Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการต่อไป
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
aBRIDGEdabridged
Making Research Accessible
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
Topic
Development Economics
Macroeconomics
Financial Markets and Asset Pricing
Monetary Economics
...
/static/04d6f05f189aeb4d1957ca6fbf791fb4/41624/cover.jpg
8 สิงหาคม 2566
20231691452800000

Digital literacy เบื้องหลังความสำเร็จ SME ใน e-Commerce Platform

Digital literacy มีส่วนช่วยให้ MSMEs ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ได้ประโยชน์ทางธุรกิจสูงสุดจากการค้าขายผ่าน e-commerce platform
รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่นกฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์สันติธาร เสถียรไทย
Digital literacy เบื้องหลังความสำเร็จ SME ใน e-Commerce Platform
excerpt

การศึกษาผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็กผ่านตัวชี้วัด SME digital literacy และ SME digital transformation index พบว่า ระดับทักษะความรู้ด้านดิจิทัลมีความสัมพันธ์กับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจมีความสำเร็จ มีการเติบโตของยอดขายที่ก้าวกระโดด มีอัตราการทำกำไรที่สูง และมีช่องทางการขายในรูปแบบดิจิทัลที่หลากลาย

อุตสาหกรรม e-commerce มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงที่ผ่านมา โดยประเทศไทยถือเป็นประเทศชั้นนำของโลกที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์สูงถึงร้อยละ 60 ซึ่งเป็นระดับที่เทียบเท่าสัดส่วนของประเทศจีน อินโดนีเซีย และอินเดีย และสูงกว่าสัดส่วนในประเทศออสเตรเลียและญี่ปุ่น นอกจากนี้ประมาณครึ่งหนึ่งของการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ในประเทศไทยมาจากการซื้อผ่าน smartphone ซึ่งในบางครั้งถูกเรียกว่า m-commerce ดังแสดงในรูปที่ 1

รูปที่ 1: สัดส่วนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ และผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ปี 2022
ที่มา: We Are Social; DataReportal; Meltwater

นอกจากนี้ ข้อมูลจาก Worldpay ที่รวบรวมมูลค่าซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทาง e-commerce เปรียบเทียบกับยอดค้าปลีกทั้งหมดพบว่า ในประเทศไทยสัดส่วนดังกล่าวได้สูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 ไปแล้ว ซึ่งสูงกว่าหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และยังมีการคาดการณ์ว่าจะสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นมากกว่าร้อยละ 30 ในปี 2025

การเติบโตของอุตสาหกรรม e-commerce ในประเทศไทยนี้มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็กสามารถมีช่องทางการขายใหม่ และมีต้นทุนในการเริ่มต้นธุรกิจลดน้อยลงอย่างมาก โดยข้อมูลจาก ETDA (รูปที่ 2) แสดงให้เห็นว่ามูลค่ายอดขาย e-commerce ของผู้ประกอบธุรกิจรายเล็กในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเป็นเกือบ 2 พันล้านบาท ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่ามูลค่ายอดขายของผู้ประกอบธุรกิจรายใหญ่แล้ว ด้วยเหตุนี้ ธุรกรรม e-commerce แบบ business-to-customers (B2C) ในไทยจึงมีสัดส่วนที่สูงขึ้นมากอย่างรวดเร็วจากเพียงร้อยละ 37 ในปี 2018 เป็นประมาณร้อยละ 50 ในปี 2021

รูปที่ 2: ลักษณะของธุรกรรม e-commerce (ซ้าย) และมูลค่ายอดขายจำแนกตามขนาดของธุรกิจ (ขวา) ในประเทศไทย
ที่มา: ETDA

จากความสำคัญของการค้าขายผ่าน e-commerce งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาว่าจะส่งเสริมผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็กสามารถประกอบธุรกิจผ่าน e-commerce platform ให้สำเร็จได้อย่างไร โดยประยุกต์ใช้เครื่องมือสำหรับชี้วัดระดับความรู้ด้านดิจิทัล (SME digital literacy) และเครื่องมือในการชี้วัดระดับการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล (SME digital transformation index) ซึ่งพัฒนาโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น ดร.กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์ และ ดร.สันติธาร เสถียรไทย

