Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการต่อไป
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
aBRIDGEdabridged
Making Research Accessible
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
Topic
Development Economics
Macroeconomics
Financial Markets and Asset Pricing
Monetary Economics
...
/static/50cf50a290e3f80089073551431c9dfb/e9a79/cover.png
8 มกราคม 2563
20201578441600000

E-Commerce กับผลกระทบทางเศรษฐกิจ

E-Commerce ช่วยเพิ่มรายได้ครัวเรือนและความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจของตลาดภายในประเทศ
สันติธาร เสถียรไทยวรประภา นาควัชระ
E-Commerce กับผลกระทบทางเศรษฐกิจ
excerpt

บทความนี้สรุปงานวิจัยโดย Sathirathai and Nakavachara (2019) ซึ่งได้ทำการศึกษาข้อมูลผู้ประกอบการที่ใช้ E-Commerce เกือบ 7,000 รายในประเทศไทย พบว่าผู้ประกอบการที่ใช้ E-Commerce มีรายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น เนื่องจาก E-Commerce ช่วยเพิ่มยอดขาย การเติบโตของกำไร และประสิทธิภาพของธุรกิจ นอกจากนี้ งานวิจัยยังพบว่าการใช้ E-Commerce ทำให้ผู้ประกอบการขายสินค้าออกไปนอกภูมิภาคที่ธุรกิจตั้งอยู่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นำมาซึ่งการเพิ่มขึ้นของความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจของตลาดภายในประเทศ

เศรษฐกิจดิจิทัลมีการเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดในภูมิภาคอาเซียนในช่วงที่ผ่านมา Google and Temasek (2019) รายงานว่ามูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคนี้ ในปี 2019 มีค่าสูงถึง 1 แสนล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะเติบโตขึ้นเป็น 3 แสนล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ในปี 20251 สำหรับ E-Commerce ปัจจุบันมีผู้ใช้งานไม่น้อยกว่า 150 ล้านคนในภูมิภาคอาเซียน (เพิ่มขึ้นจากเพียง 49 ล้านคนในปี 2015)

อย่างไรก็ดี แม้เศรษฐกิจดิจิทัล โดยเฉพาะในส่วนของ E-Commerce จะเติบโตและมีความสำคัญมากขึ้นสำหรับภูมิภาคอาเซียน งานศึกษาวิจัยเชิงลึกในด้านนี้ยังมีไม่มากนักเนื่องจากข้อจำกัดทางข้อมูล งานวิจัยชิ้นนี้ได้ก้าวข้ามผ่านข้อจำกัดนี้ โดยคณะผู้วิจัยได้ร่วมมือกับ SEA Group และ Shopee เพื่อเก็บข้อมูลแบบสอบถามเชิงลึกเกี่ยวกับธุรกิจและผลกระทบทางเศรษฐกิจของ E-Commerce ในระดับรายผู้ประกอบการของประเทศไทย โดยสามารถเก็บข้อมูลได้ถึงเกือบ 7,000 ราย

คณะผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวนี้ โดยใช้วิธีการทางเศรษฐมิติ เพื่อหาผลกระทบของ E-Commerce ต่อรายได้ การเติบโตของกำไร และประสิทธิภาพของธุรกิจ นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยยังได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวมเพื่อหาความเปลี่ยนแปลงของความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจของตลาดภายในประเทศอันเนื่องมาจาก E-Commerce

แบบสอบถามและข้อมูล

เนื่องด้วยผู้ประกอบการแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ ผู้ประกอบการที่เคยมีธุรกิจแบบ offline มาก่อน แล้วมาเริ่มใช้ E-Commerce ในภายหลัง (Group A – existing SMEs) กับผู้ประกอบการที่เริ่มประกอบธุรกิจแบบ E-Commerce เลย โดยไม่เคยมีธุรกิจแบบ offline มาก่อน (Group B – new entrepreneurs) คณะผู้วิจัยจึงแบ่งแบบสอบถามออกเป็นสองชุด สำหรับชุดแรก (Group A) จะถามถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลประกอบการ (รายได้ กำไรเติบโต การจ้างงาน ภูมิภาคที่ขายของไปถึง ฯลฯ) ช่วงก่อนและหลังการใช้ E-Commerce เพื่อจะได้เปรียบเทียบได้ว่าการใช้ E-Commerce มีผลกระทบทางเศรษฐกิจกับผู้ประกอบการอย่างไร สำหรับชุดที่สอง (Group B) จะถามถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลประกอบการช่วงเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน โดยแบบสอบถามทั้งสองชุดจะถามถึงข้อมูลทั่วไปของผู้ประกอบการ เช่น อายุ เพศ การศึกษา การทำงาน ภูมิภาคที่ธุรกิจตั้งอยู่ การเพิ่มขึ้นของรายได้ครัวเรือน ฯลฯ ด้วย

