"หนี้" เป็นเครื่องมือที่ช่วยจัดสรรทรัพยากรระหว่างปัจจุบันและอนาคต ทำให้เรามีทรัพยากรที่สมดุลระหว่างเวลามากขึ้น แต่หากสร้างหนี้มากเกินไปก็จะนำไปสู่ "ปัญหาหนี้" ที่จะส่งผลให้คนหรือสังคมมีความเป็นอยู่ที่แย่ลงในระยะยาว บทความนี้มองสาเหตุของปัญหาหนี้ในสองระดับ ระดับปัจเจก ที่มาจากทั้งการขาดความรู้และอคติเชิงพฤติกรรมที่นำไปสู่การตัดสินใจที่ผิด และระดับสังคม ที่เกิดจากสถาบันที่กำหนดโครงสร้างแรงจูงใจและข้อจำกัดที่ทำให้พฤติกรรมของปัจเจกในสังคมนั้นนำไปสู่สังคมที่ไม่ยั่งยืน สาเหตุจากทั้งสองระดับมีความเกี่ยวโยงกันเป็นวัฎจักร เพราะปัจเจกกำหนดสถาบันที่มากระทบต่อพฤติกรรมปัจเจกอีกทอดหนึ่ง ทางออกของ "ปัญหาหนี้" จึงไม่ใช่เรื่องง่าย จำเป็นต้องแก้ปัญหาในทั้งสองระดับไปพร้อม ๆ กัน ผ่านการให้ความรู้ การใช้กลไกช่วยลดอคติเชิงพฤติกรรมต่าง ๆ ไปจนถึงการออกแบบสถาบันที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังมีความท้าทายอีกหลายอย่างที่ต้องคำนึงถึง และสิ่งที่ขาดไม่ได้เพื่อแก้ "ปัญหาหนี้" ให้เกิดเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนคือการคำนึงถึงคนรุ่นหลังและความตระหนักถึงว่าสิ่งที่เราทำในวันนี้จะส่งผลดีหรือผลเสียต่อลูกหลานในอนาคตอย่างไร
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาเศรษฐศาสตร์และคณิตศาสตร์ประยุกต์ และปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์จาก Stanford University ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทำงานวิจัยเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ และมีความสนใจด้านการออกแบบนโยบาย และทฤษฎีเครือข่าย ดร.ฐิติ มีประสบการณ์การทำงานในฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย และเคยเป็นผู้ช่วยส่วนตัวของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์จาก Australian National University และปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร.พิทวัส มีความเชี่ยวชาญด้านแบบจำลองเชิงโครงสร้าง Overlapping Generations (OLG) สำหรับศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ปัจจุบัน ดร.พิทวัส ร่วมงานกับสถาบันวิจัย Centre of Excellence in Population Ageing Research (CEPAR) ประเทศออสเตรเลีย เพื่อพัฒนาแบบจำลอง OLG สำหรับประเทศกำลังพัฒนา
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาเศรษฐศาสตร์จาก University of Bologna ประเทศอิตาลี ดร.ธานี มีความสนใจทางด้านเศรษฐศาสตร์เชิงสถาบัน เศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม และเศรษฐศาสตร์เชิงทดลอง ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งประธานหลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง และผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและการทดลองแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยม) จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโทสาขาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับปริญญาโทจาก University of Wisconsin-Madison ประเทศสหรัฐอเมริกา (ทุน Harvard-Yenching Fellowship) และปริญญาเอกจาก Australian National University ประเทศออสเตรเลีย (ทุน Australian Leadership Award รัฐบาลออสเตรเลีย) ดร.ประจักษ์ มีงานเขียนและวิจัยในหัวข้อประวัติศาสตร์การเมืองไทย การเมืองอุษาคเนย์ การเมืองวัฒนธรรม การเมืองเปรียบเทียบ ประชาธิปไตยและประชาสังคม การเลือกตั้งและพรรคการเมือง ความขัดแย้งและความรุนแรง ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ เคยได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นจากสภาวิจัยแห่งชาติ (วช.) และรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น สาขาสังคมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในด้านประสบการณ์ทำงาน เคยดำรงตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยดิเรก ชัยนาม และหัวหน้าสาขาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบัน ดร.ประจักษ์ ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการในหลายองค์กร ได้แก่ กรรมการมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ กรรมการมูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา กรรมการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และมูลนิธิสิทธิเพื่อความยุติธรรม รวมทั้ง Editorial Board of New Mandala (Australian National University)
นักกฎหมายกฤษฎีกาชำนาญการพิเศษ กองกฎหมายการเงินการคลังและกองพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทด้านกฎหมายพาณิชย์จาก University College London สหราชอาณาจักร ปริญญาโทและปริญญาเอกจาก Columbia University ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ยังมีใบอนุญาตว่าความในมลรัฐนิวยอร์คในฐานะสมาชิกสมาคมทนายความแห่งมลรัฐ ดร.ณรัณ ปฏิบัติหน้าที่นักกฎหมายกฤษฎีกาประจำกองกฎหมายการเงินการคลังและกองพัฒนากฎหมาย ณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และได้รับมอบหมายให้เป็นฝ่ายเลขานุการยกร่างและตรวจร่างกฎหมายสำคัญหลายฉบับ เช่น พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๑ และ (ร่าง) พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับปรับปรุง) และร่างพระราชบัญญัติเศรษฐกิจแพลตฟอร์มดิจิทัล นอกจากนี้ ดร.ณรัณ ยังเป็นผู้แทนหลักในด้านกฎหมายในคณะทำงานเพื่อดำเนินการเข้าเป็นภาคีสมาชิก OECD ของประเทศไทย และเป็นกรรมการในคณะกรรมการด้านเศรษฐกิจดิจิทัลและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของรัฐในหลายคณะ นอกจากหน้าที่ในภาครัฐ ดร.ณรัณ รับงานวิชาการทั้งงานสอนและงานวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายเทคโนโลยีการเงินและการลงทุนกับทั้งมหาวิทยาลัยในประเทศและภูมิภาคเอเชีย
ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้ากลุ่มงานธุรกิจระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศ สายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกรรมการผู้จัดการร่วม บริษัท เซ็ทเทรด ดอท คอม จำกัด
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านบริหารธุรกิจ สาขาการเงินการธนาคาร จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโทสาขา Information Systems Management จาก Carnegie Mellon University ประเทศสหรัฐอเมริกา (ทุนจาก W.W. Cooper Merit Scholarship ) ก่อนหน้านี้ คุณณัฐ เคยดำรงตำแหน่ง Consulting Member of Technical Staff ที่ Oracle Corporation คุณณัฐ มีประสบการณ์ทำงานในด้านธุรกิจตลาดทุนและธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรชั้นนำทั้งในและต่างประเทศหลายแห่ง ได้แก่ Credit Suisse Amazon.com, Inc. Merrill Lynch Global Services Pte Ltd. และ Lehman Brothers Holdings Inc. เป็นต้น
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
273 Samsen Rd, Phra Nakhon, Bangkok 10200
Phone: 0-2283-6066
Email: pier@bot.or.th
Copyright © 2025 by Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.
Content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license.
Get PIER email updates