Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Thailand and the Middle-Income Trap: An Analysis from the Global Value Chain Perspective
Discussion Paper ล่าสุด
Thailand and the Middle-Income Trap: An Analysis from the Global Value Chain Perspective
ค่าเงินบาทผันผวน: “ตัวปรับสมดุล” หรือ “ตัวป่วน” เศรษฐกิจไทย
aBRIDGEd ล่าสุด
ค่าเงินบาทผันผวน: “ตัวปรับสมดุล” หรือ “ตัวป่วน” เศรษฐกิจไทย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Confidence and College Applications: Evidence from a Randomized Intervention
งานสัมมนาล่าสุด
Confidence and College Applications: Evidence from a Randomized Intervention
The Impact of Climate Change on Thai Households
งานสัมมนาล่าสุด
The Impact of Climate Change on Thai Households
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรไทย
ประกาศล่าสุด
ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรไทย
aBRIDGEdabridged
Making Research Accessible
QR code
Year
2023
2022
2021
2020
...
Topic
Development Economics
Macroeconomics
Financial Markets and Asset Pricing
Monetary Economics
...
/static/e665793bd46db46173fb73de9f0b4fe1/41624/cover.jpg
9 เมษายน 2563
20201586390400000

COVID-19 จากมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ ตอนที่ 1

สรุปงานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของ COVID-19
COVID-19 จากมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ ตอนที่ 1
excerpt

บทความนี้เป็นบทความแรกของชุดบทความที่สรุปประเด็นสำคัญจากงานวิจัยใหม่ ๆ ทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 บทความนี้จัดกลุ่มงานวิจัยออกเป็น 3 หมวดคือ การพยากรณ์การแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19 การวิเคราะห์ผลกระทบของการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19 และการใช้ข้อมูลในอดีตมาพยากรณ์ผลกระทบของการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19

ในช่วงที่เชื้อไวรัส COVID-19 แพร่ระบาดไปทั่วทั้งโลก นักเศรษฐศาสตร์ต่างพยายามพัฒนางานวิจัยเพื่อศึกษาผลกระทบของเชื้อ COVID-19 ต่อระบบเศรษฐกิจในแง่มุมต่าง ๆ บทความนี้เป็นบทความแรกของชุดบทความที่สรุปประเด็นสำคัญจากงานวิจัยใหม่ ๆ ทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 โดยงานวิจัยที่นำเสนอในบทความชิ้นนี้แบ่งเป็นสามหัวข้อใหญ่ คือ

  1. การพัฒนาแบบจำลองของสาขาวิชาระบาดวิทยา (epidemiology) เพื่อใช้พยากรณ์การแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19
  2. การวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วของการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19
  3. การพยากรณ์ผลกระทบของการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19 ต่อระบบเศรษฐกิจ

การพัฒนาแบบจำลองของสาขาวิชาระบาดวิทยา

งานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ในด้านนี้พยายามต่อยอดแบบจำลองทางระบาดวิทยาโดยการนำพฤติกรรมของมนุษย์เข้ามาประกอบเพื่อพยากรณ์การแพร่กระจายของเชื้อโรคในกลุ่มประชากรให้แม่นยำตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่ง Atkeson (2020) ได้เริ่มต้นงานวิจัยในกลุ่มนี้ด้วยการพัฒนาแบบจำลอง SEIR (Susceptible-Exposed-Infectious-Recovered) เพื่อพยายามพยากรณ์สถานการณ์ในสหรัฐอเมริกา โดยในแบบจำลองนี้แบ่งประชากรออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

  1. Susceptible (S) หรือกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ซึ่งตอนนี้ยังปลอดเชื้อแต่สามารถติดเชื้อได้
  2. Exposed (E) หรือกลุ่มที่ติดเชื้อแฝง ซึ่งมีเชื้อโรคแฝงตัวและสามารถแพร่เชื้อได้โดยยังไม่แสดงอาการ
  3. Infectious (I) หรือกลุ่มที่ป่วย ซึ่งมีอาการและสามารถแพร่เชื้อได้ และ
  4. Recovered (R) หรือกลุ่มที่หายจากการติดเชื้อ โดยมีภูมิคุ้มกันและไม่สามารถติดเชื้อได้อีกครั้ง

ผู้วิจัยยังได้ปรับค่าพารามิเตอร์ในแบบจำลอง SEIR พื้นฐานให้สอดคล้องกับการแพร่กระจายของสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศจีน พร้อมทั้งเสนอรูปแบบความเป็นไปได้ในช่วง 18 เดือนข้างหน้าภายใต้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมรูปแบบต่าง ๆ

