Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Building Thailand’s Beveridge Curve: New Insights of Thailand’s Labour Markets with Internet Job Platforms
Discussion Paper ล่าสุด
Building Thailand’s Beveridge Curve: New Insights of Thailand’s Labour Markets with Internet Job Platforms
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
World Bank x PIER Climate Finance Policy Forum
งานประชุมเชิงนโยบายล่าสุด
World Bank x PIER Climate Finance Policy Forum
Market Design in Practice
งานสัมมนาล่าสุด
Market Design in Practice
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
aBRIDGEdabridged
Making Research Accessible
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
Topic
Development Economics
Macroeconomics
Financial Markets and Asset Pricing
Monetary Economics
...
/static/8551bb454f15d18e3ab8e8d06a084bb4/e9a79/cover.png
2 เมษายน 2561
20181522627200000

พฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนของผู้ส่งออกไทย: ข้อค้นพบในระดับจุลภาค

FX hedging มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็น shock absorber สำหรับผู้ประกอบการไทยในยุคค่าเงินบาทผันผวน
ธีธัช เชื้อประไพศิลป์ณัฐพงศ์ รุจิรวนิชบวรรัชต์ แสงสิทธิ์
พฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนของผู้ส่งออกไทย: ข้อค้นพบในระดับจุลภาค
excerpt

บทความนี้นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับจุลภาคจากธุรกรรมเงินตราต่างประเทศของผู้ส่งออก เพื่อแสดงถึงแนวโน้มและปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงอุปสรรคของผู้ประกอบการโดยเฉพาะรายเล็ก เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น

ในช่วงที่ผ่านมาการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (FX hedging) ได้รับความนิยมและถูกพัฒนาเพื่อรองรับกับความต้องการด้านการค้าของผู้ประกอบการที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับความต้องการด้านการลงทุนในต่างประเทศของนักลงทุนรายย่อยและสถาบัน โดยผลการศึกษาจากข้อมูลในระดับจุลภาคเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนของผู้ส่งออกที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินและปัจจัยต่าง ๆ พบว่า (1) การเปลี่ยนแปลงของค่าเงินและ (2) ประสบการณ์ต่อการขาดทุนกำไรจากการทำสัญญาเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นปัจจัยที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการตัดสินใจทำ FX hedging และทำให้เกิดการเร่งทำหรือหยุดทำจากความตื่นตระหนกของผู้ส่งออก (panic hedging) ในบางช่วงเวลา

ประสบการณ์ภายหลังการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบ “managed float”

หลังจากที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ (managed float) ในปี 1997 ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะตลาดซึ่งมีความผันผวนค่อนข้างมากจากปัจจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะปัจจัยภายนอกไม่ว่าจะเป็น global sentiments การเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงการดำเนินนโยบายทางการเงินของประเทศหลัก ตัวอย่างเช่น global financial crisis ในปี 2008 taper tantrum ในปี 2013 และ Chinese financial market turmoil ในปี 2015 ส่งผลให้ความผันผวนของค่าเงินบาทเพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับ 8–10% จากค่าเฉลี่ยที่ 4–5% ในช่วงเวลาปกติ ภายใต้ความผันผวนของค่าเงินดังกล่าวทำให้ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าภายในประเทศต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (FX exposures) เช่นเดียวกับนักลงทุนรายย่อยและสถาบันที่มีการออกไปลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งส่งผลให้ความต้องการในการทำ FX hedging เพิ่มสูงขึ้น

สำหรับงานศึกษาพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนของผู้ส่งออกในอดีต (Kohpaiboon, 2010 และ Thaicharoen, Ruangwisut และ Mahuttikarn, 2005) พบว่า ปริมาณธุรกรรมที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากผู้ส่งออกรายใหญ่ (L) และผู้ส่งออกที่เป็นบรรษัทข้ามชาติ (MNCs) ขณะที่ผู้ส่งออกรายเล็ก (S) มีการทำธุรกรรม FX hedging เป็นครั้งคราวหรือไม่ทำเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทำให้เกิด panic hedging ในช่วงเวลาที่ค่าเงินบาทผันผวนสูงและยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่อค่าเงินบาทให้ผันผวนมากยิ่งขึ้น

การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

ในการทำธุรกรรม FX hedging มีเครื่องมือหลากหลายที่ผู้ประกอบการสามารถนำมาใช้ได้ อาทิ forward contract, FX swap, FX options และ cross-currency swap (CCS) ซึ่งความต้องการใช้แต่ละเครื่องมือขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการทำธุรกรรมเป็นหลัก โดยผู้ส่งออกและผู้นำเข้าส่วนใหญ่นิยมใช้ forward contract เป็นเครื่องมือหลักในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 48 ของมูลค่าการทำธุรกรรม FX ทั้งหมด (ตารางที่ 1) และอายุของสัญญาจะขึ้นอยู่กับ credit term ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 3 เดือนขึ้นไป (Cheewatragoongit และ Fongwanich, 2013)

