Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Latest discussion Paper
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Latest aBRIDGEd
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Upcoming workshop
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
Latest PIER Economics Seminar
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn
Institute for
Economic Research
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
Latest announcement
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Blogblog
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/2be268df5c6b1f9da29514dae8b6b9de/e9a79/img_3.png
31 January 2024
20241706659200000

แค่ nudge พฤติกรรมทางการเงิน อาจไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาความยากจนได้

Chonnakan Rittinon

อคติในการตัดสินใจ (cognitive bias) คือความผิดพลาดในการตัดสินใจที่เกิดจากข้อจำกัดทางด้านการคิดวิเคราะห์ของสมองคน และเมื่อเป็นการตัดสินใจทางการเงิน อคติในการตัดสินใจอาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรมทางการเงินที่ไม่เหมาะสมได้

แม้จะมีข้อค้นพบจากงานวิจัยหลากหลายที่ชี้ให้เห็นว่า พฤติกรรมทางการเงินที่เหมาะสมจะสามารถยกระดับฐานะทางการเงินได้ แต่สำหรับคนจนที่ต้องเผชิญกับข้อจำกัดทางด้านทรัพยากรมากกว่าคนกลุ่มอื่นแล้วนั้น การมีพฤติกรรมทางการเงินที่เหมาะสม ก็อาจจะยังไม่เพียงพอที่จะสามารถยกระดับฐานะทางการเงินได้

หลักฐานจากการศึกษาล่าสุดโดย Ruggeri et al. (2023) ไม่พบความแตกต่างของอคติในการตัดสินใจระหว่างคนจน (low income) และคนจนที่สามารถยกระดับฐานะทางการเงินได้ (positive deviant) โดยการศึกษาดังกล่าวได้ทำการเปรียบเทียบอคติในการตัดสินใจทั้ง 10 ประเภทตามแนวทางของ WEIRD (Western, Educated, Industrialized, Rich and Democratic) โดยผลการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างจาก 27 ประเทศจำนวน 1,458 ราย พบว่า อคติที่พบในกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คือ ความกลัวความไม่แน่นอน (ambiguity bias) ซึ่งเป็นอคติในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่คุ้นเคยอยู่แล้วหรือทางเลือกที่มีข้อมูลที่มากกว่า (รูปที่ 1)

รูปที่ 1: สัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างที่พบอคติของการตัดสินใจในแต่ละด้าน

สัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างที่พบอคติของการตัดสินใจในแต่ละด้าน

ที่มา : Ruggeri et al. (2023)

ดังนั้น แม้ในภาพรวมจะไม่พบความแตกต่างของอคติในการตัดสินใจทั้ง 10 ประเภท แต่ก็มีผลการศึกษาที่น่าสนใจเกี่ยวกับอคติอัตราการคิดลด (temporal discounting)1 เพราะถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อฐานะทางการเงินในระยะยาว โดยพิจารณาร่วมกับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ประเทศที่อาศัยอยู่ รวมไปถึงลักษณะเศรษฐกิจ โดยในรูปที่ 2 แสดงสัดส่วนร้อยละของคนจนที่สามารถยกระดับฐานะทางการเงินพ้นจากความยากจนได้จาก 61 ประเทศทั่วโลก (Ruggeri et al., 2022) ภาพดังกล่าวชี้ให้ว่า นอกจากอคติในการตัดสินใจแล้ว สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน เช่น ประเทศที่อาศัยอยู่ หรือระบบเศรษฐกิจ อาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการยกระดับฐานะทางการเงินของคนจนได้เช่นกัน

รูปที่ 2: สัดส่วนของคนจนที่สามารถยกระดับฐานะทางการเงินได้แยกตามประเทศ

สัดส่วนของคนจนที่สามารถยกระดับฐานะทางการเงินได้แยกตามประเทศ

ที่มา : Ruggeri et al. (2022)

ผลการศึกษาพบว่า อัตราการคิดลดมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับความเหลื่อมล้ำภายในประเทศ อัตราเงินเฟ้อของประเทศ และระดับหนี้สินของบุคคล แต่มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางลบกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และระดับสินทรัพย์ของบุคคล (รูปที่ 3) อาจกล่าวได้ว่าคนในประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำและอัตราเงินเฟ้อสูง จะให้ความสำคัญกับการบริโภคในปัจจุบันมากกว่า เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงส่งผลให้ผลตอบแทนจากการออมต่ำกว่าการบริโภคในปัจจุบัน ในทางกลับกันคนในประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงอาจได้รับผลตอบแทนจากระบบเศรษฐกิจที่สูงกว่าจึงมีความสามารถที่จะอดออมได้มากกว่า

รูปที่ 3: ความสัมพันธ์ระหว่างอคติด้านการคิดลดและปัจจัยทางเศรษฐกิจต่าง ๆ

ความสัมพันธ์ระหว่างอคติด้านการคิดลดและปัจจัยทางเศรษฐกิจต่าง ๆ

ที่มา : Ruggeri et al. (2022)

ผลการศึกษาดังกล่าวนับว่าเป็นอีกหนึ่งหลักฐานที่สำคัญแก่นักวิจัยและผู้ดำเนินนโยบาย กล่าวคือ การ nudge พฤติกรรมลำเอียงทางการเงิน (financial bias) เพียงลำพัง อาจจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนได้ ทั้งนี้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้การแก้ไขปัญหาความยากจนนั้นประสบความสำเร็จได้

เอกสารอ้างอิง

Ruggeri, K., Ashcroft-Jones, S., Abate Romero Landini, G., Al-Zahli, N., Alexander, N., Andersen, M. H., Bibilouri, K., Busch, K., Cafarelli, V., Chen, J., & others. (2023). The persistence of cognitive biases in financial decisions across economic groups. Scientific Reports, 13(1), 10329.
Ruggeri, K., Panin, A., Vdovic, M., Većkalov, B., Abdul-Salaam, N., Achterberg, J., Akil, C., Amatya, J., Amatya, K., Andersen, T. L., & others. (2022). The globalizability of temporal discounting. Nature Human Behaviour, 6(10), 1386–1397.

  1. อัตราการคิดลด (temporal discounting) คือ อัตราของผลตอบแทนในอนาคตที่ให้ความพึงพอใจจากการรอมากกว่าความพึงพอใจที่ได้ในปัจจุบัน เช่น อัตราดอกเบี้ยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนใจจากการใช้เงินทันทีในวันนี้ ไปเป็นการออมเงินเพื่อให้มีเงินใช้ที่มากกว่าในอนาคต โดยคนที่มีอัตราการคิดลดสูงจะออมเงินน้อยกว่าคนที่มีอัตราการคิดลดต่ำ เมื่อเผชิญกับดอกเบี้ยเงินฝากเท่า ๆ กัน↩
Chonnakan Rittinon
Chonnakan Rittinon
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
The views expressed in this workshop do not necessarily reflect the views of the Puey Ungphakorn Institute for Economic Research or the Bank of Thailand.

Puey Ungphakorn Institute for Economic Research

273 Samsen Rd, Phra Nakhon, Bangkok 10200

Phone: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

Terms of Service | Personal Data Privacy Policy

Copyright © 2025 by Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.

Content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license.

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

Get PIER email updates

Facebook
YouTube
Email