Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Thailand and the Middle-Income Trap: An Analysis from the Global Value Chain Perspective
Discussion Paper ล่าสุด
Thailand and the Middle-Income Trap: An Analysis from the Global Value Chain Perspective
ค่าเงินบาทผันผวน: “ตัวปรับสมดุล” หรือ “ตัวป่วน” เศรษฐกิจไทย
aBRIDGEd ล่าสุด
ค่าเงินบาทผันผวน: “ตัวปรับสมดุล” หรือ “ตัวป่วน” เศรษฐกิจไทย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Confidence and College Applications: Evidence from a Randomized Intervention
งานสัมมนาล่าสุด
Confidence and College Applications: Evidence from a Randomized Intervention
The Impact of Climate Change on Thai Households
งานสัมมนาล่าสุด
The Impact of Climate Change on Thai Households
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรไทย
ประกาศล่าสุด
ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรไทย
PIER Blogblog
QR code
Year
2023
2022
2021
2020
...
/static/ec2b72af980aff4e8b6505784118a67a/41624/cover.jpg
7 มีนาคม 2566
20231678147200000
PIER Digest Series

การได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำ ส่งผลต่อรายได้ภายหลังจากจบการศึกษาอย่างไร?

การได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำ ส่งผลต่อรายได้ภายหลังจากจบการศึกษาอย่างไร?

“การเรียนต่อในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น ทำให้รายได้หลังจบการศึกษาเพิ่มขึ้นไหม?”
“ถ้าได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยชื่อดัง จะช่วยให้ได้งานดี ๆ เงินดี ๆ จริงหรือไม่?”

คำถามเหล่านี้น่าจะอยู่ในใจของใครหลายคนและเป็นคำถามที่นักเศรษฐศาสตร์พยายามหาคำตอบ ปัญหาหนึ่งของการประมาณผลตอบแทนทางการศึกษาเหล่านี้คือ ผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา (หรือระหว่างสถานศึกษา) มีความสามารถที่แตกต่างกันเป็นทุนเดิม ทำให้การเปรียบเทียบรายได้ของผู้ที่จบการศึกษาในระดับที่แตกต่างกัน ไม่สะท้อนผลตอบแทนทางการศึกษาที่แท้จริง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากนักเรียนที่มีความสามารถสูงมีแนวโน้มที่จะเรียนต่อในระดับการศึกษาที่สูงกว่านักเรียนที่มีความสามารถต่ำกว่า ความแตกต่างของรายได้ระหว่างผู้ที่จบการศึกษาในระดับที่แตกต่างกัน จะไม่ได้สะท้อนผลตอบแทนของระดับการศึกษาทั้งหมด แต่จะมาจากความสามารถที่แตกต่างกันด้วยส่วนหนึ่ง

Black et al. (2023) พยายามตอบคำถามนี้ ผ่านการศึกษาผลกระทบของนโยบาย Top Ten Percentile (TTP) ในรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ให้สิทธินักเรียนมัธยมที่จบการศึกษาด้วยคะแนนสูงที่สุด 10 เปอร์เซ็นต์แรกของชั้น เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยรัฐ แห่งใดก็ได้ในรัฐเท็กซัส งานวิจัยชิ้นนี้เน้นไปที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐเท็กซัส (University of Texas หรือ UT) ซึ่งเป็นเครือข่ายมหาวิทยาลัยรัฐที่ใหญ่ที่สุดในรัฐเท็กซัส1 และประกอบด้วยวิทยาเขต (campus) หลายแห่งด้วยกัน โดยวิทยาเขตที่มีชื่อเสียงที่สุดและเข้ายากที่สุด คือ วิทยาเขตออสติน (UT Austin)

ในอดีตก่อนที่จะมีนโยบาย TTP มหาวิทยาลัยจะคัดเลือกผู้สมัครเพื่อเข้าศึกษาต่อโดยพิจารณาจากผลการเรียนในระดับมัธยม, คะแนนสอบมาตรฐาน และเรียงความในใบสมัคร (personal statement) เป็นหลัก นอกจากนี้ คุณภาพของโรงเรียนมัธยมก็ส่งผลต่อโอกาสในการเข้าศึกษาต่อเช่นเดียวกัน โรงเรียนมัธยมบางแห่งสามารถส่งศิษย์เก่าเข้าศึกษาต่อที่ UT Austin เป็นประจำทุก ๆ ปี (feeder schools) ขณะที่บางแห่งมีศิษย์เก่าเข้าศึกษาต่อที่ UT Austin น้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย (disadvantaged schools) นโยบาย TTP ที่ประกาศใช้ในปี 1998 กำหนดให้นักเรียนที่มีผลการเรียนดีเป็นอันดับต้น ๆ ของชั้น สามารถเลือกเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐที่ต้องการได้โดยอัตโนมัติ ส่งผลให้นักเรียนในกลุ่ม 10% แรกที่มาจาก disadvantaged schools มีโอกาสเข้าเรียนที่ UT Austin เพิ่มขึ้น (พื้นที่สีฟ้าในรูปที่ 1) โดย Black et al. (2023) เรียกนักเรียนกลุ่มนี้ว่ากลุ่ม “pull in” ในขณะเดียวกัน เนื่องจาก UT Austin รับนักศึกษาใหม่ได้จำนวนจำกัด นโยบาย TTP ย่อมส่งผลให้นักเรียนที่มีผลการเรียนรอง ๆ ลงมา (มีผลการเรียนดี แต่อยู่นอกกลุ่ม 10% แรก) จาก feeder schools มีโอกาสเข้าเรียนที่ UT Austin ลดลง (พื้นที่สีส้มในรูปที่ 1) โดยเรียกนักเรียนกลุ่มนี้ว่ากลุ่ม “push out”

