Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Building Thailand’s Beveridge Curve: New Insights of Thailand’s Labour Markets with Internet Job Platforms
Discussion Paper ล่าสุด
Building Thailand’s Beveridge Curve: New Insights of Thailand’s Labour Markets with Internet Job Platforms
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
World Bank x PIER Climate Finance Policy Forum
งานประชุมเชิงนโยบายล่าสุด
World Bank x PIER Climate Finance Policy Forum
Market Design in Practice
งานสัมมนาล่าสุด
Market Design in Practice
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
aBRIDGEdabridged
Making Research Accessible
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
Topic
Development Economics
Macroeconomics
Financial Markets and Asset Pricing
Monetary Economics
...
/static/207c4363a8e5b33ab6a2a16dd6698aab/e9a79/cover.png
18 ตุลาคม 2565
20221666051200000

การปรับตัวด้วยเกษตรผสมผสานเพื่อบรรเทาผลกระทบจากโลกร้อน

การเกษตรแบบผสมผสานสามารถบรรเทาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อผลผลิตทางการเกษตรของครัวเรือนเกษตรกรไทยได้
ณัฐนันท์ สวาวสุทีปกร จิร์ฐิติกุลชัยวรวีร์ แสงอาวุธสพล ตัณฑ์ประพันธ์
การปรับตัวด้วยเกษตรผสมผสานเพื่อบรรเทาผลกระทบจากโลกร้อน
excerpt

บทความนี้สรุปผลงานวิจัยโดย Prommawin et al. (2022) ศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อมูลค่าผลผลิตการเกษตร และวิเคราะห์บทบาทของเกษตรผสมผสานในการบรรเทาความรุนแรงของผลกระทบ โดยใช้ข้อมูลสำรวจครัวเรือนเกษตรในช่วงปี 2007–2020 ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ร่วมกับข้อมูลสภาพอากาศที่ประมวลเป็นข้อมูลรายตำบล ผลการศึกษาพบว่า การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิได้สร้างความเสียหายทำให้มูลค่าผลผลิตการเกษตรของครัวเรือนลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งครัวเรือนที่ไม่เข้าถึงระบบชลประทาน หรือครัวเรือนที่มีพื้นที่ประกอบการเกษตรขนาดใหญ่ แต่การทำกิจกรรมการผลิตทางการเกษตรหลายกิจกรรม ทั้งปลูกพืช ปศุสัตว์ และประมง จะช่วยบรรเทาผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิได้

ปัจจุบัน คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ประเมินว่า ภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของมนุษยชาติในหลากหลายมิติ ทั้งภัยพิบัติจากธรรมชาติ สภาพอากาศแปรปรวน และที่สำคัญการผลิตในภาคเกษตร ซึ่งอาจสร้างปัญหาด้านความมั่นคงทางอาหาร

รายงานการประเมินครั้งที่หก (WG 1 Sixth Assessment Report: AR6) ของ IPCC ได้ประเมินฉากทัศน์ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบนพื้นโลกในอนาคตไว้ 5 ระดับ ตามรูปที่ 1 ตั้งแต่ระดับที่การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของโลกจำกัดอยู่ที่ระดับ 1.5°C (สีฟ้า) ภายในศตวรรษที่ 21 ตามข้อตกลงที่ปารีส (Paris Agreement) เรื่อยไปจนถึงสถานการณ์ที่จะเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างใหญ่หลวงขนาดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน (สีแดง) อาทิ ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นสูงอย่างไม่สามารถบริหารจัดการได้ และการเกิดการสูญพันธุ์ทางชีวภาคหรือชีวมณฑล (biosphere)

รูปที่ 1: ฉากทัศน์การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิพื้นผิวโลก โดยอ้างอิง ปี 1850–1900 เป็นปีฐาน

ฉากทัศน์การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิพื้นผิวโลก โดยอ้างอิง ปี 1850–1900 เป็นปีฐาน

ที่มา: IPCC AR6 (2021)

ครัวเรือนเกษตรกรไทยมีความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จำกัด เนื่องจาก ณ ปี 2017 ครัวเรือนเกษตรกว่า 2 ใน 3 ปลูกพืชชนิดเดียว และเน้นปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีผลตอบแทนต่อความเสี่ยงต่ำ อาทิ อ้อย ข้าวโพด ข้าวเหนียว ข้าว (Attavanich et al., 2019) นอกจากนี้ ครัวเรือนเกษตรกรยังเผชิญปัญหาด้านการเข้าถึงทรัพยากรน้ำ โดยครัวเรือนเกษตรกรที่สามารถเข้าถึงชลประทานมีเพียงร้อยละ 26 (Attavanich et al., 2019) อีกทั้งการจัดสรรน้ำยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ โดยพื้นที่เพาะปลูก ณ ปี 2020 กว่าร้อยละ 57 เป็นพื้นที่ปลูกข้าวนาปีและนาปรัง (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2564) ซึ่งข้าวเป็นพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจของการใช้น้ำต่ำ (มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 2561)

