Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Latest discussion Paper
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Latest aBRIDGEd
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Upcoming workshop
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
Latest PIER Economics Seminar
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn
Institute for
Economic Research
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
Latest announcement
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Research Briefsbriefs
QR code
Year
2024
2023
2022
2021
...
/static/d4266accadde209ce866c9aa3ae23070/41624/photo.jpg
22 November 2023
20231700611200000

การพัฒนาทุนมนุษย์ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์

การพัฒนาทุนมนุษย์ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์

เนื้อหาการบรรยายในงาน PIER Research Brief นี้ ถูกกลั่นกรองจากบทความ การพัฒนาทุนมนุษย์ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์

ทุนมนุษย์ (human capital) คือ คุณภาพของคน โดยมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของแต่ละปัจเจกบุคคล มีงานวิจัยที่พิสูจน์แล้วว่า การพัฒนาเด็กด้อยโอกาสตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก มีโอกาสช่วยลดช่องว่างระหว่างเด็กด้อยโอกาสกับเด็กกลุ่มอื่นได้ดีกว่าการลงทุนในช่วงหลังของชีวิต ช่วงปฐมวัยจึงเป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาทุนมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง

โครงการลดความเหลื่อมล้ำด้วยการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพ หรือ “ไรซ์ไทยแลนด์ (Reducing Inequality through Early Childhood Education: RIECE Thailand)” โดย รศ. ดร.วีระชาติ กิเลนทอง ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จึงริเริ่มขึ้น เพื่อช่วยให้เด็กปฐมวัยเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ โดยอ้างอิงงานวิจัยของนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล Professor James J. Heckman ที่ชี้ให้เห็นว่า อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (benefit-to-cost ratio) ของโครงการ Perry Preschool (ซึ่งสอนเด็กปฐมวัยอายุ 3 ถึง 4 ขวบ จำนวน 123 คน จากหลักสูตรที่เรียกว่า “ไฮสโคป” (HighScope) ในโรงเรียนแห่งหนึ่งในเมือง Ypsilanti รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงระหว่างปี 1962 ถึง ปี 1964 และมีการเก็บข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างมาจนถึงปัจจุบัน) มีค่าประมาณ 7 ต่อ 1 ถึง 12 ต่อ 1 หรือแปลได้ว่า การลงทุน 1 บาท จะได้ผลประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมโครงการและสังคมโดยรวมสูงถึงประมาณ 7 ถึง 12 บาท ดังนั้น โครงการ RIECE Thailand จึงเลือกหลักสูตรนี้มาปรับใช้กับบริบทของประเทศไทย โดยเริ่มด้วยการนำไปทดลองใช้ที่จังหวัดมหาสารคามและกาฬสินธุ์ และสุ่มเลือกศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 19 แห่ง (จากทั้งหมด 50 แห่ง) ให้มีครูปฐมวัยที่จัดหาโดยโครงการร่วมสอนด้วยกระบวนการไฮสโคปเป็นระยะเวลาหนึ่งปีการศึกษา

ผลการศึกษาต่าง ๆ ของคณะผู้วิจัยนำโดย รศ. ดร.วีระชาติ กิเลนทอง พบว่า

  • เด็กปฐมวัยที่เรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีครูปฐมวัยของโครงการร่วมสอนอยู่ มีพัฒนาการสูงกว่าอีกกลุ่ม ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ (ประมาณ 0.4 เท่าของความเบี่ยงเบนมาตรฐาน) อย่างไรก็ตาม การจ้างครูปฐมวัยเพิ่มมีต้นทุนสูง ยากต่อการนำไปขยายผลต่อ และการร่วมสอนของครูโครงการยังไม่สามารถช่วยให้ครูที่สอนอยู่เดิมสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการสอนได้มากเท่าที่ควร โครงการ RIECE Thailand จึงได้พัฒนาการอบรมเชิงปฏิบัติการในสถานที่จริง (on-site training) ขึ้นในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นวิธีการอบรมครูปฐมวัยที่เข้มข้นและเน้นการปฏิบัติการสอนในห้องเรียนจริงเป็นเวลา 2 สัปดาห์

  • การอบรมเชิงปฏิบัติการในสถานที่จริงสามารถช่วยยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยจากการทดลองสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุม (RCT) การเรียนหนึ่งวันในห้องเรียนกลุ่มทดลองช่วยให้เด็กมีทักษะด้านคณิตศาสตร์ ด้านภาษา และด้านวิชาการโดยรวมเพิ่มมากกว่าการเรียนในห้องเรียนกลุ่มควบคุม ประมาณ 39%, 69% และ 49% ของทักษะส่วนเพิ่มเฉลี่ยของกลุ่มควบคุมนั้น ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการอบรมเชิงปฏิบัติการในสถานที่จริงจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า แต่ยังประสบปัญหาในการขยายผล ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะยังขาดแรงจูงใจที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพราะจะมาพร้อมกับความพยายามที่มากขึ้น ทำให้ครูต้องเหนื่อยเพิ่มขึ้นแต่ได้ผลตอบแทนเท่าเดิม

