Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Latest discussion Paper
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Latest aBRIDGEd
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Upcoming workshop
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
Latest PIER Economics Seminar
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn
Institute for
Economic Research
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
Latest announcement
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Blogblog
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/5c3c72083a039cb91f788afc617d27ff/41624/cover.jpg
30 April 2024
20241714435200000

ปัญหาฝุ่น PM2.5 ในเชียงใหม่จากข้อมูลเครื่องตรวจวัดกับข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม (2000–2024)

Surasak Choedpasuporn
ปัญหาฝุ่น PM2.5 ในเชียงใหม่จากข้อมูลเครื่องตรวจวัดกับข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม (2000–2024)

ปัญหาฝุ่น PM2.5 เริ่มเป็นที่สนใจของคนไทยเพียงไม่กี่ปีมานี้ ข้อมูลจาก Google Trends ในรูปที่ 1 แสดงให้เห็นว่าคนไทยเริ่มค้นหาข้อมูลฝุ่น PM2.5 เป็นวงกว้างครั้งแรกในช่วงต้นปี 2019

รูปที่ 1: แผนภาพระดับความสนใจ1 ค้นหาข้อมูลในหัวข้อ PM2.5 จากเว็บไซต์ Google ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา
ที่มา: เว็บไซต์ Google Trends

หลายคนคงมีคำถามว่า แล้วปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่เกิดขึ้นประจำทุกปีเสมือนเป็นอีกหนึ่งฤดูกาลของไทยเพิ่งเริ่มมีพร้อม ๆ กับที่คนไทยเริ่มให้ความสนใจในช่วงไม่กี่ปีมานี้ หรือ แท้จริงอาจมีมานานแล้ว? เพื่อตอบคำถามนี้ผู้เขียนได้ศึกษาข้อมูลฝุ่น PM2.5 ในจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นจังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในปัจจุบัน โดยทำการเชื่อมโยงข้อมูลจากเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศซึ่งมีการรวบรวมข้อมูลไว้บนแพลตฟอร์ม OpenAQ ร่วมกับข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมระบบ MODIS2 เพื่อพัฒนาแบบจำลองที่ช่วยให้สามารถประมาณค่าระดับฝุ่น PM2.5 ย้อนไปในอดีตได้จนถึงปี 2000

การเชื่อมโยงข้อมูลการตรวจวัดฝุ่น PM2.5 และข้อมูลจากดาวเทียมระบบ MODIS

แพลตฟอร์ม OpenAQ เป็นแพลตฟอร์มที่เผยแพร่ข้อมูลการตรวจวัดระดับความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 จากเครื่องมือตรวจวัดในจุดต่าง ๆ ทั่วโลกที่มีการขึ้นทะเบียนไว้ โดยมีทั้งข้อมูลจากเครื่องตรวจวัดของภาครัฐซึ่งเป็นเครื่องที่มีมาตรฐานสูง และข้อมูลจากภาคเอกชนที่อาจใช้เครื่องมือตรวจวัดรูปแบบประหยัด ข้อมูลมีการรายงานในลักษณะเรียลไทม์ทุก ๆ ชั่วโมง รวมทั้งมีการระบุตำแหน่งของเครื่องตรวจวัดในรูปแบบพิกัด GPS (Tan et al., 2022)

ผู้เขียนได้ศึกษาข้อมูลจากแพลตฟอร์มดังกล่าวพบว่าในจังหวัดเชียงใหม่มีเครื่องตรวจวัดที่ขึ้นทะเบียนไว้กับแพลตฟอร์มทั้งสิ้น 34 เครื่อง โดยเครื่องตรวจวัดที่ขึ้นทะเบียนไว้มีกระจายอยู่ทั้งในและนอกเขตอำเภอเมืองตามรูปที่ 2

อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากแพลตฟอร์มนี้มีข้อจำกัดที่สำคัญคือมีข้อมูลของจังหวัดเชียงใหม่ย้อนหลังไปถึงปี 2021 เท่านั้น เพื่อศึกษาข้อมูลฝุ่น PM2.5 ในอดีตของจังหวัดเชียงใหม่ได้ยาวนานขึ้น ผู้เขียนจึงทำการเชื่อมโยงกับข้อมูลอีกแหล่งหนึ่ง นั่นคือ ข้อมูลพารามิเตอร์ Aerosol Optical Depth (AOD) จากดาวเทียมระบบ MODIS

รูปที่ 2: แผนที่การกระจายตัวของเครื่องตรวจวัดระดับความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 ในจังหวัดเชียงใหม่จากเว็บไซต์ OpenAQ

แผนที่การกระจายตัวของเครื่องตรวจวัดระดับความเข้มข้นของฝุ่น PM<sub>2.5</sub> ในจังหวัดเชียงใหม่จากเว็บไซต์ OpenAQ