ดังนั้น ครัวเรือนเกษตรกรในประเทศไทยมากกว่า 8 ล้านครัวเรือนมีโอกาสได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง ทั้งความถี่และขนาดของภัยแล้งและมหาอุทกภัย นอกเหนือจากแนวโน้มอุณหภูมิที่จะเพิ่มสูงขึ้น อันจะนำมาซึ่งความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของครัวเรือน และความเสียหายระดับมหภาคจากผลผลิตการเกษตรที่ลดลงและราคาอาหารที่จะเพิ่มสูงขึ้น

งานวิจัยนี้ประยุกต์ใช้ข้อมูลสำรวจภาวะการเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนและแรงงานเกษตร พ.ศ. 2550–2563 โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ร่วมกับข้อมูลอากาศประเภท reanalysis data จากฐานข้อมูล ERA51 เพื่อศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศต่อมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรของครัวเรือนเกษตรกรไทย และเพื่อศึกษาบทบาทของการทำเกษตรผสมผสานในการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยพิจารณารูปแบบกิจกรรมการเกษตร ได้แก่ การปลูกพืช การเลี้ยงปศุสัตว์ และการทำประมง

นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยได้นำผลการวิเคราะห์จากแบบจำลองทางเศรษฐมิติมาใช้ในการประเมินมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรในอนาคต ภายใต้ฉากทัศน์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ IPCC AR6 (2021)

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร

การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิส่งผลกระทบทางลบต่อมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรของครัวเรือนเกษตรกรไทย รูปที่ 2 แสดงค่าความยืดหยุ่นของมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรต่ออุณหภูมิ (temperature elasticity of agricultural output value) ซึ่งอธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของประเทศไทยร้อยละ 1 จะทำให้มูลค่าผลผลิตทางการเกษตรเปลี่ยนแปลงร้อยละเท่าใด พบว่า หากอุณหภูมิพื้นผิวของประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าประมาณ 24°C การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิจะส่งผลให้มูลค่าผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น หรือค่าความยืดหยุ่นเป็นบวก แต่ถ้าอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นจากจุด threshold ณ ระดับอุณหภูมิที่ 24°C การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิจะสร้างความเสียหายต่อมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร โดยการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิจะส่งผลกระทบรุนแรงเพิ่มสูงขึ้นในอัตราเร่งตามระดับการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ

การคำนวณค่าความยืดหยุ่นข้างต้นไม่มีข้อมูลการพยากรณ์เหตุการณ์ภัยแล้งรุนแรง หรือน้ำท่วมขนาดใหญ่ แต่ในความเป็นจริงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิจะส่งผลต่อความเสี่ยงด้านความถี่และความรุนแรงในการเกิดภัยพิบัติที่สูงขึ้น ดังนั้น การประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในงานวิจัยนี้ จึงยังไม่ได้สะท้อนความเสียหายจากความเสี่ยงของการเกิดมหาภัยแล้ง หรือมหาอุทกภัยด้วย

รูปที่ 2: ค่าความยืดหยุ่นของมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรต่ออุณหภูมิ (temperature elasticity of agricultural output value) ของครัวเรือนเกษตรกรไทย

ค่าความยืดหยุ่นของมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรต่ออุณหภูมิ (temperature elasticity of agricultural output value) ของครัวเรือนเกษตรกรไทย

หมายเหตุ: แท่งแนวดิ่งแสดง 95% confidence intervalที่มา: คำนวณโดยคณะผู้วิจัย

ครัวเรือนที่ไม่สามารถเข้าถึงชลประทานและครัวเรือนที่มีพื้นที่ทำการเกษตรขนาดใหญ่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากกว่า รูปที่ 3ก เปรียบเทียบค่าความยืดหยุ่นของมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรต่ออุณหภูมิ ระหว่างครัวเรือนเกษตรที่เข้าถึงชลประทาน (เส้นสีแดง) และไม่เข้าถึงชลประทาน (เส้นสีน้ำเงิน) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิจะส่งผลให้มูลค่าผลผลิตทางการเกษตรของครัวเรือนที่ไม่เข้าถึงชลประทานลดลงรุนแรงกว่า นอกจากนี้ หากพิจารณารูปที่ 3ข จะพบว่า เมื่อจำแนกครัวเรือนเกษตรกรตามขนาดพื้นที่ทำการเกษตร ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ครัวเรือนที่มีพื้นที่ทำการเกษตรขนาดใหญ่ (มากกว่า 29 ไร่) รองลงมา คือ ครัวเรือนที่มีพื้นที่ทำการเกษตรขนาดกลาง (12–29 ไร่) และครัวเรือนที่มีพื้นที่ทำการเกษตรขนาดเล็ก (น้อยกว่า 12 ไร่)