ด้วยปัญหาเมื่อผู้ที่ต้องปฏิบัติไม่ใช่ผู้ที่รับผลประโยชน์โดยตรง นักเศรษฐศาสตร์จำนวนไม่น้อยจึงให้ความสนใจกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยด้วยการพัฒนาการอบรมเลี้ยงดูโดยผู้ปกครองผ่านการเยี่ยมบ้าน (parenting home visiting program) ซึ่งเป็นวิธีการเตรียมความพร้อมของผู้ปกครองให้สามารถทำกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีประสิทธิภาพได้ เพราะผู้ปกครองน่าจะมีแรงจูงใจในการอยากเห็นบุตรหลานมีพัฒนาการที่ดีขึ้น โดยมีงานวิจัยในต่างประเทศที่ชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาการอบรมเลี้ยงดูโดยผู้ปกครองผ่านการเยี่ยมบ้าน สามารถช่วยพัฒนาเด็กปฐมวัยได้อย่างมีนัยสำคัญ

จากเหตุผลข้างต้น RIPED จึงได้ร่วมมือกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) นำเอาหลักสูตร Reach Up ซึ่งเป็นหลักสูตรการเยี่ยมบ้านที่มีหลักฐานจากงานวิจัยต่างประเทศว่ามีประสิทธิภาพสูง ไปทดลองใช้ใน 8 จังหวัดทั่วประเทศไทย ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ลพบุรี นครนายก สงขลา และพัทลุง โดยได้ประยุกต์ใช้เทคนิคการทดลองสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุม (RCT) เพื่อประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมการเยี่ยมบ้านดังกล่าว โดยจะเก็บข้อมูลพัฒนาการเด็กเพื่อประเมินว่า กิจกรรมการเยี่ยมบ้านสามารถพัฒนาเด็กปฐมวัยได้มากน้อยเพียงใด ยิ่งไปกว่านั้น จะเก็บข้อมูลการลงทุนของผู้ปกครอง (parental investment) ทั้งในรูปของเวลาที่ทำกิจกรรมร่วมกับเด็กและการจัดหาสื่ออุปกรณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก โดยปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินกิจกรรมการเยี่ยมบ้านเพื่อพัฒนาการอบรมเลี้ยงดูโดยผู้ปกครอง คาดว่าจะเก็บข้อมูลหลังการทดลองในช่วงปลายปี 2566 และน่าจะทราบผลการทดลองเบื้องต้นในช่วงกลางปี 2567

โดยสรุป การพัฒนาทุนมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับทั้งคุณภาพการศึกษาและคุณภาพการอบรมเลี้ยงดูโดยผู้ปกครอง อันได้แก่

  1. การศึกษาในระบบ การยกระดับคุณภาพการศึกษาปฐมวัยด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการในสถานที่จริง ซึ่งเป็นการอบรมครูที่เจาะจงแนวทางการสอนแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะและมีรายละเอียดกิจกรรมและเนื้อหาที่ครบถ้วนสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนของครูปฐมวัยได้จริง
  2. การอบรมเลี้ยงดูโดยผู้ปกครอง งานวิจัยจากต่างประเทศพบว่า การพัฒนาการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองผ่านการเยี่ยมบ้านเป็นกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพสามารถช่วยให้ผู้ปกครองมีความพร้อมในการพัฒนาเด็กปฐมวัยด้วยตนเองมากขึ้น

ดังนั้น กิจกรรมทั้งสองรูปแบบเป็นนโยบายที่สามารถพัฒนาทุนมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องค้นหาคำตอบเพิ่มเติมอีกว่า กิจกรรมทั้งสองรูปแบบสามารถใช้ทดแทนกันได้ (substitute) หรือเป็นแบบเสริมกัน (complement) ซึ่งหากเป็นไปได้ควรจัดให้มีการทดลองที่มีทั้งกลุ่มที่ได้รับกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งและกลุ่มที่ได้รับทั้งสองกิจกรรม ซึ่งจะช่วยตอบคำถามได้ว่า ควรออกแบบนโยบายโดยใช้แนวทางใดแนวทางหนึ่งหรือจำเป็นต้องดำเนินการทั้งสองรูปแบบควบคู่กันไป

Watch recording
Topics: Development EconomicsEducation Economics
Tags: human capitaleducationparenting
The views expressed in this workshop do not necessarily reflect the views of the Puey Ungphakorn Institute for Economic Research or the Bank of Thailand.
Weerachart Kilenthong
Weerachart Kilenthong
University of the Thai Chamber of Commerce

Puey Ungphakorn Institute for Economic Research

273 Samsen Rd, Phra Nakhon, Bangkok 10200

Phone: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

Terms of Service | Personal Data Privacy Policy

Copyright © 2025 by Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.

Content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license.

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

Get PIER email updates

Facebook
YouTube
Email