Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการต่อไป
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
aBRIDGEdabridged
Making Research Accessible
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
Topic
Development Economics
Macroeconomics
Financial Markets and Asset Pricing
Monetary Economics
...
/static/b566832ddb9cee4e55a628680559dd5e/41624/cover.jpg
27 สิงหาคม 2561
20181535328000000

ผลกระทบทางเศรษฐกิจของความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศไทย

พลวัตความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศไทยและผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่ามยุทธนา เศรษฐปราโมทย์
ผลกระทบทางเศรษฐกิจของความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศไทย
excerpt

ที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งการเมืองในประเทศ ที่ต่อมาได้นำไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงและการทำรัฐประหารถึงสองครั้ง ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นนี้สามารถส่งผลกระทบเชิงลบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คำถาม คือ ความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศไทยมีที่มาจากเหตุการณ์ลักษณะใดบ้าง และส่งผลต่อเศรษฐกิจมากน้อยเพียงใด งานวิจัยของ Pongsak and Yuthana (2018) มุ่งตอบคำถามสำคัญดังกล่าวผ่านการนำเสนอวิธีสร้างดัชนีชี้วัดระดับความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทยโดยอาศัยข้อมูลจากหน้าหนังสือพิมพ์ไทย ซึ่งสามารถทำย้อนกลับไปได้ตั้งแต่ปี 1997 เพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาค โดยพิจารณาผลกระทบที่มีต่อ GDP ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งวิเคราะห์ส่วนประกอบของ GDP ในด้านการใช้จ่ายและด้านการผลิต

วิธีการวัดความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศไทย

ในกรณีของประเทศไทย ความไม่แน่นอนทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามครรลองระบบประชาธิปไตย เช่น การยุบสภา การเลือกตั้ง การชุมนุมประท้วง การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการทำรัฐประหารที่ไม่เป็นไปตามระบบประชาธิปไตย ดังนั้นเราจึงได้พัฒนาดัชนีความไม่แน่นอนทางการเมืองให้ครอบคลุมเหตุการณ์ในด้านเหล่านี้

การคำนวณดัชนีชี้วัดระดับความขัดแย้งจากทางการเมืองที่อาศัยข้อมูลจากข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ เราได้ใช้หลักการพื้นฐานเดียวกับการคำนวณดัชนีความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจ (Economic Policy Uncertainty Index: EPU) ที่นำเสนอโดย Baker et al. (2016) และการค้นหาคำด้านความไม่แน่นอนทางการเมืองจากดัชนีการแบ่งแยกฝักฝ่ายของกลุ่มการเมือง (Partisan Conflict Index: PCI) ของ Azzimonti (2018)

ในขั้นตอนแรก เราจะทำการกำหนดกลุ่มคำสำคัญ (keywords) ที่แสดงถึงความไม่แน่นอนหรือความขัดแย้งทางการเมือง หลังจากนั้น เราทำการนับจำนวนบทความข่าวที่นำเสนอในหนังสือพิมพ์รายวันในแต่ละเดือนที่มีคำสำคัญจากขั้นตอนที่หนึ่งเทียบกับจำนวนข่าวด้านการเมืองทั้งหมดในหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น ๆ ในขั้นที่สามคือ การสร้างดัชนีวัดระดับความไม่แน่นอน ด้วยการปรับข้อมูลด้วยจำนวนบทความทั้งหมดของแต่ละหนังสือพิมพ์ในแต่ละช่วงเวลา และเพื่อคำนวณเป็นดัชนีรวมของแต่ละหมวด โดย

  1. ปรับค่าให้เป็นค่ามาตรฐานด้วยการหารด้วยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)
  2. คำนวณค่าเฉลี่ยของแต่ละหนังสือพิมพ์ตลอดช่วงเวลาของข้อมูล
  3. ทำการปรับข้อมูลเพื่อ normalization ให้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 100