รูปที่ 3: ค่าความยืดหยุ่นของมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรต่ออุณหภูมิ (temperature elasticity of agricultural output value) โดยเปรียบเทียบในแต่ละกลุ่มครัวเรือน

ค่าความยืดหยุ่นของมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรต่ออุณหภูมิ (temperature elasticity of agricultural output value) โดยเปรียบเทียบในแต่ละกลุ่มครัวเรือน

หมายเหตุ: แท่งแนวดิ่งแสดง 95% confidence intervalที่มา: คำนวณโดยคณะผู้วิจัย

เกษตรผสมผสานสามารถบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ครัวเรือนเกษตรที่มีกิจกรรมการผลิตทางการเกษตรหลากหลายจะได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิน้อยกว่าครัวเรือนเกษตรที่ทำกิจกรรมการผลิตชนิดเดียว รูปที่ 4ก แสดงให้เห็นว่า ครัวเรือนที่มีกิจกรรมการผลิตทางการเกษตรหลากหลาย โดยผสมผสานระหว่างการปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ หรือการทำประมง เป็นจำนวน 2–3 กิจกรรม (เส้นสีแดง) จะอ่อนไหวต่อการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ น้อยกว่าครัวเรือนที่มีเพียงกิจกรรมการผลิตเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยครัวเรือนที่ไม่มีการกระจายความเสี่ยงในการทำเกษตรจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงเพิ่มขึ้น เมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 24°C

ในขณะเดียวกัน รูปที่ 4ข แสดงให้เห็นว่า เมื่ออุณหภูมิสูงกว่าประมาณ 27°C ครัวเรือนที่ทำการเพาะปลูกควบคู่ไปกับการทำปศุสัตว์ (เส้นสีแดง) จะได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในระดับที่ต่ำกว่าครัวเรือนที่ปลูกพืชอย่างเดียว (เส้นสีน้ำเงิน)

รูปที่ 4: ค่าความยืดหยุ่นของมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรต่ออุณหภูมิ (temperature elasticity of agricultural output value) เปรียบเทียบตามรูปแบบของการทำเกษตรผสมผสาน

ค่าความยืดหยุ่นของมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรต่ออุณหภูมิ (temperature elasticity of agricultural output value) เปรียบเทียบตามรูปแบบของการทำเกษตรผสมผสาน

หมายเหตุ: แท่งแนวดิ่งแสดง 95% confidence intervalที่มา: คำนวณโดยคณะผู้วิจัย

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสร้างความเสียหายต่อมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร

คณะผู้วิจัยประเมินผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิต่อมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรของครัวเรือนเกษตรกรไทย ภายใต้ฉากทัศน์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ IPCC AR6 (2021) แสดงดังรูปที่ 5 ซึ่งพบว่า หากมนุษยชาติสามารถจำกัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอยู่ที่ระดับ 1.5°C ตามข้อตกลงที่ปารีส (ฉากทัศน์ SSP1-1.9 หรือเส้นประสีเขียวด้านบนสุด) มูลค่าผลผลิตทางการเกษตร ณ ปี 2030 จะลดลงร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับปี 2020

อย่างไรก็ตาม หากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ในระดับปานกลาง (ฉากทัศน์ SSP2-4.5 หรือเส้นประสีน้ำเงินเส้นตรงกลาง) ความเสียหายของมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร ณ ปี 2030 จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับปี 2020 แต่หากเป็นฉากทัศน์ที่จะเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างใหญ่หลวงขนาดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน (ฉากทัศน์ SSP5-8.5 หรือเส้นประสีเทาเส้นล่างสุด) ความเสียหายของมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร ณ ปี 2030 จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 8.6 เทียบกับ ปี 2020

รูปที่ 5: ประมาณการมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรเฉลี่ยของครัวเรือนเกษตรกรในอนาคต ภายใต้ฉากทัศน์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ IPCC AR6 (2021)

ประมาณการมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรเฉลี่ยของครัวเรือนเกษตรกรในอนาคต ภายใต้ฉากทัศน์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ IPCC AR6 (2021)

ที่มา: คำนวณโดยคณะผู้วิจัย

ข้อสรุปและนัยทางนโยบาย

งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้มูลค่าผลผลิตทางการเกษตรลดลง โดยครัวเรือนเกษตรกรที่ไม่สามารถเข้าถึงชลประทาน หรือครัวเรือนที่มีพื้นที่ทำการเกษตรขนาดใหญ่ จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากกว่า

