Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Latest discussion Paper
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Latest aBRIDGEd
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Upcoming workshop
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
Latest PIER Economics Seminar
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn
Institute for
Economic Research
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
Latest announcement
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Blogblog
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/3913a99beb1301b11fe94695163d3bdd/41624/cover.jpg
26 July 2023
20231690329600000
PIER Digest Series

สำรวจพฤติกรรมการลงทุนและถือครองคริปโทของครัวเรือนในสหรัฐฯ

Suparit Suwanik
สำรวจพฤติกรรมการลงทุนและถือครองคริปโทของครัวเรือนในสหรัฐฯ

“บิตคอยน์คือทองคำสำหรับพวกหนอนหนังสือ”

— สตีเฟ่น โคลแบร์ ผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ชื่อดัง

“แม้ผมจะมาสายสำหรับปาร์ตี้นี้ แต่ผมก็ยังเป็นผู้สนับสนุนบิตคอยน์”

— อีลอน มัสก์ เจ้าพ่อนักธุรกิจรายใหญ่

“บิตคอยน์ก็เหมือนยาเบื่อหนูนั่นแหละ”

— วอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า

“คริปโทเคอร์เรนซีคือเครื่องมือสำคัญในการเก็งกำไร”

— เจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ

คงเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า “คริปโทเคอร์เรนซี” หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “คริปโท” เป็นประเด็นถกเถียงในวงการการเงินและเศรษฐศาสตร์มาอย่างยาวนาน และทำให้เกิดข้อคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็น “การเป็นหรือไม่ได้เป็นสินทรัพย์ทางการเงิน” ความเห็นมีตั้งแต่มุมมองทางบวกไปจนถึงมุมมองทางลบถึงขั้นที่ว่าคริปโทคือยาพิษ ซึ่งยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับคริปโทมาจนถึงทุกวันนี้ ไม่ต่างกับนักลงทุนรายย่อยที่มีมุมมองแตกต่างกันไปโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ซึ่งบ้างถือครองเพราะมองเห็นคุณค่าของการเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงของเงินเฟ้อ (inflation hedge) บ้างถือครองเพราะเห็นว่าจะได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต และบ้างก็ไม่ถือครองเลยเพราะไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ หรือมองว่าคริปโทเป็นสินทรัพย์ที่เสี่ยงเกินไป หรือแม้กระทั่งคิดว่าคริปโทไม่มีคุณค่าในตัวของมันเอง

ล่าสุด มีงานวิจัย Weber et al. (2023) ที่ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการลงทุนและถือครองคริปโทของครัวเรือนในสหรัฐฯ ไว้อย่างน่าสนใจ โดยออกแบบคำถามทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเกี่ยวกับประเด็นนี้ เพิ่มเติมเข้าไปในแบบสำรวจครัวเรือนโดยใช้ตัวอย่างซ้ำ (Nielsen Homescan Panel Survey) ที่ครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างกว่า 80,000 ครัวเรือนทั่วสหรัฐฯ (ซึ่งกลุ่มตัวอย่างใหญ่เพียงพอที่จะสะท้อนประชากรสหรัฐฯ ได้) และมีความถี่ในการสำรวจอย่างต่อเนื่องในทุกไตรมาส โดยงานวิจัยนี้เพิ่มคำถามให้ครัวเรือนตอบเกี่ยวกับคริปโทตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2018 ถึงไตรมาส 3 ปี 2022 ทั้งนี้ ผลการศึกษาที่น่าสนใจมีหลายประการ ซึ่งสามารถสรุปโดยสังเขปได้ดังนี้

  • สมาชิกของครัวเรือนที่ลงทุนและถือครองคริปโทในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่มีแนวโน้มเป็นเพศชาย มีอายุน้อย ไม่ใช่คนผิวขาว1 และมีแนวคิดทางการเมืองเป็นเสรีนิยม (libertarian) มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสมาชิกของครัวเรือนที่ไม่ลงทุนและถือครองคริปโทเลย
  • ครัวเรือนที่ลงทุนและถือครองคริปโทมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 12 ของครัวเรือนในสหรัฐฯ ทั้งหมด ณ สิ้นปี 2023 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยและแบบสำรวจอื่น ๆ โดยแม้ว่าครัวเรือนส่วนใหญ่จะรายงานว่าการถือครองคริปโทเป็นเพียงสัดส่วนเล็ก ๆ ในพอร์ตการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินทั้งหมดของครัวเรือน แต่กว่าร้อยละ 20 ของครัวเรือนเหล่านี้ มีสัดส่วนการลงทุนในคริปโท คิดเป็นอย่างน้อยร้อยละ 50 ของพอร์ตการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินทั้งหมดของตน

