Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Thailand and the Middle-Income Trap: An Analysis from the Global Value Chain Perspective
Discussion Paper ล่าสุด
Thailand and the Middle-Income Trap: An Analysis from the Global Value Chain Perspective
ค่าเงินบาทผันผวน: “ตัวปรับสมดุล” หรือ “ตัวป่วน” เศรษฐกิจไทย
aBRIDGEd ล่าสุด
ค่าเงินบาทผันผวน: “ตัวปรับสมดุล” หรือ “ตัวป่วน” เศรษฐกิจไทย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Confidence and College Applications: Evidence from a Randomized Intervention
งานสัมมนาล่าสุด
Confidence and College Applications: Evidence from a Randomized Intervention
The Impact of Climate Change on Thai Households
งานสัมมนาล่าสุด
The Impact of Climate Change on Thai Households
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรไทย
ประกาศล่าสุด
ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรไทย
PIER Blogblog
QR code
Year
2023
2022
2021
2020
...
/static/76c6f8fae45d1bb2e2b58d69f9020e31/e9a79/cover.png
24 สิงหาคม 2565
20221661299200000
PIER Digest Series

Facebook ทำให้เกิดการแบ่งขั้วทางความคิดมากขึ้นหรือไม่?

Facebook ทำให้เกิดการแบ่งขั้วทางความคิดมากขึ้นหรือไม่?

ในยุคของโซเชียลมีเดีย คนส่วนใหญ่หันมารับข่าวทางแฟลตฟอร์ม เช่น Facebook จากการสำรวจโดย Pew Research Center พบว่าในปี 2019 ร้อยละ 70 ของผู้ใหญ่ชาวอเมริกันรับข่าวสารผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย

การเกิดขึ้นของโซเชียลมีเดียได้ส่งผลให้พฤติกรรมการรับข่าวสารของคนเปลี่ยนไป จากที่เคยรับข่าวสารจากวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ คนก็หันมาอ่านข่าวจาก news feed มากขึ้น ที่ผ่านมา ก็มีสมมติฐานว่าอัลกอริทึมที่เลือกข่าวที่ปรากฎบน news feed นั้นมีแนวโน้มที่จะนำเสนอข่าวจากช่องข่าวที่มีแนวคิดไปในทางเดียวกันกับแนวคิดของผู้ใช้ และนำไปสู่คำถามที่ว่า “พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนี้ทำให้เกิดการแบ่งขั้วทางการเมืองเป็นฝั่งอนุรักษ์นิยมและเสรีนิยมมากขึ้นหรือไม่?”

งานวิจัย Levy (2021) ได้ทำการทดลองภาคสนามเพื่อประมาณผลของการอ่านข่าวผ่านโซเชียลมีเดีย โดยได้สุ่มให้ผู้ร่วมทดลองบางคนกดปุ่ม like ช่องข่าวที่มีแนวคิดเอนไปฝั่งเดียวกับตน และบางคน like ช่องข่าวที่มีแนวคิดเอนไปฝั่งตรงข้าม หลังจากนั้นผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลการใช้ Facebook ของผู้ร่วมทดลอง อาทิ การเป็นสมาชิกช่องข่าว การได้รับข่าว การคลิ๊กเข้าไปอ่านข่าวในเว็บไซต์ต่าง ๆ และหลังจากการทดลองสองสัปดาห์ ก็ได้มีการวัดการเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นทางการเมือง และความรู้สึกที่คนมีต่อผู้ที่มีแนวคิดทางการเมืองต่างไปจากตน

ซึ่งการศึกษานี้มีข้อค้นพบหลัก 4 ข้อด้วยกัน ได้แก่

  1. การรับข่าวทางโซเชียลมีเดีย (news exposure) มีผลต่อการอ่านข่าวออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญ โดยการที่ผู้เข้าร่วมโดนสุ่มให้สมัครรับข่าวจากช่องข่าวที่มีแนวคิดตรงข้างก้บตนทางเฟซบุคเพิ่มขึ้นนั้น ส่งผลให้ผู้โดนสุ่มอ่านข่าวจากช่องทางฝั่งตรงข้ามเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 14 เทียบกับคนในกลุ่มที่ไม่ได้รับข่าวสารเพิ่ม
  2. อัลกอริทึมในเฟซบุคอาจทำให้การรับข่าวจากช่องทางฝั่งตรงข้ามลดลง โดยผู้เข้าร่วมการศึกษาที่ได้รับการ nudge ให้รับข่าวจากช่องข่าวฝั่งตรงข้ามกลับได้รับข่าวจากอีกฝั่งน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผู้เข้าร่วมที่ได้รับการ nudge ให้รับข่าวจากช่องข่าวฝั่งเดียวกัน
  3. การรับข่าวจากช่องข่าวฝั่งตรงข้ามไม่ได้ทำให้ความเห็นด้านการเมืองเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ
  4. อย่างไรก็ดี การรับข่าวจากช่องข่าวที่มีแนวคิดต่างจากตนเองส่งผลให้ความรู้สึกไม่ดีต่อคนที่มีความเห็นต่าง (affective polarization) ลดลง โดยผู้ศึกษาได้ถามถึงความรู้สึกต่อคนฝั่งตรงข้ามจากเสกล 0–100 และพบว่าความรู้สีกไม่ดีต่อคนฝั่งตรงข้ามลดลง 0.58–0.96 จุด ซึ่งที่ผ่านมาในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ความรู้สึกไม่ดีต่อคนที่มีแนวคิดฝั่งตรงข้ามเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จาก 3.83 เป็น 10.52 ในช่วงปี 1996–2016)

เอกสารอ้างอิง

Levy, R. (2021). Social media, news consumption, and polarization: Evidence from a field experiment. American Economic Review, 111(3), 831–870.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
ธนิสา ทวิชศรี
ธนิสา ทวิชศรี
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2566 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email