รูปที่ 1: ผลของนโยบาย TTP ต่อโอกาสในการเข้าศึกษาต่อที่ UT Austin

ผลของนโยบาย TTP ต่อโอกาสในการเข้าศึกษาต่อที่ UT Austin

ที่มา: Black et al. (2023)

Black et al. (2023) ศึกษาผลของนโยบาย TTP โดยการเปรียบเทียบผลลัพธ์ เช่น โอกาสในการเข้าศึกษาต่อ หรือรายได้หลังจบการศึกษา ของนักเรียนในกลุ่ม pull in (หรือกลุ่ม push out) กับนักเรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมเดียวกัน มีผลการเรียนใกล้เคียงกัน แต่จบการศึกษาก่อนที่จะมีนโยบาย TTP ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า นโยบาย TTP ช่วยให้นักเรียนในกลุ่ม pull in มีโอกาสเข้าศึกษาต่อที่ UT Austin เพิ่มขึ้น มีโอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยอื่น ๆ โดยรวมเพิ่มขึ้นและสามารถเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพสูงขึ้น2 นอกจากนี้ยังพบอีกว่า นักเรียนในกลุ่ม pull in ที่เข้าศึกษาต่อที่ UT Austin ผ่านนโยบาย TTP มีอัตราการสำเร็จการศึกษาไม่ต่างไปจากนักเรียนที่เข้าศึกษาต่อที่ UT Austin ผ่านการคัดเลือกด้วยวิธีปกติ และเมื่อพิจารณารายได้หลังจบการศึกษาพบว่า นโยบาย TTP ช่วยให้นักเรียนในกลุ่ม pull in มีรายได้ในช่วงเวลา 9–11 ปีหลังจบการศึกษาชั้นมัธยมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (ประมาณ 5.5%) แต่ไม่พบความแตกต่างของรายได้ในระยะยาว

เมื่อพิจารณาผลของนโยบาย TTP ต่อนักเรียนในกลุ่ม push out พบว่าโอกาสในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาโดยรวมไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยนักเรียนในกลุ่ม push out มีโอกาสที่จะได้เข้าศึกษาต่อที่ UT Austin ลดลงและมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพรอง ๆ ลงมา อย่างไรก็ดี ไม่พบว่านโยบาย TTP ส่งผลทางลบต่อรายได้หลังจบการศึกษาของนักเรียนในกลุ่ม push out

โดยสรุป งานวิจัยชิ้นนี้มีข้อค้นพบที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

  • นโยบาย TTP ส่งผลทางบวกต่อนักเรียนในกลุ่ม pull in กล่าวคือ สามารถเข้าศึกษาต่อที่ UT Austin เพิ่มขึ้น มีแนวโน้มที่จะสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้น และมีรายได้ในช่วง 9–11 ปีหลังจบชั้นมัธยมศึกษาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย นอกจากนี้ ไม่พบว่านโยบาย TTP ส่งผลทางลบต่อนักเรียนในกลุ่ม push out โดยถึงแม้ว่าจะมีโอกาสเข้าศึกษาต่อที่ UT Austin ลดลง แต่มีแนวโน้มที่จะสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาและได้รับรายได้หลังจบการศึกษาไม่ต่างจากเดิม
  • ผลการศึกษาดังกล่าวสะท้อนว่า ประโยชน์ของการเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยชั้นนำแตกต่างกันสำหรับนักเรียนแต่ละกลุ่ม โดยนักเรียนที่มาจาก disadvantaged schools ได้รับผลตอบแทนจากการเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยชั้นนำมากกว่านักเรียนที่มาจาก feeder schools

เอกสารอ้างอิง

Black, S. E., Denning, J. T., & Rothstein, J. (2023). Winners and losers? The effect of gaining and losing access to selective colleges on education and labor market outcomes. American Economic Journal: Applied Economics, 15(1), 26–67.

  1. ยังมีเครือข่ายมหาวิทยาลัยรัฐ เครือข่ายอื่น ๆ ในรัฐเท็กซัส เช่น Texas A&M University หรือ University of Houston เป็นต้น↩
  2. Black et al. (2023) วัดคุณภาพของมหาวิทยาลัยโดยใช้ตัวชี้วัดดังต่อไปนี้ อัตราการสำเร็จการศึกษา คะแนนทดสอบวิชาคณิตศาสตร์ในระดับรัฐ ค่าใช้จ่ายด้านการเรียนการสอนต่อจำนวนนักศึกษา และรายได้หลังจบการศึกษา↩
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
อาชว์ ปวีณวัฒน์
อาชว์ ปวีณวัฒน์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2566 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email