ตารางที่ 1: สัดส่วนประเภทธุรกรรม FX ของลูกค้าในประเทศแบ่งตามเครื่องมือ ปี 2016

สัดส่วนประเภทธุรกรรม FX ของลูกค้าในประเทศแบ่งตามเครื่องมือ ปี 2016

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

สำหรับวัตถุประสงค์หลักในการทำ FX hedging กว่าร้อยละ 52 เป็นการทำเพื่อค่าสินค้าส่งออกและนำเข้า (รูปที่ 1) ขณะที่การทำ FX hedging เพื่อการลงทุนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ (FIF) และอีกหนึ่งวัตถุประสงค์สำคัญที่มีส่วนเพิ่มปริมาณธุรกรรม FX hedging คือการบริหารสภาพคล่องของสถาบันการเงินผ่านการทำ FX swaps ในตลาด interbank

รูปที่ 1: สัดส่วนประเภทธุรกรรม FX ของลูกค้าในประเทศแบ่งตามวัตถุประสงค์ ปี 2016

สัดส่วนประเภทธุรกรรม FX ของลูกค้าในประเทศแบ่งตามวัตถุประสงค์ ปี 2016

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

นอกจากนั้น สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือการใช้ทางเลือกอื่นในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่ การใช้บัญชีเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศ (foreign currency deposit : FCD) และการรับจ่ายด้วยสกุลเงินบาท (THB invoicing) ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 33.7 และร้อยละ 10.6 ของมูลค่าการชำระเงินค่าสินค้าออก ตามลำดับ (รูปที่ 2) ขณะที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงเป็นเงินสกุลหลักที่ใช้สำหรับการส่งออกและนำเข้าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา (รูปที่ 3)

รูปที่ 2: โครงสร้างการชำระเงินค่าสินค้าออก จำแนกตามองค์ประกอบของเงิน

โครงสร้างการชำระเงินค่าสินค้าออก จำแนกตามองค์ประกอบของเงิน

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
รูปที่ 3: โครงสร้างการชำระเงินค่าสินค้าออก จำแนกตามสกุลเงิน

โครงสร้างการชำระเงินค่าสินค้าออก จำแนกตามสกุลเงิน

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำ FX hedging ของผู้ส่งออก

หากแบ่งแยกระดับการทำ FX hedging (hedge level) ของผู้ส่งออกแต่ละรายโดยคำนวณจากสัดส่วนมูลค่าการทำธุรกรรม FX hedging (ธุรกรรม FX ที่ไม่รวมธุรกรรม spot)ต่อมูลค่าการทำธุรกรรม FX ทั้งหมด จะได้กลุ่มผู้ประกอบการ ตามระดับ hedge level แบ่งเป็นกลุ่ม None (ไม่ทำ FX hedging) Low (ทำน้อยกว่า 20%) Medium (ทำตั้งแต่ 20% แต่ต่ำกว่า 60%) High (ทำตั้งแต่ 60% แต่ต่ำกว่า 100%) และ Fully hedged (ทำ 100%) ซึ่งสามารถนำมาวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการทำ FX hedging ได้ดังนี้

1. ลักษณะของผู้ส่งออก

จากการศึกษา (Chuaprapaisilp, Rujiravanich และ Saengsith, 2018) พบว่า ขนาดของผู้ส่งออกมีผลต่อ hedge level โดยผู้ส่งออกรายเล็ก (S) กว่าร้อยละ 72 ไม่ทำ FX hedging (ตารางที่ 2) ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากข้อจำกัดในการเข้าถึงเครื่องมือในทำ FX hedging เนื่องจากจำเป็นต้องมีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ขณะที่ผู้ส่งออกรายใหญ่ (L) มีระดับการทำ FX hedging ที่มากกว่าและสามารถใช้ทางเลือกอื่นในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่หลากหลายกว่า เช่น การใช้บัญชี FCD และการใช้ THB invoicing

ตารางที่ 2: สัดส่วนจำนวนผู้ส่งออกแบ่งตามระดับการทำ FX hedging ปี 2015

สัดส่วนจำนวนผู้ส่งออกแบ่งตามระดับการทำ FX hedging ปี 2015

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

ขณะที่ความถี่ในการทำ FX hedging หรือจำนวนเดือนที่ทำ FX hedging ใน 1 ปี (Hedge frequency) มีความ สัมพันธ์เชิงบวกกับ hedge level โดยผู้ส่งออกที่มีการทำ FX hedging อย่างสม่ำเสมอ (7 ถึง 12 เดือนใน 1 ปี) จะมีแนวโน้มของ hedge level ในระดับสูงเช่นกัน (รูปที่ 4)

