Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Building Thailand’s Beveridge Curve: New Insights of Thailand’s Labour Markets with Internet Job Platforms
Latest discussion Paper
Building Thailand’s Beveridge Curve: New Insights of Thailand’s Labour Markets with Internet Job Platforms
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Latest aBRIDGEd
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
World Bank x PIER Climate Finance Policy Forum
Latest policy forum
World Bank x PIER Climate Finance Policy Forum
Market Design in Practice
Latest PIER Economics Seminar
Market Design in Practice
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn
Institute for
Economic Research
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
Latest announcement
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
aBRIDGEdabridged
Making Research Accessible
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
Topic
Development Economics
Macroeconomics
Financial Markets and Asset Pricing
Monetary Economics
...
/static/6be0c9576932b1b87855c458d26460c4/41624/cover.jpg
12 December 2018
20181544572800000

การเปลี่ยนนโยบาย LTF กระทบผู้เสียภาษีอย่างไร

เรียนรู้พฤติกรรมการลดหย่อนภาษีของผู้ซื้อ LTF และผลของการเปลี่ยนนโยบาย LTF ต่อภาระภาษีและแรงจูงใจ
Athiphat Muthitacharoen
การเปลี่ยนนโยบาย LTF กระทบผู้เสียภาษีอย่างไร
excerpt

LTF เป็นเครื่องมือการลดหย่อนภาษีสำคัญของมนุษย์เงินเดือน บทความนี้มุ่งศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนนโยบาย LTF ต่อผู้เสียภาษี ผ่านการตอบ 4 คำถามสำคัญ ได้แก่

  1. LTF สำคัญสำหรับใคร และสำคัญแค่ไหน
  2. LTF ไม่เป็นธรรมจริงหรือ
  3. การไม่ต่ออายุ LTF จะส่งผลอย่างไรต่อผู้เสียภาษี และ
  4. การเปลี่ยนการลดหย่อน LTF เป็นเครดิตมีข้อพึงระวังอะไรบ้าง

สิทธิการลดหย่อนภาษี LTF (Long-Term Equity Fund) กำลังจะหมดอายุลงในสิ้นปี 2562 รัฐบาลได้ส่งสัญญาณชัดเจนว่าจะทบทวนสิทธิการลดหย่อนดังกล่าว ในขณะที่หลายฝ่ายได้แสดงความคิดเห็นถึงข้อดีข้อเสียต่าง ๆ รวมถึงการเสนอเปลี่ยนรูปแบบสิทธิประโยชน์เป็นการให้เครดิต

ในบทความนี้ ผู้เขียนตอบ 4 คำถามพื้นฐาน ได้แก่

  1. LTF สำคัญสำหรับใคร และสำคัญแค่ไหน
  2. LTF ไม่เป็นธรรมจริงหรือ
  3. การไม่ต่ออายุ LTF จะส่งผลอย่างไรต่อผู้เสียภาษี และ
  4. การเปลี่ยนการลดหย่อน LTF เป็นเครดิตมีข้อพึงระวังอะไรบ้าง

เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับนโยบาย LTF และช่วยให้สาธารณชนเข้าใจผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงนโยบายมากยิ่งขึ้น

ส่วนหนึ่งของบทความนี้มาจากงานศึกษาของอธิภัทรและผาสุก (2560) และ Muthitacharoen and Phongpaichit (2018) ซึ่งได้ใช้ข้อมูลสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Stratified random sampling) ของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งหมดในปี 2555 และแบบจำลอง Microsimulation model ซึ่งเป็นการประมาณการรายได้และภาระภาษีของประชาชนในอนาคตภายใต้การเปลี่ยนแปลงนโยบายภาษีต่าง ๆ และภายใต้กฎหมายภาษีปัจจุบัน1

1. LTF สำคัญสำหรับใคร และสำคัญแค่ไหน

การซื้อหน่วยลงทุน LTF มีการกระจุกตัวเป็นอย่างมากในกลุ่มผู้มีรายได้สูง โดยเมื่อแบ่งกลุ่มผู้เสียภาษีในปี 2555 ออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน จากระดับรายได้น้อยไปมากตามระดับเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่าย (Quintile) โดยกลุ่ม Q1 คือกลุ่มที่มีรายได้น้อยที่สุด 20% ล่าง และกลุ่ม Q5 คือกลุ่มที่มีรายได้มากที่สุด 20% บน ผู้วิจัยพบว่าสัดส่วนของผู้เสียภาษีรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง (Q1-Q4) ที่ซื้อ LTF มีน้อยกว่า 10% ในขณะที่สัดส่วนนี้ของผู้มีรายได้สูง (Q5) อยู่ที่ประมาณ 30% (รูปที่ 1)