Suwanprasert (2020) พัฒนาแบบจำลอง SEIR โดยใช้หลักเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์เพื่ออธิบายพฤติกรรมการระวังตัวของประชากร งานวิจัยเสนอว่าประชากรจะระมัดระวังตัวมากขึ้นเมื่อความเสี่ยงในการติดเชื้อหรือเสียชีวิตเพิ่ม ในรูปที่ 1 จะพบว่าสัดส่วนผู้สูงอายุที่ติดเชื้อ (กลุ่ม 7) จะเพิ่มขึ้นแต่จะลดลงไวกว่าเพราะผู้สูงอายุจะเริ่มระมัดระวังตัวเร็วกว่าและระมัดระวังในระดับที่มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ในขณะที่จำนวนผู้ป่วยวัยหนุ่มสาว (กลุ่ม 2 และ 3) จะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าและลดลงช้ากว่า เพราะคนวัยหนุ่มสาวมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตน้อยกว่าจึงระมัดระวังตัวน้อยกว่า

รูปที่ 1 สัดส่วนของผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อประชากรในแต่ละกลุ่มอายุ ณ ช่วงเวลาต่าง ๆ

สัดส่วนของผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อประชากรในแต่ละกลุ่มอายุ ณ ช่วงเวลาต่าง ๆ

หมายเหตุ: แกนตั้งแสดงการเปลี่ยนแปลงของค่าใช้จ่ายในรูปร้อยละที่มา: Baker, Farrokhnia, Meyer, Pagel, and Yannelis (2020)

Berger, Herkenhoff, and Mongey (2020) ศึกษาบทบาทของการทดสอบโรคและการกักตัวผู้ป่วยต่อการลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส งานวิจัยนี้พบว่าผลลัพธ์ของนโยบายกักตัวแบบเข้มข้น ให้ผลคล้ายกับการใช้นโยบายการกักตัวที่ผ่อนผันมากกว่าแต่มีการสุ่มทดสอบโรคในกลุ่มประชากร ดังนั้น การทดสอบโรคสามารถลดผลกระทบทางเศรษฐกิจของ COVID-19 และลดจำนวนสูงสุดของผู้ป่วยรายใหม่ในสังคมได้

การวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วของการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19

การแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19 รวมถึงมาตรการปิดเมืองเพื่อหยุดการแพร่เชื้อต่างส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจในหลายแง่มุม ในส่วนของผลกระทบต่อตลาดหุ้น Yilmazkuday (2020) พบว่า ดัชนีตลาดหุ้น S&P 500 ลดลงร้อยละ 0.02 ต่อวันเมื่อมีจำนวนผู้เสียชีวิตในโลกเพิ่มขึ้น 1 คน ทางด้าน Baker, Bloom, Davis, Kost, Sammon, and Viratyosin (2020) ใช้เทคนิคการวิเคราะห์คำในหนังสือพิมพ์เพื่อสร้างดัชนีความผันผวนของตลาดหุ้นในอดีต และพบว่าว่าการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19 สร้างความผันผวนในตลาดหุ้นมากกว่าการแพร่กระจายของเชื้อไข้หวัดต่าง ๆ ในอดีต ดังแสดงในรูปที่ 2

รูปที่ 2 ค่าดัชนีความผันผวนของตลาดหุ้นในปี 1985–2020

ค่าดัชนีความผันผวนของตลาดหุ้นในปี 1985–2020

ที่มา: Baker, Bloom, Davis, Kost, Sammon, and Viratyosin (2020)

ในส่วนของผลกระทบต่อครัวเรือนต่าง ๆ งานวิจัยของ Alon, Doepke, Olmstead-Rumsey, and Tertilt (2020) พบว่า ผู้หญิงได้รับผลกระทบมากกว่าผู้ชาย จากเหตุผลด้านรูปแบบอาชีพและความคาดหวังทางสังคม เหตุผลแรกเป็นเพราะแรงงานผู้ชายร้อยละ 28 อยู่ในธุรกิจที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบงานให้ทำงานจากที่บ้านได้ แต่แรงงานผู้หญิงเพียงร้อยละ 22 อยู่ในธุรกิจดังกล่าว เหตุผลที่สองเกิดจากว่า สังคมคาดหวังให้ผู้หญิงมีบทบาทในการดูแลลูกมากกว่าผู้ชาย ดังนั้น เมื่อโรงเรียนในสหรัฐฯ ปิดการเรียนการสอนชั่วคราว ผู้หญิงจึงมีภาระที่บ้านเพิ่มขึ้นมากกว่าผู้ชาย

