อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผมได้มีโอกาสร่วมงานกับ PIER ตั้งแต่ปีแรกถึงปัจจุบัน โดยได้ร่วมเขียนบทความวิชาการและทำงานวิจัยร่วมกับนักวิจัยของ PIER ทั้งในบทความ PIER Blog บทความวิจัยฉบับย่อ aBRIDGEd และบทความวิจัยฉบับเต็ม PIER Discussion Paper และยังได้ร่วมเป็น PIER Visiting Fellow วิทยากร ผู้วิจารณ์ผลงานวิจัย และผู้เข้าร่วมในงานสัมมนาที่จัดโดย PIER เช่น PIER Research Exchange, PIER Research Workshop, BOT Symposium นอกจากนั้น ยังได้ร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณาทุนวิจัยที่ PIER สนับสนุน และร่วมกลุ่มนักวิจัยที่สนใจเรื่องเศรษฐศาสตร์พัฒนาที่เชื่อมโยงกับเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและการทดลองที่ PIER ริเริ่ม ต้องบอกว่าได้ประโยชน์มากมายจากการร่วมงานกับ PIER ตั้งแต่ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการทำวิจัยกับนักวิจัยที่ PIER และสถาบันต่าง ๆ และได้โจทย์วิจัยใหม่ ๆ ไปทำต่อ รวมทั้งการที่ได้เผยแพร่ผลงานวิจัยผ่านแพลตฟอร์มของ PIER ทำให้งานวิจัยได้รับการยอมรับมากขึ้นในวงกว้างและถูกนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบาย เช่น การพัฒนาภาคเกษตรไทย หรือการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ
ที่สำคัญมากไปกว่านั้น PIER ยังทำให้ผมได้รู้จักเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ที่ PIER และสถาบันต่าง ๆ มากมาย
PIER มีบทบาทสำคัญและมีส่วนช่วยอย่างมากในการผลักดันงานวิจัยของไทยและการส่งเสริมการทำนโยบายบนรากฐานของงานวิจัย ตั้งแต่การที่ PIER ช่วยทำให้นักวิจัยไทยได้มีโอกาสเข้าถึงฐานข้อมูลขนาดใหญ่หลายชุดเพื่อทำวิจัย ซึ่งช่วยเพิ่มคุณภาพของงานวิจัยได้อย่างมาก รวมทั้ง PIER ช่วยพัฒนาและขยายเครือข่ายนักวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์ในหลายสาขาทำให้มองประเด็นวิจัยได้รอบด้านมากขึ้น และ PIER ยังช่วยสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อให้นักวิจัยได้มีโอกาสทำงานวิจัยที่ตนเองอยากทำ ได้ความรู้เพิ่มเติม และสามารถผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพผ่านการให้คำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น งานวิจัยที่ PIER ช่วยผลักดันจึงมีคุณภาพสูงและสามารถนำไปใช้ในการพัฒนานโยบายของประเทศไทยได้
ผมอยากเห็น PIER เป็นแพลตฟอร์มกลางที่ช่วยเชื่อมประสานนักวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์จากสถาบันต่าง ๆ ทั่วประเทศให้มากขึ้น และผลักดันให้นักวิจัยเหล่านี้ได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกันเพื่อสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงให้กับประเทศไทย และช่วยย่อยงานวิจัยที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายและเผยแพร่สู่สาธารณะให้มากขึ้นและเพิ่มช่องทางการเผยแพร่ข้อมูล ที่ผ่าน PIER ทำได้ดีมาก จากนี้ไป PIER ควรหาทางเพิ่มคุณภาพของเครือข่ายนักวิจัยที่พัฒนาขึ้นให้มีโอกาสทำงานร่วมกันมากขึ้นเพื่อสร้าง impactful research ให้กับประเทศไทยเพิ่มขึ้น
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์: 0-2283-6066
Email: pier@bot.or.th
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license
รับจดหมายข่าว PIER