Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Latest discussion Paper
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Latest aBRIDGEd
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Upcoming workshop
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
Latest PIER Economics Seminar
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn
Institute for
Economic Research
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
Latest announcement
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Blogblog
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/1b3f2915e4fc7092f7afbfa189ed0917/41624/cover.jpg
10 May 2023
20231683676800000

'หนี้ข้ามรุ่น' ของเกษตรกรไทย จะมีเยอะแค่ไหนหากยังไม่มีแนวทางแก้ไขอย่างจริงจัง?

Sommarat ChantaratLathaporn Ratanavararak
'หนี้ข้ามรุ่น' ของเกษตรกรไทย จะมีเยอะแค่ไหนหากยังไม่มีแนวทางแก้ไขอย่างจริงจัง?

เกษตรกรไทยมีหนี้สินกันเป็นวงกว้าง มีหนี้เฉลี่ยมากถึงกว่า 450,000 บาทต่อครัวเรือน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเมื่อเปรียบเทียบปริมาณหนี้กับรายได้และสินทรัพย์ พบว่า กว่า 57% ของครัวเรือนมีหนี้สินสูงเกินศักยภาพในการชำระ (Chantarat et al., 2023; Chantarat et al., 2022) คำถามสำคัญคือ จะเกิดอะไรขึ้นหากเรายังคงไม่มีแนวทางแก้ไขที่ดีกว่าที่เป็นอยู่?

ชำระหนี้ได้ (บ้าง) ไม่ได้หมายถึงไม่มีปัญหาหนี้

การศึกษานี้ใช้ข้อมูลสินเชื่อรายสัญญาจากเครดิตบูโรกว่า 5 ปีของเกษตรกรกว่า 3.5 ล้านคนทั่วประเทศที่มีสินเชื่อที่เป็น term loan ซึ่งมีข้อมูลมากพอที่จะเข้าใจพฤติกรรมการชำระหนี้ได้ (คิดเป็น 87% ของเกษตรกรที่กู้ในระบบทั้งหมด) โดยจากพฤติกรรมการชำระหนี้ตลอด 5 ปีของกลุ่มนี้แสดงให้เห็นว่า มี 28% ที่สามารถจ่ายตัดต้นได้บ้าง แต่กว่า 56% กำลังพยุงปัญหาหนี้โดยการชำระหนี้คืนเพียงเล็กน้อยตลอดมา และ 16% ไม่สามารถชำระหนี้ได้เลย1 ดังนั้น หากมองให้ลึก ปัญหาหนี้เกษตรกรเป็นหนี้เรื้อรังที่มีแนวโน้มปิดจบได้ยาก (หรือที่ในต่างประเทศเรียกว่า persistent debt)

เกษตรกรเกินครึ่งมีแนวโน้มต้องส่งต่อหนี้ไปสู่รุ่นลูกหลาน หากเรายังคงไม่มีแนวทางแก้ไขที่ดีกว่าที่เป็นอยู่

เมื่อนำ (1) อายุปัจจุบันของเกษตรกร (2) ปริมาณหนี้ในปัจจุบัน และ (3) พฤติกรรมการชำระหนี้เฉลี่ยตลอด 5 ปีของเกษตรกรแต่ละราย มาประมาณการอายุที่เกษตรกรจะสามารถปลดหนี้ได้ ภายใต้สมมุติฐานที่ว่า เกษตรกรจะยังชำระหนี้ตามพฤติกรรมในอดีต 5 ปีที่ผ่านมา รูปที่ 1 แสดงสัดส่วนของเกษตรกรตามอายุที่คาดว่าจะปลดหนี้ได้ แบ่งตามกลุ่มอายุปัจจุบัน และแสดงให้เห็นว่า 67% จะไม่สามารถปิดจบหนี้ได้ก่อนเลิกทำงานที่อายุ 70 ปี และ 56% น่าจะไม่สามารถปิดจบหนี้ได้ก่อนอายุ 80 ปี

รูปที่ 1: สัดส่วนของเกษตรกรที่มีหนี้ในระบบ ตามอายุและอายุที่คาดว่าจะจ่ายหนี้หมด2

สัดส่วนของเกษตรกรที่มีหนี้ในระบบ ตามอายุและอายุที่คาดว่าจะจ่ายหนี้หมด

ที่มา: ข้อมูลสินเชื่อเชิงสถิติจากบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) คำนวณโดยผู้เขียน