ที่มา: ข้อมูลระดับความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 ในจังหวัดเชียงใหม่จาก OpenAQ

ความลึกเชิงแสงของฝุ่นละออง หรือ Aerosol Optical Depth (AOD) (GISTDA, 2021) คืออะไร? ค่าพารามิเตอร์ AOD นี้คำนวณระดับความเข้มของแสงอาทิตย์ที่ถูกดูดซับหรือสะท้อนออกโดยฝุ่นละอองที่ลอยอยู่ในอากาศระหว่างทางที่แสงอาทิตย์เดินทางตกกระทบพื้นผิวโลกและสะท้อนกลับขึ้นมาที่ดาวเทียม (Huang et al., 2020)

ในการศึกษาของ Chu et al. (2016) พบว่ามีงานวิจัยที่มีการใช้ค่าพารามิเตอร์ AOD เป็นตัวแปรต้นในการประมาณค่าความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 มากกว่า 100 งาน ข้อได้เปรียบของข้อมูลชุดนี้คือเป็นข้อมูลที่ถูกเก็บจากดาวเทียมระบบ MODIS ซึ่งมีมาตั้งแต่ปี 2000 จึงทำให้มีข้อมูลย้อนหลังไปไกลกว่าข้อมูลฝุ่น PM2.5 จากแพลตฟอร์ม OpenAQ กว่า 20 ปี นอกจากนี้ ค่า AOD จะถูกบันทึกไว้ 2–4 ครั้งต่อวันที่ความละเอียด 1 ตร.กม. ต่อ พิกเซล (Lyapustin & Wang, 2018)

นอกจากนี้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมสามารถครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งจังหวัด ในขณะที่ข้อมูลจากเครื่องวัดของแพลตฟอร์ม OpenAQ จะครอบคลุมเฉพาะบริเวณที่มีเครื่องตรวจวัดตั้งอยู่เท่านั้น3

ผู้เขียนได้นำข้อมูลการรายงานระดับความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 จากแพลตฟอร์ม OpenAQ มาเชื่อมโยงกับข้อมูลพารามิเตอร์ AOD จากดาวเทียมระบบ MODIS ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ระหว่างปี 2021 จนถึงปัจจุบัน (เมษายน 2024) ข้อมูลที่เชื่อมโยงได้สำเร็จมีจำนวน 9,488 จุดข้อมูล โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (pearson's correlation) ระหว่างตัวแปรทั้ง 2 มีค่าเท่ากับ 0.7876 ผู้เขียนได้สุ่มจุดข้อมูล 1,000 จุดข้อมูล และทำการสร้างแผนภาพการกระจายตัวเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้ง 2 ได้ดังที่ปรากฎในรูปที่ 3

รูปที่ 3: แผนภาพความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 และค่าพารามิเตอร์ AOD จากการสุ่ม 1000 จุดข้อมูล
ที่มา: ข้อมูลระดับความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 ในจังหวัดเชียงใหม่จาก OpenAQ และ ข้อมูลค่าพารามิเตอร์ AOD จากดาวเทียมระบบ MODIS คำนวณโดยผู้เขียน

แล้วระดับความเข้มข้นฝุ่น PM2.5 ในอดีตเป็นอย่างไร

การประมาณค่าระดับความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 จากข้อมูลพารามิเตอร์ AOD นั้นสามารถทำได้หลายวิธีซึ่งแต่ละวิธีอาจมีความแม่นยำแตกต่างกัน ในที่นี้ผู้เขียนใช้แบบจำลอง Simple Linear Regression ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและตรงไปตรงมาตามตัวอย่างที่ใช้ในโครงการฝึกอบรม Applied Remote Sensing Training Program ของ NASA (Gupta & Follette-Cook, 2018) โดยแบบจำลองจะใช้ข้อมูลพารามิเตอร์ AOD จากดาวเทียมระบบ MODIS เป็นตัวแปรต้น และใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์ม OpenAQ เป็นตัวแปรตาม เนื่องจากแบบจำลองที่ใช้เป็นแบบจำลองระดับพื้นฐานและใช้ตัวแปรต้นเพียงตัวแปรเดียวทำให้แบบจำลองที่ได้มีความคลาดเคลื่อนค่อนข้างมาก โดยมีค่า R2R^2R2 (coefficient of determination) อยู่ที่ 0.6214

ผู้เขียนได้นำแบบจำลองที่ได้ไปใช้ประมาณค่าความเข้มข้นฝุ่น PM2.5 จากข้อมูล AOD ตั้งแต่ปี 2000 จนถึงปัจจุบัน พบว่าค่าเฉลี่ยรายเดือนของระดับความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 ในจังหวัดเชียงใหม่นั้นมีลักษณะเป็นฤดูกาลมาตั้งแต่ปี 2000 โดยเดือนมีนาคม-เมษายนมักเป็นช่วงที่ระดับความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 สูงที่สุดในแต่ละปีดังที่ปรากฎในรูปที่ 4

