Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Sustainable Finance in Southeast Asia
Discussion Paper ล่าสุด
Sustainable Finance in Southeast Asia
ทางออกแก้หนี้แก้จนของคนไทย
PIER Blog ล่าสุด
ทางออกแก้หนี้แก้จนของคนไทย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Confidence and College Applications: Evidence from a Randomized Intervention
งานสัมมนาล่าสุด
Confidence and College Applications: Evidence from a Randomized Intervention
The Impact of Climate Change on Thai Households
งานสัมมนาล่าสุด
The Impact of Climate Change on Thai Households
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับทุนสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ประจำปี 2565 รอบที่ 2
ประกาศล่าสุด
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับทุนสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ประจำปี 2565 รอบที่ 2
PIER Blogblog
QR code
Year
2022
2021
2020
2019
...
/static/b60b22278bd0f8c5d035cdb02669f8e9/e9a79/cover.png
28 พฤศจิกายน 2565
20221669593600000
PIER Digest Series

E-commerce ส่งผลต่อพฤติกรรมการตั้งราคาของผู้ประกอบการหรือไม่ และผู้บริโภคได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง?

E-commerce ส่งผลต่อพฤติกรรมการตั้งราคาของผู้ประกอบการหรือไม่ และผู้บริโภคได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง?

E-commerce หรือการซื้อขายสินค้าผ่านช่องทาง online มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 10–20 ปีที่ผ่านมา ทั้งยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีและการแพร่ระบาดของโควิดมาเป็นตัวเร่งให้การซื้อขายผ่านช่องทาง online เติบโตมากขึ้น ซึ่งการเติบโตของ E-commerce ทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าจากพื้นที่ต่าง ๆ ได้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันภาคธุรกิจก็ต้องแข่งขันกันมากขึ้น จึงเกิดเป็นคำถามว่า แท้จริงแล้ว E-commerce มีผลกระทบต่อการตั้งราคาสินค้าของธุรกิจ รวมไปถึง welfare ของผู้บริโภคอย่างไรบ้าง

งานวิจัยของ Jo et al. (2022) ได้ทำการศึกษาผลกระทบดังกล่าวในกรณีของญี่ปุ่น ซึ่ง E-commerce เริ่มเข้ามามีบทบาทตั้งแต่ปี 1997 โดยข้อมูลในปี 2014 ชี้ว่า สัดส่วนการซื้อขายสินค้าออนไลน์ อยู่ที่ประมาณ 5.8% ซึ่งใกล้เคียงกับในสหรัฐฯ

งานวิจัยชิ้นนี้ใช้ข้อมูลจาก National Survey of Family Income and Expenditures ซึ่งมีข้อมูลการใช้จ่ายของครัวเรือนผ่านช่องทางออนไลน์ตั้งแต่ปี 2004 ทำให้ทราบถึงส่วนแบ่งตลาดออนไลน์ของสินค้าแต่ละชนิด นอกจากนี้ ได้ใช้ข้อมูลราคาสินค้าช่วงปี 1991–2016 จาก Japan Statistical Bureau ซึ่งประกอบด้วยราคาสินค้านับร้อยรายการใน 168 จังหวัดทั่วญี่ปุ่น ทำให้สามารถศึกษาความแตกต่างของราคาสินค้าชนิดเดียวกันที่ขายอยู่คนละพื้นที่ได้

ผลการศึกษาที่น่าสนใจ มีดังนี้

  1. E-commerce มีส่วนทำให้ราคาสินค้าที่มีการซื้อขายผ่านช่องทาง online เป็นสัดส่วนมาก (เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หนังสือ เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์) ยิ่งถูกลงเมื่อเทียบกับสินค้าอื่น (ดูรูปประกอบ) ผลที่ได้นี้สอดคล้องกับงานของ Goolsbee and Klenow (2018) ที่ทำการศึกษากรณีของสหรัฐฯ
  2. E-commerce ทำให้ความแตกต่างของราคาสินค้าชนิดเดียวกันที่ขายอยู่คนละจังหวัด ปรับลดลงเร็วขึ้น สำหรับสินค้าที่ซื้อขายผ่าน online มาก ซึ่งคาดว่าเป็นผลจาก price arbitrage เนื่องจากผู้บริโภคสามารถใช้ช่องทางออนไลน์ เพื่อซื้อสินค้าในแหล่งที่ขายถูกกว่าได้
  3. การที่ช่องว่างระหว่างราคาของสินค้าในแต่ละพื้นที่ลดลงนั้น ส่งผลให้ welfare ของผู้บริโภค เพิ่มขึ้น 0.3%1
  1. ประโยชน์ของ e-commerce เกิดจากการที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าใหม่ ๆ ได้สะดวกยิ่งขึ้น2 อย่างไรก็ดี ผลประโยชน์ดังกล่าวค่อนข้างกระจุกอยู่ในเมืองที่ประชากรมีการศึกษาสูง (เช่น โตเกียว โยโกฮามา) ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ในกรณีของญี่ปุ่น E-commerce นั้น สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการตั้งราคาของผู้ประกอบการได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคในหลายด้าน สำหรับ E-commerce ในไทยนั้น นับว่าเติบโตเร็วมากในระยะหลัง แต่ผลต่อพฤติกรรมการกำหนดราคาอาจแตกต่างไปจากที่เห็นในตลาดออนไลน์ที่เติบโตเต็มที่อย่างในญี่ปุ่นหรือสหรัฐฯ ผู้ที่สนใจพฤติกรรมของราคาออนไลน์ในไทย สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ Manopimoke et al. (2018)

เอกสารอ้างอิง

Goolsbee, A. D., & Klenow, P. J. (2018). Internet rising, prices falling: Measuring inflation in a world of e-commerce. Aea Papers and Proceedings, 108, 488–492.
Jo, Y. J., Matsumura, M., & Weinstein, D. E. (2022). The impact of e-commerce on relative prices and consumer welfare. Review of Economics and Statistics.
Manopimoke, P., Limjaroenrat, V., Charoenpanich, A., & Rittinon, C. (2018). Decoding the Low Inflation Conundrum with Online and Offline Price Data. Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.

  1. ประเมินผ่านผลรวมของ surplus ของผู้บริโภคและผู้ผลิต↩
  2. ผู้วิจัยได้ประเมินประโยชน์ดังกล่าวออกมาในรูปของราคาสินค้าเฉลี่ยที่ลดลง ซึ่งพบว่าลดลงประมาณ 0.9%↩
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
นุวัต หนูขวัญ
นุวัต หนูขวัญ
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2566 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email