Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Latest discussion Paper
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Latest aBRIDGEd
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Upcoming workshop
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
Latest PIER Economics Seminar
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn
Institute for
Economic Research
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
Latest announcement
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Blogblog
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/a88dab8b57ba3ea0052b8a8bf89b0d50/e9a79/cover.png
24 October 2024
20241729728000000

โอกาสของผู้กู้ที่เคยมีหนี้เสีย และวัฒนธรรมการใช้ข้อมูลเครดิตในระบบการเงินไทย

Sommarat ChantaratLathaporn RatanavararakPhakin Piriyakitsakul

เป้าประสงค์สำคัญของการมีข้อมูลเครดิตที่ครบถ้วนและครอบคลุมก็เพื่อช่วยให้สถาบันการเงินสามารถปล่อยสินเชื่อตามศักยภาพและคิดดอกเบี้ยตามความเสี่ยงของผู้กู้ และในขณะเดียวกันก็สามารถ reward พฤติกรรมการชำระหนี้ที่ดีของผู้กู้ได้ และหากผู้กู้เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงคุณค่าของการมีประวัติการชำระหนี้ที่ดี ก็จะช่วยเสริมสร้างพฤติกรรมการชำระหนี้ที่ดีของผู้กู้ด้วยอีกต่อหนึ่ง ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมการปล่อยสินเชื่อที่ดี (good credit culture) ในระบบการเงินได้ในที่สุด

เรามักจะเห็นได้จากตัวอย่างในต่างประเทศ ที่ผู้กู้มักให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมคะแนนเครดิต (credit score) ทำให้มีความกระตือรือร้นในการชำระหนี้ให้ตรงเวลา หรือในกลุ่มผู้กู้ที่พลาดพลั้งไปเป็นหนี้เสีย ก็พยายามกลับตัวเพื่อพัฒนา credit score ของตนเอง เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้สินเชื่อและในต้นทุนที่ไม่สูงมากในอนาคต แต่ในประเทศไทย ผู้กู้จำนวนมากอาจยังไม่รับรู้และเข้าใจถึงวัฒนธรรมการใช้ข้อมูลเครดิตข้างต้น จนทำให้ผู้กู้ที่มีหนี้เสียบางกลุ่มเลือกที่จะไม่พยายามแก้หนี้เพราะอาจเข้าใจว่าการเคยมีประวัติเป็นหนี้เสีย จะตัดโอกาสในการได้สินเชื่อใหม่ในอนาคต

ผู้กู้กลับตัวที่เคยผิดนัดชำระหนี้มาก่อนและกลับมาจ่ายได้ตามปกติแล้ว ได้รับโอกาสมากน้อยเพียงใดในการได้สินเชื่อใหม่ เปรียบเทียบกับผู้กู้รายใหม่ที่ไม่เคยมีประวัติการกู้ในระบบมาก่อน? ข้อมูลสินเชื่อรายสัญญาที่ปล่อยใหม่ในปี 2566 ทั้งสินเชื่อธุรกิจจากข้อมูลที่ธนาคารพาณิชย์รายงานต่อธนาคารแห่งประเทศไทย และสินเชื่อรายย่อยจากข้อมูลเครดิตบูโร ในรูปที่ 1 แสดงให้เห็นว่า สถาบันการเงินยังให้ความสำคัญกับการปล่อยสินเชื่อใหม่ให้กับลูกหนี้ที่กลับตัว โดยหากมามองสินเชื่อรายย่อย พบว่า การปล่อยสินเชื่อใหม่โดยรวมนั้นให้แก่ผู้กู้กลับตัว (สีเหลือง) มากกว่าผู้กู้รายใหม่ที่ยังไม่เคยมีประวัติการกู้ในระบบ (สีน้ำเงิน) โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภค (PL, O/D) สินเชื่อจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Specialized Financial Institutions; SFIs) สินเชื่อเพื่อการเกษตร สินเชื่อเพื่อทำธุรกิจ (รวม Nano-finance) และสินเชื่ออื่น ๆ โดยในภาพรวม จากกลุ่มลูกหนี้กลับตัวทั้งหมด มี 34% ที่ได้สินเชื่อใหม่ในปี 2566 และสินเชื่อใหม่ที่ให้แก่ลูกหนี้กลับตัวมีทั้งให้กับลูกหนี้ที่กลับตัวมาไม่เกิน 1 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ SFIs ในสินเชื่อเกษตรและสินเชื่ออื่นๆ และลูกหนี้ Non-bank เช่าซื้อ ส่วนธนาคารพาณิชย์และ Non-bank บัตรเครดิต ส่วนใหญ่ให้สินเชื่อใหม่กับกลุ่มลูกหนี้ที่ออกจาก NPL มาแล้วมากกว่า 3 ปี