ความรู้ด้านดิจิทัลของผู้ประกอบการ

งานวิจัยได้สำรวจกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจรายย่อย (คนทำงานน้อยกว่า 10 คน) และผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็ก (คนทำงาน 10–100 คน) ที่มีการค้าขายผ่าน Shopee e-commerce platform จำนวน 1,500 กลุ่มตัวอย่าง และวิเคราะห์ระดับความรู้ด้านดิจิทัลผ่านความรู้ใน 5 ทักษะย่อย ได้แก่

  1. cognitive skill
  2. soft skill
  3. digital skill หรือทักษะด้านดิจิทัล
  4. digital business strategy skill หรือทักษะด้านกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจด้วยดิจิทัล และ
  5. cyber security and data privacy skill หรือทักษะด้านภัยทางไซเบอร์และการปกป้องสิทธิในโลกดิจิทัล

โดยแบ่งระดับความสามารถในแต่ละทักษะออกเป็นระดับ 1 (ต่ำที่สุด) ถึง 5 (สูงที่สุด) ซึ่งมีผลการศึกษาที่น่าสนใจหลายประการ

ผลการศึกษาที่ 1

ผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็กในประเทศไทยมีความรู้ในทักษะด้านกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจด้วยดิจิทัล และความรู้ในทักษะด้านภัยทางไซเบอร์และการปกป้องสิทธิในโลกดิจิทัลที่ค่อนข้างต่ำ

ดังแสดงในรูปที่ 3 โดยพบว่ามีระดับทักษะใน 2 มิติดังกล่าวเพียงแค่ 2.9 และ 2.99 ตามลำดับเท่านั้น ซึ่งถือเป็นระดับทักษะที่หมายถึง “มีความรู้ในการใช้เครื่องมือดังกล่าว แต่ไม่ยังไม่สามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจในปัจจุบันได้”

รูปที่ 3: ระดับคะแนน SME digital literacy จากตัวแบบที่นำเสนอ
ผลการศึกษาที่ 2

เมื่อทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการมีระดับความรู้ในทักษะย่อยหนึ่งกับทักษะย่อยอื่น ๆ จะพบว่าทักษะต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กันเป็นกลุ่ม

โดยทักษะด้าน cognitive skill ที่สูงมีความสัมพันธ์กับทักษะด้าน soft skill และทักษะด้าน digital skill ที่สูงเช่นกัน แต่ไม่จำเป็นว่าผู้ประกอบธุรกิจรายเล็กและรายย่อยจะสามารถมีความรู้ในทักษะด้าน digital business strategy หรือมีทักษะด้าน cybersecurity and data privacy ในขณะที่ผู้ประกอบธุรกิจที่มีความรู้ที่สูงในทักษะด้าน digital business strategy มักจะมีแนวโน้มที่จะมีความรู้ในทักษะด้าน cybersecurity and data privacy สูงเช่นกัน ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจรายเล็กและรายย่อยที่แม้จะมีการค้าขายผ่าน Shopee แล้วนั้น บางส่วนยังมีเพียงความรู้ด้านดิจิทัลขั้นพื้นฐานเท่านั้น ในขณะที่บางส่วนมีความรู้เชิงลึกด้านดิจิทัลที่ค่อนข้างสูง

ตารางที่ 1: ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของแต่ละทักษะย่อยใน SME digital literacy
Cognitive skill
Soft skill
Digital skill
Digital business
strategy skill
Cybersecurity and
data privacy skill
Cognitive skill
1.00
Soft skill
0.80*
1.00
Digital skill
0.71*
0.72*
1.00
Digital business
strategy skill
0.44*
0.43*
0.55*
1.00
Cybersecurity and
data privacy skill
0.45*
0.42*
0.54*
0.79*
1.00
หมายเหตุ: สีแรเงาอ่อนแสดงค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในช่วง 0.4-0.6 ในขณะที่สีแรเงาเข้มแสดงค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่มากกว่า 0.6 ส่วนดอกจันแสดงความมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่แตกต่างจากศูนย์ ณ ความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95
ผลการศึกษาที่ 3

