Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Latest discussion Paper
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Latest aBRIDGEd
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Upcoming workshop
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
Latest PIER Economics Seminar
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn
Institute for
Economic Research
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
Latest announcement
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
aBRIDGEdabridged
Making Research Accessible
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
Topic
Development Economics
Macroeconomics
Financial Markets and Asset Pricing
Monetary Economics
...
/static/78cf5f4e6185bc5bede91c329b7c2f9c/e9a79/cover.png
21 November 2016
20161479686400000

จุลทรรศน์ภาคส่งออกไทย: จับชีพจรภาคส่งออกจากการหมุนเวียนของผู้ประกอบการ

ผู้เล่นหน้าใหม่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการส่งออกของไทย
Piti DisyatatTosapol ApaitanKrislert Samphantharak
จุลทรรศน์ภาคส่งออกไทย: จับชีพจรภาคส่งออกจากการหมุนเวียนของผู้ประกอบการ
excerpt

บทความนี้เป็นตอนที่ 2 ใน mini-series จุลทรรศน์ภาคส่งออก ซึ่งใช้ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศที่มีความละเอียดสูงของกรมศุลกากรในการฉายภาพภาคส่งออกของประเทศไทยในมิติที่ไม่เคยเห็นมาก่อน การหมุนเวียนของผู้ส่งออกเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กำหนดความเป็นไปของธุรกิจนี้ ในขณะที่การส่งออกเดิมเติบโตได้จำกัด กลับมีผู้ประกอบการจำนวนมากสามารถคว้าโอกาสใหม่ได้ในหลาย ๆ ตลาด ผู้เล่นหน้าใหม่เหล่านี้อาจจะเป็นกำลังสำคัญในการพลิกฟื้นภาคส่งออกของไทยต่อไป

บทความเรื่องจุลทรรศน์ภาคส่งออกไทยในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้ทำการฉายภาพโครงสร้างของภาคส่งออกที่ลึกถึงระดับผู้ประกอบการ โดยเน้นความแตกต่างในคุณลักษณะด้านต่าง ๆ ทั้งระหว่างผู้ส่งออกด้วยกันและระหว่างผู้ส่งออกกับบริษัทที่ทำการค้าภายในประเทศ หนึ่งในข้อเท็จจริงชี้ให้เห็นว่า การส่งออกเป็นธุรกิจที่มีการหมุนเวียนของผู้เล่นสูง กล่าวคือ ในแต่ละปีจะมีผู้ส่งออกจำนวนไม่น้อยที่เป็นผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาในตลาด และมีผู้เล่นจำนวนใกล้เคียงกันต้องออกจากสนามส่งออกในแต่ละปี คำถามที่น่าสนใจ คือ ผู้เล่นที่หมุนเวียนเข้าออกเหล่านี้มีนัยต่อพลวัตรโดยรวมของการส่งออกหรือไม่อย่างไร บทความในตอนที่ 2 นี้นำข้อมูลที่มีความละเอียดสูงมาวิเคราะห์ในเชิงพลวัตร เพื่อเข้าใจพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงในภาคการส่งออกของไทยโดยเฉพาะในระยะหลังนี้

หน้าเก่า-หน้าใหม่ ใครขับเคลื่อนส่งออก

ผ่านมาเรามักมองการเติบโตของการส่งออกในแง่มูลค่าเท่านั้น แต่การเปลี่ยนแปลงเชิงมูลค่าดังกล่าวแท้จริงแล้วสะท้อนการเปลี่ยนแปลงในมิติที่ลึกกว่าในลักษณะ “ขอบเขต” หรือ extensive margin เช่น การขยายตัวของมูลค่าการส่งออกอาจเกิดจากการส่งสินค้าใหม่ไปยังตลาดใหม่โดยผู้ประกอบการรายใหม่ สะท้อนการเปลี่ยนแปลงในระดับจุลภาคที่ลึกซึ้งกว่าการเปลี่ยนแปลงที่มาจากสินค้า ตลาด และผู้ส่งออกเดิม หรือ intensive margin โดย Apaitan, Disyatat, and Samphantharak (2016) ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการวิเคราะห์การส่งออกผ่านมิติขอบเขตดังกล่าว