รูปที่ 1: ผู้เสียภาษีมีการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเพื่อการออมและลงทุนมากน้อยแค่ไหน

ผู้เสียภาษีมีการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเพื่อการออมและลงทุนมากน้อยแค่ไหน

ที่มา: การวิเคราะห์โดยผู้วิจัย

หากเปรียบเทียบกับ RMF และประกันชีวิตซึ่งเป็นเครื่องมือหลักในการลดหย่อนภาษีเพื่อการออมและการลงทุนเช่นกัน ผู้วิจัยพบว่าการกระจุกตัวของ LTF นี้แตกต่างอย่างชัดเจนจากประกันชีวิต ซึ่งมีการใช้สิทธิโดยผู้มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลางค่อนข้างมาก ในขณะที่การซื้อ RMF นั้นมีการกระจุกตัวในลักษณะเดียวกันกับ LTF แต่ได้รับความนิยมน้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด (รูปที่ 1)

ภาพความแตกต่างระหว่างเครื่องมือการลดหย่อนภาษีนี้อาจสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบพฤติกรรมของผู้เสียภาษีไทย โดยผู้มีรายได้น้อยและปานกลางจะไม่กล้ารับความเสี่ยงมากนัก จึงมีการซื้อประกันชีวิตค่อนข้างมากและไม่นิยมซื้อ LTF และ RMF ในขณะที่ผู้ที่รับความเสี่ยงได้ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้มีรายได้สูงจะนิยมซื้อ LTF มากกว่า RMF ซึ่งอาจะเป็นเพราะเงื่อนไขการลงทุนของ LTF ที่สั้นกว่า

นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบว่าปริมาณการซื้อ LTF มีการกระจุกตัวอย่างมากเช่นกัน โดยในปี 2555 ผู้ที่ซื้อ LTF เกิน 100,000 บาทต่อปี คิดเป็น 38% ของผู้ซื้อ LTF ทั้งหมด และผู้เสียภาษีกลุ่มนี้ได้ซื้อ LTF คิดเป็น 73% ของการซื้อทั้งหมด (รูปที่ 2) การกระจุกตัวนี้ชี้ว่าหากต้องการศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงนโยบาย LTF ต่อตลาดทุน ผู้ศึกษาอาจมุ่งความสนใจมาที่กลุ่มคนที่ซื้อ LTF มากกว่า 100,000 บาทต่อปี

รูปที่ 2: สัดส่วนจำนวนผู้ซื้อและปริมาณการซื้อ LTF (2555)

สัดส่วนจำนวนผู้ซื้อและปริมาณการซื้อ LTF (2555)

ที่มา: การวิเคราะห์โดยผู้วิจัย

เมื่อพิจารณาสามเครื่องมือการลดหย่อนภาษีหลักเพื่อการออมและการลงทุน ได้แก่ LTF RMF และประกันชีวิตนั้น ผู้วิจัยพบว่า LTF มีความสำคัญน้อยมากสำหรับ 80% ล่างของผู้เสียภาษี (Bottom 80%: ผู้ที่มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง) โดยสัดส่วนของ LTF มีเพียง 4% ของการลดหย่อนทั้งหมด ซึ่งต่ำกว่าประกันชีวิตที่มีสัดส่วนสูงถึง 95% ในขณะที่ LTF จะมีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนสำหรับ 20% บนของผู้เสียภาษี (Top 20%: ผู้ที่มีรายได้สูง) โดยสัดส่วนของ LTF จะเพิ่มขึ้นเป็น 24% ของการลดหย่อนทั้งหมด (รูปที่ 3)

รูปที่ 3: สัดส่วนการพึ่งพา LTF RMF และประกันชีวิต (2555; % ของการลดหย่อนหลักเพื่อการออมและการลงทุน)

สัดส่วนการพึ่งพา LTF RMF และประกันชีวิต (2555; % ของการลดหย่อนหลักเพื่อการออมและการลงทุน)

