศรับสมัครงาน online เสนอภาพสะท้อนถึงความต้องการแรงงานจากฝั่งนายจ้างได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในภาคธุรกิจที่มีการจ้างงานผ่าน online platform เป็นหลัก โดยข้อมูลจากแหล่งนี้ คือ ข้อมูลด้านอุปสงค์แรงงานโดยตรง ซึ่งต่างจากข้อมูลสำรวจภาวะการทำงานของประชากร (Labour Force Survey: LFS) ที่เป็นภาพของดุลยภาพตลาด (การมีงานทำและค่าจ้าง) และภาพฝั่งอุปทาน (ประชากรที่มีและไม่มีงานทำ) แต่ไม่มีภาพด้านอุปสงค์ ทำให้เวลาที่เราเห็นตัวเลขจาก LFS เช่น สัดส่วนของแรงงานนอกระบบที่มีการเพิ่มขึ้นตามอายุของแรงงาน เราไม่สามารถทราบได้ว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดจากการเลือกงานของตัวแรงงานเอง หรือเป็นเพราะว่าจำนวนงานที่เปิดรับแรงงานประเภทต่าง ๆ นั้นมันไม่เท่ากัน

จากการรวบรวมข้อมูลประกาศงานใน website แห่งหนึ่งในช่วงเดือนตุลาคม 2020 ถึงกรกฎาคม 2023 (โดยเป็นข้อมูลนี้ครอบคลุมนายจ้างกว่า 5,500 ราย และประกาศรับสมัครงานกว่าสามแสนฉบับ) เราพบหลักฐานที่ชัดเจนว่า ตลาดแรงงานไทยยังมีการกีดกันทางอายุและเพศสภาพ (เพราะกฎหมายแรงงานไทยยังไม่มีข้อกำหนดห้ามไม่ให้นายจ้างระบุลักษณะของผู้สมัครในประกาศงาน) แม้แต่งานที่รับผู้ที่จบปริญญาตรี หากแรงงานมีอายุเกิน 35 ปี โอกาสที่เปิดให้พวกเขาในตลาดแรงงานไทยก็มีไม่มากนัก

รูปที่ 1 แสดงสัดส่วนการประกาศงานที่มีการระบุอายุผู้สมัครงานตามระดับการศึกษา โดยจะเห็นได้ว่า สำหรับงานที่ต้องการผู้สมัครที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือต่ำกว่า ประมาณร้อยละ 60 นั้น มีการระบุว่าผู้สมัครต้องมีอายุไม่เกิน 36 ปี โดยส่วนมากเป็นการระบุว่าต้องมีอายุไม่เกิน 30 หรือ 35 ปี ขณะเดียวกันงานที่ต้องการผู้จบปริญญาโทขึ้นไป แม้สัดส่วนงานที่ระบุอายุจะน้อยกว่า แต่ก็คิดเป็นถึงร้อยละ 35 ของประกาศงานทั้งหมดในช่วงดังกล่าวที่ต้องการผู้ที่มีอายุไม่เกิน 36 ปี

รูปที่ 1: การระบุอายุที่มากที่สุดของผู้สมัครงานตามระดับการศึกษา

หากมาดูที่การระบุเพศของผู้สมัครในประกาศงาน (ตารางที่ 1) พบว่าการคัดผู้มีสิทธิสมัครงานด้วยเพศสภาพของแรงงานนั้นมีระดับที่น้อยกว่าการคัดด้วยเกณฑ์อายุ และการระบุเพศผู้สมัครนั้นพบมากในกลุ่มประกาศงานที่ใช้ทักษะต่ำ โดยงานที่ต้องการผู้จบการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี มีการระบุว่าต้องการเพศใดเพศหนึ่งเกือบร้อยละ 40 ส่วนงานที่ประกาศหาผู้จบการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป มีการระบุเพศเพียงร้อยละ 6 ทั้งนี้ งานส่วนใหญ่ที่ระบุว่าต้องการผู้ชายจะเป็นงานช่างเทคนิคหรืองานก่อสร้าง และงานส่วนใหญ่ที่ต้องการผู้หญิงจะเป็นงานทางบัญชีหรืองานเลขานุการ

ตารางที่ 1: สัดส่วนประกาศงานที่มีการระบุเพศของผู้สมัครงาน แบ่งตามระดับการศึกษา
ระดับการศึกษาขั้นต่ำ
เพศผู้สมัครมัธยมศึกษา/ปวช./ปวส.ปริญญาตรีปริญญาโทขึ้นไป
ไม่เลือก62.2%74.9%93.8%
ชาย23.7%14.3%3.8%
หญิง14.2%10.7%2.4%
100%100%100%

