Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Latest discussion Paper
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Latest aBRIDGEd
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Upcoming workshop
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
Latest PIER Economics Seminar
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn
Institute for
Economic Research
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
Latest announcement
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Blogblog
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/4a2a35cf3da04ccad8b322efd5d33ed1/e9a79/cover.png
29 January 2025
20251738108800000

ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากฝุ่น PM2.5

Kannika Thampanishvong
ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากฝุ่น PM2.5

สาเหตุของฝุ่น PM2.5 ในประเทศไทย

ฝุ่น PM2.5 ในประเทศไทยมักจะสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานโดยเฉพาะในช่วงปลายปีถึงต้นปี รูปที่ 1 แสดงปริมาณฝุ่น PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่ช่วงวันที่ 1 มกราคม 2567 จนถึงวันที่ 23 มกราคม 25681 และค่ามาตรฐาน2 ที่ระดับ 37.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (μ/m3) ซึ่งพบว่าปริมาณฝุ่น PM2.5 อยู่ในระดับที่สูงในช่วงต้นปี 2567 และกลับมาสูงอีกครั้งในช่วงปลายปี โดยเฉพาะตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นมาต่อเนื่องมาถึงเดือนมกราคม 2568

สาเหตุที่ฝุ่น PM2.5 สูงในช่วงเวลาดังกล่าวส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาที่เกิดขึ้นในฤดูหนาว โดยมวลความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย ส่งผลให้ลมสงบ ฝุ่นละอองถ่ายเทได้ยาก นำมาซึ่งการสะสมของฝุ่นละอองในปริมาณที่สูงรวมถึงฝุ่น PM2.5 ด้วย

รูปที่ 1: ปริมาณฝุ่น PM2.5 เฉลี่ยรายวันในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ที่มา: ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูล PM2.5 ของ GISTDA

การแก้ปัญหา PM2.5 ให้ได้ผลจำเป็นต้องทำความเข้าใจเรื่องสาเหตุต่าง ๆ ที่สลับซับซ้อนโดยทั้งนี้ ฝุ่น PM2.5 เกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ ภาวะอุณหภูมิผกผัน (temperature inversion) หรือการที่การระบายอากาศในเมืองอยู่ในอัตราต่ำกว่าปกติ ทำให้ชั้นอากาศเป็นฝาครอบกักอากาศที่ผิวพื้นไว้ ทำให้หมอกควันไม่เคลื่อนตัว สะสมอยู่ใกล้พื้น (รูปที่ 2) ปัญหาการจราจรโดยเฉพาะจากพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลที่มีกระบวนการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดเขม่าและฝุ่นควันมาก การเผาเศษวัสดุทางการเกษตรในนาข้าว ไร่ข้าวโพด ไร่อ้อย รวมถึงการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลในโรงงานอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่เป็นต้นตอของปัญหาฝุ่น PM2.5 มีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับพื้นที่ โดยในเขตเมืองใหญ่ โดยเฉพาะจังหวัดกรุงเทพมหานคร ต้นตอที่ทำให้เกิด PM2.5 มากที่สุดมาจากไอเสียจากรถยนต์ผนวกกับการจราจรที่ติดขัด โดยเฉพาะรถบรรทุกขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลและมีมาตรฐานยูโรต่ำ (รูปที่ 3) ในขณะที่ ต้นตอของฝุ่น PM2.5 ในชนบท ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาเศษวัสดุทางการเกษตรทั้งในที่โล่งและที่ปิด เช่น การเผาอ้อยก่อนตัด การเผาตอซังในไร่ข้าวโพด และนาข้าว เพราะเป็นวิธีที่ง่าย ประหยัดแรงงานและค่าใช้จ่ายสำหรับเกษตรกร

รูปที่ 2: ภาวะอุณหภูมิผกผัน

ภาวะอุณหภูมิผกผัน

ที่มา: Poapongsakorn et al. (2023); ดัดแปลงจาก National Geographic
รูปที่ 3: ปริมาณฝุ่น PM2.5 ที่ปล่อยจากยานพาหนะประเภทต่าง ๆ จากแบบจำลอง Tier 2 Top-down Approach for air pollution
ที่มา: Bhumiwat & Thampanishvong (2022)

ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากฝุ่น PM2.5

ที่ผ่านมา มีงานศึกษาหลายชิ้น3 ที่วิเคราะห์ผลกระทบของมลพิษทางอากาศในรูปแบบของต้นทุนสวัสดิการ (welfare costs) โดยใช้วิธีการศึกษาซึ่งใช้ใน Global Burden of Disease โดยงานศึกษาดังกล่าวพบว่ามลพิษทางอากาศก่อให้เกิดต้นทุนสวัสดิการทั่วโลกคิดเป็นมูลค่าหลายล้านล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็น 2.5–6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมทั่วโลก

สำหรับงานศึกษาของ World Bank (2022) ศึกษาต้นทุนทางสุขภาพทั่วโลกที่เกิดจากฝุ่น PM2.5 โดยพบว่าผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพที่สำคัญที่มีความเชื่อมโยงกับฝุ่น PM2.5 ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ฯลฯ รูปที่ 4 แสดงจำนวนผู้ที่เสียชีวิตทั่วโลกจากปัญหาฝุ่น PM2.5 ในปี 2562 จากงานศึกษาของ World Bank (2022)