ที่มา: การวิเคราะห์โดยผู้วิจัย

อย่างไรก็ตามผู้ที่ซื้อ LTF นั้นมีระดับการใช้สิทธิ์ค่อนข้างสูงทั้งในกลุ่ม Bottom 80% และ Top 20% ผู้วิจัยพบว่าสัดส่วนการลดหย่อน LTF เทียบกับเพดานที่กฎหมายอนุญาตนั้นอยู่ที่ 56% และ 68% สำหรับกลุ่ม Bottom 80% และ Top 20% ตามลำดับ ซึ่งระดับการใช้สิทธิ์นี้สูงกว่าของ RMF และ ประกันชีวิตอย่างชัดเจน (รูปที่ 4)

รูปที่ 4: ผู้เสียภาษีมีการใช้สิทธิลดหย่อนมากน้อยแค่ไหนเทียบกับเพดาน

ผู้เสียภาษีมีการใช้สิทธิลดหย่อนมากน้อยแค่ไหนเทียบกับเพดาน

ที่มา: การวิเคราะห์โดยผู้วิจัย

2. LTF ไม่เป็นธรรมจริงหรือ

การพิจารณาว่า LTF เป็นธรรมหรือไม่ จะได้คำตอบที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่ามองที่ตัวชี้วัดไหน ในด้านหนึ่งส่วนลดภาษีจาก LTF ต่อรายได้สูงกว่าอย่างชัดเจนสำหรับผู้มีรายได้สูง โดยสัดส่วนการประหยัดภาษีจาก LTF ต่อรายได้อยู่ที่ 0.9% สำหรับ Bottom 80% และ 2.5% สำหรับ Top 20% ในขณะที่ภาพความไม่เป็นธรรมนี้จะไม่เด่นชัดนักเมื่อพิจารณาส่วนลดภาษีต่อภาระภาษี โดยสัดส่วนการประหยัดภาษีจาก LTF ต่อภาระภาษีจะค่อนข้างใกล้เคียงกันสำหรับกลุ่ม Bottom 80% และกลุ่ม Top 20% (รูปที่ 5)

อย่างไรก็ตามประเด็นที่อาจจะสำคัญกว่าการถกเถียงเรื่องความเป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมคือ เรากำลังสร้างแรงจูงใจสำหรับการซื้อ LTF ถูกที่หรือไม่ เมื่อพิจารณาราคาหลังภาษี (After-tax price) ของ LTF ซึ่งสะท้อนโดยสัดส่วนการประหยัดภาษีต่อมูลค่าการซื้อ LTF จะพบว่าสัดส่วนนี้อยู่ที่ 11.0% สำหรับ Bottom 80% และ 24.1% สำหรับ Top 20% (รูปที่ 5) นั่นหมายความว่าผู้มีรายได้น้อยและปานกลางจะได้รับแรงจูงใจในการซื้อ LTF น้อยกว่าผู้มีรายได้สูงอย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างเช่น หากทั้งคู่ซื้อ LTF 10,000 บาทเท่ากัน เมื่อรวมส่วนลดภาษีแล้ว ผู้มีรายได้น้อยและปานกลางจะซื้อได้ในราคา 8,900 บาท ในขณะที่ผู้มีรายได้สูงจะซื้อได้ในราคาเพียง 7,590 บาท การสร้างแรงจูงใจในลักษณะนี้เป็นผลมาจากกลไกการให้สิทธิประโยชน์ภาษีแบบลดหย่อนซึ่งทำให้ 1 บาทของการลดหย่อนสำหรับคนรวยจะประหยัดภาษีได้มากกว่าคนจน

รูปที่ 5: ‘LTF เป็นธรรมหรือไม่’ ขึ้นกับมุมมอง แต่สิ่งที่สำคัญคือการสร้างแรงจูงใจผิดที่