บทความนี้จะเน้นพิจารณาการเปลี่ยนแปลงเชิงขอบเขตที่มาจากผู้ประกอบการ โดยเราสามารถจำแนกกลุ่มผู้ส่งออกในแต่ละช่วงเวลาออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้เล่นเดิมที่มีกิจกรรมส่งออกในปีฐาน (Incumbents) และ กลุ่มผู้ส่งออกที่เข้าสู่ตลาด (Entrants) หรือจะกล่าวง่าย ๆ คือ ผู้เล่นหน้าเก่ากับผู้เล่นหน้าใหม่

รูปที่ 1 : การเติบโตเฉลี่ยของมูลค่าการส่งออก แยกตามลักษณะผู้ส่งออก (2001–2015)

การเติบโตเฉลี่ยของมูลค่าการส่งออก แยกตามลักษณะผู้ส่งออก (2001–2015)

ที่มา: กรมศุลกากร คำนวณโดยผู้เขียน

รูปที่ 1 สรุปภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าการส่งออกและจำนวนผู้ส่งออกในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ภาพด้านบนแสดงให้เห็นว่า การเติบโตในช่วงแรกถูกขับเคลื่อนโดยผู้ส่งออกเดิม (Incumbents) ที่อยู่ในตลาดเป็นส่วนใหญ่ โดยมีผู้ประกอบการใหม่ที่เข้ามาในตลาดเป็นส่วนเสริม ทว่าในช่วงหลัง ผู้เล่นเดิมในตลาดอ่อนแรงลงค่อนข้างมาก จนเราจะเห็นได้ว่าช่วงปี 2011–2015 การเติบโตหลักมาจากผู้เล่นหน้าใหม่ (Entrants = 2.4%) ในขณะที่ผู้ส่งออกหน้าเดิมกลับฉุดรั้งมูลค่าส่งออกโดยรวม (Incumbents = -0.5%)

ในแง่จำนวนผู้ประกอบการ ภาพล่างแสดงให้เห็นว่าในบรรดาผู้เล่นทั้งหมดที่กำลังส่งออกในแต่ละช่วง กว่าครึ่งคือ ผู้เล่นหน้าใหม่ ที่น่าสังเกต คือ ในปี 2015 จำนวนผู้ประกอบการโดยรวมรวมลดลงเมื่อเทียบกับปี 2011 ซึ่งมีส่วนในการฉุดรั้งการเติบโตของมูลค่าส่งออก

รูปที่ 2 : การเติบโตเฉลี่ยของมูลค่าการส่งออก แยกตามกลุ่มของกิจกรรมการส่งออก (2001–2015)

การเติบโตเฉลี่ยของมูลค่าการส่งออก แยกตามกลุ่มของกิจกรรมการส่งออก (2001–2015)

ที่มา: กรมศุลกากร คำนวณโดยผู้เขียน

หากนิยามให้ หนึ่งกิจกรรมการส่งออก หมายถึง การส่งออกสินค้า 1 ชนิด ไปยัง 1 ประเทศคู่ค้า โดยผู้ส่งออก 1 ราย เราสามารถวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของภาคส่งออกในระดับที่ละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก โดยกลุ่มกิจกรรมส่งออกเดิม (Incumbents) หมายถึง ผู้เล่นรายเดิมที่ส่งสินค้าเดิมไปยังประเทศเดิม และกลุ่ม Entrants หมายถึง การริเริ่มกิจกรรมส่งออกใหม่ รูปที่ 2 แสดงให้เห็นว่า การเติบโตส่วนใหญ่จะมาจากการริเริ่มกิจกรรมใหม่ ๆ ของผู้ส่งออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลัง และในรูปล่างซึ่งเป็นการนับจำนวนของกิจกรรม จะเห็นได้ว่า ในแต่ละปีจำนวนกิจกรรมที่ริเริ่มใหม่เป็นสัดส่วนที่น้อยเทียบกับกิจกรรมเดิม ส่วนหนึ่งสะท้อนการเข้าออกของผู้ส่งออกในแต่ละปีที่สูงมาก นอกจากนี้ แม้ผู้ส่งออกจะมีความหลากหลายของกิจกรรมเพิ่มขึ้นตลอด 15 ปีที่ผ่านมา แต่อัตราการเพิ่มก็ลดลงอย่างชัดเจนในช่วงหลัง

