Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Latest discussion Paper
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Latest aBRIDGEd
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Upcoming workshop
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
Latest PIER Economics Seminar
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn
Institute for
Economic Research
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
Latest announcement
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Blogblog
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/a6f5b1c97f98a57559f613c12c84b1f9/e9a79/cover.png
29 March 2024
20241711670400000

ความเชื่อมโยงทางสังคมในประเทศไทยจากเลนส์ของข้อมูล e-Payment

Pucktada Treeratpituk

เครือข่ายของการทำธุรกรรมทางการเงินนั้น สามารถสะท้อนความเชื่อมโยงในเชิงสังคมระหว่างกลุ่มคนต่าง ๆ โดยเฉพาะการโอนเงินระหว่างบุคคลธรรมดา เช่น การโอนเงินบ่อยระหว่างกันอาจแสดงถึงความเป็นเพื่อนที่ใกล้ชิดหรือการมีความสัมพันธ์ในครอบครัวของบุคคลสองคน นอกจากนี้ การโอนเงินระหว่างคนในเมืองไปสู่ต่างจังหวัดอาจจะสามารถนำมาวิเคราะห์การส่งเงินกลับบ้านเกิด (remittance transfers) ของแรงงานที่เข้ามาทำงานในเมือง

ตามนิยามของ Social Connectedness Index จาก Bailey et al. (2018) ที่ใช้วัดความเชื่อมโยงทางสังคมของคนในพื้นที่สองพื้นที่ เราสามารถนิยาม e-Payment Connectedness Index โดยให้

e-Payment Connectedness Indexi,j=Transactionsi,jPopulationi⋅Populationj\text{e-Payment Connectedness Index}_{i, j} = \frac{\text{Transactions}_{i, j}}{\text{Population}_i \cdot \text{Population}_j}e-Payment Connectedness Indexi,j​=Populationi​⋅Populationj​Transactionsi,j​​

โดยข้อมูล e-Payment รายธุรกรรมที่นำมาใช้คำนวณ e-Payment Connectedness Index นี้เป็นข้อมูลรายธุรกรรมการโอนเงินระหว่างบุคคลธรรมดา (person-to-person transfer) ที่ได้จากธนาคารขนาดใหญ่ห้าแห่ง ในช่วงปี 2021 โดยผู้อ่านที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดและข้อจำกัดของข้อมูลเพิ่มเติมได้จากบทความ "เจาะลึกพฤติกรรมการใช้ e-Payment ของคนไทย"

เนื่องจากเราสนใจเฉพาะการโอนเงินที่สะท้อนความผูกพันทางสังคมอย่างแน่นหนา เช่นความสัมพันธ์ทางครอบครัว เราจึงจำกัดเครือข่ายของการทำธุรกรรม ให้เหลือเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มีการโอนเงินระหว่างกันอย่างน้อย 1 ครั้งเป็นเวลา 12 เดือนต่อเนื่อง

หมายเหตุ

บทความนี้เป็นผลการวิเคราะห์เบื้องต้น การจำกัดเครือข่ายของการทำธุรกรรม ให้เหลือเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มีการโอนเงินระหว่างกันอย่างน้อย 1 ครั้งเป็นเวลา 12 เดือนต่อเนื่องนั้น อาจจะเป็นนิยามของความสัมพันธ์ที่เข้มงวดและจำกัดเกินไป เป็นไปได้ว่าควรจะแบ่งประเภทของการโอนเงินระหว่างบุคคลธรรมดาออกเป็นประเภทต่าง ๆ ที่ละเอียดกว่านี้

รูปที่ 1: Heatmap แสดง e-Payment Connectedness Index ของการโอนเงินระหว่างบุคคลของจังหวัดต่าง ๆ โดยความเข้มของสีแสดงถึง e-Payment Connectedness Index ที่สูง
กรุงเทพฯ
จังหวัด
หมายเหตุ: แกนสีเป็นแบบ logarithm และมีสีสูงสุดที่ค่า 10 (โดยเป็นค่าดัชนีที่ได้ scaled ขึ้นแล้วเพื่ออำนวยความสะดวกในการแสดงผล)

จะเห็นได้ว่า e-Payment Connectedness ของเชียงใหม่ จะค่อนข้างจะมีนัยเชิงพื้นที่ (high locality) ที่สูงกว่ากรุงเทพฯ และสมุทรปราการ แปลว่าคนในเชียงใหม่มีความน่าจะเป็นค่อนข้างสูงในการโอนเงินอย่างสม่ำเสมอให้กับเพื่อนหรือญาติที่อยู่ในจังหวัดใกล้เคียงในภาคเหนือ ซึ่งต่างจากพฤติกรรมการโอนเงินแบบสม่ำเสมอของคนกรุงเทพฯ และสมุทรปราการที่จะค่อนข้างกระจายตัวไปยังจังหวัดต่างๆมากกว่า โดยคนในสมุทรปราการดูมีความสัมพันธ์กับคนที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้อย่างมีนัยสำคัญ

เครือข่ายของการทำธุรกรรมการโอนเงินระหว่างบุคคลนี้ นอกจากสามารถทำให้เราเห็นภาพความเชื่อมโยงระหว่างบุคคลในพื้นที่ต่าง ๆ แล้ว หากเอามาวิเคราะห์ในเชิงลึก ยังสามารถนำใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบจากเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่นการเลิกจ้างงาน และภัยธรรมชาติ ว่าจะมีผลกระทบเชิงกว้างกับคนกลุ่มใดบ้างนอกเหนือจากผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงด้วย

เอกสารอ้างอิง

Bailey, M., Cao, R., Kuchler, T., Stroebel, J., & Wong, A. (2018). Social Connectedness: Measurement, Determinants, and Effects. Journal of Economic Perspectives, 32(3), 259–280.
Pucktada Treeratpituk
Pucktada Treeratpituk
Bank of Thailand
The views expressed in this workshop do not necessarily reflect the views of the Puey Ungphakorn Institute for Economic Research or the Bank of Thailand.

Puey Ungphakorn Institute for Economic Research

273 Samsen Rd, Phra Nakhon, Bangkok 10200

Phone: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

Terms of Service | Personal Data Privacy Policy

Copyright © 2025 by Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.

Content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license.

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

Get PIER email updates

Facebook
YouTube
Email