‘LTF เป็นธรรมหรือไม่’ ขึ้นกับมุมมอง แต่สิ่งที่สำคัญคือการสร้างแรงจูงใจผิดที่

ที่มา: การวิเคราะห์โดยผู้วิจัย

3. การไม่ต่ออายุ LTF จะส่งผลอย่างไรต่อผู้เสียภาษี

ในกรณีที่ผู้ซื้อ LTF ไม่มีการเปลี่ยนไปใช้เครื่องมือลดหย่อนภาษีอื่น ๆ เลย การไม่ต่ออายุ LTF จะส่งผลกระทบต่อผู้ที่เคยลดหย่อนภาษีผ่าน LTF อย่างมีนัยสำคัญ โดยรูปที่ 2 ได้ชี้ว่าส่วนลดภาษีจาก LTF คิดเป็นประมาณ 30–40% ของภาระภาษีโดยเฉลี่ย อย่างไรก็ตามผู้ซื้อ LTF มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมไปใช้เครื่องมือการลดหย่อนภาษีตัวอื่นบ้าง ในการศึกษาทางเลือกของผู้เสียภาษีนี้ ผู้วิจัยเริ่มด้วยการศึกษาว่าผู้ซื้อ LTF มีการใช้เครื่องมือลดหย่อนอื่น ๆ มากน้อยแค่ไหน ผู้วิจัยพบว่า RMF ไม่เป็นที่นิยมมากนักในกลุ่มคนซื้อ LTF โดยสัดส่วนผู้ซื้อ LTF ที่มี RMF อยู่ที่เพียง 17.1% สำหรับ Bottom 80% และ 39.1% สำหรับ Top 20% ซึ่งในกลุ่มผู้มี RMF ด้วยนี้ ระดับการใช้ก็ยังไม่สูงมากนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนรายได้น้อยและปานกลางที่มีระดับการใช้ RMF เฉลี่ยเพียง 35.8% ของเพดานที่กฎหมายอนุญาต พฤติกรรมการใช้ RMF นี้แตกต่างชัดเจนจากประกันชีวิตที่ผู้ซื้อ LTF มีความนิยมเป็นอย่างมาก (รูปที่ 6)

รูปที่ 6: ผู้ซื้อ LTF มีการใช้เครื่องมือลดหย่อนอื่น ๆ มากน้อยแค่ไหน

ผู้ซื้อ LTF มีการใช้เครื่องมือลดหย่อนอื่น ๆ มากน้อยแค่ไหน

ที่มา: การวิเคราะห์โดยผู้วิจัย

ภาพพฤติกรรมการลดหย่อนภาษีนี้สอดคล้องกันเมื่อพิจารณาในมิติของระดับการใช้ LTF (LTF utilization) โดยผู้วิจัยได้แบ่งผู้ซื้อ LTF ออกเป็น 2 กลุ่ม: ระดับการใช้ LTF ต่ำ (Low LTF utilization) คือผู้ที่มีระดับการใช้ LTF ไม่เกิน 50% ของเพดานที่กฎหมายกำหนด และระดับการใช้ LTF สูง (High LTF utilization) คือผู้ที่มีระดับการใช้ LTF มากกว่า 50% ของเพดานที่กฎหมายกำหนด โดยรวมผู้วิจัยพบว่า RMF ยังคงไม่เป็นที่นิยมมากนักสำหรับทั้งสองกลุ่ม แต่กลุ่มคนที่มีระดับการการใช้ LTF สูง มีระดับการใช้ RMF โดยเฉลี่ยสูงตามไปด้วย (รูปที่ 7)

รูปที่ 7: ในมิติ LTF Utilization กลุ่มคนที่มีระดับการการใช้ LTF สูง มีระดับการใช้ RMF โดยเฉลี่ยสูงตามไปด้วย

ในมิติ LTF Utilization กลุ่มคนที่มีระดับการการใช้ LTF สูง มีระดับการใช้ RMF โดยเฉลี่ยสูงตามไปด้วย

หมายเหตุ: Low LTF utilization คือผู้ที่มี LTF utilization ไม่เกิน 50% และ High LTF utilization คือผู้ที่มี LTF utilization มากกว่า 50%ที่มา: การวิเคราะห์โดยผู้วิจัย

ทั้งนี้จากการใช้ Microsimulation เพื่อจำลองสถานการณ์ในปี 2563 เมื่อพิจารณาทั้งสัดส่วนผู้ที่มี RMF และระดับการใช้ RMF แล้ว ผู้วิจัยพบว่าในปี 2563 ประมาณ 70% ของผู้ซื้อ LTF ที่มีรายได้น้อยและปานกลาง และ 49% ของผู้ซื้อ LTF ที่มีรายได้สูง จะมีสิทธิลดหย่อน RMF เหลือพอที่จะนำมาแทนที่ LTF ได้ทั้งหมดหากไม่มีการต่ออายุสิทธิประโยชน์ LTF นอกจากนี้เมื่อรวมการลดหย่อนประกันชีวิตด้วยแล้ว พบว่าสัดส่วนนี้จะเพิ่มเป็นประมาณ 92% และ 65% สำหรับผู้ซื้อ LTF ที่มีรายได้น้อยและปานกลาง และรายได้สูงตามลำดับ (รูปที่ 8)

