Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการต่อไป
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
aBRIDGEdabridged
Making Research Accessible
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
Topic
Development Economics
Macroeconomics
Financial Markets and Asset Pricing
Monetary Economics
...
/static/431d34c33bcded0e1b76e7df2acce97e/41624/cover.jpg
27 สิงหาคม 2567
20241724716800000

เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมกับการเลือกจ่ายชำระหนี้ของลูกหนี้

การเห็นต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นหากผ่อนนานและชำระหนี้เพียงขั้นต่ำอาจทำให้คนชำระหนี้เพิ่มขึ้น
ภัทราภา เวชภัทรสิริพริม บุษราตระกูล
เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมกับการเลือกจ่ายชำระหนี้ของลูกหนี้
excerpt

งานวิจัยนี้ใช้แนวทางการสะกิดพฤติกรรมด้วยการให้ข้อมูลที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย (informational nudge) ในการออกแบบตารางชำระคืนหนี้และภาระต้นทุนการให้กู้ยืมของสินเชื่อ 2 ประเภท ได้แก่ 1) สินเชื่อวงเงินผ่อนชำระ (installment loan) และ 2) สินเชื่อหมุนเวียน (revolving loan) เพื่อส่งเสริมการตัดสินใจก่อนการเป็นหนี้ของลูกหนี้ผ่านการนำเสนอข้อมูลต้นทุนที่สูงขึ้นหากเลือกผ่อนนานหรือชำระหนี้เพียงขั้นต่ำ ผลการศึกษาพบว่า แม้ว่าจำนวนผู้เลือกผ่อนสั้นในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจะไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่กลุ่มทดลองมีความเข้าใจต้นทุนดอกเบี้ยมากกว่ากลุ่มควบคุม สำหรับ revolving loan กลุ่มทดลองตัดสินใจจ่ายชำระหนี้มากกว่าขั้นต่ำมากกว่ากลุ่มควบคุม นอกจากนี้ การรับรู้ข้อมูลจะลดลงเมื่อข้อมูลในตารางเพิ่มขึ้น ผู้กำหนดนโยบายสามารถกำหนดตำแหน่ง วิธีการเขียน และขนาดตัวอักษรของตาราง เพื่อให้ผู้ขอสินเชื่อได้รับข้อมูลที่สำคัญสำหรับการตัดสินใจที่ง่ายขึ้น

Responsible Lending และบทบาทหน้าที่ของ ธปท.

หนี้ครัวเรือนของไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าการเพิ่มขึ้นดังกล่าวจะมาจากหลายสาเหตุ แต่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่าลูกหนี้จำนวนหนึ่งเลือกที่จะผ่อนชำระระยะยาวหรือเลือกที่จะชำระหนี้เพียงขั้นต่ำ ซึ่งอาจทำให้ลูกหนี้กลุ่มนี้ต้องเป็นหนี้ยาวนานและมีต้นทุนการกู้ยืมสูง การกำหนดหลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) จะช่วยให้สถาบันการเงินมีบทบาทในการรับผิดชอบลูกค้าตลอดวงจรการเป็นหนี้ และจะสนับสนุนให้เกิดการจัดการหนี้ครัวเรือนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับเสถียรภาพทางการเงินของประเทศในระยะยาว

ด้วยเหตุผลข้างต้น ธปท. ได้ออกหลักเกณฑ์ Responsible Lending โดยกำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้ให้บริการด้านสินเชื่อในการรับผิดชอบลูกค้าตลอดวงจรการเป็นหนี้อย่างเหมาะสม ตั้งแต่การพัฒนาและการโฆษณาผลิตภัณฑ์สินเชื่อ การให้สินเชื่อใหม่อย่างมีคุณภาพ การดูแลลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้เรื้อรังให้ปิดจบหนี้ได้และดูแลลูกหนี้ที่มีปัญหาชำระหนี้ด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ รวมถึงคุ้มครองสิทธิลูกหนี้ ซึ่งจะช่วยให้การแก้หนี้ครัวเรือนยั่งยืนขึ้น (ดังแสดงในรูปที่ 1)