  • ในช่วงเวลาที่สำรวจ ครัวเรือนที่ลงทุนและถือครองคริปโทส่วนใหญ่มีความรู้สึกสบายใจในการถือครองคริปโทและหลายครัวเรือนต้องการถือคริปโทมากขึ้นอีกในอนาคต

  • บิตคอยน์เป็นคริปโทเคอร์เรนซีอันดับหนึ่งที่ครัวเรือนในสหรัฐฯ ถือครอง ขณะที่ครัวเรือนในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ถือครองบิตคอยน์เพียงประเภทเดียว แต่มักจะถือครองคริปโทหลาย ๆ ประเภทพร้อมกัน ซึ่ง Ether และ Dogecoin ได้รับความนิยมลดหลั่นกันมาตามลำดับ

  • เหตุผลสำคัญที่ครัวเรือนเข้าไปลงทุนและถือครองคริปโท คือ การคาดหวังผลตอบแทนสูงจากการลงทุน ตามมาด้วยการลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยงสำหรับพอร์ตการลงทุนของตนเอง นอกจากนี้ มีเหตุผลอื่น ๆ ในการลงทุนและถือครอง คือ เป็นเครื่องมือในการเก็บรักษามูลค่า (store of value) และป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ตลอดจนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคริปโทในวงการการเงิน

  • ในทางตรงกันข้าม ครัวเรือนที่ไม่ได้ลงทุนและถือครองคริปโทให้เหตุผล 2 ประการสำคัญว่าเป็นเพราะ (1) พวกเขาขาดความรู้เกี่ยวกับคริปโท และ (2) พวกเขามีมุมมองในทางลบต่อคริปโทในฐานะที่เป็นสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น เป็นการลงทุนที่เสี่ยงเกินไป หรือมองว่าคริปโทไม่ได้สร้างคุณค่าใด ๆ ในพอร์ตการลงทุนของตนเอง

  • ครัวเรือนที่ลงทุนและถือครองคริปโทมีมุมมองต่อผลตอบแทนที่คาดหวังได้ (expected return) สูงกว่าผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริง นอกจากนี้ ยังมองว่าคริปโทสามารถป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อได้ดีกว่า และเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อยหรือปลอดภัยกว่า เมื่อเทียบกับมุมมองของครัวเรือนที่ไม่ได้ลงทุนในคริปโท

  • หากราคาคริปโทสูงขึ้น มักจะตามมาด้วยการใช้จ่ายของครัวเรือนที่ลงทุนและถือครองคริปโท คือ การซื้อสินทรัพย์ถาวร (durable goods) เช่น อสังหาริมทรัพย์ รถยนต์ ปรากฏการณ์นี้ชี้ให้เห็นว่า ครัวเรือนมองการได้กำไรจากการลงทุนในคริปโทเสมือนเป็นการถูกลอตเตอรี่ สะท้อนจากพฤติกรรมการซื้อสินทรัพย์ถาวรหลังจากนั้น (ขณะที่การซื้อสินทรัพย์อื่น ๆ ไม่เปลี่ยนแปลง) แตกต่างจากการมองว่าเป็นการเพิ่มขึ้นของความมั่งคั่งระยะยาวของครัวเรือน (persistent increase in wealth) ซึ่งในกรณีนี้ ครัวเรือนจะมีการซื้อสินทรัพย์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่สินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้นด้วย เหล่านี้อาจสะท้อนคุณสมบัติเฉพาะของคริปโทที่แตกต่างจากสินทรัพย์ทางการเงินอื่น ๆ ซึ่งอาจเกิดจากความใหม่ของคริปโท และความรู้ความเข้าใจที่ยังมีไม่มากนักของครัวเรือนเกี่ยวกับมัน