งานวิจัยนี้ใช้ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ไทยจำนวน 5 ฉบับ คือ ไทยรัฐ เดลินิวส์ มติชน คมชัดลึก และ ข่าวสด โดยใช้การสืบค้นระบบจัดการข้อมูลข่าวของบริษัท Infoquest

เราได้ทำการแบ่งประเภทของความไม่แน่นอนทางการเมืองออกเป็น 5 ด้านหลัก คือ

  1. ข่าวความขัดแย้งที่เกิดจากการชุมนุมของกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง (คำสำคัญที่ใช้คือ "ชุมนุม" และ "ขัดแย้ง")
  2. ข่าวการใช้มาตรการของทางการในการดูแลหรือยับยั้งปัญหาความขัดแย้งที่อาจทวีความรุนแรงขึ้น เช่น การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือการออกกฎอัยการศึกของภาครัฐ (คำสำคัญที่ใช้คือ "สถานการณ์ฉุกเฉิน" หรือ "กฎอัยการศึก")
  3. ข่าวความไม่แน่นอนทางการเมืองอันเกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย เช่น การยุบสภา การเลือกตั้ง (คำสำคัญที่ใช้คือ "ไทย" และ ["ยุบสภา" หรือ "เลือกตั้ง"])
  4. ข่าวความไม่แน่นอนทางการเมืองอันเกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่รุนแรง คือ การปฏิวัติ รัฐประหาร (คำสำคัญที่ใช้คือ "ปฏิวัติ" หรือ "รัฐประหาร")
  5. ข่าวความไม่แน่นอนทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับตัวกติกาและโครงสร้างทางการเมือง เช่น การปฏิรูปทางการเมือง หรือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ (คำสำคัญที่ใช้คือ ["การเมือง" และ "ปฎิรูป"] หรือ [["รัฐธรรมนูญ" หรือ "รธน."] และ ["ยกร่าง" หรือ "แก้ไข"]])

สำหรับการคำนวณดัชนีภาพรวมแสดงความไม่แน่นอนในประเทศไทย (Political Uncertainty Index for Thailand) สามารถนำคำสำคัญข้างต้นมารวมเข้าด้วยกัน

พลวัตความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศไทยในช่วงสองทศวรรษ

ผลการวัดแสดงในรูปที่ 1 ซึ่งทำให้เราเห็นภาวะความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศไทยรายไตรมาส ตั้งแต่ 2Q1997–4Q2017 ผ่านการหาจำนวนบทความที่มีคำสำคัญดังที่กล่าวในระเบียบวิธีวิจัย ซึ่งจะเห็นว่าช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมาครอบคลุมการทำงานของนายกรัฐมนตรีทั้งหมด 9 ท่าน ซึ่งนอกจากจะเห็นเส้นแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นแล้ว ยังเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเกิดการปะทุขึ้นของความไม่แน่นอนทางการเมืองอย่างรุนแรงถึง 3 ครั้ง คือ ตั้งแต่ปี 2006 จนถึงปี 2014 ซึ่งถือเป็นช่วงวิกฤติการณ์ทางการเมืองที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศไทย

โดยในครั้งแรกอยู่ในช่วงของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ได้เกิดเหตุการณ์ชุมนุมขึ้นของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จนนำไปสู่่การประกาศยุบสภา แม้ว่าจะเกิดการเลือกตั้งขึ้นในเวลาต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญได้มีวินิจฉัยให้เพิกถอนการเลือกตั้ง และประกาศเลือกตั้งใหม่ ปัญหาความขัดแย้งระหว่างพรรคการเมืองยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง พร้อมกับการชุมนุมภายนอกสภาที่ต้องการขับไล่นายกรัฐมนตรีทักษิณ ซึ่งต่อมาเป็นชนวนให้เกิดการรัฐประหารขึ้นโดยพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน

รูปที่ 1: ดัชนีภาพรวมความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศไทย

ดัชนีภาพรวมความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศไทย

ที่มา: คำนวณโดยผู้เขียน

สำหรับครั้งที่สองเกิดขึ้นในสมัยที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เกิดการชุมนุมเรียกร้องให้ยุบสภา โดยกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือกลุ่ม นปช. จนนำไปสู่มาตรการสลายการชุมนุม การปะทะกันระหว่างทางการและผู้ชุมนุมทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งแกนนำ นปช. ประกาศยุติการชุมนุมในเดือนพฤษภาคม ในปี 2010 ส่วนครั้งที่สาม ซึ่งจะเห็นได้ว่าระดับความไม่แน่นอนเพิ่มสูงกว่าในสองครั้งที่ผ่านมา เกิดขึ้นในยุคสมัยของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เกิดการชุมนุมกดดันให้นายกรัฐมนตรีลาออก และได้ทำปฏิบัติการปิดสถานที่ใจกลางกรุงเทพในช่วงต้นปี 2014 การชุมนุมดังกล่าวได้เป็นชนวนให้เกิดการรัฐประหารโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

แม้ว่าความไม่แน่นอนทางการเมืองจะลดลงอย่างรวดเร็วหลังการรัฐประหารในเดือนพฤษภาคม 2014 หากเราพิจารณาองค์ประกอบของความไม่แน่นอนออกเป็นสองด้าน คือ หนึ่ง ด้านที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ข่าวภายนอกระบบรัฐสภา (คือ บทความที่มีคำที่เกี่ยวข้องกับ การชุมนุมประท้วง การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือกฎอัยการศึก และการปฏิวัติรัฐประหาร) และสอง ด้านที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในระบบรัฐสภา (คือ บทความที่มีคำเกี่ยวข้องกับ การเลือกตั้ง และการปฏิรูปการเมือง) เราพบว่าความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นภายนอกและภายในระบบรัฐสภามีความสัมพันธ์กันอย่างมากในช่วงปี 2006–2014 (ดังที่แสดงในรูปที่ 2) ซึ่งในช่วงก่อนปี 2006 ความสัมพันธ์ดังกล่าวมีไม่ชัดเจน ขณะที่ภายหลังการทำรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในปี 2014 พบว่าความสัมพันธ์ของความไม่แน่นอนภายนอกสภาและภายในสภาวิ่งในทิศทางที่สวนทางกัน ซึ่งจะเห็นว่าความไม่แน่นอนด้านเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประท้วงได้ลดลงมากที่สุด ขณะที่ความไม่แน่นอนทางด้านการเลือกตั้งและการปฏิรูปการเมืองยังคงอยู่ในระดับที่สูงภายหลังการทำรัฐประหารในปี 2014

รูปที่ 2: ความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศไทย แยกเป็นเหตุการณ์นอกและในระบบรัฐสภา

ความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศไทย แยกเป็นเหตุการณ์นอกและในระบบรัฐสภา

ที่มา: คำนวณโดยผู้เขียน

หากเจาะลึกลงไปอีกถึงองค์ประกอบทั้ง 5 ด้าน ดังแสดงในรูปที่ 3 จะเห็นว่าสัดส่วนของข่าวด้านที่เกี่ยวข้องกับการยุบสภาหรือการเลือกตั้งมีสัดส่วนที่สูงมากในช่วงตั้งแต่ปี 1997 จนถึงปี 2006 และถือได้ว่าเป็นแหล่งที่มาหลักของความไม่แน่นอนทางการเมืองในช่วงนั้น ตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา องค์ประกอบของความไม่แน่นอนทางการเมืองไทยได้เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน โดยสัดส่วนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ด้านการประท้วง การออกมาตรการจัดการประท้วง และข่าวด้านการปฏิวัติมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น แต่ก็ได้ทยอยลดลงภายหลังการรัฐประหารในปี 2014 ขณะที่บทความข่าวด้านการปฎิรูปการเมืองในปลายปี 2016 มีสัดส่วนถึงประมาณครึ่งหนึ่งของบทความข่าวความไม่แน่นอนการเมืองทั้งหมด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าองค์ประกอบของปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยประเด็นด้านการปฏิรูปการเมืองได้กลายเป็นแหล่งที่มาหลักของความไม่แน่นอนทางการเมืองไทย

