Digital Payment, Heterogeneous Households, and Financial Inclusion
“การนำระบบ e-payment มาใช้ ส่งผลให้พฤติกรรมทางการเงินของครัวเรือนเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร?”
เพื่อตอบคำถามนี้ คุณอนุสรณ์ มินพิมาย PhD Finance Candidate จาก EDHEC Business School และ SVP & Division Head, Risk Management Department, Mizuho Bank, Ltd. (Bangkok Branch) จึงได้พยายามศึกษาผลกระทบจากนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งอาศัยนวัตกรรม e-payment ว่าส่งผลต่อพฤติกรรมทางการเงินในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยอย่างไร ทั้งในแง่ของการบริโภค การใช้จ่าย ความรู้ทางการเงิน และความเชื่อมั่นต่อเทคโนโลยี
งานศึกษานี้ได้ใช้ข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES) ปี 2019 ร่วมกับข้อมูลการสำรวจกลุ่มตัวอย่างใน 3 จังหวัดเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่ง แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดของข้อมูลในการแยกกลุ่มตัวอย่างที่มีและไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ งานศึกษานี้จึงเลือกใช้วิธี Fuzzy Regression Discontinuity Design ในการวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่า นโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทำให้การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคโดยรวมของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นตัวเงิน (in-kind consumption expenditure) ในหมวดของอาหารและเครื่องดื่ม แต่ไม่พบสัญญานการใช้จ่ายในหมวดสินค้าฟุ่มเฟือยอื่น ๆ อย่างเช่นบุหรี่ นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังพบผลเชิงบวกต่อระดับความรู้ทางการเงินและความเชื่อมั่นในระบบ digital payment ในกลุ่มคนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอีกด้วย