โดยรวม พลวัตของภาคส่งออกไทยที่ผ่านมาถูกขับเคลื่อนด้วยการเปลี่ยนแปลงในมิติผู้ประกอบการ ประเภทสินค้า และตลาดเป็นสำคัญ การวิเคราะห์และเข้าใจพัฒนาการในภาคส่งออกจึงควรพิจารณาลึกลงไปมากกว่าเพียงการขยายตัวเชิงมูลค่า โดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงในมิติขอบเขต หรือ extensive margin ดังกล่าวด้วย ดังสะท้อนในงานศึกษาในกรณีต่างประเทศ เช่น Chen and Yu (2010) ในกรณีประเทศแคนาดา หรือ Wagner (2013) ในกรณีของเยอรมัน

หน้าเก่าหน้าใหม่ ใครอยู่ใครไป

บทบาทของผู้ประกอบการในกิจกรรมการส่งออกเป็นสิ่งที่งานศึกษาในช่วงหลังให้ความสำคัญมาก ในส่วนถัดไปเราจึงวิเคราะห์การหมุนเวียนของผู้ส่งออกอย่างละเอียดมากขึ้น หากแบ่งกลุ่มประเทศคู่ค้าออกเป็น 10 กลุ่มหลัก ตารางที่ 1 แสดงการเติบโตเฉลี่ยและจำนวนผู้ส่งออกในช่วงปี 2011–2015 โดยแยก contribution ของกลุ่มผู้ส่งออกหน้าเก่า (Incumbents) และหน้าใหม่ (Entrants) สำหรับกลุ่ม incumbents ซึ่งคือผู้ประกอบการที่ส่งออกในปีฐาน (2011) เมื่อพิจารณาจนถึงสิ้นปี 2015 จะมีผู้ประกอบการส่วนหนึ่งที่ยังคงอยู่รอดและส่งออก (กลุ่ม Stay) ในขณะที่ผู้ประกอบการอีกส่วนหนึ่งยุติการส่งออกและออกจากตลาดไป (กลุ่ม Exit)

ตารางที่ 1 : การเติบโตเฉลี่ยและจำนวนผู้ส่งออกระหว่าง 2011–2015 ในกลุ่มคู่ค้าต่าง ๆ

การเติบโตเฉลี่ยและจำนวนผู้ส่งออกระหว่าง 2011–2015 ในกลุ่มคู่ค้าต่าง ๆ

ที่มา: กรมศุลกากร คำนวณโดยผู้เขียน; ในแง่มูลค่า Total = Entrants + Stay + Exit; ในแง่จานวน Total = Entrants + Stay

ในแง่ของมูลค่าการส่งออก ส่วนบนของตารางที่ 1 แสดงให้เห็นว่าตลาดที่มีการเติบโตอย่างโดดเด่นในช่วงนี้ ได้แก่ Australia และ US ซึ่งมีแรงขับเคลื่อนสำคัญมาจากกลุ่มผู้เล่นเดิมที่อยู่รอด (Stay) อย่างไรก็ตาม หากมองไปยังตลาดอื่น ๆ จะพบว่ากลุ่มผู้เล่นหน้าใหม่ (Entrants) นั้นมีบทบาทสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาด China และ Japan ที่ดูเหมือนว่าผู้เล่นเก่ากำลังเผชิญการหดตัว แต่ตลาดโดยรวมกลับเติบโตหรือถูกพยุงไว้ไม่ให้หดตัวมากด้วยพลังของผู้เล่นใหม่ และลักษณะเช่นเดียวกันสามารถเห็นได้ในตลาด East Asia, EU และ Rest of the World อีกด้วย ส่งผลให้ในภาพรวมกลุ่มผู้เล่นใหม่เป็นผู้ผลัดกันการขยายตัว ในขณะที่ผู้เล่นเดิมมีผลสุทธิเป็นลบดังที่สะท้อนในรูปที่ 2

