การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจการเงินโลกจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งการทวนกลับของกระแสโลกาภิวัตน์ทางการค้า (deglobalization) การปรับระเบียบโลกใหม่จากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ กระแสความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และการก้าวสู่โลกยุคดิจิทัลที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ล้วนส่งผลต่อโครงสร้างเศรษฐกิจและภูมิทัศน์การเงินไทย ทั้งในด้านผลิตภาพและระดับศักยภาพของเศรษฐกิจไทย ความสัมพันธ์ของตัวแปรในระบบเศรษฐกิจ พลวัตเงินเฟ้อ ความเสี่ยงทางการเงิน และปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ บทความนี้วิเคราะห์ผลกระทบของกระแสการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ต่อการดำเนินนโยบายการเงินไทยในระยะข้างหน้า ที่จะท้าทายขึ้นในหลากหลายมิติ เช่น การประเมินภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจท่ามกลางความไม่แน่นอนสูง การชั่งน้ำหนักและหาจุดสมดุลระหว่างเป้าหมายแต่ละด้าน (trade-off) ที่ซับซ้อนขึ้น รวมถึงข้อจำกัดของการใช้เครื่องมือนโยบายภายใต้บริบทที่การส่งผ่านนโยบายการเงินอาจเปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ เพื่อตอบคำถามสำคัญว่า กรอบและกลยุทธ์นโยบายการเงินรวมถึงการใช้เครื่องมือนโยบายต่าง ๆ ต้องปรับเปลี่ยนไปอย่างไรเพื่อให้สอดรับกับความท้าทายใหม่ที่เกิดขึ้น รวมถึงเสนอแนวคิดในการดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมกับบริบทของไทย เพื่อรักษาประสิทธิภาพสูงสุดของนโยบายการเงินในการดูแลรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในโลกยุคใหม่
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์และคณิตศาสตร์จาก Wellesley College ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใต้ทุนการศึกษาของธนาคารแห่งประเทศไทย และปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์จาก University of California, Berkeley ดร.ณชา มีประสบการณ์ทำงานและความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์มหภาค นโยบายการเงิน นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน การเงินระหว่างประเทศ การประมาณการและวิจัยเศรษฐกิจ นอกจากนี้ เคยปฏิบัติงานในตำแหน่งนักเศรษฐศาสตร์ที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประเทศสหรัฐอเมริกา และเคยได้ร่วมงานกับกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทรในตำแหน่งผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจและกลยุทธ์ ปัจจุบัน ดร.ณชา ยังเป็นอาจารย์พิเศษให้กับคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้าน Computer Science จาก University of California San Diego ปริญญาโทด้าน Financial Engineering จาก Columbia University ปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์จาก University of Washington ดร.พิม มีความเชี่ยวชาญด้านนโยบายการเงิน เศรษฐศาสตร์มหภาค และเศรษฐมิติประยุกต์ โดยมีประสบการณ์ร่วมงานกับสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ และเคยเป็นอาจารย์ประจำที่คณะเศรษฐศาสตร์ที่ University of Kansas และอาจารย์พิเศษที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้รับเชิญเป็น Visiting Scholar ที่ Federal Reserve Bank of Dallas, Federal Reserve Bank of Kansas และ Hong Kong Institute of Monetary Research เพื่อทำงานวิจัยด้านนโยบายการเงิน ปัจจุบัน ดร.พิม ยังเป็น Research Fellow ที่ Centre for Applied Macroeconomic Analysis (CAMA) ของมหาวิทยาลัย Australian National University นอกจากนี้ ดร.พิม มีผลงานทางวิชาการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติและมีงานวิจัยตีพิมพ์ในหนังสือหลายเล่ม
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์จาก New York University ประเทศสหรัฐอเมริกา มีความสนใจงานวิจัยด้านนโยบายการเงิน นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน การเงินระหว่างประเทศ
นักเศรษฐศาสตร์ (Principal Economist)
Bank for International Settlements (BIS)
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาเศรษฐศาสตร์จาก University of Oxford สหราชอาณาจักร ปัจจุบัน ดร.ภูริชัย มีหน้าที่วิเคราะห์ประเด็นนโยบายที่สำคัญประกอบการประชุมผู้ว่าการธนาคารกลางที่บาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และทำวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์มหภาคและนโยบายการเงินเพื่อประโยชน์ต่อธนาคารกลางทั่วโลก ในอดีตเคยเป็นพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย มีประสบการณ์ด้านกลยุทธ์นโยบายการเงิน การพยากรณ์เศรษฐกิจ และการบริหารเงินสำรอง นอกจากนี้ เคยเป็นนักเศรษฐศาสตร์ประจำองค์กรการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในฝ่ายเอเชียแปซิฟิก ด้านการสอน เคยเป็นอาจารย์พิเศษที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ Chief Economist ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
ผู้ก่อตั้งศูนย์วิจัย "Krungthai COMPASS"
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์จาก University of Michigan, Ann Arbor ประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้ได้รับรางวัลเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่ง จากสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ในปี 2565 นอกจากนี้ ดร.พชรพจน์ ยังเป็นประธานชมรมนักวิเคราะห์เศรษฐกิจ สมาคมธนาคารไทย เป็นแกนหลักในการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจให้กับคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เพื่อเป็นประโยชน์ในการเข้าใจสภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจ และนำเสนอข้อเสนอแนะของภาคเอกชนต่อภาครัฐ รวมทั้งเคยเป็น Assistant Professor of Economics ที่ San Diego State University ประเทศสหรัฐอเมริกา
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
(รักษาการ)ผู้อำนวยการสถาบัน สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
ดร.ปิติ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก Australian National University ประเทศออสเตรเลีย และปริญญาเอกจาก Princeton University (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) ประเทศสหรัฐอเมริกา ดร.ปิติ เคยมีประสบการณ์ในหลายฝ่ายภายใน ธปท. ทั้งในด้านนโยบายการเงิน เสถียรภาพทางการเงิน ตลาดการเงิน บริหารความเสี่ยงทางการเงิน และ บริหารเงินสำรอง นอกจากนี้ ดร.ปิติ เคยเป็นเศรษฐกรประจำอยู่ที่ International Monetary Fund (IMF) เป็นเวลาสองปี และ เคยปฏิบัติงานในฐานะนักวิจัยอาวุโสที่ Bank for International Settlements (BIS) รวมทั้งเคยเป็นอาจารย์พิเศษที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นผู้ได้รับรางวัล “ป๋วย อึ๊งภากรณ์ สำหรับนักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่ที่มีผลงานดีเด่น” ประจำปี 2554
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
273 Samsen Rd, Phra Nakhon, Bangkok 10200
Phone: 0-2283-6066
Email: pier@bot.or.th
Copyright © 2025 by Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.
Content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license.
Get PIER email updates