รูปที่ 4: สัดส่วนจำนวนผู้ส่งออกแบ่งตามจำนวนเดือนในการทำ FX hedging ปี 2015

สัดส่วนจำนวนผู้ส่งออกแบ่งตามจำนวนเดือนในการทำ FX hedging ปี 2015

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

Natural hedge หรือสัดส่วนมูลค่าการส่งออกสุทธิต่อมูลค่าการค้ารวมใน 1 ปี เป็นอีกปัจจัยซึ่งมีผลต่อ hedge level สำหรับผู้ส่งออกที่มีภาระทั้งการส่งออกและนำเข้า ซึ่งสามารถบริหารรายได้กับรายจ่ายที่เป็นเงินตราต่างประเทศด้วยการนำรายได้และรายจ่ายสกุลเดียวกันที่มีการส่งมอบในเวลาใกล้เคียงกันมาหักกลบลบหนี้ ทำให้ผู้ส่งออกดังกล่าวไม่จำเป็นต้องทำ FX hedging ในระดับที่สูง

นอกจากนั้น ยังพบว่าสัดส่วนการถือครองหุ้นส่วนของบริษัทโดยนักลงทุนต่างชาติหรือ degree of foreign ownership มีผลต่อ hedge level โดยผู้ส่งออกที่เป็นบรรษัทข้ามชาติ (MNCs) ส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะทำ FX hedging ในระดับที่สูง เนื่องจากมีนโยบายการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ชัดเจน อย่างไรก็ดี MNCs บางส่วนอาจไม่จำเป็นต้องทำ FX hedging จากการที่มี treasury centers (TC) หรือบริษัทแม่ในต่างประเทศทำหน้าที่ในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนแทน รวมถึงมีการฝากเงินเข้าบัญชี FCD ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ MNCs นิยมใช้เป็นจำนวนมากเพื่อทดแทนการทำ FX hedging

2. ข้อจำกัดในการเข้าถึงเครื่องมือ FX hedging และต้นทุนในการทำ

จากที่พบว่าผู้ส่งออกรายเล็กมีการทำ FX hedging ในระดับค่อนข้างต่ำ โดยนอกเหนือจากการขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนแล้วนั้น อุปสรรคที่สำคัญคือการที่ผู้ส่งออกขนาดเล็กไม่สามารถเข้าถึงเครื่องมือในการทำ FX hedging เช่น การทำ forward contract เนื่องจากจำเป็นต้องมีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารพาณิชย์ สำหรับขั้นตอนในการพิจารณาวงเงินสินเชื่อจะต้องมีการประเมินความเสี่ยงของธุรกิจ รวมถึง default risk และคงเป็นเรื่องยากที่ผู้ส่งออกรายเล็กส่วนใหญ่จะไม่ถูกประเมินความเสี่ยงอยู่ในระดับที่สูง ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการที่ธนาคารเก็บค่าธรรมเนียม (forward premium) ที่แพงขึ้นตามระดับความเสี่ยง สอดคล้องกับการศึกษา (Sawangngoenyuang, 2011) ที่พบว่า ธุรกรรมขนาดเล็กที่ส่วนใหญ่เป็นธุรกรรมของผู้ส่งออกรายเล็กจะต้องเผชิญกับต้นทุนหรือ forward premium ที่แพงกว่าเมื่อเทียบกับธุรกรรมขนาดใหญ่ของผู้ส่งออกรายใหญ่ อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกรายใหญ่ก็อาจเผชิญกับข้อจำกัดในการทำ FX hedging ได้เช่นกัน หากมีการใช้วงเงินในการทำ FX hedging ใกล้เต็มจำนวนวงเงินที่ได้รับการอนุมัติจากธนาคารพาณิชย์

3. ความอ่อนไหวต่อความผันผวนของค่าเงิน

อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อพฤติกรรมการทำ FX hedging ของผู้ส่งออกคือการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินทั้งในแง่ของระดับการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่มีความต่อเนื่อง โดยการศึกษาพบว่า ผู้ส่งออกรายเล็กที่ส่วนใหญ่ไม่ทำ FX hedging หรือทำน้อยจะมีความอ่อนไหวต่อความผันผวนของค่าเงินค่อนข้างมาก ซึ่งทำให้เกิดการเร่งทำจากความตื่นตระหนก (panic hedging) ในช่วงที่เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าและหยุดทำจากการคาดเดาแนวโน้มของเงินบาทที่อ่อนค่าเพื่อเพิ่มรายได้จากค่าเงิน (speculation) ขณะที่ผู้ส่งออกรายใหญ่ที่มีการทำ FX hedging ในระดับสูงและสม่ำเสมอจะมีความอ่อนไหวต่อความผันผวนของค่าเงินที่ต่ำกว่า (รูปที่ 5)

