หนี้ครัวเรือนไทยที่เร่งตัวสูงขึ้นในรอบทศวรรษที่ผ่านมา สวนทางกับการออมและการลงทุนของครัวเรือนไทย แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมทางการเงินที่มักให้ความสำคัญกับวันนี้ มากกว่าวันหน้า จนทำให้ครัวเรือนไทยมี “ปัญหาหนี้” กันในวงกว้าง และกำลังกลายเป็นปัจจัยฉุดรั้งการพัฒนาของครัวเรือนและประเทศ “ปัญหาหนี้”อาจจะดูเหมือนเกิดจากการ “มองสั้น” และก่อหนี้เกินตัวของครัวเรือนเอง แต่แท้จริงแล้วระบบเศรษฐกิจสังคมที่ไม่เอื้อให้ครัวเรือนได้มีรายได้และภูมิคุ้มก้น ระบบการเงินที่ขาดประสิทธิภาพ ค่านิยมในสังคม และนโยบายภาครัฐ ก็อาจเป็นต้นตอสำคัญที่ไปสร้างสิ่งแวดล้อมทำให้ครัวเรือนจำเป็นต้องก่อหนี้จนกลายเป็นปัญหาหนี้
บทความนี้ เราจะชวนทุกท่านมาเข้าใจว่า เรามาถึงจุดนี้กันได้อย่างไร สถานการณ์หนี้ของคนไทยรุนแรงแค่ไหน ต้นตอของปัญหาเกิดจาก “ใคร” ในสังคมที่ไม่ได้มองยาว แนวทางแก้หนี้ในปัจจุบันตอบโจทย์หรือไม่ ขาดอะไร และเราต้องทำอะไรเพิ่มเพื่อให้คนและสังคมไทยหันมามองยาวในการแก้หนี้อย่างยั่งยืน?
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์จาก Cornell University ประเทศสหรัฐอเมริกา งานวิจัยของ ดร.โสมรัศมิ์ ใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ร่วมกับข้อมูลขนาดใหญ่ และการสํารวจภาคสนามในการเข้าใจปัญหาของการพัฒนาที่ยั่งยืนของครัวเรือน การพัฒนาระบบการเงินไทย และการใช้นวัตกรรมทางการเงินเพื่อการพัฒนา มีผลงานวิจัยในประเทศกําลังพัฒนาหลายประเทศในเอเชียและแอฟริกา และผลงานตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ ในด้านประสบการ์การทำงาน ดร.โสมรัศมิ์ เคยเป็นที่ปรึกษาเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ World Bank และอาจารย์ประจําที่ Australian National University รวมทั้งเป็นผู้ได้รับรางวัลป๋วย อึ๊งภากรณ์ สำหรับนักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่ที่มีผลงานดีเด่น ประจำปี 2564
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโทด้านการเงินจาก Imperial College London สหราชอาณาจักร และระดับปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.ลัทธพร มีประสบการณ์ทำงานด้านแบบจำลองความเสี่ยงด้านสินเชื่อในธนาคารพาณิชย์ และเป็น Certified FRM (Financial Risk Manager) นอกจากนี้ ดร.ลัทธพร มีความสนใจงานวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์การเงินการธนาคาร และการพัฒนาด้านการเงิน
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะพาณิชยศาตร์และการบัญชี (ภาควิชาการเงินและการธนาคาร) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระดับปริญญาโทด้านการเงินจาก University of Manchester สหราชอาณาจักร ปัจจุบัน คุณสิรภพ มีหน้าที่วิเคราะห์ความเสี่ยงและสนับสนุนการออกมาตรการที่เกี่ยวกับหนี้ครัวเรือน
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์จาก Harvard University ประเทศสหรัฐอเมริกา และระดับปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ (เอกการเงิน) จาก New York University ประเทศสหรัฐอเมริกา คุณสฤณี เป็นทั้งนักเขียน นักแปล และนักวิจัยด้านธุรกิจที่ยั่งยืน งานเขียนและงานวิจัยหลายชิ้นสะท้อนความสนใจในการธนาคารที่ยั่งยืน ความเหลื่อมล้ำ และการขยายบริการทางการเงิน นอกจากนี้ คุณสฤณี ได้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ป่าสาละ จำกัด เพื่อ “ปลูกธุรกิจที่ยั่งยืน” ผ่านการทำงานวิจัยและการเผยแพร่ความรู้ ล่าสุดในปี พ.ศ. 2567 คุณสฤณี เป็นผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการ Climate Finance Network Thailand และตั้งแต่ พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา เป็นหัวหน้าทีมวิจัย โครงการ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย (Fair Finance Thailand)” ซึ่งทำงานผลักดันแนวคิดและธรรมเนียมปฏิบัติเรื่อง “การธนาคารที่ยั่งยืน” ของสถาบันการเงินไทย
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และระดับปริญญาโทด้าน Finance & Banking จาก University of Sydney ประเทศออสเตรเลีย คุณสุวรรณี มีความชำนาญด้านกำกับตรวจสอบธนาคารพาณิชย์ไทยและต่างประเทศ สถาบันการเงินภายใต้ พรบ. ธุรกิจสถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมทั้งด้านนโยบายการกำกับดูแลสถาบันการเงินและแนวทางการกำกับดูแลแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน และส่งเสริมการพัฒนาของระบบสถาบันการเงิน ตลอดจนการดูแลเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
273 Samsen Rd, Phra Nakhon, Bangkok 10200
Phone: 0-2283-6066
Email: pier@bot.or.th
Copyright © 2025 by Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.
Content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license.
Get PIER email updates