ในขณะเดียวกัน สถาบันการเงินมีแนวโน้มปล่อยสินเชื่อธุรกิจให้แก่กลุ่มผู้กู้รายใหม่ในสัดส่วนบัญชีที่มากกว่าผู้กู้กลับตัว แต่ขนาดของสินเชื่อเฉลี่ยที่ให้แก่ผู้กู้กลับตัวนั้นสูงกว่ากลุ่มผู้กู้รายใหม่ประมาณ 3 เท่า โดยกลุ่มลูกหนี้กลับตัว ส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลากลับตัวโดยเฉลี่ยประมาณ 32 เดือนจึงได้สินเชื่อใหม่ เมื่อพิจารณาแยกตามขนาดธุรกิจ พบว่าสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ (Corp) สินเชื่อเปิดใหม่มีสัดส่วนให้แก่กลุ่มลูกหนี้กลับตัวมากกว่าผู้กู้รายใหม่ซึ่งแทบจะไม่มีเลย

ผลข้างต้นแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมการใช้ข้อมูลเครดิตที่ดี ที่ควรส่งเสริมให้ลูกหนี้ได้รับรู้ในวงกว้าง เพื่อผลักดัน credit culture ที่ดีของระบบการเงินไทย

รูปที่ 1: สัดส่วนจำนวนบัญชีสินเชื่อเปิดใหม่ในปี 2566 แยกตามประเภทผู้กู้ที่ได้รับสินเชื่อใหม่

สัดส่วนจำนวนบัญชีสินเชื่อเปิดใหม่ในปี 2566 แยกตามประเภทผู้กู้ที่ได้รับสินเชื่อใหม่

ที่มา: ข้อมูลสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์รายงานต่อธนาคารแห่งประเทศไทยและเครดิตบูโร คำนวณโดยผู้เขียนหมายเหตุ: Corp = corporate; PL = personal loan สินเชื่ออุปโภคบริโภค; O/D = overdraft การกู้เบิกเงินเกินบัญชี; HP = hire purchase loan สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า; CC = credit card สินเชื่อบัตรเครดิต; Agri = loan for agriculture; Bus = business loan; HL = home loan; SFIs = สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Specialized Financial Institutions); Non-bank = สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร หนึ่งกล่องสี่เหลี่ยมแต่ละอันรวมกันเป็นสัดส่วน 100% ของบัญชีสินเชื่อเปิดใหม่ในปี 2566; กลุ่มลูกหนี้แบ่งกลุ่มตามสถานะ ณ เดือนที่เปิดบัญชีใหม่ ตั้งแต่มกราคมถึงธันวาคม 2566 โดยหากผู้กู้มีบัญชีที่เป็นหนี้เสีย (NPL) 1 บัญชี จะถือว่าเป็นผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้ ตามหลักการ conservative และประวัติการเป็นหนี้เสียดูย้อนหลังไปถึงปี 2557; จำนวนลูกหนี้มีการนับซ้ำ กรณีลูกหนี้มีหลายสถานะและต่างช่วงเวลา เช่น เคยเป็น NPL และกลับมาเป็นปกติในเดือนสิงหาคม มีการเปิดบัญชีใหม่ในเดือนมีนาคมและเดือนตุลาคม ผู้กู้รายนี้จะถูกนับทั้งในกลุ่มผิดนัดชำระหนี้สำหรับการเปิดบัญชีใหม่ในเดือนมีนาคม และนับเป็นกลุ่มกลับตัวสำหรับการเปิดบัญชีใหม่ในเดือนตุลาคม; ผู้กู้ใหม่จะถูกนับเป็นผู้กู้ใหม่เฉพาะในเดือนแรกที่มีข้อมูลใน NCB หลังจากเดือนแรกแล้ว หากมีการเปิดบัญชีใหม่อีกจะถูกจัดไปอยู่กลุ่มอื่น
Sommarat Chantarat
Sommarat Chantarat
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Lathaporn Ratanavararak
Lathaporn Ratanavararak
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Phakin Piriyakitsakul
Phakin Piriyakitsakul
Bank of Thailand
The views expressed in this workshop do not necessarily reflect the views of the Puey Ungphakorn Institute for Economic Research or the Bank of Thailand.

Puey Ungphakorn Institute for Economic Research

273 Samsen Rd, Phra Nakhon, Bangkok 10200

Phone: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

Terms of Service | Personal Data Privacy Policy

Copyright © 2025 by Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.

Content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license.

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

Get PIER email updates

Facebook
YouTube
Email