Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Building Thailand’s Beveridge Curve: New Insights of Thailand’s Labour Markets with Internet Job Platforms
Latest discussion Paper
Building Thailand’s Beveridge Curve: New Insights of Thailand’s Labour Markets with Internet Job Platforms
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Latest aBRIDGEd
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
World Bank x PIER Climate Finance Policy Forum
Latest policy forum
World Bank x PIER Climate Finance Policy Forum
Market Design in Practice
Latest PIER Economics Seminar
Market Design in Practice
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn
Institute for
Economic Research
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
Latest announcement
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Economics Seminarsseminars
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/8193bd7cab1873bcb5fa0292181ce5b2/e9a79/thumb_seminar.png
20 July 2022
20221658275200000
RCT Human Capital Seminar Series

Food vs. Food Stamps: Evidence from an At-Scale Experiment in Indonesia

ห้องประชุม Auditorium / Zoom Meeting
Food vs. Food Stamps: Evidence from an At-Scale Experiment in Indonesia

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ร่วมกับ สถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (EEF) ได้จัดงาน RCT Human Capital Seminar Series ครั้งที่ 4 โดยได้รับเกียรติจาก ได้รับเกียรติจาก Professor Rema Hanna จาก Harvard Kennedy School มาบรรยายในหัวข้อ “Food vs. Food Stamps: Evidence from an At-Scale Experiment in Indonesia” ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ทำร่วมกับ Abhijit Banerjee, Ben Olken, Elan Satriawan และ Sudarno Sumarto

โดย Prof. Hanna ได้เล่าถึงโครงการ Rastra ซึ่งเป็นโครงการให้ความช่วยเหลือด้านอาหารแก่ครัวเรือนที่ยากจน โดยเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1999 และมีการแจกข้าวสาร 10 กิโลกรัมต่อเดือนให้กับครัวเรือนในกลุ่ม bottom 30 หรือ ร้อยละ 30 ของครัวเรือนที่มีรายได้น้อยที่สุด ในปี 2018 โครงการต้องการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการช่วยเหลือเป็นการให้คูปองที่อยู่ในรูปแบบของบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (debit card) เพื่อซื้อข้าวหรือไข่แทน

ในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์นั้น ข้อดีของคูปอง คือ

  1. คูปองมีความยืดหยุ่นมากกว่า ผู้รับสามารถเลือกซื้อของได้ตามความจำเป็น
  2. คูปองน่าจะบิดเบือนราคาข้าวในตลาดน้อยกว่าการให้ข้าวโดยตรงนั้น หากคนนำข้าวมาขายต่อ หรือความต้องการซื้อข้าวลดลงอย่างมาก อาจจะกระทบราคาข้าวในตลาดท้องถิ่น
  3. การใช้คูปองน่าจะช่วยลดต้นทุนได้เนื่องจากการเติมเงินเข้าไปในบัตรอิเล็กทรอนิกส์นั้นง่ายกว่าการขนส่งข้าวสารไปยังหมู่บ้านต่าง ๆ ทั่วประเทศ

อย่างไรก็ดี การให้ข้าวโดยตรง อาจจะช่วยให้การคัดกรองความช่วยเหลือไปยังคนจนดีกว่าได้ หากข้าวที่รัฐให้มีคุณภาพด้อยกว่าอาหารจำเป็นอื่น ๆ ในตลาด คนที่มีเงินและอยากได้อาหารคุณภาพดีกว่าก็จะเลือกที่จะคัดกรองตัวเองออกโดยไม่มารับข้าวของรัฐ

รัฐบาลอินโดนีเซียมีความสนใจที่จะประเมินผลการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ จึงได้ร่วมกับคณะผู้วิจัยออกแบบโครงการให้มีการสุ่มบางพื้นที่ที่จะค่อย ๆ ทยอยมีการเปลี่ยนแปลง โดยกลุ่ม treatment มีการเปลี่ยนเป็นคูปองก่อนในช่วง พ.ค., ต.ค., และ พ.ย. ปี 2018 ทั้งหมด 42 เขต ส่วนกลุ่ม control เปลี่ยนเป็นคูปองในช่วง มิ.ย. 2019 ทั้งหมด 63 เขต คณะผู้วิจัยอาศัยทั้งการเพิ่มเติมแบบสอบถามในข้อมูลสำรวจครัวเรือนประจำปี และเชื่อมข้อมูลนี้กับข้อมูลทะเบียนของภาครัฐ (administrative data) ทำให้มีข้อมูลมิติต่าง ๆ ของครัวเรือน และมีข้อมูลเรื่องการเข้าร่วมโครงการที่แม่นยำ

ผลพบว่า

  1. การให้คูปองช่วยให้ inclusion error (การให้ความช่วยเหลือแก่ครัวเรือนที่ไม่ได้จน)น้อยลงเกินครึ่ง แต่ก็ก่อให้เกิด exclusion error (ครัวเรือนที่ยากจนไม่ได้รับความช่วยเหลือ) บ้าง แต่เป็นกลุ่มที่ไม่ได้จนที่สุด
  2. การให้คูปอง ทำให้ครัวเรือนได้รับเงินช่วยเหลืออย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากกว่าหากเทียบกับการให้ข้าว ซึ่งเดิมมีการแบ่งไปให้ครัวเรือนอื่น ๆ ที่ไม่ได้ยากจนมากนัก
  3. ครัวเรือนที่ได้รับคูปองยังหันมาบริโภคไข่มากขึ้น และซื้อข้าวที่มีคุณภาพดีขึ้น จึงไม่พบหลักฐานเรื่องการคัดกรองตัวเอง
  4. ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการความช่วยเหลือแบบคูปองนั้นต่ำกว่าการแจกข้าวโดยตรงถึงร้อยละ 25–50 เพราะค่าใช้จ่ายหลัก คือ การเช่าเครื่องรับ debit card ให้ร้านค้าในท้องถิ่น ขณะที่การแจกข้าวต้องมีต้นทุนในการขนส่งและเก็บรักษาข้าว
  5. การให้คูปองหรือการแจกข้าว ไม่ได้มีผลต่อราคาข้าวในตลาดท้องถิ่นที่แตกต่างกัน

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  • เอกสารนำเสนอ
Watch recording
The views expressed in this workshop do not necessarily reflect the views of the Puey Ungphakorn Institute for Economic Research or the Bank of Thailand.
Rema Hanna
Rema Hanna

Puey Ungphakorn Institute for Economic Research

273 Samsen Rd, Phra Nakhon, Bangkok 10200

Phone: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

Terms of Service | Personal Data Privacy Policy

Copyright © 2025 by Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.

Content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license.

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

Get PIER email updates

Facebook
YouTube
Email