นอกจากนี้ เรายังพบว่า สำหรับกลุ่มที่จบปริญญาตรีหรือต่ำกว่า งานที่ไม่ได้มีการระบุเพศผู้สมัครเป็นงานที่ให้เงินเดือนเฉลี่ยสูง ส่วนงานที่ต้องการแรงงานที่มีทักษะสูงนั้น (จบปริญญาโทขึ้นไป) งานที่ระบุว่าต้องการเพศชายหรือไม่ระบุเพศให้เงินเดือนเฉลี่ยสูงกว่างานที่ระบุหาแค่แรงงานหญิง (รูปที่ 2)

รูปที่ 2: การระบุอายุที่มากที่สุดของผู้สมัครงานตามระดับการศึกษา
หมายเหตุ: เป็นข้อมูลจากประกาศงานร้อยละ 52 ของประกาศงานทั้งหมด เพราะประกาศงานที่เหลือมิได้มีการระบุเงินเดือน

เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่า แม้หลายภาคส่วนจะมีการพูดถึงทั้งเรื่องการแข่งขันที่เป็นธรรม การสนับสนุนให้แรงงานเข้ามาอยู่ในระบบ การส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ แต่กลับกลายเป็นว่า ตลาดแรงงานไทยยังคงให้การเลือกปฏิบัติในการรับสมัครงานเป็นเรื่องที่ทำได้โดยทั่วไปและถูกกฎหมาย ซึ่งต่างจากในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย กลุ่มประเทศยุโรป ที่การเลือกปฏิบัติ (ด้วยเพศสภาพ อายุ เชื้อชาติ หรือลักษณะอื่น ๆ ของบุคคล) เป็นเรื่องผิดกฎหมาย ผู้สมัครควรจะได้รับการประเมินจากความสามารถแท้จริงเป็นหลัก ไม่ใช่มาจากหลักความคิดตามบรรทัดฐานทางสังคมเดิมที่ว่า ผู้ชายต้องแข็งแรง ผู้หญิงต้องอ่อนโยน ช่างปรนนิบัติ หรือมีอคติจากอดีตว่าอายุเกิน 35 ปีนับว่าแก่เกินเริ่มงานใหม่ กรอบความคิดเหล่านั้น ทำให้งานหลายงานในประกาศงานในยุคสมัยของโลกดิจิทัลยังติดกรอบที่มาจากยุค Analog

ดังนั้น ความพยายามของนโยบายเพื่อสนับสนุนให้เกิดการมีงานทำของผู้สูงอายุ เช่น ในการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล ธุรกิจที่มีการจ้างงานผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี ขึ้นไปและมีเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท สามารถนำค่าจ้างมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้สองเท่า หรือการพูดถึงเรื่อง upskill/re-skill ต่าง ๆ คงไม่สามารถช่วยอะไรแรงงานได้มาก เพราะคนกลุ่มใหญ่ได้ถูกตัดสิทธิจากการเข้าแข่งขันในตลาดไปตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 40 ปี ยิ่งไปกว่านั้น ในปัจจุบัน แรงงานที่อายุ 36 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 66 (เมื่อสามสิบปีที่แล้ว คิดเป็นเพียงร้อยละ 44) ดังนั้น หากตลาดแรงงานไทย ยังคงตัดสิทธิกลุ่มแรงงานด้วยเลขอายุ ทำให้แรงงานหางานยากขึ้น และเปลี่ยนงานได้ยากขึ้น เราอาจต้องเผชิญกับสภาวะที่ประเทศไทยมีแรงงานนอกระบบมากขึ้น ขาดการคุ้มครองจากสวัสดิการ ทั้งนี้ การที่แรงงานไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปยังงานที่เหมาะสมกับทักษะของตนเอง ยังส่งผลให้ตลาดแรงงานขาดประสิทธิภาพอีกด้วย

Nuttapol Lertmethaphat
Nuttapol Lertmethaphat
Bank of Thailand
Nuarpear Lekfuangfu
Nuarpear Lekfuangfu
Universidad Carlos III de Madrid
Nada Wasi
Nada Wasi
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
The views expressed in this workshop do not necessarily reflect the views of the Puey Ungphakorn Institute for Economic Research or the Bank of Thailand.

Puey Ungphakorn Institute for Economic Research

273 Samsen Rd, Phra Nakhon, Bangkok 10200

Phone: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

Terms of Service | Personal Data Privacy Policy

Copyright © 2025 by Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.

Content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license.

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

Get PIER email updates

Facebook
YouTube
Email