นอกจากนี้ ตามที่ได้อธิบายข้างต้นว่า มีครัวเรือนจำนวนมากที่ยังขาดความรู้เกี่ยวกับคริปโท Weber et al. (2023) จึงพยายามตอบคำถามว่า “หากครัวเรือนได้รับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคริปโท จะส่งผลให้ครัวเรือนลงทุนและถือครองคริปโทเพิ่มขึ้นหรือไม่” ด้วยวิธีการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (Randomized Control Trial: RCT) เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่มีความสัมพันธ์แบบเป็นเหตุเป็นผลกัน (causal relationship) ได้มากที่สุด

ในวิธีการทดลองนี้ คณะผู้วิจัยแบ่งครัวเรือนที่ตอบแบบสอบถามออกเป็นกลุ่ม ๆ แบบสุ่ม โดยมีกลุ่มทดลอง (treatment group) ซึ่งได้รับข้อมูลผลตอบแทนย้อนหลังของคริปโท และกลุ่มควบคุม (control group) ซึ่งไม่ได้รับข้อมูลผลตอบแทนย้อนหลัง ผลการศึกษาพบว่า การได้รับข้อมูลผลตอบแทนย้อนหลังในช่วงปีก่อน ๆ ซึ่งมีผลตอบแทนเป็นบวกและอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ครัวเรือนเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในคริปโท และผลการศึกษานี้ยิ่งชัดเจนมากขึ้นในกลุ่มครัวเรือนที่ไม่ได้ลงทุนและถือครองคริปโทอยู่ก่อนและให้เหตุผลไว้ว่าขาดความรู้ความเข้าใจ ได้เริ่มเข้ามาลงทุนในคริปโทหลังจากได้รับข้อมูลผลตอบแทนย้อนหลังที่เป็นบวก

กล่าวโดยสรุป Weber et al. (2023) ชี้ให้เห็นลักษณะของครัวเรือนที่ลงทุนและถือครองคริปโทในสหรัฐฯ เหตุผลที่ครัวเรือนได้ลงทุนและไม่ได้ลงทุนในคริปโท ซึ่งมีความแตกต่างกันไปและยังไม่ได้ข้อสรุปร่วมกัน และทำให้เห็นว่าคริปโทมีคุณสมบัติเฉพาะตัว เมื่อเทียบกับสินทรัพย์ทางการเงินประเภทอื่น ๆ โดยเฉพาะในความเชื่อที่ครัวเรือนมีให้กับมัน นอกจากนี้ งานวิจัยยังชี้ให้เห็นกระบวนการการเกิดฟองสบู่ในราคาคริปโท (price bubble) สะท้อนจากผลการศึกษาที่พบว่า อัตราผลตอบแทนในระดับสูงของคริปโทในอดีตดึงดูดนักลงทุนหน้าใหม่ให้เข้ามาลงทุนในคริปโท ด้วยความคาดหวังว่าอัตราผลตอบแทนจะอยู่ในระดับสูงต่อไปในอนาคตด้วย

เอกสารอ้างอิง

Weber, M., Candia, B., Coibion, O., & Gorodnichenko, Y. (2023). Do You Even Crypto, Bro? Cryptocurrencies in Household Finance (Working Paper No. 31284; Working Paper Series). National Bureau of Economic Research.

  1. อ้างอิงตามรายละเอียดของผลการศึกษาใน Weber et al. (2023) ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาจากงานวิจัยอื่น ๆ ก่อนหน้า เช่น Bradford (2022) แม้ว่าในส่วนบทคัดย่อ (abstract) ของ Weber et al. (2023) จะระบุว่าเป็นคนผิวขาวก็ตาม↩
Suparit Suwanik
Suparit Suwanik
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
The views expressed in this workshop do not necessarily reflect the views of the Puey Ungphakorn Institute for Economic Research or the Bank of Thailand.

Puey Ungphakorn Institute for Economic Research

273 Samsen Rd, Phra Nakhon, Bangkok 10200

Phone: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

Terms of Service | Personal Data Privacy Policy

Copyright © 2025 by Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.

Content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license.

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

Get PIER email updates

Facebook
YouTube
Email