Baker, Farrokhnia, Meyer, Pagel, and Yannelis (2020) ศึกษาข้อมูลรายธุรกรรมจากบริษัทเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) และพบว่าค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในกลุ่มสินค้าปลีก อาหาร และการใช้บัตรเครดิต เพิ่มขึ้นก่อนจะลดลงอย่างชัดเจน ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวสอดคล้องกับพฤติกรรมกักตุนสินค้าในช่วงที่ไวรัสเริ่มแพร่ระบาด พฤติกรรมกักตุนพบได้ชัดในกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่ากลุ่มที่อายุน้อยกว่า ซึ่งหมายถึงว่ากลุ่มผู้สูงอายุปฏิบัติตามคำสั่งให้กักตัวอย่างเคร่งครัดมากกว่า

รูปที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของค่าใช้จ่ายรายครัวเรือนในหมวดหมู่สินค้าต่าง ๆ

การเปลี่ยนแปลงของค่าใช้จ่ายรายครัวเรือนในหมวดหมู่สินค้าต่าง ๆ

หมายเหตุ: แกนตั้งแสดงการเปลี่ยนแปลงของค่าใช้จ่ายในรูปร้อยละที่มา: Baker, Farrokhnia, Meyer, Pagel, and Yannelis (2020)

การพยากรณ์ผลกระทบของการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19 ต่อระบบเศรษฐกิจ

Eichenbaum, Rebelo, and Trabandt (2020) เสนอแนวคิดที่คล้ายกับ Suwanprasert (2020) แต่ใช้แบบจำลองที่มีความซับซ้อนในด้านการตัดสินใจของประชากรด้านการบริโภคและการตัดสินใจทำงานแทนระดับการระมัดระวังตัว ในงานวิจัยนี้ ประชากรสามารถตัดสินใจที่จะลดการบริโภคและการทำงานเพื่อลดความเสียหายของโรคระบาด แบบจำลองใหม่และแบบจำลองพื้นฐานต่างคาดว่าการผลิตจะลดลง แต่แบบจำลองทั้งสองให้เหตุผลที่ต่างกัน โดยแบบจำลองพื้นฐานมีการผลิตที่ลดลงเนื่องจากยอดเสียชีวิตที่สูงทำให้เหลือแรงงานในการผลิตลดลง ในขณะที่แบบจำลองใหม่เสนอว่าแรงงานการผลิตจะลดลงชั่วคราวเพราะประชากรเลือกทำงานน้อยลง และเมื่อโรคระบาดหยุดก็พร้อมกลับมาทำงานอีกครั้ง

เนื่องจากผลกระทบของ COVID-19 ยังไม่ชัดเจน งานวิจัยอีกกลุ่มหนึ่งจึงนำข้อมูลของโรคระบาดในอดีตมาประมาณค่าผลกระทบของการแพร่กระจายของไวรัส COVID-19 งานของ Barro, Ursúa, and Weng (2020) ใช้ข้อมูลจากไข้หวัดสเปนในช่วง ค.ศ. 1918 ถึง 1920 ซึ่งมีประชากรใน 43 ประเทศเสียชีวิตรวมกันราว ๆ ร้อยละ 2 มาพยากรณ์ว่ายอดผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 จะอยู่ที่ราว ๆ 150 ล้านคนและระบบเศรษฐกิจของโลกจะหดตัวลงประมาณร้อยละ 6

Correia, Luck, and Verner (2020) ใช้ข้อมูลของสหรัฐอเมริกาทั้งในระดับรัฐและระดับเขตที่ย่อยลงมา (country) เพื่อศึกษาผลของไข้หวัดใหญ่ในปี 1918 และพบว่าโรคระบาดทำให้การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 23 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 18 และธนาคารที่อยู่ในรัฐที่มีอัตราผู้เสียชีวิตสูงมีมูลค่าทรัพย์สินลดลงร้อยละ 4 อย่างไรก็ตาม รัฐที่ใช้นโยบายแทรกแซงด้านสาธารณสุขอย่างรวดเร็วและจริงจังจะมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เร็วกว่ารัฐอื่น ๆ หลังจากโรคระบาดหายไป ดังนั้น จึงสรุปได้ว่านโยบายแทรกแซงด้านสาธารณสุขมีประโยชน์ทางเศรษฐกิจนอกเหนือจากเพียงการลดยอดผู้เสียชีวิต

