Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Latest discussion Paper
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Latest aBRIDGEd
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Upcoming workshop
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
Latest PIER Economics Seminar
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn
Institute for
Economic Research
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
Latest announcement
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Blogblog
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/1f5091de6cc3f298d179219b0c64ad6b/41624/cover.jpg
7 June 2024
20241717718400000
PIER Digest Series

การบริโภคของครัวเรือนเมื่อความไม่แน่นอนในระบบเศรษฐกิจสูงขึ้น

Nuwat Nookhwun
การบริโภคของครัวเรือนเมื่อความไม่แน่นอนในระบบเศรษฐกิจสูงขึ้น

การขยายตัวของเศรษฐกิจแต่ละประเทศนั้นมักจะต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนอยู่ตลอดเวลา เช่นในปัจจุบันเราไม่แน่ใจว่าสงครามที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลางจะรุนแรงและยืดเยื้อแค่ไหน การค้าโลกจะกลับมาขยายตัวได้ดีหรือชะลอลงต่อเนื่อง รวมไปถึงภาครัฐจะใช้จ่ายผ่านมาตรการต่าง ๆ มากน้อยเพียงใด

ในบางช่วงเวลา เช่น เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจจะยิ่งสูงขึ้น รูปที่ 1 แสดงตัวอย่างผลการคาดการณ์ของครัวเรือนต่อเศรษฐกิจในยุโรปผ่านการทำแบบสอบถามในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด 19 โดยจะเห็นได้ว่าครัวเรือนนั้นคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจยุโรปในปี 2021 แตกต่างกันมากตั้งแต่ –30% ไปจนถึง +30% นักเศรษฐศาสตร์จึงให้ความสนใจกับการศึกษาผลกระทบของความไม่แน่นอนในระบบเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นต่อการบริโภคของครัวเรือน และการตัดสินใจลงทุนและจ้างงานของธุรกิจ

รูปที่ 1: การคาดการณ์ของครัวเรือนต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจยุโรปในปี 2021

การคาดการณ์ของครัวเรือนต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจยุโรปในปี 2021

ที่มา: Coibion et al. (2024)

งานวิจัยของ Coibion et al. (2024) ได้ทำการทดลองสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุม (RCT) กับครัวเรือนใน 6 ประเทศในทวีปยุโรป ได้แก่ เบลเยียม เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี เนเธอร์แลนด์ และสเปน รวมทั้งสิ้นประมาณ 10,000 ครัวเรือน โดยทดลองให้ข้อมูลเกี่ยวกับการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจยุโรปที่ได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจว่ามีความไม่แน่นอนอยู่ในระดับสูง1 เพื่อประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อพฤติกรรมการบริโภคและการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินของครัวเรือน

ผลการศึกษาพบว่า เมื่อครัวเรือนที่อยู่ในกลุ่มทดลอง (treatment group) รับรู้ถึงความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ครัวเรือนมีการตอบสนองต่อความไม่แน่นอนดังกล่าวโดยการลดค่าใช้จ่ายด้านอุปโภคบริโภคลงอย่างมาก โดยเฉพาะสินค้าและบริการที่เกี่ยวกับการรักษาทางการแพทย์และการดูแลร่างกาย (medical and personal care item) (เช่น ค่ายา แชมพู โคโลญจน์ บริการตัดผม) รวมถึงสินค้าและบริการด้านความบันเทิง (เช่น การเข้าชมภาพยนตร์ การเข้าใช้บริการฟิตเนส) นอกจากนี้ ยังลดค่าใช้จ่ายสำหรับรายการใช้จ่ายที่มีขนาดใหญ่ เช่น แพ็กเกจท่องเที่ยว เครื่องประดับที่มีราคาแพง อีกด้วย

ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการลงทุนของครัวเรือนเช่นกัน โดยครัวเรือนมีแนวโน้มที่จะลดการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ กองทุนรวม และ cryptocurrency

ทั้งนี้ กลุ่มครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบมากจากความไม่แน่นอนในระบบเศรษฐกิจ ได้แก่ ครัวเรือนที่ทำงานในภาคเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยงสูงในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด 19 รวมไปถึงครัวเรือนที่มีการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินที่มีความเสี่ยงสูงในปริมาณมาก

งานวิจัยชิ้นนี้จึงชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในอนาคตกับผลลัพธ์ที่มีต่อเศรษฐกิจในปัจจุบันผ่านพฤติกรรมการบริโภคของครัวเรือนที่เปลี่ยนไป และเน้นย้ำถึงความสำคัญของนโยบายการเงินการคลังในการดูแลรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจในยามที่เกิดวิกฤตซึ่งมักเป็นช่วงที่มีความไม่แน่นอนในระบบเศรษฐกิจสูงขึ้นด้วย โดยเฉพาะมาตรการที่จะเข้าไปดูแลครัวเรือนกลุ่มเปราะบางซึ่งได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนมากกว่าครัวเรือนกลุ่มอื่น ๆ

เอกสารอ้างอิง

Coibion, O., Georgarakos, D., Gorodnichenko, Y., Kenny, G., & Weber, M. (2024). The Effect of Macroeconomic Uncertainty on Household Spending. American Economic Review, 114(3), 645–677.

  1. สะท้อนจากค่าความแตกต่างระหว่าง worst case scenario และ optimistic case scenario ของการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ↩
Nuwat Nookhwun
Nuwat Nookhwun
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
The views expressed in this workshop do not necessarily reflect the views of the Puey Ungphakorn Institute for Economic Research or the Bank of Thailand.

Puey Ungphakorn Institute for Economic Research

273 Samsen Rd, Phra Nakhon, Bangkok 10200

Phone: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

Terms of Service | Personal Data Privacy Policy

Copyright © 2025 by Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.

Content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license.

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

Get PIER email updates

Facebook
YouTube
Email