Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Latest discussion Paper
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Latest aBRIDGEd
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Upcoming workshop
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
Latest PIER Economics Seminar
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn
Institute for
Economic Research
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
Latest announcement
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
BOT Symposium 2022pages
Conferences
QR code
บทความที่ 2

เงิน สัญญา และสเตเบิลคอยน์

"เงิน" เป็นสิ่งสำคัญในชีวิตประจำวัน และสิ่งที่เรียกว่าเงินก็มีหลายรูปแบบ เช่น ธนบัตร เหรียญ ตัวเลขในบัญชีธนาคาร หรือในกระเป๋าเงินดิจิทัล เป็นต้น สิ่งที่ทำให้เงินมีค่าคือ "สัญญา" ในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น สัญญาประชาคม (social contract) หรือสัญญาทางเศรษฐศาสตร์ (economic contract) และในปัจจุบัน บล็อกเชนบางประเภทอนุญาตให้เขียนสัญญาอัจฉริยะ (smart contract) ที่สามารถนำมาให้บริการทางการเงินได้ ทำให้เกิด stablecoin หรือหน่วยข้อมูลที่มีอัตราแลกเปลี่ยนตรึงกับสกุลเงิน เช่น ดอลลาร์สหรัฐฯ ที่สามารถเปลี่ยนมือได้อย่างอิสระคล้ายเงิน ซึ่งถูกมองว่าอาจเป็นอนาคตของเงินได้ บทความนี้จะจำแนกเงินประเภทต่างๆ ในบริบทของสัญญาในแต่ละรูปแบบ เพื่อฉายภาพให้เห็นถึง "คุณค่า" และ "ค่า" ของสิ่งที่เรียกว่าเงิน รวมถึงนัยยะเชิงนโยบายของเงินสำหรับประเทศไทย

ผู้เขียนบทความ

kanis

รศ. ดร.คณิสร์ แสงโชติ

อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์จาก London School of Economics สหราชอาณาจักร ปริญญาโทด้าน MBA จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาเอกด้านการเงินจาก Kellogg School of Management ประเทศสหรัฐอเมริกา ดร.คณิสร์ ยังเป็นที่ปรึกษาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้านการพัฒนาความรู้ผู้ประกอบการและด้านการพัฒนาความรู้ผู้ประกอบวิชาชีพ และมีส่วนร่วมในการวิจัยด้านตลาดทุนกับสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ และสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน รวมทั้งเป็นผู้เขียนหนังสือ เงิน: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต (Money: Past, Present and Future) และมีผลงานวิจัยที่เน้นการใช้งานข้อมูล microdata เช่น ข้อมูลบล็อกเชน ข้อมูลเครดิตบูโร และข้อมูลการซื้อขายสินทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมจากมุมมองเศรษฐศาสตร์การเงิน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติหลายแห่ง

ผู้ร่วมเสวนา

narun

ดร.ณรัณ โพธิ์พัฒนชัย

นักกฎหมายกฤษฎีกาชำนาญการ
กองกฎหมายการเงินการคลังและกองพัฒนากฎหมาย
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทด้านกฎหมายพาณิชย์จาก University College London สหราชอาณาจักร ปริญญาโทและปริญญาเอกจาก Columbia University ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีใบอนุญาตว่าความในมลรัฐนิวยอร์คในฐานะสมาชิกสมาคมทนายความแห่งมลรัฐ นอกจากนี้ ดร.ณรัณ ได้รับมอบหมายให้เป็นฝ่ายเลขานุการยกร่างและตรวจร่างกฎหมายสำคัญหลายฉบับ เช่น พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 และ (ร่าง) พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับปรับปรุง 2565) รวมทั้งเป็นอาจารย์พิเศษและทำงานวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายเทคโนโลยีการเงินและการลงทุนกับมหาวิทยาลัยในประเทศและภูมิภาคเอเชีย

nat

ณัฐ เหลืองนฤมิตชัย

ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้ากลุ่มงานปฏิบัติการเทคโนโลยีสารสนเทศ
สายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านบริหารธุรกิจ สาขาการเงินการธนาคาร จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโทสาขา Information Systems Management จาก Carnegie Mellon University ประเทศสหรัฐอเมริกา (ทุนจาก W.W. Cooper Merit Scholarship ) ก่อนหน้านี้ คุณณัฐ เคยดำรงตำแหน่ง Consulting Member of Technical Staff ที่ Oracle Corporation นอกจากนี้ คุณณัฐ ยังมีประสบการณ์ทำงานในด้านธุรกิจตลาดทุนและธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรชั้นนำทั้งในและต่างประเทศหลายแห่ง ได้แก่ Credit Suisse Amazon.com, Inc. Merrill Lynch Global Services Pte Ltd. และ Lehman Brothers Holdings Inc. เป็นต้น

ผู้ดำเนินการเสวนา

suchote

สุโชติ เปี่ยมชล

ผู้อำนวยการ ฝ่ายตลาดการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณสุโชติมีประสบการณ์การทำงานด้านนโยบายการเงิน เศรษฐกิจมหภาค และตลาดการเงิน โดยมีความสนใจเกี่ยวกับตลาดอัตราแลกเปลี่ยน งานวิเคราะห์เสถียรภาพ และการพัฒนาตลาดการเงิน นอกจากนี้ ยังปฏิบัติงานใน “คณะทำงานเตรียมความพร้อมรองรับการเงินดิจิทัล” ซึ่ง ธปท. จัดตั้งขึ้นเพื่อทำการศึกษาและเตรียมความพร้อมการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของระบบการเงินอันเกิดจากกระแสการเงินดิจิทัล

Puey Ungphakorn Institute for Economic Research

273 Samsen Rd, Phra Nakhon, Bangkok 10200

Phone: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

Terms of Service | Personal Data Privacy Policy

Copyright © 2025 by Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.

Content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license.

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

Get PIER email updates

Facebook
YouTube
Email