งานของ Jordà, Singh, and Taylor (2020) ศึกษาผลกระทบในระยะยาวต่อผลตอบแทนของทรัพย์สิน (วัดด้วยดอกเบี้ยที่แท้จริง) ของประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน และสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1314 ถึง 2018 และพบว่าการแพร่กระจายของโรคระบาดส่งผลในระยะยาวทำให้ผลตอบแทนของทรัพย์สินหดตัวประมาณร้อยละ 1–2 ในช่วง 10 ถึง 30 ปีหลังจากโรคระบาดดังในรูปที่ 4 คณะผู้วิจัยเสนอเหตุผลว่าเป็นเพราะทรัพยากรมนุษย์หายไปหรือประชาชนมีความพยายามออมเงินมากขึ้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเหตุการณ์ข้าวยากหมากแพง หรือออมเงินเพื่อชดเชยทรัพย์สินที่หายไป

รูปที่ 4 ความแตกต่างระหว่างดอกเบี้ยที่แท้จริงในข้อมูลจริง และดอกเบี้ยที่แท้จริงจากแบบจำลองในกรณีที่ไม่มีโรคระบาด

ความแตกต่างระหว่างดอกเบี้ยที่แท้จริงในข้อมูลจริง และดอกเบี้ยที่แท้จริงจากแบบจำลองในกรณีที่ไม่มีโรคระบาด

หมายเหตุ: แกนตั้งแสดงการเปลี่ยนแปลงของดอกเบี้ยที่แท้จริงที่มา: Jordà, Singh, and Taylor (2020)

สรุปและนัยเชิงนโยบาย

งานวิจัยพบว่าโรคระบาดมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในระยะยาว ดังนั้น นโยบายที่ช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID-19 ทั้งการทดสอบโรคและการกักตัวล้วนมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจเมื่อเทียบกับต้นทุนค่าเสียโอกาสของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หายไปในระยะสั้น เนื่องจากประชาชนในแต่ละช่วงอายุ อาชีพและเพศได้รับผลกระทบที่แตกต่างกัน ดังนั้นรัฐบาลจึงควรใช้มาตรการช่วยเหลืออย่างเหมาะสมต่อประชาชนในแต่ละกลุ่ม

เอกสารอ้างอิง

Alon, Titan M.Matthias Doepke, Jane Olmstead-Rumsey, and Michèle Tertilt. 2020. “The Impact of COVID-19 on Gender Equality” NBER Working Paper No. 26947.

Atkeson, Andrew. 2020. “What Will Be the Economic Impact of COVID-19 in the US? Rough Estimates of Disease Scenarios” NBER Working Paper No. 26867.

Baker, Scott R., Nicholas Bloom, Steven J. Davis, Kyle J. Kost, Marco C. Sammon, and Tasaneeya Viratyosin. 2020. “The Unprecedented Stock Market Impact of COVID-19” NBER Working Paper No. 26945.

Baker, Scott R., R.A. Farrokhnia, Steffen Meyer, Michaela Pagel, and Constantine Yannelis. 2020. “How Does Household Spending Respond to an Epidemic? Consumption During the 2020 COVID-19 Pandemic” NBER Working Paper No. 26949.

Barro, Robert J., José F. Ursúa, and Joanna Weng. 2020. “The Coronavirus and the Great Influenza Pandemic: Lessons from the “Spanish Flu” for the Coronavirus’s Potential Effects on Mortality and Economic Activity” NBER Working Paper No. 26866.

Berger, David W., Kyle F. Herkenhoff, and Simon Mongey. 2020. “An SEIR Infectious Disease Model with Testing and Conditional Quarantine” NBER Working Paper No. 26901.

Correia, Sergio, Stephan Luck, and Emil Verner. 2020. “Pandemics Depress the Economy, Public Health Interventions Do Not: Evidence from the 1918 Flu” Available at SSRN: https://ssrn.com/abstract=3561560

Eichenbaum, Martin S., Sergio Rebelo, and Mathias Trabandt. 2020. “The Macroeconomics of Epidemics” NBER Working Paper No. 26882.

Jordà, Òscar, Sanjay R. Singh, and Alan M. Taylor. 2020. “Longer-run Economic Consequences of Pandemics” NBER Working Paper No. 26934.

Suwanprasert, Wisarut. 2020. “COVID-19 and Endogenous Public Avoidance: Insights from an Economic Model” PIER Discussion Paper No.128.

Yilmazkuday, Hakan. 2020. “COVID-19 Effects on the S&P 500 Index” https://ssrn.com/abstract=3555433

ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Topics: Financial Markets and Asset PricingLabor and Demographic EconomicsMacroeconomics
Tags: covid-19economic fluctuationsmacroeconomics
วิศรุต สุวรรณประเสริฐ
วิศรุต สุวรรณประเสริฐ
Middle Tennessee State University

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2566 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email