สำหรับกรณีประเทศไทย งานศึกษาของ World Bank (2022) รายงานว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากฝุ่น PM2.5 อยู่ที่ 57 คนต่อประชากร 100,000 คน และจำนวนปีสุขภาวะที่สูญเสียจากความบกพร่องสุขภาพ4 (YLDs) อยู่ที่ 171,033 YLDs ซึ่งทำให้มูลค่าความเสียหายต่อสุขภาพจากฝุ่น PM2.5 สำหรับประเทศไทยอยู่ที่ 26,260 ล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับงานศึกษาในประเทศไทย งานวิจัยของ Attavanich (2019) ซึ่งคำนวณมูลค่าต้นทุนความเสียหายทางเศรษฐศาสตร์จากมลพิษทางอากาศโดยใช้แนวคิด Subjective Well-being พบว่าฝุ่น PM2.5 สร้างมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐศาสตร์ต่อครัวเรือนไทย 2.173 ล้านล้านบาท ณ ปี 2562

รูปที่ 4: จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกจากโรคที่สัมพันธ์กับฝุ่น PM2.5

จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกจากโรคที่สัมพันธ์กับฝุ่น PM2.5

ที่มา: World Bank (2022)

แนวทางบรรเทาผลกระทบจากฝุ่น PM2.5

สิ่งสำคัญที่ควรเร่งดำเนินการคือการแก้ปัญหาตามแหล่งกำเนิดของฝุ่น PM2.5 ซึ่งหลัก ๆ ประกอบด้วย การเผาไหม้เชื้อเพลิงในภาคยานยนต์และการขนส่ง การเผาในที่โล่งแจ้งภาคเกษตร และการเผาไหม้เชื้อเพลิงและกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ดังนี้

  1. ภาคยานยนต์และขนส่ง: ในระยะสั้นควรเคร่งครัดการตรวจจับควันดำ และการดัดแปลงเครื่องยนต์ในรถทุกชนิด ในระยะกลางและระยะยาว อาจเน้นการยกระดับมาตรฐานน้ำมันและมาตรฐานไอเสีย การจัดการกับรถยนต์เก่า การสนับสนุนให้ปรับเปลี่ยนไปใช้ยานยนต์ไฟฟ้าและระบบขนส่งสาธารณะ
  2. ภาคเกษตร: เพื่อลดการเผาในที่โล่งในภาคเกษตร ควรเพิ่มแรงจูงใจที่เหมาะสมให้กับเกษตรกรที่ไม่เผาผ่านการให้เงินอุดหนุนเนื่องจากการไม่เผามีต้นทุนในการจัดการแปลงมากกว่าการเผา ตลอดจนควรส่งเสริมให้เกษตรกรนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์และใช้เครื่องจักรแทนการเผา
  3. ภาคอุตสาหกรรม: ควรเคร่งครัดการตรวจสอบการปล่อยมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมและควรสนับสนุนการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต เทคโนโลยี และเชื้อเพลิงที่สะอาด

เอกสารอ้างอิง

Attavanich, W. (2019). ต้นทุนของสังคมไทยจากมลพิษทางอากาศและมาตรการรับมือ (aBRIDGEd No. 7/2019). Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.
Bhumiwat, P., & Thampanishvong, K. (2022). มาตรการป้องกันและจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) จากยานยนต์สำหรับประเทศไทย. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. Thailand Development Research Institute.
Poapongsakorn, N., Pantakua, K., & Ratchakom, S. (2023). ข้อจำกัดในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5. Thailand Development Research Institute.
World Bank. (2022). The Global Health Cost of PM2.5 Air Pollution: A Case for Action Beyond 2021. The World Bank.

  1. ข้อมูล ณ วันที่ 24 มกราคม 2568↩
  2. หากปริมาณฝุ่น PM2.5 อยู่ในช่วง 37.6–75.0 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถือว่าอยู่ในระดับที่เริ่มมีผลต่อสุขภาพ และหากปริมาณฝุ่น PM2.5 สูงกว่าระดับ 75.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถือว่ามีผลต่อสุขภาพ↩
  3. ตัวอย่างงานศึกษาที่วิเคราะห์ต้นทุนสวัสดิการจากมลพิษทางอากาศทั่วโลก เช่น Larsen (2014) World Bank and IHME (2016) OECD (2016) Landrigan et al. (2018) World Bank (2020) เป็นต้น↩
  4. YLDs เป็นค่าที่วัดจำนวนปีที่สูญเสียไปเพราะโรคหรือความพิการ กล่าวคือ จำนวนปีที่เรายังมีชีวิตอยู่โดยที่เจ็บป่วยจากโรคที่เกี่ยวข้องกับฝุ่น PM2.5↩
Kannika Thampanishvong
Kannika Thampanishvong
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
The views expressed in this workshop do not necessarily reflect the views of the Puey Ungphakorn Institute for Economic Research or the Bank of Thailand.

Puey Ungphakorn Institute for Economic Research

273 Samsen Rd, Phra Nakhon, Bangkok 10200

Phone: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

Terms of Service | Personal Data Privacy Policy

Copyright © 2025 by Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.

Content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license.

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

Get PIER email updates

Facebook
YouTube
Email