Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการต่อไป
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Blogblog
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/9a1f3b379ab2f31a7cfe39a498e9dbfe/e9a79/cover.png
7 กรกฎาคม 2566
20231688688000000

ประกันภัยทางการเกษตร และการอุดหนุนเบี้ยประกันโดยรัฐในแต่ละประเทศ

สุรศักดิ์ เจิดพสุพร

ประกันภัยทางการเกษตรคืออะไร และสำคัญอย่างไร

เกษตรกรถือเป็นอาชีพที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติอยู่ตลอดเวลา ประกันภัยทางการเกษตรจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงจากการสูญเสียรายได้ในกรณีที่ผลผลิตเสียหายจากเหตุภัยพิบัติต่าง ๆ ได้ เช่น ภัยแล้ง ภัยฝนทิ้งช่วง อุทกภัย และโรคระบาด ประกันภัยทางการเกษตรแต่ละประเภทจะให้ความคุ้มครองผลผลิตการเกษตรที่แตกต่างกัน เช่น การคุ้มครองพืชผลเกษตร การคุ้มครองปศุสัตว์ หรือ การคุ้มครองการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นต้น ในแต่ละประเทศ เกษตรกรอาจมีรูปแบบวิถีชีวิตในการทำการเกษตรที่แตกต่างกัน โครงการประกันภัยในแต่ละประเทศจึงแตกต่างกัน อย่างไรก็ดี กลับพบว่าเกษตรกรมักมีการซื้อประกันภัยทางการเกษตรเพื่อคุ้มครองผลผลิตน้อย ภาครัฐในหลาย ๆ ประเทศจึงต้องดำเนินนโยบายช่วยเหลือให้เกษตรกรมีประกันภัยผ่านการอุดหนุนค่าเบี้ยประกันให้กับเกษตรกร (Hazell & Varangis, 2020; Hess et al., 2016; Hill et al., 2014)

ประกันภัยทางการเกษตรของไทย

ประเทศไทยมีโครงการประกันภัยทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี และโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยโครงการดังกล่าวเกิดจากการร่วมดำเนินการระหว่างรัฐและภาคเอกชน หลายปีที่ผ่านมารัฐบาลไทยร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ดำเนินมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเพาะปลูกข้าวนาปีให้ได้รับความคุ้มครองภายใต้โครงการประกันภัยข้าวนาปีเป็นจำนวนมาก และในบางปี เช่น ปี 2563 และ 2564 รัฐมีการอุดหนุนเบี้ยประกัน “เต็มจำนวน” ให้กับเกษตรกรไทยที่เข้าเงื่อนไข (เป็นเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่ำ และ/หรือ มีบัญชีสินเชื่อกับ ธ.ก.ส.) โดยในปี 2564 มีเกษตรกรที่ได้รับประกันภัยฟรีคิดเป็นสัดส่วน 72% ของเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเพาะปลูกข้าวนาปีทั้งหมด ซึ่งการอุดหนุนเบี้ยประกันเต็มจำนวนนี้ทำให้ภาครัฐรับภาระงบประมาณกว่า 2 พันล้านบาทในปี 25641 แม้รัฐจะช่วยอุดหนุนเบี้ยประกันบางส่วนให้เกษตรกรรายอื่น ๆ ที่ไม่เข้าเงื่อนไขได้รับประกันภัยฟรี แต่เกษตรกรกลุ่มนี้ที่ตัดสินใจซื้อประกันภัยด้วยตนเองมีสัดส่วนเพียงไม่ถึง 1% เท่านั้น2 นอกจากนี้ การที่เกษตรกรได้รับประกันภัยฟรีอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลเสียต่อวินัยของเกษตรกร ทำให้เกษตรกรขาดความตั้งใจในการบำรุงรักษาแปลงเพาะปลูกของตนเอง หรืออาจดำเนินการเพาะปลูกที่มีความเสี่ยงสูงยิ่งขึ้น (Mahul & Stutley, 2010) และหากเกษตรกรได้รับประกันภัยฟรีอย่างต่อเนื่องเป็นระยะยาวอาจทำให้เกษตรกรไม่คิดซื้อประกันด้วยตนเอง แต่รอรับประกันฟรีจากรัฐเพียงอย่างเดียว ทำให้ในอนาคตหากภาครัฐไม่อุดหนุนเบี้ยประกันแบบเต็มจำนวนแล้ว เกษตรกรก็อาจไม่คิดซื้อประกันด้วยตนเอง และต้องรับความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติอย่างเต็มอัตรา

ประกันภัยทางการเกษตร และการอุดหนุนเบี้ยประกันในประเทศต่าง ๆ

รูปที่ 1: แผนที่แสดงสัดส่วนการอุดหนุนเบี้ยประกันภัยทางการเกษตรโดยภาครัฐในแต่ละประเทศ
ที่มา: ผู้เขียนสรุปข้อมูลจาก 22 การศึกษา ครอบคลุม 87 ประเทศ