เมื่อพิจารณาจากจำนวนผู้ประกอบการ ASEAN, EU และ Japan มีจำนวนผู้ส่งออกมากที่สุดในปี 2015 โดยจำนวนผู้เล่นหน้าใหม่ใน ASEAN และ China สูงกว่าทั้งจำนวนผู้เล่นเดิมที่อยู่รอด (Stay) และที่ออกไป (Exit) ซึ่งต่างจากตลาดอื่น ๆ ที่จำนวนผู้เล่นถอนตัวออกมากกว่าเข้าส่งผลให้ผู้ส่งออกโดยรวมมีจำนวนลดลงดังในรูปที่ 2

ตารางที่ 2 : การเติบโตเฉลี่ยและจำนวนผู้ส่งออกระหว่าง 2011–2015 ในกลุ่มสินค้าประเภทต่าง ๆ

การเติบโตเฉลี่ยและจำนวนผู้ส่งออกระหว่าง 2011–2015 ในกลุ่มสินค้าประเภทต่าง ๆ

ที่มา: กรมศุลกากร คำนวณโดยผู้เขียน; ในแง่มูลค่า Total = Entrants + Stay + Exit; ในแง่จานวน Total = Entrants + Stay

มิติถัดไปเป็นการวิเคราะห์การเติบโตเฉลี่ยตามประเภทของสินค้าโดยแบ่งสินค้าออกเป็น 10 กลุ่มหลัก ตารางที่ 2 แสดงให้เห็นว่าสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่นในช่วง 2011–2015 ได้แก่ Transportation และ Miscellaneous โดยมีกำลังหลักเป็นกลุ่ม Stay แต่สำหรับสินค้าประเภทอื่น สามารถกล่าวได้ว่า พึ่งพาการส่งออกของกลุ่ม Entrants เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มสินค้า Agricultural Products, Wood & Leather Products และ Metals & Other Materials

ในแง่ของจำนวนผู้ส่งออก สินค้าในกลุ่ม Metals & Other Materials, Chemicals & Rubbers และ Machinery มีจำนวนประกอบการมากที่สุดในปี 2015 ส่วนกลุ่มสินค้า Wood & Leather Products และ Textiles & Wearing Apparels มีจำนวนผู้ประกอบการเดิมที่ออกจากตลาด (Exit) ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ส่งออกที่อยู่รอด และในทุกประเภทสินค้า ผู้เล่นใหม่มีจำนวนสูงเมื่อเทียบกับกลุ่มผู้เล่นเดิมที่อยู่รอด

ตารางที่ 3 : พลวัตการส่งออก (2011–2015) การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าการส่งออก (เฉลี่ยต่อปีระหว่าง 2011–2015)

img 5

การเปลี่ยนแปลงของจานวนผู้ส่งออก (2011–2015)

img 6

ที่มา: กรมศุลกากร คำนวณโดยผู้เขียน

การพิจารณาข้างต้นชี้เห็นถึงบทบาทสำคัญของการหมุนเวียนของผู้ประกอบการที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าการส่งออกโดยรวม ซึ่งเป็นอีกมิติหนึ่งที่ควรคำนึงถึงในการ ‘วัดชีพจร’ ของภาคการส่งออก โดยภาพที่ได้จากมุมมอง extensive margin ดังกล่าวอาจแตกต่างจากการเปลี่ยนแปลงเชิงมูลค่าที่เราคุ้นเคยโดยสิ้นเชิง เช่น ในตารางที่ 3 ซึ่งแสดงการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าการส่งออกเทียบกับการเปลี่ยนแปลงของจำนวนผู้ส่งออกในช่วงปี 2011–2015 โดยแบ่งแยกตามตลาดและประเภทสินค้า

