Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Latest discussion Paper
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Latest aBRIDGEd
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Upcoming workshop
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
Latest PIER Economics Seminar
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn
Institute for
Economic Research
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
Latest announcement
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Blogblog
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/2917b3c3b54f3e7af778753e24864370/e9a79/GasPipeline.png
29 March 2022
20221648512000000

พลังงาน รัสเซีย และยูเครน

สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนมีผลต่อพลังงานอย่างไร?
Swisa Pongpech
พลังงาน รัสเซีย และยูเครน

สงครามระหว่างประเทศรัสเซียและยูเครนได้ส่งผลกระทบต่อพลังงานทั่วโลก ตั้งแต่ราคาน้ำมันดิบ (crude oil) จนกระทั่งก๊าซธรรมชาติที่สูงขึ้นมาก ซึ่งเรื่องของพลังงานก็ประเด็นที่ผู้นำสหภาพยุโรปให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเนื่องด้วยความมั่นคงด้านพลังงาน หรือเป้าหมายระยะยาวที่จะลดการพึ่งพาพลังงานจากแหล่งคาร์บอน (หรือ net zero) ภายในปี 2050

ภาพรวมของพลังงานยุโรปกับรัสเซีย

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเรื่องของพลังงานยุโรปและรัสเซียกัน

  • รัสเซียเป็นผู้ผลิตน้ำมันใหญ่อันดับสามรองลงมาจากสหรัฐอเมริกาและซาอุดิอาระเบีย โดยเป็นผู้ส่งออกน้ำมัน (petroleum oil) ใหญ่อันดับแรกของโลก และใหญ่อันดับสองรองลงมาจากประเทศซาอุดิอาระเบียสำหรับน้ำมันดิบ
  • รัสเซียส่งออกน้ำมันร้อยละ 60 ไปสหภาพยุโรป และร้อยละ 20 ไปจีน
  • สหภาพยุโรปพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียเป็นปริมาณมาก โดย
    • นำเข้าน้ำมัน ร้อยละ 25.5 จากรัสเซีย และร้อยละ 9.5 จากสหรัฐ
    • นำเข้าก๊าซธรรมชาติ ร้อยละ 44 จากรัสเซีย ร้อยละ 5 จากสหรัฐ
  • ยูเครนเคยเป็นประเทศที่ช่วยส่งผ่านพลังงานจากรัสเซียเข้าสู่สหภาพยุโรป โดยในปี 2009 ร้อยละ 60 ของพลังงานส่งผ่านยูเครน ขณะที่ในปี 2021 เหลือเพียงร้อยละ 25 เนื่องจากรัสเซียได้สร้างท่อ Nord Stream 1 ใต้ทะเลบอลติกเพื่อส่งผ่านก๊าซธรรมชาติสู่เยอรมันและสหภาพยุโรปโดยตรง

เกิดอะไรขึ้นเมื่อมีสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ?

เพื่อบรรเทาความกังวลเกี่ยวกับอุปทานของน้ำมันอันเนื่องมาจากสงคราม International Energy Agency (IEA)1 ตกลงที่จะปล่อยน้ำมันออกจากสำรองฉุกเฉิน จำนวน 60 ล้านบาร์เรล จากทั้งหมด 1.5 พันล้านบาร์เรลในสำรอง ซึ่งตั้งแต่การก่อตั้งขององค์กรนับเป็นครั้งที่ 4 ที่ IEA ได้ปล่อยน้ำมันสำรองฉุกเฉินออก ต่อมา IEA ก็ได้ออกแผน 10 ข้อเพื่อให้กลุ่มประเทศยุโรปลดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียลง 1 ใน 3 ภายในหนึ่งปี และล่าสุด (วันที่ 18 มีนาคม 2022) ได้ประกาศแผนลดการใช้น้ำมันลง 2.7 ล้านบาเรลภายใน 4 เดือน

แผนลดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียของ IEA 10 ข้อ
  1. ไม่ลงนามสัญญาการซื้อก๊าซธรรมชาติ่จากรัสเซียเพิ่มเติม
  2. หาแหล่งนำเข้าก๊าซธรรมชาติแหล่งใหม่
  3. เพิ่มความแข็งแกร่งด้านพลังงาน ด้วยการกำหนดขั้นต่ำในการสำรองก๊าซธรรมชาติ
  4. เร่งโครงการพัฒนาพลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงแดด หรือ พลังงานลม
  5. เพิ่มการผลิตพลังงานจากแหล่งพลังงานชีวภาพและนิวเคลียร์ ให้ได้มากที่สุด
  6. กำหนดมาตรการภาษีระยะสั้นสำหรับผู้ประกอบการที่มีผลกำไรจำนวนมาก เพื่อปกป้องผู้บริโภคและลดภาระค่าใช้จ่ายพลังงานที่สูง
  7. เร่งการปรับเปลี่ยนหม้อต้มน้ำด้วยปั๊มความร้อนในครัวเรือน
  8. เร่งการปรับปรุงตึกและอุตสาหกรรมให้ใช้พลังงานแบบมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  9. รณรงค์การปรับลดการตั้งอุณหภูมิ 1 องศาในครัวเรือน
  10. เร่งหาช่องทางใหม่สำหรับพลังงานและลดการใช้คาร์บอนในการผลิตไฟฟ้า

แม้ IEA ได้ออกมาตรการต่าง ๆ ราคาน้ำมันโลกและก๊าซธรรมชาติยังคงปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยธนาคารกลางยุโรปคาดว่าการลดการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของสหภาพยุโรปชะลอลงร้อยละ 0.5 ในปี 2022 และกรณีสหภาพยุโรปตัดสินใจที่จะยุติการนำเข้าน้ำมันรัสเซียทั้งหมด GDP อาจลดลงถึงร้อยละ 1.4 โดยประเทศเยอรมนีและอิตาลีจะได้รับผลกระทบมากที่สุดเนื่องจากพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียเป็นหลัก

ส่วนประเทศไทยนั้นนำเข้าน้ำมันส่วนใหญ่จากตะวันออกกลางจึงไม่ได้รับผลกระทบในด้านความมั่นคงด้านพลังงาน อย่างไรก็ดี ก็ยังได้รับผลกระทบทางอ้อมจากราคาน้ำมันโลกและค่าขนส่งสินค้าที่สูงขึ้น และภาคการส่งออกและท่องเที่ยวที่พึ่งพาต่างชาติ รวมถึงนักท่องเที่ยวจากรัสเซีย ก็อาจได้รับผลกระทบเช่นกัน

มองไปข้างหน้า เรื่องของความมั่นคงด้านพลังงานและการบรรลุเป้าหมายที่จะลดการพึ่งพาพลังงานจากแหล่งคาร์บอนยังคงเป็นประเด็นสำคัญ สงครามครั้งนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงความเปราะบางที่เกิดจากนโยบายพลังงานที่พึ่งพาพลังงานแหล่งใดแหล่งหนึ่งมากเกินไป และยังเป็นตัวเร่งให้หลายประเทศโดยเฉพาะในสหภาพยุโรปเร่งปรับแผนการใช้พลังงานและเพิ่มการลงทุนในพลังงานทดแทน ซึ่งก็อาจเป็นแรงกระตุ้นให้สหภาพยุโรปบรรลุการลดการพึ่งพาพลังงานจากแหล่งคาร์บอนได้เร็วกว่าเป้าหมายเดิม


  1. IEA เป็นองค์กรอิสระระหว่างประเทศตั้งขึ้นมาเมื่อปี 1974 เพื่อติดตามและประสานเกี่ยวกับ พลังงานทั่วโลก ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 31 แห่ง ประกอบด้วยสหรัฐฯ แคนาดา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ประเทศในยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้↩
Swisa Pongpech
Swisa Pongpech
University of Oxford
The views expressed in this workshop do not necessarily reflect the views of the Puey Ungphakorn Institute for Economic Research or the Bank of Thailand.

Puey Ungphakorn Institute for Economic Research

273 Samsen Rd, Phra Nakhon, Bangkok 10200

Phone: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

Terms of Service | Personal Data Privacy Policy

Copyright © 2025 by Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.

Content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license.

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

Get PIER email updates

Facebook
YouTube
Email