รูปที่ 1: กรอบหลักเกณฑ์ Responsible Lending

กรอบหลักเกณฑ์ Responsible Lending

เราสามารถใช้เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมในการสร้าง Responsible Lending ได้อย่างไร

หลักการสะกิดพฤติกรรม (nudge)

การสะกิดพฤติกรรม (nudge) คือการออกแบบสภาพแวดล้อมการเลือก (choice architecture) ที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในทางที่คาดการณ์ได้โดยไม่ปิดกั้นทางเลือกใด หรือเปลี่ยนแปลงแรงจูงใจทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ (Thaler et al., 2008) ซึ่งในด้านพฤติกรรมทางการเงิน nudge เป็นเครื่องมือที่ใช้กระตุ้นให้ผู้คนมีพฤติกรรมทางการเงินที่ดีขึ้นโดยไม่ต้องใช้การบังคับ เช่น การตั้งค่าเริ่มต้น (default choice) ในแผนการออมเงินหรือการลงทุนเพื่อการเกษียณอายุให้กับพนักงานโดยอัตโนมัติ โดยผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าอัตราการออมเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นจาก 3.5% เป็น 13.6% ในช่วงเวลา 40 เดือน (Thaler & Benartzi, 2004)

นอกจากนี้ บางงานศึกษาพบว่าการสะกิดพฤติกรรมด้วยการให้ข้อมูลที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย (informational nudge) เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินยังสามารถช่วยให้ลูกหนี้ตัดสินใจเป็นหนี้ลดลงได้ เช่น Bertrand & Morse (2011) พบว่าการแสดงข้อมูลเปรียบเทียบดอกเบี้ยในรูปแบบจำนวนเงินที่ต้องจ่าย สามารถลดการกู้ยืมเงินด่วน (payday loan) ได้ 11% ในช่วงระยะเวลา 4 เดือน และยังพบว่าการแสดงดอกเบี้ยด้วยจำนวนเงินมีประสิทธิภาพมากกว่าการแสดงดอกเบี้ยด้วยอัตรารายปี

โครงการวิจัยของ ธปท. และ Behavioural Insights Team (BIT)

ธปท. ร่วมมือทางเทคนิคกับรัฐบาลอังกฤษ และ Behavioral Insights Team (BIT)1 ดำเนินโครงการ Nudge Project โดยนำหลักการและวิธีการทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (behavioral economics) มาออกแบบทางเลือกในการแสดงข้อมูลการชำระคืนหนี้และภาระต้นทุนในการกู้ยืมสินเชื่อส่วนบุคคล โดยขั้นตอนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการขายสินเชื่อ ดังแสดงในภาพที่ 1 (ขั้นตอนที่ 3: กระบวนการขาย) ซึ่งคาดหวังว่าการออกแบบทางเลือกนี้จะช่วยส่งเสริมการตัดสินใจก่อนการเป็นหนี้ของลูกหนี้ และก่อให้เกิดลูกหนี้ที่มีความรับผิดชอบ (responsible borrower) ควบคู่ไปกับ Responsible Lending จากฝั่งผู้ให้สินเชื่อ

Informational nudge ช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมการชำระหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลได้อย่างไร