อย่างไรก็ตาม ครัวเรือนที่ทำเกษตรผสมผสานจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศน้อยกว่าครัวเรือนที่ดำเนินกิจกรรมการผลิตเพียงกิจกรรมเดียว ข้อค้นพบจากการศึกษานี้มีนัยเชิงนโยบายที่สำคัญ 3 ข้อ ได้แก่

  1. แม้มนุษยชาติจะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ แต่การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิพื้นผิวโลกเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในช่วงศตวรรษที่ 21 (IPCC AR6, 2021) และเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิได้สร้างความเสียหายต่อมูลค่าผลผลิตในภาคเกษตรอย่างมีนัยสำคัญ และมีแนวโน้มรุนแรงเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น ผู้กำหนดนโยบายควรสนับสนุนการปรับตัวของครัวเรือนเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งต้องมุ่งไปที่การลงมือปฏิบัติอย่างถ้วนหน้า (universal implementation)
  2. เนื่องจากมีครัวเรือนเกษตรกรถึง 3 ใน 4 ที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบชลประทาน และครัวเรือนเหล่านี้จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่รุนแรงกว่า ดังนั้น ผู้กำหนดนโยบายควรพิจารณาขยายพื้นที่ชลประทานในประเทศไทยควบคู่ไปกับการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
  3. คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ควรสนับสนุนให้เกษตรกรดำเนินกิจกรรมการผลิตทางการเกษตรที่หลากหลาย โดยพิจารณาส่งเสริมการทำเกษตรผสมผสานมุ่งเน้นรูปแบบที่ให้ผลตอบแทนต่อความเสี่ยงสูง (Attavanich et al., 2019) และมีมูลค่าทางเศรษฐกิจต่อการใช้น้ำสูง (มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 2561) เพื่อรองรับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยผู้กำหนดนโยบายควรเร่งรณรงค์ให้ความรู้แก่เกษตรกรให้เห็นถึงประโยชน์ของการทำเกษตรผสมผสาน รวมถึงช่วยให้เกษตรกรไทยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ เพื่อให้ครัวเรือนเกษตรสามารถปรับตัวมาทำเกษตรผสมผสาน และสามารถบรรเทาผลกระทบความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้
กิตติกรรมประกาศ

ขอขอบคุณทุนสนับสนุนการวิจัยจากสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย และนักวิจัยร่วมโครงการ

  • คุณเบญจพล พรหมมาวิน (คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเครมบริดจ์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
  • รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช (คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  • Prof. Bruce A. McCarl (Department of Agricultural Economics, Texas A&M University)

เอกสารอ้างอิง

Attavanich, W., Chantarat, S., Chenphuengpawn, J., Mahasuweerachai, P., Thampanishvong, K., & others. (2019). Farms, farmers and farming: a perspective through data and behavioral insights. Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.
Prommawin, B., Svavasu, N., Tanpraphan, S., Saengavut, V., Jithitikulchai, T., Attavanich, W., & McCarl, B. A. (2022). Impacts of Climate Change and Agricultural Diversification on Agricultural Production Value of Thai Farm Households (Discussion Paper No. 184). Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564). Farmer Map 2563 อ้างอิงฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกร.
มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2561). โครงการศึกษาวิเคราะห์การพัฒนาโครงการชลประทานและการบริหารน้ำที่เหมาะสมกับประเทศไทย และส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP: Gross Domestic Product) สูงสุด [รายงานฉบับสมบูรณ์นำเสนอต่อกรมชลประทาน].

  1. ข้อมูล historical reanalysis data ในงานวิจัยนี้มาจาก European Center for Medium-Range Weather Forecasts (ECMWF) เป็นข้อมูลที่ค่าเฉลี่ยรายชั่วโมงที่ระดับความละเอียด 0.1 องศา หรือ ประมาณ 9 ตารางกิโลเมตร แล้วคำนวณเป็นค่าเฉลี่ยรายปีของแต่ละตำบล โดยเลือกช่วงเริ่มต้นและสิ้นสุดของแต่ละปีให้ตรงกับข้อมูลสำรวจครัวเรือนเกษตรของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์↩
ณัฐนันท์ สวาวสุ
ณัฐนันท์ สวาวสุ
นักวิชาการอิสระ
ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย
ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วรวีร์ แสงอาวุธ
วรวีร์ แสงอาวุธ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สพล ตัณฑ์ประพันธ์
สพล ตัณฑ์ประพันธ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Topics: Agricultural and Natural Resource EconomicsProductivity and Technological ChangeDevelopment
Tags: climate resilienceclimate adaptationagricultural diversification
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email