รูปที่ 3: แหล่งที่มาของความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศไทย

แหล่งที่มาของความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศไทย

ที่มา: คำนวณโดยผู้เขียน

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาคและตลาดการเงิน

การสร้างดัชนีความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทย ทำให้เราสามารถวิเคราะห์ผลกระทบเชิงปริมาณที่มีต่อเศรษฐกิจมหภาคและตลาดการเงินได้ ในส่วนแรก เราได้วิเคราะห์ผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและความผันผวนในระยะสั้นที่เกิดขึ้น โดยใช้ตัวแปรความไม่แน่นอนทางการเมือง (Policy Uncertainty Index: PUI) ร่วมกับปัจจัยเสี่ยงจากต่างประเทศอื่น ๆ เช่น ความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจในระดับโลก มูลค่าการค้าโลก เราพบว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองส่งผลเชิงลบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและความผันผวนอย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อวิเคราะห์ผลของความไม่แน่นอนทางการเมืองในแต่ละดัชนีย่อยของความขัดแย้งทางการเมือง ทั้งภายในและภายนอกระบบรัฐสภา ก็ยังพบว่าความไม่แน่นอนมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในหลายกรณี (ยกเว้นความไม่แน่นอนด้านชุมนุมขัดแย้ง และความไม่แน่นอนด้านปฎิรูปการเมือง ที่ผลยังไม่มีนัยทางสถิติ) และเมื่อพิจารณาผลกระทบทางเศรษฐกิจระยะยาว เราพบว่าความไม่แน่นอนทางการเมืองทั้งในภาพรวมและในดัชนีย่อยมีผลเชิงลบต่ออัตราการเติบโตของผลผลิตตามศักยภาพในเกือบทุกกรณี (ยกเว้นเพียงผลของความไม่แน่นอนด้านการชุมนุมขัดแย้งที่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ)

ในมิติที่สอง เมื่อวิเคราะห์ในรายองค์ประกอบของการใช้จ่ายในเศรษฐกิจมหภาค ผลการศึกษาพบว่า การลงทุนภาคเอกชนมีการตอบสนองต่อความไม่แน่นอนทางการเมืองที่เกิดจากความขัดแย้งที่แสดงออกในรูปการชุมนุมและความขัดแย้งในด้านการปฎิรูปโครงสร้างการเมืองอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งความไม่แน่นอนทางการเมืองในสองด้านดังกล่าวเป็นองค์ประกอบสำคัญที่อธิบายความแปรปรวนของการลงทุนภาคเอกชนได้ในระดับที่ค่อนข้างสูงถึงประมาณร้อยละ 16 ส่วนผลกระทบต่อระดับการบริโภคภาคเอกชนแม้ว่าจะมีการตอบสนองต่อความไม่แน่นอนทางการเมืองน้อยกว่าการลงทุนภาคเอกชน แต่การวิเคราะห์ทางสถิติก็ยังแสดงถึงการตอบสนองของการบริโภคต่อความขัดแย้งในด้านการชุมนุม และด้านการเลือกตั้ง โดยผลกระทบจะเกิดขึ้นต่อเนื่องประมาณ 2–4 ไตรมาส และเมื่อเทียบผลกระทบในแต่ละประเภทการบริโภคพบว่า การบริโภคสินค้าคงทนจะมีการตอบสนองต่อความขัดแย้งทางการเมืองชัดเจนกว่ากรณีการบริโภคสินค้าไม่คงทน

