Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Latest discussion Paper
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Latest aBRIDGEd
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Upcoming workshop
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
Latest PIER Economics Seminar
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn
Institute for
Economic Research
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
Latest announcement
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Blogblog
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/d237bd9ef5ef706d02bb9a0625307cfa/41624/cover.jpg
25 February 2025
20251740441600000
PIER Digest Series

Solar roof กับ นโยบายจูงใจให้เกิดการติดตั้งในครัวเรือน

Surasak Choedpasuporn
Solar roof กับ นโยบายจูงใจให้เกิดการติดตั้งในครัวเรือน

ในปัจจุบันระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคา (solar roof)1 เป็นที่สนใจของครัวเรือนอย่างแพร่หลายมากขึ้นในหลายประเทศ มีครัวเรือนจำนวนมากสนใจลงทุนติดตั้ง solar roof เนื่องจากระบบดังกล่าวช่วยให้ผู้ที่ติดตั้งสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนได้มาก อีกทั้งยังเป็นระบบที่มีอายุการใช้งานที่ยาวนานนับสิบปีโดยไม่จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษามากนัก นอกจากนี้ ภาครัฐในหลายประเทศได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของ solar roof ในการช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนและถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นประเทศที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำ (low carbon) ได้

อย่างไรก็ดี การติดตั้งระบบ solar roof จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนที่สูง ทำให้บางครัวเรือนไม่สามารถติดตั้งระบบได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการจูงใจให้ครัวเรือนสนใจลงทุนติดตั้งระบบมากขึ้น หลายประเทศจึงมีนโยบายส่งเสริมที่แตกต่างกันไป สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา หลายรัฐได้เลือกใช้นโยบายระบบหักลบจากหน่วยไฟฟ้าที่ประชาชนใช้ไฟฟ้าในเดือนถัดไป (Net Energy Metering หรือ NEM) ซึ่งเป็นการให้เครดิตส่วนลดในกรณีที่ครัวเรือนผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าไฟฟ้าที่ใช้ หมายความว่า เมื่อครัวเรือนติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคา และผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าที่ใช้ในครัวเรือน ไฟฟ้าส่วนเกินนี้จะถูกแปลงเป็นเครดิตส่วนลดในบิลค่าไฟฟ้าของเดือนถัดไป โดยที่ 1 หน่วยของไฟฟ้าส่วนเกินจะถูกแปลงเป็นส่วนลดเทียบเท่ากับค่าไฟฟ้า 1 หน่วยในเดือนถัดไป

ถึงแม้ว่านโยบาย NEM นี้จะช่วยดึงดูดครัวเรือนจำนวนมากให้ลงทุนติดตั้ง solar roof แต่ทว่านโยบายดังกล่าวกลับส่งผลลบต่อครัวเรือนในบางกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนที่มีความมั่งคั่งน้อย กล่าวคือ นโยบาย NEM ทำให้เกิดการผลักภาระต้นทุนคงที่ไปให้กับครัวเรือนที่ไม่มีการติดตั้ง solar roof ซึ่งส่วนใหญ่เป็นครัวเรือนที่มีความมั่งคั่งน้อย ผลที่ตามมาคือ ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยต่อหน่วยสำหรับครัวเรือนที่มีความมั่งคั่งน้อยและไม่มีการติดตั้ง solar roof มีราคาที่สูงขึ้น นำไปสู่ความไม่เท่าเทียมกันในสังคม

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บางรัฐ เช่น รัฐแคลิฟอร์เนียมีการทบทวนนโยบาย NEM หลายครั้งเพื่อลดปัญหาดังกล่าว ปัจจุบันรัฐแคลิฟอร์เนียได้เปลี่ยนมาใช้นโยบาย NEM 3.0 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2023 โดย NEM 3.0 ลดมูลค่าของการให้เครดิตส่วนลดเหลือเพียง 25% การตัดสินใจลดมูลค่าของเครดิตนี้อาจช่วยลดผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ต่อครัวเรือนที่ไม่ติดตั้ง solar roof ได้ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นการลดการจูงใจให้ครัวเรือนใหม่ ๆ หันมาติดตั้ง solar roof ด้วยเช่นกัน เพื่อหาทางออกให้กับปัญหานี้ Bollinger et al. (2025) จึงได้ศึกษาหาแนวทางจูงใจในรูปแบบอื่น ๆ แทนการใช้นโยบาย NEM

รูปที่ 1: ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงการประเมินพื้นที่หลังคาสำหรับการติดตั้ง Solar roof

ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงการประเมินพื้นที่หลังคาสำหรับการติดตั้ง Solar roof