ตารางที่ 1 แสดงผล summary statistics ของข้อมูลผู้ประกอบการ E-Commerce (Group A vs. Group B) จะเห็นได้ว่า อายุเฉลี่ยของผู้ประกอบการทั้งหมดอยู่ที่ 32.46 ปี โดย 27.9% ของทั้งหมดเป็นผู้ชาย; 45.3% ของทั้งหมดเป็นผู้หารายได้หลักของครอบครัว; และ 68.3% มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ผู้ประกอบการ Group A มีอายุมากกว่า Group B นอกจากนี้ Group A ส่วนใหญ่เป็น self-employed ในขณะที่ Group B ทำงานประจำ

ตารางที่ 1: Summary statistics ของข้อมูลผู้ประกอบการ E-Commerce

Summary statistics ของข้อมูลผู้ประกอบการ E-Commerce

ที่มา: Sathirathai and Nakavachara (2019)

ผลกระทบทางเศรษฐกิจ

คณะผู้วิจัยได้พยายามวัดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการขายของโดยใช้ E-Commerce โดยได้เริ่มจากการรวบรวมคำตอบของผู้ประกอบการว่า ความเปลี่ยนแปลงของรายได้ครัวเรือนเป็นอย่างไรหลังจากเริ่มขายของบน E-Commerce รูปที่ 1 สรุปผลที่ได้ พบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ตอบว่ามีรายได้เพิ่มขึ้นคิดเป็น 82.4% ของทั้งประเทศ โดยภูมิภาคที่มีสัดส่วนของผู้ประกอบการที่มีรายได้เพิ่มขึ้นมากที่สุด คือภาคเหนือ คิดเป็น 86.1% ของผู้ประกอบการในภูมิภาคนั้น

นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยยังได้ใช้วิธีการทางเศรษฐมิติ เพื่อหาผลกระทบของ E-Commerce ต่อรายได้ การเติบโตของกำไร และประสิทธิภาพของธุรกิจ (คำนวณจากรายได้หารด้วยจำนวนพนักงาน) สำหรับผู้ประกอบการ Group A โดยแยกเป็นกลุ่มตามสัดส่วนของธุรกิจ online เทียบกับธุรกิจทั้งหมด คือ

  1. กลุ่มที่มีธุรกิจ Online ไม่เกิน 20%
  2. กลุ่มที่มีธุรกิจ online มากกว่า 20% แต่ไม่เกิน 40%
  3. กลุ่มที่มีธุรกิจ online มากกว่า 40% แต่ไม่เกิน 60%
  4. กลุ่มที่มีธุรกิจ online มากกว่า 60% แต่ไม่เกิน 80% และ
  5. กลุ่มที่มีธุรกิจ online มากกว่า 80%

ตามลำดับ การศึกษาพบว่าการเพิ่มสัดส่วนของธุรกิจ online ของผู้ประกอบการจะทำให้ รายได้ การเติบโตของกำไร และประสิทธิภาพของธุรกิจ มีค่าเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มที่มีสัดส่วนของธุรกิจ online มากที่สุด (คือ 80%-100%) มีการเพิ่มขึ้นของรายได้สูงกว่ากลุ่มที่มีสัดส่วนของธุรกิจ online น้อยที่สุด (คือ 0%-20%) ถึง 280 percentage points

รูปที่ 1: ความเปลี่ยนแปลงของรายได้ครัวเรือนหลังจากเริ่มขายของบน E-Commerce

ความเปลี่ยนแปลงของรายได้ครัวเรือนหลังจากเริ่มขายของบน E-Commerce

ที่มา: Sathirathai and Nakavachara (2019)

ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจของตลาดภายในประเทศ

คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาความเปลี่ยนแปลงของความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจของตลาดภายในประเทศอันเนื่องมาจาก E-Commerce โดยคณะผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ตลาดเป้าหมายที่ผู้ประกอบการขายของไปถึง ตารางที่ 2 แสดงผลของสัดส่วนของผู้ประกอบการ Group A ในภูมิภาคต่าง ๆ ในประเทศไทยที่ขายของไปนอกภูมิภาคที่ธุรกิจตั้งอยู่ ก่อนและหลังใช้ E-Commerce จะเห็นได้ว่าเมื่อผู้ประกอบการใช้ E-Commerce แล้ว มีการขายของออกไปนอกพื้นที่เพิ่มขึ้นจากทุก ๆ พื้นที่ โดยพื้นที่ยากจน เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ มีการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนการขายออกไปนอกพื้นที่ถึง 44.61 และ 47.83 percentage points นอกจากนี้จำนวนเส้นทางการขาย (trade connections) ของผู้ประกอบการที่ตั้งอยู่ในทุกภูมิภาคยังเพิ่มขึ้นด้วยหลังจากที่ผู้ประกอบการได้เริ่มใช้ E-Commerce ดังแสดงให้เห็นในรูปที่ 2 จะเห็นได้ว่าความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจของตลาดภายในประเทศเพิ่มขึ้น โดยผู้ประกอบการขายสินค้าไปยังหลายพื้นที่มากขึ้น เมื่อได้เข้ามาใช้ E-Commerce

ตารางที่ 2: สัดส่วนของผู้ประกอบการที่ขายของนอกภูมิภาคที่ธุรกิจตั้งอยู่ ก่อนและหลังใช้ E-Commerce

สัดส่วนของผู้ประกอบการที่ขายของนอกภูมิภาคที่ธุรกิจตั้งอยู่ ก่อนและหลังใช้ E-Commerce

ที่มา: Sathirathai and Nakavachara (2019)
รูปที่ 2: ภาพรวมของการขายของออกนอกภูมิภาคที่ธุรกิจตั้งอยู่ ก่อนและหลังใช้ E-Commerce

ภาพรวมของการขายของออกนอกภูมิภาคที่ธุรกิจตั้งอยู่ ก่อนและหลังใช้ E-Commerce

ที่มา: Sathirathai and Nakavachara (2019)

บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

ผลการศึกษาของงานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า E-Commerce ช่วยทำให้รายได้ครัวเรือนของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น โดยการที่ผู้ประกอบการใช้ E-Commerce มากขึ้นจะทำให้ รายได้ การเติบโตของกำไร และประสิทธิภาพของธุรกิจ มีค่าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ E-Commerce ยังช่วยเพิ่มความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจของตลาดภายในประเทศอีกด้วย

ดังนั้น ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของงานวิจัยนี้ คือการสนับสนุนให้ภาคธุรกิจและครัวเรือนมีโอกาสได้ใช้ประโยชน์จาก E-Commerce มากขึ้น โดยการช่วยลดอุปสรรคต่าง ๆ เช่น ช่วยให้เข้าถึงเทคโนโลยีได้มากขึ้น และช่วยให้มีความรู้ในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้มากขึ้น (digital literacy) นอกจากนี้ภาครัฐยังสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ E-Commerce เช่น การขนส่ง การค้าระหว่างประเทศ และการจ่ายเงินแบบ online

เอกสารอ้างอิง

Google and Temasek. 2019. “E-Conomy SEA 2019 Swipe up and to the right: Southeast Asia’s $100 billion Internet Economy.”

Santitarn Sathirathai and Voraprapa Nakavachara. 2019. “Connecting Locals to Locals: Market Discovery through E-Commerce.” PIER Discussion Paper No. 118.


  1. มูลค่า Gross Merchandise Value (GMV) รวมของ Online Travel, E-Commerce, Online Media, และ Ride Hailing↩
สันติธาร เสถียรไทย
สันติธาร เสถียรไทย
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
วรประภา นาควัชระ
วรประภา นาควัชระ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Topics: Development EconomicsIndustrial Organization
Tags: connectivitydigital economye-commerce
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email