การขาดความตระหนักรู้ (awareness) สามารถเป็นข้อจำกัดในกระบวนการตัดสินใจ งานวิจัยพบว่า informational nudge สามารถช่วยให้สามารถเปรียบเทียบทางเลือกต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น และส่งเสริมให้เกิดการตัดสินใจทางการเงินที่ดีขึ้น (informed financial decision) งานศึกษานี้ได้ศึกษาตารางการชำระคืนหนี้และภาระต้นทุนในการกู้ยืมจากหลักเกณฑ์การสร้างความตระหนักรู้ทางการเงินของประเทศต่าง ๆ คือ หลักเกณฑ์ Credit Card Act ของประเทศสหรัฐอเมริกา หลักเกณฑ์ MAS Notice 635 Unsecured Credit Facilities to Individuals ของประเทศสิงค์โปร์ และหลักเกณฑ์ National Credit Regulations 79B(2) ของประเทศออสเตรเลีย และได้ปรับข้อมูลในตารางผ่อนชำระให้เป็นไปตามหลักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมมากขึ้น เช่น การเปลี่ยนถ้อยคำจาก “ประหยัดดอกเบี้ย” เป็น “เสียดอกเบี้ยเพิ่ม” เนื่องจากคนส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับความสูญเสียมากกว่าสิ่งที่ได้รับ (loss aversion) นอกจากนี้ ยังได้เพิ่ม “ตัวอย่างทางเลือก” เพื่อให้ลูกหนี้เข้าใจว่าการผ่อนชำระมีหลายทางเลือกไม่ใช่แค่เพียงการชำระขั้นต่ำหรือชำระเต็มจำนวนเท่านั้น โดยตารางยังแสดงให้เห็นว่าการชำระขั้นต่ำจะทำให้ต้องเป็นหนี้ยาวนาน

เมื่อออกแบบตารางแล้วเสร็จ ธปท. และ BIT ดำเนินการทดสอบประสิทธิภาพของตารางชำระคืนหนี้และภาระต้นทุนการให้กู้ยืมของสินเชื่อ โดยแบ่งออกเป็น 2 การทดลอง (experiment) ได้แก่

  1. สินเชื่อวงเงินผ่อนชำระ (installment loan) ซึ่งเป็นการกู้เงินเป็นก้อน และทยอยชำระคืนเป็นงวด ๆ พร้อมดอกเบี้ย โดยมีกำหนดระยะเวลาชำระที่แน่นอน
  2. สินเชื่อหมุนเวียน (revolving loan) ซึ่งเป็นการกู้เงินที่สามารถเบิกเงินสดไปใช้ได้เมื่อต้องการ ภายในวงเงินที่ได้รับอนุมัติ เช่น บัตรกดเงินสด

โดยในการทดลองที่ 1 (installment loan) BIT เป็นผู้ดำเนินการจัดทำในรูปแบบออนไลน์ (online experiment) และในการทดลองที่ 2 (revolving loan) ธปท. เป็นผู้ดำเนินการจัดทำในรูปแบบออฟไลน์ (offline experiment) ด้วยการทำแบบสอบถาม

การทดลองที่ 1: ตารางชำระคืนหนี้และภาระต้นทุนการให้กู้ยืมของสินเชื่อ installment loan

ในการทดลองนี้ BIT ทำการทดสอบด้วย hypothetical scenario เพื่อศึกษาว่าการให้ข้อมูลต้นทุนของแต่ละทางเลือกสำหรับ installment loan จะช่วยทำให้ผู้เข้าร่วมการทดลองตัดสินใจผ่อนสั้นลงเพื่อประหยัดดอกเบี้ยหรือไม่อย่างไร โดยการทดลองนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,000 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะเทียบเคียงกับลักษณะของประชากรไทย (เช่น เพศ อายุ การศึกษา รายได้ และแหล่งที่อยู่อาศัย)

ในการทดสอบจะแบ่งผู้ตอบแบบสอบถามเป็น 2 กลุ่มด้วยวิธีการสุ่ม (randomization) ได้แก่

  1. กลุ่มควบคุม (control group) ที่จะเห็นตารางแสดงข้อมูลที่อิงจากตารางแสดงข้อมูลการผ่อนชำระของผู้ให้บริการจริง (industry practice)
  2. กลุ่มทดลอง (treatment group) ที่จะเห็นตารางแสดงข้อมูลที่ออกแบบใหม่ที่แสดงข้อมูลเพื่อให้ผู้ขอสินเชื่อทราบว่า หากเลือกทางเลือกที่ผ่อนชำระนาน (36 เดือน และ 48 เดือน) จะต้องชำระดอกเบี้ยเพิ่มเป็นจำนวนเท่าไร เมื่อเทียบกับทางเลือกที่ผ่อนชำระสั้น (24 เดือน) โดยหลังจากที่ได้เห็นตารางแสดงข้อมูล ผู้ตอบแบบสอบถามจะต้องตอบคำถามเกี่ยวกับทางเลือกว่าจะเลือกผ่อนชำระแบบใด รวมทั้งตอบคำถามความเข้าใจในผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่แสดงอยู่ในตาราง (เช่น ระยะเวลาผ่อนชำระ อัตราดอกเบี้ย เงินต้น) จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ประสิทธิภาพของตาราง
รูปที่ 2: ตารางสำหรับกลุ่ม control และ treatment ของการทดลองที่ 1 (installment loan)