รูปที่ 5: ระดับการทำ FX hedging ของผู้ส่งออก

ระดับการทำ FX hedging ของผู้ส่งออก

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

4. ปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง

นอกเหนือจาก (1) ลักษณะของผู้ส่งออก (2) ข้อจำกัดในการเข้าถึงเครื่องมือ FX hedging และต้นทุนในการทำ และ (3) ความอ่อนไหวต่อความผันผวนของค่าเงินแล้ว ยังมีปัจจัยเพิ่มเติมที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ประสบการณ์ความคุ้นเคยในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Fabling และ Grimes, 2014) ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ผู้ส่งออกที่มีความคุ้นเคยในการทำ FX hedging ในอดีตมีแนวโน้มที่จะทำ FX hedging ในระดับที่สูง นอกจากนี้ ประสบการณ์ต่อผลขาดทุนกำไรจากการทำ FX hedging หรือกำไรที่เสียไปจากเงินบาทที่อ่อนค่าเกินกว่า Forward rate เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ส่งออกตัดสินใจลดการทำหรือไม่ทำ FX hedging ในอดีตที่ผ่านมา

ข้อสรุปและนัยเชิงนโยบาย

การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเปรียบเสมือน shock absorber สำหรับผู้ประกอบการต่อความผันผวนจากค่าเงินที่มากระทบ จึงทำให้ความต้องการในการทำ FX hedging เพื่อการค้าของผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ส่งออกรายใหญ่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับการเติบโตในการใช้ทางเลือกอื่นในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เช่น การใช้บัญชี FCD และการใช้ THB invoicing อย่างไรก็ดี จากผลการศึกษาบ่งชี้ว่ายังมีผู้ส่งออกบางส่วนโดยเฉพาะผู้ส่งออกรายเล็กที่ยังไม่ทำ FX hedging หรือทำในระดับที่ค่อนข้างน้อย ซึ่งเป็นการเปิดรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และทำให้รายได้ทางธุรกิจถูกกระทบโดยตรงจากความผันผวนของค่าเงิน โดยอุปสรรคที่สำคัญคือ (1) ขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และ (2) ไม่สามารถเข้าถึงเครื่องมือในการทำ FX hedging

ทั้งนี้ การส่งเสริมความรู้และทักษะแก่ผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะรายเล็ก ให้สามารถป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้อย่างถูกวิธีและมีวินัยจะเป็นตัวช่วยปกป้องกำไรที่ผู้ประกอบการควรจะได้รับภายใต้ความผันผวนของค่าเงิน และช่วยให้การวางแผนธุรกิจในอนาคตง่ายขึ้น นอกจากนี้ การสนับสนุนให้ผู้ประกอบการรายเล็กสามารถเข้าถึงวงเงินสินเชื่อเพื่อใช้ในการทำ FX hedging และเครื่องมือที่มีความยืดหยุ่น เช่น options contract ก็น่าจะเป็นตัวช่วยให้ข้อจำกัดและอุปสรรคของผู้ประกอบการลดลงได้เป็นอย่างดี

เอกสารอ้างอิง

Cheewatragoongit, B. and P. Fongwanich (2013): “FX Hedging Behavior of Thai Companies and the Relationship with Exchange Rate,” Bank of Thailand FAQ Issue 84, November, 2013.

Chuaprapaisilp, T., N. Rujiravanich and B. Saengsith (2018): “FX Hedging Behavior among Thai Exporters: A Micro-level Evidence,” PIER Discussion Paper, No. 81.

Fabling, R. and A. Grimes (2014): “Over the hedge: Do exporters practice selective hedging?” Working Paper 14-01, Motu Economic and Public Policy Research.

Kohpaiboon, A. (2010): Exchange Rate Volatility and Firms’ Hedging Behavior: Policy Challenges, Prince Viwatchai Scholarship Project, 50 Years Bank of Thailand Foundation.

Sawangngoenyuang, W. (2011): “Components of Forward Transaction Cost: Implications for firms’ decision to hedge foreign exchange risk”, Bank of Thailand Economic Seminar, August 2011.

Thaicharoen, Y., P. Ruangwisut and J. Mahuttikarn (2005): “Improving Financial Resilience of the Thai Economy against Exchange Rate Risk”, Bank of Thailand Symposium, August 2005.

ธีธัช เชื้อประไพศิลป์
ธีธัช เชื้อประไพศิลป์
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ณัฐพงศ์ รุจิรวนิช
ณัฐพงศ์ รุจิรวนิช
ธนาคารแห่งประเทศไทย
บวรรัชต์ แสงสิทธิ์
บวรรัชต์ แสงสิทธิ์
ธนาคารแห่งประเทศไทย
Topics: International TradeInternational FinanceCorporate Finance
Tags: exchange rateforeign exchange hedgingforeign exchange transaction
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email