หนึ่งในสี่ของผู้ประกอบธุรกิจรายเล็กและรายย่อยมีความรู้ดิจิทัลโดดเด่นในทุกทักษะ ในขณะที่หนึ่งในห้ามีความรู้ดิจิทัลที่ค่อนข้างต่ำในทุกทักษะ

ซึ่งเป็นผลการวิเคราะห์จากการแบ่งกลุ่มตัวอย่างตามระดับคะแนนของความรู้ด้านดิจิทัลในแต่ละทักษะด้วย K-mean clustering ออกเป็น 4 กลุ่ม ดังแสดงในตารางที่ 2 ได้แก่

  1. กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจที่มีความรู้โดดเด่นในทุกด้าน หรือกลุ่ม “digital expert” คิดเป็นร้อยละ 25 ของกลุ่มตัวอย่าง
  2. กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจที่มีความรู้สูงเฉพาะทักษะด้าน digital business strategy และ cyber security and data privacy เท่านั้น หรือกลุ่ม “digital first” คิดเป็นร้อยละ 27
  3. กลุ่มผู้ประกอบการที่มีเฉพาะทักษะความรู้พื้นฐานด้าน cognitive skill, soft skill และ digital skill ที่ค่อนข้างสูง หรือกลุ่ม “business first” คิดเป็นร้อยละ 29 และ
  4. กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจที่มีความรู้ดิจิทัลที่ค่อนข้างต่ำในทุกทักษะย่อย หรือกลุ่ม “digital infant” คิดเป็นร้อยละ 19
ตารางที่ 2: วิเคราะห์แบ่งกลุ่มตัวอย่างด้วย k-mean clustering ตามระดับคะแนนของ SME digital literacy
องค์ประกอบย่อยของทักษะCluster ที่แบ่งได้จากวิธี k-mean clustering
Digital expertDigital firstBusiness firstDigital infant
Cognitive skill4.383.033.992.60
Soft skill4.483.224.132.84
Digital skill4.453.173.822.49
Digital business strategy skill3.963.142.541.71
Cybersecurity and data privacy skill4.153.232.621.65
จำนวนกลุ่มตัวอย่าง382398432288
ร้อยละ25.4726.5328.8019.20
หมายเหตุ: สีแรเงาหมายถึงระดับเฉลี่ยของคะแนนในแต่ละทักษะย่อยของกลุ่ม cluster หนึ่ง ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนของทั้งกลุ่มตัวอย่าง
ผลการศึกษาที่ 4

ผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและรายเล็กในประเทศไทยมีข้อจำกัดในการพัฒนาทักษะความรู้ด้านดิจิทัลในทุกแง่มุมด้วยตนเอง

การวิเคราะห์ธุรกิจในกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธี multinomial logistic regression พบว่า การที่ผู้ประกอบการจะเป็น digital expert ได้นั้นมีความสัมพันธ์กับการที่ผู้ประกอบธุรกิจผลิตสินค้าเอง ค้าขายผ่าน Shopee เป็นอาชีพหลัก และประกอบธุรกิจส่วนตัวเป็นอาชีพหลัก ในขณะที่ระดับการศึกษาที่สูงขึ้นของเจ้าของธุรกิจ ระยะเวลาการประกอบธุรกิจผ่าน e-commerce platform ที่ยาวนานขึ้น และขนาดที่ใหญ่ขึ้นของกิจการ ไม่ได้บ่งชี้ถึงการเป็นกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจที่เป็น digital expert เลย ดังนั้น ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรมีแนวทางในการส่งเสริม digital literacy ของผู้ประกอบการอย่างเป็นระบบ การปล่อยให้ผู้ประกอบการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ไม่สามารถรับประกันได้ว่าผู้ประกอบการจะยกระดับความสามารถการแข่งขันของธุรกิจในยุคดิจิทัลได้

ความรู้ดิจิทัลของผู้ประกอบการกับการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลของธุรกิจ

งานวิจัยนี้ยังได้วิเคราะห์ผู้ประกอบการในกลุ่มตัวอย่างและแบ่งธุรกิจตามความสามารถในการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลที่วัดด้วย SME digital transformation index ซึ่งประเมินตั้งแต่การเปลี่ยนผ่านในระดับพื้นฐานที่เกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตและการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ไปสู่ขั้นกลางที่มีช่องทางการขายดิจิทัลที่หลากหลายและมีการใช้ซอฟท์แวร์เฉพาะทางในการประกอบธุรกิจ ไปสู่ขั้นสูงที่มีการดำเนินกลยุทธ์ดิจิทัลทางธุรกิจและการวิเคราะห์ข้อมูลดิจิทัล

เมื่อนำผลคะแนนการเปลี่ยนผ่านในแต่ละมิติย่อยมาวิเคราะห์ด้วย k-mean clustering สามารถแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกได้เป็น 4 กลุ่มที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ คือ

  1. ธุรกิจที่เป็นผู้นำในการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลหรือ “digital front-runners”
  2. ธุรกิจที่เน้นการเปลี่ยนผ่านด้านธุรกิจก่อนที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้หรือ “digital adopters”
  3. ธุรกิจที่เป็นผู้ตามในการเปลี่ยนผ่านทั้งด้านดิจิทัลและด้านธุรกิจหรือ “digital followers” และ
  4. ธุรกิจที่ล่าช้าในการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลหรือ “digital laggards” โดยทั้ง 4 กลุ่มนี้มีความเชื่อมโยงกับระดับความรู้ดิจิทัลที่น่าสนใจอีก 3 ประการ กล่าวคือ
ผลการศึกษาที่ 5

การเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลแบบ digital front-runners นั้นจะเกิดขึ้นได้เฉพาะกับกลุ่มผู้ประกอบการที่มีทักษะความรู้อยู่ในกลุ่ม digital expert และ digital first เท่านั้น

ดังแสดงในตารางที่ 3 นอกจากนี้ ความน่าจะเป็นที่ผู้ประกอบธุรกิจในกลุ่ม digital expert จะเป็น digital front-runners ยังสูงกว่าความน่าจะเป็นที่ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวจะอยู่ในกลุ่ม digital laggards ถึง 363 เท่า ดังแสดงในรูปที่ 4

ตารางที่ 3: ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม cluster ของ SME digital literacy กับกลุ่ม cluster ของ SME digital transformation index
Digital literacy clustersDigital transformation clustersTotal
Digital front-runnersDigital adoptersDigital followersDigital laggards
Digital expert45.03%30.63%21.99%2.36%100.00%
Digital first22.36%32.66%36.43%8.54%100.00%
Business first8.10%42.36%33.10%16.44%100.00%
Digital infant3.13%25.35%27.78%43.75%100.00%
Total20.33%33.53%30.13%16.00%100.00%
หมายเหตุ: สีแรเงาหมายถึงสัดส่วนกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในกลุ่ม cluster หนึ่งในแต่ละคุณลักษณะย่อยที่มากกว่าสัดส่วนรวมของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่อยู่ในกลุ่ม cluster หนึ่ง
รูปที่ 4: ความน่าจะเป็นที่การอยู่ในกลุ่ม cluster หนึ่งของ SME digital literacy จะบ่งชี้ถึงการอยู่ในแต่ละกลุ่ม cluster ของ SME digital transformation index เมื่อเทียบกับความน่าจะเป็นของการอยู่ในกลุ่ม cluster ที่ 4 (digital laggards) ของ SME digital transformation index
หมายเหตุ: Odd ratio จากผลจากการวิเคราะห์ด้วย multinomial logistic regression โดยมีการควบคุมปัจจัยคุณลักษณะอื่น ๆ ของผู้ประกอบธุรกิจที่มีผลต่อการมีระดับการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลในแต่ละกลุ่มแล้ว โดย reference group คือผู้ประกอบการที่เป็นกลุ่ม digital laggards และมีระดับความรู้ในกลุ่ม digital infant
ผลการศึกษาที่ 6

ระดับการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลสัมพันธ์กับการเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจมีผลการดำเนินงานด้านการเงินที่สูง