ที่มา: Google Sunroof

Bollinger et al. (2025) ได้ใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมจาก Google Sunroof เพื่อประเมินศักยภาพในการผลิตไฟฟ้า โดยพิจารณาจากลักษณะทางกายภาพของหลังคาบ้าน (เช่น ขนาดพื้นที่ ทิศทางของหลังคา เป็นต้น) อีกทั้งยังทำการเชื่อมโยงข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมกับฐานข้อมูลอื่น ๆ เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือน การใช้ไฟฟ้า และการจดทะเบียนติดตั้ง solar roof ของครัวเรือน เพื่อประเมินศักยภาพของครัวเรือน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ของรัฐแคลิฟอร์เนียในระหว่างปี 2014 ถึง 2016 จำนวนทั้งสิ้น 183,667 ครัวเรือน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลในช่วงที่ยังใช้นโยบาย NEM แบบเดิมที่เครดิตยังไม่โดนลดมูลค่า

การศึกษานี้ได้มีการพัฒนาแบบจำลอง dynamic discrete choice เพื่อวิเคราะห์การตัดสินใจและแรงจูงใจของครัวเรือนในการติดตั้ง solar roof โดยการประมาณค่าอัตราคิดลดแฝง (implicit discount rate) จากอรรถประโยชน์รวมที่ครัวเรือนจะได้รับในอนาคตจากการติดตั้ง

ผลการประมาณค่าจากแบบจำลองเมื่อแยกตามระดับความมั่งคั่งของครัวเรือนตัวอย่าง พบว่า ครัวเรือนที่มีความมั่งคั่งมากมีอัตราคิดลดแฝงที่ 10.0% ส่วนครัวเรือนที่มีความมั่งคั่งปานกลางมีอัตราคิดลดแฝงที่ 13.8% และครัวเรือนที่มีความมั่งคั่งน้อยมีอัตราคิดลดแฝงที่ 15.3% กล่าวคือ ครัวเรือนที่มีความมั่งคั่งน้อยจะได้รับอรรถประโยชน์รวม ณ ปัจจุบันจากการติดตั้ง solar roof ต่ำกว่าครัวเรือนที่มีความมั่งคั่งมาก แสดงให้เห็นว่า รัฐควรใช้นโยบายจูงใจที่ให้ผลตอบแทนจากการติดตั้ง solar roof แก่ครัวเรือนที่มีความมั่งคั่งน้อย "สูงกว่า" ครัวเรือนที่ความมั่งคั่งมาก

นอกจากนี้ ในการศึกษานี้ยังได้มีการปรับแบบจำลองเพื่อทดสอบสถานการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง (counterfactual) โดยจำลองการใช้นโยบายลดมูลค่าเครดิตลงเช่นเดียวกับ NEM 3.0 แล้วนำเงินครึ่งหนึ่งของเครดิตที่ประหยัดได้ไปช่วยเหลือในการลงทุนติดตั้ง solar roof แทน ผลลัพธ์ที่ได้คือ ขนาดของการติดตั้ง solar roof ในครัวเรือนใหม่ ๆ โดยรวมมีระดับใกล้เคียงกับก่อนที่จะปรับลดมูลค่าเครดิตลง และยังพบว่าครัวเรือนที่มีความมั่งคั่งน้อยมีสัดส่วนในการติดตั้งที่มากขึ้นกว่าตอนก่อนลดมูลค่าเครดิต ในขณะที่ครัวเรือนที่มีความมั่งคั่งมากมีการติดตั้งที่ลดลง ซึ่งหมายถึงวิธีการนี้ช่วยลดปัญหาความไม่เท่าเทียมของนโยบายจูงใจให้น้อยลงได้ โดยยังรักษาระดับการเติบโตของการติดตั้ง solar roof ไว้ได้

งานวิจัยชิ้นนี้ช่วยเสนอทางเลือกใหม่สำหรับนโยบายจูงใจติดตั้ง solar roof โดยไม่ทำให้เกิดปัญหาความไม่เท่าเทียม และยังเป็นการใช้งบประมาณของรัฐหรือผู้ให้บริการไฟฟ้าได้อย่างคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น ซึ่งอนาคตอาจเป็นทางเลือกที่สำคัญของหลาย ๆ ประเทศรวมถึงประเทศไทยให้สามารถเข้าสู่การเป็นประเทศ carbon neutrality ได้เร็วยิ่งขึ้นได้

เอกสารอ้างอิง

Bollinger, B., Gillingham, K., & Kirkpatrick, A. J. (2025). Valuing Solar Subsidies [Working Paper]. 33368.

  1. Solar roof เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ใช้หลักการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยอาศัยการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ photovoltaic (แผง PV) บนหลังคาบ้านพักอาศัย หรือ อาคาร โดยพลังงานไฟฟ้าจะถูกเชื่อมต่อเข้ากับระบบไฟฟ้าในครัวเรือนจากการติดตั้งชุดควบคุม inverter↩
Surasak Choedpasuporn
Surasak Choedpasuporn
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
The views expressed in this workshop do not necessarily reflect the views of the Puey Ungphakorn Institute for Economic Research or the Bank of Thailand.

Puey Ungphakorn Institute for Economic Research

273 Samsen Rd, Phra Nakhon, Bangkok 10200

Phone: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

Terms of Service | Personal Data Privacy Policy

Copyright © 2025 by Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.

Content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license.

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

Get PIER email updates

Facebook
YouTube
Email