ในแง่ของมูลค่า การส่งออกไปยัง China และ EU ไม่ค่อยต่างกันมากนัก (0.2% กับ 0%) แต่เมื่อพิจารณาจากมุมมองของจำนวนผู้ประกอบการ China มีผู้ส่งออกเพิ่มขึ้นมากถึง 9% ในขณะที่จำนวนผู้ส่งออกไปยัง EU ลดลงถึง 10.3% หรือ ในมุมมองของประเภทสินค้า Wood & Leather Products ที่มูลค่าการส่งออกเติบโตในระดับที่ดี (4.2%) กลับมีจำนวนผู้ประกอบการที่ลดลงอย่างมากในเกือบทุกตลาด (โดยรวม -20.3% )

ในภาพรวม ภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรมส่งออกไทยกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในแง่ของการกระจายตัวของผู้ประกอบการ บางสินค้าในบางตลาด ผู้ส่งออกกว่าครึ่งละทิ้งไป ในขณะที่บางสินค้าในบางตลาดจำนวนผู้ส่งออกขยายตัวเกือบ 50% อุตสาหกรรม “ดาวรุ่ง” อย่าง Transportation นั้น มีการเติบโตดีในทุกตลาด ส่วนตลาดที่กำลัง “เนื้อหอม” สำหรับผู้ประกอบการในภาพรวม ได้แก่ ตลาด ASEAN และ China

หากเจาะจงแต่ละคู่สินค้า-ตลาดแล้ว ธุรกิจที่จำนวนผู้ประกอบการขยายตัวได้สูงสุด คือ การส่งออก Food ไปยัง China (46%) และ ASEAN (37%) ซึ่งสะท้อนในการขยายตัวเชิงมูลค่าที่สูงเช่นกัน ธุรกิจส่งออกที่กำลังหดตัวในแง่ของผู้ประกอบการอย่างชัดเจน ได้แก่ Wood & Leather Products, Textiles & Wearing Apparels และ Metals & Other Materials แต่หากดูในรายละเอียดจะพบว่า ส่วนหนึ่งเป็นการเลื่อนไหลเพื่อไปส่งออกในตลาดใหม่ คือ ASEAN และ China และเมื่อพิจารณาร่วมกับการเติบโตของมูลค่าการส่งออกในตารางที่ 2 จะพบความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง 3 สินค้านี้ คือ ในกรณีของ Metals & Other Materials ผู้ประกอบการที่เกิดขึ้นใหม่กลายเป็นกำลังหลักในการสร้างความเติบโตให้แก่อุตสาหกรรมนี้ได้ แต่ในกรณีของ Textiles & Wearing Apparels การบุกเบิกตลาดใหม่ไม่เพียงต่อที่จะชดเชยการหดตัวของผู้เล่นเก่าและผู้เล่นที่ออกจากธุรกิจ และในกรณีของ Wood & Leather Products ผู้ประกอบการใหม่ขยายตัวได้ค่อนข้างดี อีกทั้งผู้ประกอบการเดิมยังทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงสร้างการขยายตัวได้อย่างมาก