เมื่อพิจารณาผลกระทบในรายสาขาการผลิต พบว่า ความขัดแย้งทางการเมืองส่งผลต่อเศรษฐกิจในสาขาการโรงแรมมากที่สุด โดยผลจากความขัดแย้งภายนอกรัฐสภา (การชุมนุมและขัดแย้ง การประกาศกฎอัยการศึก และการปฎิวัติรัฐประหาร) จะสูงกว่าผลที่มาจากความขัดแย้งในรัฐสภา (เลือกตั้ง และ ปฎิรูปการเมือง) อย่างชัดเจน นอกจากนี้ สาขาการผลิตอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางการเมือง ได้แก่ สาขาการก่อสร้าง สาขาอสังหาริมทรัพย์ และสาขาบริการขนส่ง ตามลำดับ

ในด้านตลาดทุน ความไม่แน่นอนทางการเมือง โดยเฉพาะด้านความขัดแย้งจากการชุมนุม การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือกฎอัยการศึก การทำปฎิวัติรัฐประหาร และการปฎิรูปการเมืองส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์มีความผันผวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าในแบบจำลองที่ใช้จะแสดงถึงผลเชิงลบของความไม่แน่นอนที่มีต่อผลตอบแทนการลงทุน แต่ค่าที่ได้ยังไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

ข้อสรุป

ในภาพรวมจะเห็นได้ว่า แม้ว่าความไม่แน่นอนทางการเมืองจะมีผลกระทบอย่างมีนัยต่อเศรษฐกิจโดยรวมของไทยในช่วงที่ผ่านมา แต่ช่องทางและขนาดของการตอบสนองต่อการเพิ่มระดับความรุนแรงของความขัดแย้งทางการเมืองในด้านต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน ขณะที่ผลการตอบสนองต่อตัวแปรต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจมหภาคและตลาดการเงินค่อนข้างมีความซับซ้อน ดังนั้น การวิเคราะห์ความไม่แน่นอนทางการเมืองนั้น เราไม่ควรพิจารณาแต่เฉพาะภาพรวมหรือผ่านดัชนีรวมเท่านั้น แต่การวิเคราะห์เพิ่มเติมรายองค์ประกอบของความไม่แน่นอนทางการเมืองจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

ผลการวิจัยที่ได้นี้นอกเหนือจากจะให้ข้อมูลแก่สาธารณะถึงต้นทุนทางเศรษฐกิจที่มาจากความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมาแล้ว ข้อมูลดัชนีความขัดแย้งทางการเมืองที่ได้ยังช่วยเป็นข้อมูลอ้างอิงในการประเมินระดับความรุนแรงของความขัดแย้งทั้งที่เกิดขึ้นในอดีตเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ในประเด็นที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ นอกจากนี้ จะมีประโยชน์ในการเป็นข้อมูล real time ที่เป็นเสมือนสัญญาณเตือนภัยให้กับสาธารณะในการเฝ้าระวังปัญหาและความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากความขัดแย้งทางการเมืองในอนาคตอีกด้วย

เอกสารอ้างอิง

Azzimonti, M. (2018): “Partisan Conflict and Private Investment.” Journal of Monetary Economics, Volume 23 (2018), pp. 114–131.

Baker, S. R., Bloom, N. and Davis. S. J. (2016): “Measuring Economic Policy Uncertainty.” Quarterly Journal of Economics, Volume 131, Issue 4, pp. 1593–1636.

Luangaram, P. and Y. Sethapramote (2018): “Economic Impacts of Political Uncertainty in Thailand”, PIER Discussion Paper, No. 86.

note

ผู้เขียนขอขอบคุณสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่ได้ให้ทุนสนับสนุน

พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม
พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ยุทธนา เศรษฐปราโมทย์
ยุทธนา เศรษฐปราโมทย์
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Topics: MacroeconomicsPolitical Economy
Tags: political uncertaintythailand
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email