ตารางสำหรับกลุ่ม control และ treatment ของการทดลองที่ 1 (installment loan)

ผลการทดลองพบว่า สัดส่วนของผู้ที่เลือกระยะเวลาผ่อนชำระสั้น (24 เดือน) ของกลุ่ม treatment (55.3%) สูงกว่ากลุ่ม control (52.7%) อย่างไรก็ดี ความแตกต่างนี้ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (ดังแสดงในรูปที่ 3) ทั้งนี้พบว่าตาราง installment ของกลุ่ม treatment อาจช่วยลด middle option bias (อคติที่คนมักเลือกทางเลือกตรงกลาง) ได้ โดยพบว่าสัดส่วนของทางเลือกตรงกลางของกลุ่ม treatment (14.5%) น้อยกว่ากลุ่ม control (19.3%) ซึ่งอาจอนุมานได้ว่ากลุ่มตัวอย่างที่เห็นตาราง treatment สามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น (informed decision) นอกจากนี้ โดยเฉลี่ยกลุ่ม treatment (54.5%) มีแนวโน้มที่จะเข้าใจต้นทุนดอกเบี้ยรวมมากกว่ากลุ่ม control (46.9%)

รูปที่ 3: สัดส่วนของผู้ที่เลือกระยะเวลาผ่อนชำระของกลุ่ม control และกลุ่ม treatment

สัดส่วนของผู้ที่เลือกระยะเวลาผ่อนชำระของกลุ่ม control และกลุ่ม treatment

ที่มา: Behavioral Insights Team (BIT)

อย่างไรก็ตาม พบว่ากลุ่ม treatment มีแนวโน้มที่จะเข้าใจรายละเอียดข้อมูลอื่น ๆ ต่ำกว่ากลุ่ม control (เช่น อัตราดอกเบี้ย และ จำนวนเงินที่ต้องชำระรายเดือน) ทั้งนี้ BIT ให้เหตุผลว่าข้อมูลที่เพิ่มเข้ามาส่งผลให้ความสามารถในการรับรู้ (attention) ของผู้เข้าร่วมทดลองลดลง ซึ่งหากนำตารางไปใช้ในการออกนโยบาย BIT ให้คำแนะนำว่าผู้กำหนดนโยบายสามารถกำหนดตำแหน่งของตาราง (เช่น หน้าแรก) และกำหนดวิธีการเขียนและขนาดตัวอักษรที่ชัดเจน โดยไม่ให้มีข้อมูลอื่น ๆ นอกเหนือกจากที่กำหนด เพื่อให้ผู้ขอสินเชื่อได้รับและจดจำข้อมูลที่สำคัญสำหรับการตัดสินใจ

การทดลองที่ 2: ตารางชำระคืนหนี้และภาระต้นทุนการให้กู้ยืมของสินเชื่อ revolving loan

ในการทดลองที่ 2 (revolving loan) มีแนวทางการทดลองเช่นเดียวกับการทดลองที่ 1 โดยใช้ hypothetical scenario เพื่อให้ผู้ร่วมการทดลองตัดสินใจ โดยมีเป้าหมายเพื่อศึกษาพฤติกรรมว่าผู้เข้าร่วมการทดลองผ่อนสั้นลงเพื่อประหยัดดอกเบี้ย และตัดสินใจผ่อนมากกว่าขั้นต่ำหรือไม่อย่างไร ในการทดลองนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างพนักงาน outsource ที่สายออกบัตรธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย จำนวน 177 ราย2 ซึ่งการเลือกกลุ่มตัวอย่างนี้เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มเป็นลูกค้าผลิตภัณฑ์ revolving loan อย่างไรก็ดี จำนวนและการกระจายตัวของกลุ่มตัวอย่างเป็นข้อจำกัดของการทดลองนี้