รูปที่ 8: สัดส่วนผู้ที่มีสิทธิการลดหย่อนอื่น ๆ เหลือพอสำหรับรองรับ LTF ได้ทั้งหมด (2563; % ของผู้ซื้อ LTF)

สัดส่วนผู้ที่มีสิทธิการลดหย่อนอื่น ๆ เหลือพอสำหรับรองรับ LTF ได้ทั้งหมด (2563; % ของผู้ซื้อ LTF)

ที่มา: การวิเคราะห์โดยผู้วิจัย

4. การเปลี่ยนการลดหย่อน LTF เป็นเครดิตมีข้อพึงระวังอะไรบ้าง

การให้สิทธิ LTF ในรูปของเครดิตภาษี (Non-refundable tax credit) เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้เสียภาษีได้รับแรงจูงใจในการลงทุน LTF เท่ากันไม่ว่าจะมีรายได้เท่าไหร่ แตกต่างจากระบบการให้สิทธิผ่านการลดหย่อนในปัจจุบันที่สร้างแรงจูงใจในการลงทุนให้คนรายได้สูงมากกว่า ผู้วิจัยได้ศึกษาว่าผู้ซื้อ LTF จะมีภาระภาษีเปลี่ยนแปลงอย่างไรจากการเปลี่ยนการลดหย่อน LTF เป็นเครดิตที่ระดับ 10% 15% 20% และ 25% ในปี 2563 โดยพบว่ากลุ่มผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง (Bottom 80%) จะมีภาระภาษีลดลงเฉลี่ย 6%-35% โดยการลดลงของภาระภาษีนี้จะสูงขึ้นตามอัตราเครดิต ในขณะที่ผู้มีรายได้สูง (Top 20%) จะมีภาระภาษีเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 16% ที่อัตราเครดิต 10% และการเพิ่มขึ้นของภาระภาษีนี้จะลดลงสำหรับอัตราเครดิตที่สูงขึ้น (รูปที่ 9)

รูปที่ 9: การเปลี่ยนแปลงของภาษีสำหรับผู้ซื้อ LTF จากการเปลี่ยนการลดหย่อน LTF เป็นเครดิต (2563; % ของภาระภาษีภายใต้กฎหมายการลดหย่อนปัจจุบัน)

การเปลี่ยนแปลงของภาษีสำหรับผู้ซื้อ LTF จากการเปลี่ยนการลดหย่อน LTF เป็นเครดิต (2563; % ของภาระภาษีภายใต้กฎหมายการลดหย่อนปัจจุบัน)

ที่มา: การวิเคราะห์โดยผู้วิจัย

อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนการลดหย่อน LTF เป็นเครดิตเพียงอย่างเดียวจะลดความน่าสนใจของ RMF สำหรับผู้มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลางอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากสิทธิประโยชน์ RMF ยังคงอยู่ในรูปการลดหย่อน ทำให้ส่วนลดภาษี RMF จะขึ้นอยู่กับรายได้ และการลดหย่อนอื่น ๆ ของผู้เสียภาษี โดยผู้วิจัยพบว่าผู้เสียภาษีรายได้น้อย (Quintiles 1 และ 2) จะได้ส่วนลดภาษีจาก RMF เพียงประมาณ 5% ต่ำกว่า LTF ที่ 20% เป็นอย่างมาก (รูปที่ 10) ผลข้างเคียงต่อ RMF นี้ถือเป็นข้อพึงระวังที่สำคัญสำหรับผู้วางนโยบาย เนื่องจาก RMF เป็นเครื่องมือการส่งเสริมการออมและลงทุนสำหรับการเกษียณอายุโดยตรง

รูปที่ 10: ส่วนลดภาษีจากการซื้อ RMF สำหรับผู้เสียภาษีที่ระดับรายได้ต่าง ๆ (% ของการซื้อ RMF; 2563)

ส่วนลดภาษีจากการซื้อ RMF สำหรับผู้เสียภาษีที่ระดับรายได้ต่าง ๆ (% ของการซื้อ RMF; 2563)