รูปที่ 4: ค่าเฉลี่ยรายเดือนของระดับความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 ในจังหวัดเชียงใหม่ที่ประมาณค่าได้จากแบบจำลองเทียบกับค่าฝุ่นจาก OpenAQ
ที่มา: ผู้เขียน

แม้ผลการศึกษาเบื้องต้นจะพบว่าปัญหาฝุ่น PM2.5 อาจมีมานานแล้ว แต่ไม่ได้แปลว่าเราควรยอมรับกับสภาพนี้ต่อไป จากผลการประมาณค่าในเดือนเมษายนช่วง 2 ปีล่าสุด (2023–2024) พบว่าค่าเฉลี่ยของความเข้มข้นฝุ่น PM2.5 มีค่าสูงขึ้นกว่าในอดีตมาก นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงแนวโน้มของปัญหาฝุ่น PM2.5 ในเชียงใหม่ที่อาจทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นก็เป็นได้

เอกสารอ้างอิง

Buya, S., Usanavasin, S., Gokon, H., & Karnjana, J. (2023). An Estimation of Daily PM2.5 Concentration in Thailand Using Satellite Data at 1-Kilometer Resolution. Sustainability, 15(13), 10024.
Chu, Y., Liu, Y., Li, X., Liu, Z., Lu, H., Lu, Y., Mao, Z., Chen, X., Li, N., Ren, M., & others. (2016). A review on predicting ground PM2.5 concentration using satellite aerosol optical depth. Atmosphere, 7(10), 129.
GISTDA. (2021). รู้ทัน PM 2.5 ด้วยข้อมูลจากอวกาศ.
Gupta, P., & Follette-Cook, M. (2018). Converting AOD to PM2.5: a statistical approach.
Huang, G., Chen, Y., Li, Z., Liu, Q., Wang, Y., He, Q., Liu, T., Liu, X., Zhang, Y., Gao, J., & Yao, Y. (2020). Validation and Accuracy Analysis of the Collection 6.1 <scp>MODIS</scp> Aerosol Optical Depth Over the Westernmost City in China Based on the Sun‐Sky Radiometer Observations From SONET. Earth and Space Science, 7(3).
Lyapustin, A., & Wang, Y. (2018). MCD19A2 MODIS/Terra+Aqua Land Aerosol Optical Depth Daily L2G Global 1km SIN Grid V006. NASA EOSDIS Land Processes Distributed Active Archive Center.
Tan, S., Wang, Y., Yuan, Q., Zheng, L., Li, T., Shen, H., & Zhang, L. (2022). Reconstructing global PM2.5 monitoring dataset from OpenAQ using a two-step spatio-temporal model based on SES-IDW and LSTM. Environmental Research Letters, 17(3), 034014.

  1. ระดับความสนใจเป็นการนับจำนวนครั้งการค้นหาข้อมูลในหัวข้อที่สนใจเปรียบเทียบกับจำนวนครั้งการค้นหาข้อมูลที่มากที่สุดในหัวข้อเดียวกัน มีค่าระหว่าง 0–100 โดย 100 หมายถึงการค้นหาเกิดขึ้นสูงสุด และ 0 หมายถึง ไม่มีการค้นหาหรือมีน้อยมาก↩
  2. Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer ขององค์การอวกาศแห่งชาติของประเทศอเมริกา (NASA)↩
  3. จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ 20,170 ตร.กม. สมมุติว่าเครื่องวัดหนึ่งเครื่องจากแพลตฟอร์ม OpenAQ สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้ 1 ตร.กม. ข้อมูลจากดาวเทียม จึงมีความครอบคลุมเชิงพื้นที่มากกว่าข้อมูลจากแพลตฟอร์ม OpenAQ (ที่มีเพียง 34 เครื่องวัด) ถึงเกือบ 600 เท่า↩
  4. แบบจำลองสามารถปรับปรุงให้แม่นยำขึ้นได้ในอนาคต เช่น ในการศึกษาของ Buya et al. (2023) มีการเพิ่มเติมตัวแปรต้นอื่น ๆ เช่น ช่วงเวลาของปี อุณหภูมิ และความสูงของพื้นที่ และใช้แบบจำลอง machine learning เช่น Random Forest โดยแบบจำลองที่ได้มี R2R^2R2 อยู่ที่ 0.71↩
Surasak Choedpasuporn
Surasak Choedpasuporn
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
The views expressed in this workshop do not necessarily reflect the views of the Puey Ungphakorn Institute for Economic Research or the Bank of Thailand.

Puey Ungphakorn Institute for Economic Research

273 Samsen Rd, Phra Nakhon, Bangkok 10200

Phone: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

Terms of Service | Personal Data Privacy Policy

Copyright © 2025 by Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.

Content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license.

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

Get PIER email updates

Facebook
YouTube
Email