ในหลาย ๆ ตลาดหรือประเภทสินค้าแม้มูลค่าการส่งออกจะเติบโตต่ำ แต่กลับดึงดูดผู้ประกอบการใหม่ ๆ ได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจเป็นฐานให้ตลาดนั้น ๆ เติบโตขึ้นได้อีกในอนาคต การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของจำนวนผู้ประกอบการในแต่ละตลาดหรือประเภทสินค้าจึงอาจเป็นตัวชี้วัดอีกตัวหนึ่งที่บอกว่าธุรกิจใด “มีอนาคต” นอกเหนือจากมูลค่าการส่งออก แต่ในทางกลับกัน การหดตัวของจำนวนผู้เล่นในตลาดหนึ่งอาจไม่ได้เป็นสิ่งเลวร้ายเสมอไป ถ้าหากผู้เล่นที่เหลืออยู่คือผู้มีประสิทธิภาพและทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมเพิ่มสูงขึ้น

หนทางของผู้เล่นหน้าใหม่

ในสนามที่เต็มไปด้วยผู้เล่นหน้าใหม่ คำถามสำคัญที่ตามมาก็คือ มีความแตกต่างอะไรบ้างระหว่างผู้เล่นหน้าใหม่กับผู้เล่นหน้าเก่า และผู้เล่นที่กระโจนเข้ามาในตลาดมีพัฒนาการไปอย่างไรหากสามารถอยู่รอดในสนามการส่งออก ตารางที่ 4 แสดงคุณลักษณะของผู้ส่งออกแยกตามกลุ่ม ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างกลุ่มผู้เล่นในมิติต่าง ๆ ดังนี้

ตารางที่ 4 : คุณลักษณะของผู้ส่งออกแยกตามกลุ่ม

คุณลักษณะของผู้ส่งออกแยกตามกลุ่ม

หมายเหตุ : ใช้ข้อมูล ณ ปีฐาน ที่มา: กรมศุลกากรและกระทรวงพาณิชย์ คำนวณโดยผู้เขียน

ในแง่มูลค่าการส่งออก ผู้ประกอบการกลุ่ม Entrants หรือ Exit มักมีขนาดเล็กกว่าผู้เล่นเดิมที่อยู่รอดในตลาด (Stay) มาก ทั้งนี้ ขนาดโดยรวมของผู้ส่งออกลดลงเล็กน้อยในช่วงวิกฤต Subprime ระหว่าง 2007–2011 ที่การส่งออกหดตัวอย่างรุนแรง

ในมิติของจำนวนประเภทสินค้าและจำนวนตลาดส่งออก ผู้เล่นเดิมที่อยู่รอดในตลาด (Stay) มีการส่งออกสินค้าหลากหลายประเภทไปยังจำนวนตลาดที่มากกว่าผู้ที่เข้าหรือออกจากตลาดอย่างเห็นได้ชัด โดยผู้ส่งออกสองกลุ่มหลังนี้มักเป็นผู้ประกอบการที่ส่งออกเพียงตลาดเดียว

และเมื่อพิจารณาคุณลักษณะทางการเงินจะเห็นได้ว่า บริษัทที่เป็นผู้เล่นเดิมและอยู่รอดมีแนวโน้มจะเป็นบริษัทใหญ่ที่ครอบครองเครื่องจักรหรือสินทรัพย์ถาวรมากกว่า สะท้อนจากขนาดของมูลค่าสินทรัพย์ถาวรที่สูงกว่า ในขณะที่อัตราส่วนกำไรต่อสินทรัพย์ของบริษัทเหล่านี้มีค่าสูงกว่าเช่นกัน บ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการทำกำไรที่มากกว่าอีก 2 กลุ่มโดยเปรียบเทียบ อย่างไรก็ตาม อัตราการทำกำไรต่อสินทรัพย์ของกลุ่ม Entrants ยังมากกว่ากลุ่ม Exit ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีว่า ธุรกิจโดยรวมได้หมุนเวียนเอาผู้ประกอบการที่มีประสิทธิภาพที่เหนือกว่าเข้ามา ซึ่งจะยกระดับอุตสาหกรรมโดยรวมในที่สุด