ที่มา: การวิเคราะห์โดยผู้วิจัย

บทสรุป

บทความนี้ชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้ว่าผู้ได้ประโยชน์จาก LTF ส่วนมากจะเป็นผู้มีรายได้สูง แต่การพิจารณาเรื่องความเป็นธรรมของ LTF นั้นจะได้คำตอบที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าผู้ตอบคำถามเลือกใช้เครื่องชี้วัดใด ดังนั้นในความเห็นของผู้วิจัย หากรัฐต้องการต่ออายุ LTF ประเด็นที่สำคัญมากกว่าเรื่องความเป็นธรรมคือ เครื่องมือการลดหย่อน LTF นี้ได้สร้างแรงจูงใจในการออมและลงทุนให้ผู้มีรายได้สูงมากกว่าผู้มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง ซึ่งตรงกันข้ามกับเป้าประสงค์ในการส่งเสริมการออมและการลงทุนระยะยาวสำหรับคนชั้นกลาง

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนการลดหย่อน LTF เป็นเครดิตภาษีที่จะทำให้แรงจูงใจเท่ากันสำหรับผู้เสียภาษีทุกคนนั้น มีข้อพึงระวังที่สำคัญเช่นกัน โดยหากรัฐเปลี่ยนการเปลี่ยนการลดหย่อน LTF เป็นเครดิตเพียงอย่างเดียว แรงจูงใจในการลงทุน RMF ซึ่งยังคงอยู่ในรูปของการลดหย่อน จะลดลงอย่างมีนัยสำคัญสำหรับผู้มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง ดังนั้นรัฐบาลควรพิจารณาให้รอบคอบถึงลำดับความสำคัญของสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของการเป็นเครื่องมือส่งเสริมความพร้อมทางการเงินสำหรับการเกษียณอายุ

ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลการวิจัยนี้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับการตัดสินใจเรื่องการต่ออายุสิทธิประโยชน์ LTF หรือการออกแบบสิทธิประโยชน์ภาษีอื่น ๆ ในอนาคต

เอกสารอ้างอิง

อธิภัทร มุทิตาเจริญ และผาสุก พงษ์ไพจิตร, 2560, “การวิเคราะห์รายจ่ายภาษีสำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา,” ชุดโครงการแนวทางการปฏิรูปภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและวิเคราะห์การกระจายรายได้ของผู้มีเงินได้พึงประเมิน (หัวหน้าโครงการ: ศ.ดร. ผาสุก พงษ์ไพจิตร) สนับสนุนโดยสกว.

Muthitacharoen, Athiphat, and Pasuk Phongpaichit, 2018, “The unequal benefits of tax subsidies for household saving and investment: Evidence from Thailand’s tax return data,” Faculty of Economics, Chulalongkorn University Working Paper.


  1. แบบจำลอง Microsimulation model มีองค์ประกอบสำคัญดังนี้ 1) การจำลองให้รายได้ผู้เสียภาษีมีการเติบโตแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มรายได้ (Heterogeneous income growth) สอดคล้องกับอัตราการเติบโตของเงินได้พึงประเมินตามกลุ่มรายได้จากข้อมูลของกรมสรรพากรย้อนหลัง 12 ปี และอัตราการเติบโตของรายได้ประชาชาติ (Net National Income) ของประเทศ และ 2) การสร้างเครื่องคำนวณภาระภาษี (Tax calculator) โดยมี Parameters ตามกฎหมายภาษีในแต่ละปี และสมมติให้การหักค่าใช้จ่าย เงินสะสมและค่าลดหย่อนสะท้อนพฤติกรรมในปี 2555 โดยกำหนดเป็นขนาดคงที่ หรือเป็นสัดส่วนตามที่กฎหมายอนุญาต↩
Athiphat Muthitacharoen
Athiphat Muthitacharoen
Chulalongkorn University
Topics: Public Economics
Tags: ltfpersonal income taxtaxpayers
The views expressed in this workshop do not necessarily reflect the views of the Puey Ungphakorn Institute for Economic Research or the Bank of Thailand.

Puey Ungphakorn Institute for Economic Research

273 Samsen Rd, Phra Nakhon, Bangkok 10200

Phone: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

Terms of Service | Personal Data Privacy Policy

Copyright © 2025 by Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.

Content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license.

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

Get PIER email updates

Facebook
YouTube
Email