ผลข้างต้นแสดงให้เห็นว่า สถานการณ์หนี้และพฤติกรรมการชำระหนี้ของเกษตรกรส่วนใหญ่ในปัจจุบันกำลังมีปัญหา ซึ่งน่าจะมาจากทั้งปัญหา ability to pay เนื่องจากโครงสร้างหนี้ในปัจจุบันเกินศักยภาพในการชำระไปตัดต้นเงินได้ และปัญหาด้านวินัยและแรงจูงใจในการชำระหนี้ ดังนั้น หลักการในการแก้หนี้เกษตรกรอย่างยั่งยืน ควรจะต้องเริ่มจากการปรับโครงสร้างหนี้ให้ตรงกับศักยภาพ และการสร้างกลไกกระตุ้นการชำระหนี้ เพื่อสร้างวินัยและจูงใจให้เกษตรกรสามารถชำระหนี้ให้ได้ตามวิถีของรายได้ ซึ่งมีความแตกต่างหลากหลายมาก และก็ต้องทำควบคู่ไปกับการส่งเสริมศักยภาพ สร้างรายได้ และภูมิคุ้มกันทางการเงินเพื่อเพิ่มความสามารถในการชำระและลดการพึ่งพิงสินเชื่อในอนาคต

การจะแก้หนี้เกษตรกรอย่างยั่งยืนได้ เป็นโจทย์ที่ไม่ง่าย และคงจะไม่สามารถแก้เสร็จได้ในเร็ววัน แต่เราควรจะต้องเริ่มตอนนี้ ก่อนที่ปัญหาหนี้ และ ‘หนี้ข้ามรุ่น’ ของเกษตรกรไทย จะกลายเป็นวงจรที่จะส่งต่อความยากจนและเหลื่อมล้ำข้ามรุ่นในสังคมไทยต่อไป

เอกสารอ้างอิง

Chantarat, S., Chawanote, C., Ratanavararak, L., Rittinon, C., Sa-ngimnet, B., & Adultananusak, N. (2023). Financial Lives and the Vicious Cycle of Debt among Thai Agricultural Households (Discussion Paper No. 204). Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.
Chantarat, S., Ratanavararak, L., & Chawanote, C. (2022). กับดักหนี้ กับการพัฒนาเศรษฐกิจการเงินครัวเรือนฐานราก (aBRIDGEd No. 15/2022). Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.

  1. จ่ายตัดต้นได้พิจารณาจากมีประวัติการชำระหนี้คืนเฉลี่ยสูงกว่า 10% ของวงเงิน ซึ่งถือว่าน่าจะครอบคลุมอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายคน; ชำระหนี้คืนเพียงเล็กน้อย หมายถึงมีประวัติการชำระหนี้คืนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0.1-10% ของวงเงิน และไม่สามารถชำระหนี้ได้เลย หมายถึงการชำระหนี้เฉลี่ยที่น้อยกว่า 0.1% ของวงเงินหรือยอดหนี้ไม่ลดลงเลย↩
  2. ผู้กู้ที่เป็นเกษตรกรพิจารณาจากผู้กู้ที่มีสินเชื่อเพื่อการเกษตร; ตัวเลขคิดจากเกษตรกรที่มีหนี้ในระบบทั้งหมด 3.5 ล้านคนที่มี term loan (87% จากจำนวนเกษตรกรในข้อมูลเครดิตบูโรทั้งหมด 4.04 ล้านคน) โดยเกษตรกรที่ไม่ได้นำมาคำนวณ เป็นกลุ่มที่มีเพียงสินเชื่อบัตรเครดิต O/D หรือสินเชื่อหมุนเวียนที่ยังไม่สามารถเข้าใจพฤติกรรมการจ่ายได้จากข้อมูล; ยอดหนี้และพฤติกรรมการชำระคืนหนี้ในอดีตพิจารณาจากบัญชีสินเชื่อ term loan ทุกประเภทกับทุกสถาบันการเงินในเครดิตบูโร ซึ่งรวมสินเชื่อเพื่อการเกษตร สินเชื่อรถ สินเชื่อบ้าน และสินเชื่อส่วนบุคคล; อายุที่คาดว่าจะจ่ายหนี้หมดถูกคำนวณจาก (1) อายุปัจจุบัน (2) ปริมาณหนี้ปัจจุบัน และ (3) พฤติกรรมการชำระหนี้ของเกษตรกรคนนั้น ๆ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ดังนั้นสมมุติฐานสำคัญของการคำนวณนี้ คือเกษตรกรจะยังชำระตามพฤติกรรมในอดีต 5 ปีที่ผ่านมา↩
Sommarat Chantarat
Sommarat Chantarat
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Lathaporn Ratanavararak
Lathaporn Ratanavararak
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
The views expressed in this workshop do not necessarily reflect the views of the Puey Ungphakorn Institute for Economic Research or the Bank of Thailand.

Puey Ungphakorn Institute for Economic Research

273 Samsen Rd, Phra Nakhon, Bangkok 10200

Phone: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

Terms of Service | Personal Data Privacy Policy

Copyright © 2025 by Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.

Content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license.

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

Get PIER email updates

Facebook
YouTube
Email