ผู้เข้าร่วมการทดลองแต่ละกลุ่มจะเห็นข้อมูลที่แตกต่างกันดังแสดงในภาพที่ 4 โดยตารางสำหรับกลุ่ม control จะแสดงข้อมูลทางเลือก 3 ทางเลือก ได้แก่ ชำระขั้นต่ำ ชำระเต็มจำนวน และผ่อนชำระสินค้า ซึ่งการแสดงทางเลือกในลักษณะนี้เป็นวิธีปฏิบัติที่สถาบันการเงินส่วนใหญ่ใช้ในปัจจุบัน (industry practice) และ ตารางสำหรับกลุ่ม treatment จะแสดงข้อมูลเพื่อให้ผู้ขอสินเชื่อทราบว่ามีทางเลือกในการผ่อนชำระที่มากกว่าการจ่ายเพียงขั้นต่ำและการจ่ายเต็มจำนวน โดยแสดงระยะเวลาปิดจบหนี้ จำนวนเงินที่ต้องผ่อนจ่ายในแต่ละงวด และดอกเบี้ยทั้งหมดที่ต้องจ่าย รวมทั้งข้อความเพื่อแสดงให้เห็นว่าทางเลือกที่ผ่อนชำระนานขึ้นจะทำให้มีต้นทุนดอกเบี้ยรวมเพิ่มขึ้น

รูปที่ 4: ตารางสำหรับกลุ่ม control และ treatment ของการทดลองที่ 2 (revolving loan)

ตารางสำหรับกลุ่ม control และ treatment ของการทดลองที่ 2 (revolving loan)

ผลการทดลองพบว่า โดยเฉลี่ยกลุ่ม treatment เลือกที่จะชำระขั้นต่ำ (14%) น้อยกว่ากลุ่ม control (62%) หรือน้อยกว่า 49 percentage points โดยความแตกต่างนี้มีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) (ดังแสดงในตารางที่ 1)

ตารางที่ 1: ผลการตัดสินใจชำระหนี้ของกลุ่ม control และกลุ่ม treatment
การตัดสินใจชำระหนี้Control (N = 74)Treatment (N = 103)
รายสัดส่วนรายสัดส่วน
1. ชำระเต็มจำนวน1014%33%
2. ชำระขั้นต่ำ4662%1414%
3. ชำระ 12 เดือน00%6260%
4. ชำระ 36 เดือน00%2019%
5. อื่นๆ (ระบุ)811%00%
6. ไม่ตอบ1014%44%
รวม74100%103100%

สำหรับกลุ่ม control มีจำนวน 53 ราย จาก 74 ราย ตอบคำถามเกี่ยวกับระยะเวลาปิดจบหนี้ โดยพบว่ามีเพียง 3 รายที่สามารถระบุจำนวนระยะเวลาที่ปิดจบหนี้ได้ถูกต้อง นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ที่ตัดสินใจชำระขั้นต่ำส่วนใหญ่ (25 รายจาก 39 ราย หรือคิดเป็น 64%) คิดว่าจะสามารถปิดจบหนี้ได้ภายใน 12 เดือน และทั้งหมด 39 ราย คิดว่าจะสามารถปิดหนี้ได้ก่อน 120 เดือน โดยระยะเวลาปิดหนี้ที่แท้จริง คือ 221 เดือน (18 ปี 5 เดือน) แสดงให้เห็นว่าผู้เข้าร่วมการทดลองส่วนใหญ่ที่ตัดสินใจผ่อนขั้นต่ำประมาณการเวลาปิดจบหนี้ไว้ต่ำกว่าเวลาปิดจบหนี้ที่แท้จริง (underestimate)