รูปที่ 3 : พัฒนาการของผู้ส่งออกในมิติต่าง ๆ

img 8

ที่มา: กรมศุลกากร คำนวณโดยผู้เขียน

ท้ายที่สุดหากพิจารณาพัฒนาการของผู้ประกอบการที่เข้ามาในตลาดส่งออก รูปที่ 3 แสดงให้เห็นว่าผู้เล่นหน้าใหม่มักเริ่มต้นโดยการมุ่งเน้นไปที่ตลาดเพียงตลาดเดียวและมีสินค้าเพียงไม่กี่ประเภทเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป ผู้ส่งออกที่สามารถอยู่รอดในตลาดได้มีแนวโน้มที่จะขยายตัวทั้งในแง่ของมูลค่า จำนวนตลาด ประเภทสินค้า รวมทั้งจำนวนคู่กิจกรรมที่จำแนกตามคู่สินค้า-ตลาด (product-market หรือ PM) ดังนั้น การอยู่รอดของผู้เล่นหน้าใหม่และพัฒนาการของผู้ประกอบการเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นกุญแจสำคัญของการเติบโตของการส่งออกในอนาคต

ข้อสรุป

แม้ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า การส่งออกที่ชะลอตัวของไทยในช่วงหลังเป็นผลมาจากการฟื้นตัวที่ไม่เข้มแข็งของเศรษฐกิจโลก แต่เราไม่ควรมองข้ามปัจจัยอื่น ๆ ที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น ถึงแม้ฐานการส่งออกของประเทศไทยจะประกอบด้วยผู้ส่งออกไม่กี่รายที่มีขนาดใหญ่และดำเนินกิจการมานาน (ตามที่เรียบเรียงในบทความตอนที่แล้ว) แต่ผู้ประกอบการเดิมหรือกิจกรรมการส่งออกเดิมในธุรกิจที่เคยเป็นกำลังหลักกลับไม่สามารถผลักดันให้เกิดการเติบโตได้อย่างในอดีต และภาคการส่งออกไทยกำลังฝากอนาคตไว้ในมือผู้เล่นหน้าใหม่อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งปัจจุบันยังอาจเป็นได้เพียงผู้ที่รอวันเติบโตต่อไป นโยบายที่เกี่ยวข้องต้องเอื้อให้กับผู้เล่นหน้าใหม่หรือการขยายขอบเขตของผู้ส่งออกเดิมอย่างเหมาะสม แม้จะเป็นในตลาดที่อยู่ตัวแล้วก็ตาม บทเรียนที่สำคัญ คือ หากไทยยังคงพะวงอยู่กับฐานการส่งออกเดิม ๆ ก็คงไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงเป็นแน่

เอกสารอ้างอิง

Apaitan, T., P. Disyatat, and K. Samphantharak. (2016): “Dissecting Thailand’s International Trade: Evidence from 88 Million Export and Import Entries.” PIER Discussion Paper No. 43, Puey Ungphakorn Institute for Research.

Chen, S., and E. Yu. (2010): “Export Dynamics in Canada: Market Diversification in a Changing International Economic Environment.” in Ciuriak, D. (ed.) Trade Policy Research 2010: Exporter Dynamics and Productivity, Foreign Affairs and International Trade Canada, Ottawa.

Wagner, J. (2013): “The Role of Extensive Margins of Exports in The Great Export Recovery in Germany, 2009/2010.” Working Paper Series in Economics 266. University of Lüneburg, Institute of Economics.

Piti Disyatat
Piti Disyatat
Bank of Thailand
Tosapol Apaitan
Tosapol Apaitan
Bank of Thailand
Krislert Samphantharak
Krislert Samphantharak
University of California San Diego
Topics: International Trade
Tags: customs dataexportstrade
The views expressed in this workshop do not necessarily reflect the views of the Puey Ungphakorn Institute for Economic Research or the Bank of Thailand.

Puey Ungphakorn Institute for Economic Research

273 Samsen Rd, Phra Nakhon, Bangkok 10200

Phone: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

Terms of Service | Personal Data Privacy Policy

Copyright © 2025 by Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.

Content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license.

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

Get PIER email updates

Facebook
YouTube
Email