ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของไทย: อีกหนึ่งปัญหาด้านการศึกษาที่ภาครัฐควรใส่ใจ

บทความนี้กลั่นกรองเนื้อหาจากบทความ aBRIDGEd ฉบับเต็มเรื่อง “ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของไทย: ข้อสรุปจากผลการสอบปิซ่า (PISA)”
เป็นที่ทราบกันดีว่าระบบการศึกษาของไทยมีปัญหาในหลายด้าน แต่ปัญหาที่มักจะถูกหยิบยกมาพูดถึงก็คือ ปัญหาด้านปริมาณ ซึ่งหมายถึง ปัญหาที่เด็กไทยไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาได้มากเพียงพอที่จะสนับสนุนการทำงานในอนาคต เช่น มีเด็กไทยจำนวนไม่น้อยที่ต้องออกจากการเรียนกลางคัน หรือครอบครัวไม่สามารถแบกรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาทำให้ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาได้ อีกปัญหาหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากันและได้รับความสนใจ คือ ปัญหาด้านคุณภาพ ซึ่งผลการสำรวจความพึงพอใจของภาคธุรกิจและผลการสอบวัดทักษะพื้นฐานในระดับนานาชาติ เช่น การประเมินความรู้ของนักเรียนในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ภายใต้โครงการ TMISS (The Trends in International Mathematics and Science Study) บ่งชี้ถึงปัญหาว่าความสามารถของเด็กนักเรียนไทยยังอยู่ในระดับแย่ (Poor) และมีทักษะไม่เพียงพอที่จะตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงาน แม้ว่าทั้งสองมิติปัญหาจะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาการศึกษาของไทย แต่ยังมีอีกมิติหนึ่งที่เป็นปัญหาที่สำคัญทางด้านการศึกษาที่ควรได้รับการจัดการแก้ไขเช่นเดียวกัน มิติที่สำคัญดังกล่าว ก็คือ มิติความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ซึ่งหมายถึง ความแตกต่างในผลลัพธ์ของการศึกษา อันเป็นผลเกี่ยวเนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่มากกว่าแค่คุณภาพของการเรียนการสอน แต่ครอบคลุมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ตั้งแต่ปัจจัยเฉพาะของนักเรียนแต่ละคน ปัจจัยทางด้านครอบครัว ไปจนถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา…
[อ่านต่อที่ ThaiPublica]