ในส่วนของต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายทั้งหมด พบว่ากลุ่ม treatment (56%) ตอบถูกมากกว่ากลุ่ม control (16%) และในส่วนของอัตราดอกเบี้ย พบว่ากลุ่ม treatment (35%) ตอบถูกมากกว่ากลุ่ม control (25%) อย่างไรก็ดี สัดส่วนผู้ตอบผิดยังมีจำนวนมาก โดยอาจเป็นผลจากการมีข้อมูลจำนวนมากในตาราง ซึ่งสอดคล้องกับผลการทดลองที่ 1 และเป็นนัยยะต่อการออกนโยบายว่าผู้ออกนโยบายควรทำความเข้าใจถึงข้อจำกัดด้าน attention span ของผู้ขอสินเชื่อ รวมทั้งออกแบบตารางโดยเข้าใจถึงลำดับความสำคัญของข้อมูลในตาราง

นัยยะต่อนโยบาย

ผู้เข้าร่วมการทดลองในกลุ่ม treatment ซึ่งเห็นตารางที่ออกแบบทางเลือกด้วย informational nudge มีแนวโน้มที่จะทราบถึงต้นทุนการกู้ยืม และทางเลือกในการชำระหนี้ที่เหมาะสมกับตนเอง (installment loan) รวมทั้งมีแนวโน้มที่จะตัดสินใจเลือกที่จะจ่ายชำระหนี้มากกว่าขั้นต่ำ (revolving loan) อย่างไรก็ดี พบว่ายังมีข้อจำกัดในการทำความเข้าใจข้อมูลในตาราง เนื่องจากความสามารถในการรับรู้ข้อมูลจะลดลงเมื่อจำนวนข้อมูลเพิ่มขึ้น ดังนั้น ในการออกนโยบายจึงอาจต้องชั่งน้ำหนักระหว่างการเพิ่มข้อมูลและระดับความเข้าใจของผู้ขอสินเชื่อเพื่อให้นโยบายเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ทั้งนี้ เนื่องจากงานวิจัยครั้งนี้ใช้ hypothetical scenario ผ่านการใช้แบบสอบถาม ซึ่งอาจให้ผลที่แตกต่างจากการทำวิจัยในสถานการณ์จริง และอาจส่งผลต่อผลลัพธ์ได้ เพื่อให้การทดลองมีผลลัพธ์ที่ตรงกับการตัดสินใจในสถานการณ์จริงมากขึ้น สามารถใช้วิธี Randomized Controlled Trials (RCTs) โดยศึกษาจากพฤติกรรมของลูกหนี้ ณ จุดตัดสินใจในการเป็นหนี้

เอกสารอ้างอิง

Bertrand, M., & Morse, A. (2011). Information disclosure, cognitive biases, and payday borrowing. The Journal of Finance, 66(6), 1865–1893.
Thaler, R. H., & Benartzi, S. (2004). Save more tomorrowTM: Using behavioral economics to increase employee saving. Journal of Political Economy, 112(S1), S164–S187.
Thaler, R. H., Sunstein, C. R., & others. (2008). Improving decisions about health, wealth and happiness. Constitutional Political Economy, 19(4), 356–360.

  1. Behavioural Insights Team (BIT) คือ องค์กรที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ behavioural science ในการออกแบบนโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับปรุงการให้บริการของภาครัฐ โดยแรกเริ่มก่อตั้งในปี 2010 BIT เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลสหราชอาณาจักร ปัจจุบัน BIT มีสถานะเป็นบริษัทจำกัดที่มีสำนักงานในหลายประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา ฝรั่งเศส และสิงคโปร์ และได้รับการว่าจ้างจากรัฐบาลรวมถึงธนาคารกลาง หน่วยงานกำกับ ในหลายประเทศ↩
  2. ในจำนวน 177 ราย แบ่งเป็นกลุ่ม control 74 ราย และ treatment 103 ราย พบว่าคุณลักษณะ (อายุ เพศ รายได้ และการศึกษา) ของกลุ่ม control และ treatment ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ↩
ภัทราภา เวชภัทรสิริ
ภัทราภา เวชภัทรสิริ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
พริม บุษราตระกูล
พริม บุษราตระกูล
นักศึกษาปริญญาโท (Harvard Kennedy School of Government)
Topics: Behavioral Economics
Tags: responsible lendinginformational nudgeloan repayment behaviorhypothetical scenario
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email