ไม่ว่าจะเป็นมูลค่าของยอดขาย การเติบโตของยอดขาย อัตราการทำกำไร และการมีช่องทางขายที่หลากหลาย ดังแสดงในรูปที่ 5 เช่น ค่า odd ratio ที่ประมาณ 2.80 หมายถึงความน่าจะเป็นที่ผู้ประกอบการที่เป็น digital front-runner จะมียอดขายมากกว่าปีละ 1 ล้านบาทคิดเป็น 2.80 เท่าของความน่าจะเป็นที่ผู้ประกอบการที่เป็น digital front-runner จะมียอดขายน้อยกว่าปีละ 50,000 บาท (ซึ่งเป็น referent group ของการวิเคราะห์ในมิติของมูลค่ายอดขายต่อปี)

รูปที่ 5: ค่า odd ratio ของระดับการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล ต่อผลการดำเนินงานทางธุรกิจในมิติต่าง ๆ ของผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็กที่ค้าขายผ่าน Shopee e-commerce platform
หมายเหตุ: กราฟแท่งสีขาวหมายถึงค่า odd ratio ของคุณลักษณะที่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ความเชื่อมั่นร้อยละ 90 ทั้งนี้ การวิเคราะห์ได้ควบคุมคุณลักษณะต่าง ๆ ของผู้ประกอบธุรกิจที่สามารถส่งผลต่อผลการดำเนินงานด้านการเงินแล้ว และ reference group ของการวิเคราะห์คือ ผู้ประกอบการที่เป็นกลุ่ม digital laggards มียอดขายน้อยกว่า 50,000 บาทต่อปี หรือมีอัตราการทำกำไรติดลบ หรือมียอดขายน้อยลง หรือมีช่องทางการขายเพียงช่องทางเดียว
ผลการศึกษาที่ 7

ประสบการณ์จากการประกอบธุรกิจ การลองผิดลองถูกเองของผู้ประกอบการ และการศึกษาในระบบปกติ ไม่สามารถรับประกันว่าผู้ประกอบธุรกิจจะเข้าใจและประยุกต์ใช้กลยุทธ์ธุรกิจเชิงดิจิทัลได้

จากการศึกษาพบเพียงว่ากิจการที่มีการจ้างคนจำนวนมาก และมีกระบวนการในการดำเนินธุรกิจที่หลากหลายเท่านั้น ที่จะมีผู้ประกอบธุรกิจที่สามารถประยุกต์ใช้กลยุทธ์ธุรกิจเชิงดิจิทัลอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ประกอบธุรกิจรายใดประสบความสำเร็จจากการเพิ่มยอดขายแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจรายนั้นจะเริ่มทดลองประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในด้านอื่นที่ช่วยให้การทำงานมีความเป็นอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น เพื่อแสวงหาวิธีในการลดต้นทุนและเพิ่มกำไรให้กับตนเองในที่สุด

นัยสำคัญเชิงนโยบาย

กล่าวโดยสรุป ระดับความรู้ด้านดิจิทัล (digital literacy) โดยเฉพาะมิติที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเชิงธุรกิจ และความรู้ด้านการบริหารความเสี่ยงจากภัยทางไซเบอร์ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เองผ่านประสบการณ์การใช้อุปกรณ์ดิจิทัล หรือผ่านการเรียนในระบบการศึกษาปกติ แต่จะต้องมีการจัดโครงการให้ความรู้อย่างเป็นรูปธรรม

การให้ความสำคัญต่อความรู้ด้านดิจิทัลอย่างเป็นระบบและเชิงรุกเป็นสิ่งจำเป็น โดยภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้จัดการอบรมหรือเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงผู้ประกอบธุรกิจกับหลักสูตรอบรมที่จัดโดยภาคเอกชน ซึ่งการเพิ่มระดับความรู้ด้านดิจิทัลดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็ก มีการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลที่สูง และสามารถเติบโตทางธุรกิจได้อย่างโดดเด่นภายใต้ระบบเศรษฐกิจดิจิทัล

รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น
รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์
กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์
University of California San Diego
สันติธาร เสถียรไทย
สันติธาร เสถียรไทย
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
Topics: Productivity and Technological ChangeBusiness Administration and Business EconomicsDigital Economy
Tags: digital literacydigital transformatione-commerce
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email