ผู้เขียนได้ทบทวนงานวิจัยที่มีการศึกษาประกันภัยทางการเกษตรในประเทศต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 2550–2565 รวมทั้งสิ้น 22 การศึกษา3 โดยผู้เขียนได้สรุปข้อมูลออกมาในรูปแบบแผนที่เพื่อเปรียบเทียบสัดส่วนจำนวนเงินอุดหนุนเบี้ยประกันโดยรัฐต่อจำนวนเงินค่าเบี้ยประกันทั้งหมดของแต่ละประเทศ (รูปที่ 1)4 โดยพบว่าการอุดหนุนเบี้ยประกันภัยโดยรัฐนั้น พบได้ทั้งในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ดี ผู้เขียนพบข้อสังเกตที่สำคัญ คือ ประเทศที่พัฒนาแล้วโดยส่วนใหญ่จะมีสัดส่วนของจำนวนเงินอุดหนุนเบี้ยประกันโดยรัฐต่อจำนวนเงินค่าเบี้ยประกันทั้งหมดไม่เกิน 60% เช่น ออสเตรเลีย เยอรมนี และสวีเดนไม่มีการอุดหนุนเบี้ยประกันเลย ส่วนแคนาดามีการอุดหนุนเบี้ยประกันโดยรัฐ 60% จากเบี้ยประกันทั้งหมด อาจมีข้อยกเว้นเพียงสหรัฐอเมริกาประเทศเดียวที่บางโครงการมีการอุดหนุนโดยรัฐ คิดเป็น 62% ของเบี้ยประกันทั้งหมดในปี 2558 (Gulati et al., 2018) ขณะที่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนากลับพบว่า มีหลายประเทศที่มีการอุดหนุนเบี้ยประกันมากกว่า 60% ขึ้นไป เช่น อินโดนีเซีย จีน และอินเดีย รวมทั้งมีบางประเทศที่มีการอุดหนุนเบี้ยประกันโดยรัฐ 80% ขึ้นไป เช่น เม็กซิโก กัมพูชา และไทย เป็นต้น

ภาครัฐควรอุดหนุนเบี้ยประกันภัยให้เกษตรกรไทยอย่างไร

จากข้อมูลข้างต้นทำให้เห็นความแตกต่างของการดำเนินนโยบายอุดหนุนเบี้ยประกันภัยทางการเกษตรโดยรัฐ ในภาพรวมอาจสามารถสรุปได้ว่า ในประเทศที่กำลังพัฒนาอาจมีความจำเป็นที่รัฐต้องให้ความช่วยเหลือโดยการอุดหนุนเบี้ยประกันภัยให้เกษตรกรมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งนี้ การที่รัฐให้ความช่วยเหลือเกษตรกรมากอาจส่งผลเสียต่อวินัยของเกษตรกร และกระทบกลไกตลาดประกัน อีกทั้งเป็นภาระต่องบประมาณของประเทศ การอุดหนุนเบี้ยประกันให้กับเกษตรกรไทยจึงควรมีการออกแบบอย่างระมัดระวัง โดยเราสามารถพิจารณาใช้รูปแบบที่อาจเหมาะสมกับบริบทของไทยมาผสมผสานกันได้ เช่น รัฐอาจอุดหนุนเบี้ยประกันภัยเต็มจำนวนให้กับเฉพาะกลุ่มเกษตรกรรายเล็กที่ยากจนจนไม่สามารถซื้อประกันด้วยตนเองได้ (Hazell & Varangis, 2020) หรือ อาจเปลี่ยนรูปแบบจากการอุดหนุนเบี้ยประกันเป็นการใช้เงื่อนไขอื่น ๆ เพื่อจูงใจให้เกษตรกรซื้อประกันด้วยตนเอง เช่น การกำหนดเงื่อนไขให้เกษตรกรต้องซื้อประกันภัยด้วยตนเองก่อน จึงจะมีสิทธิ์ได้รับการช่วยเหลือรูปแบบอื่น ๆ จากรัฐ เช่น มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาเพิ่มเติมในกรณีที่เกิดภัยพิบัติรุนแรง (Hess et al., 2016) เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง

Ankrah, D. A., Kwapong, N. A., Eghan, D., Adarkwah, F., & Boateng-Gyambiby, D. (2021). Agricultural insurance access and acceptability: examining the case of smallholder farmers in Ghana. Agriculture & Food Security, 10(1), 1–14.
Baimisheva, T., Kurmaeva, I., Gazizyanova, Y. Y., Baimeshev, R., & Aiesheva, G. (2019). State regulation systems of agricultural insurance. IOP Conference Series: Earth and Environmental Science, 315(2), 022090.
Bielza, M., Stroblmair, J., Gallego, J., Conte, C. G., & Dittmann, C. (2007). Agricultural risk management in Europe.
FAO. (2021a). Protecting livelihoods – Linking agricultural insurance and social protection. FAO.
FAO. (2021b). Analysis of the agricultural insurance system in Serbia and recommendations for better effectiveness. FAO.
FAO. (2022). Comprehensive analysis of the disaster risk reduction system for the agricultural sector in Armenia. FAO.
Finger, R., & Lehmann, N. (2012). The influence of direct payments on farmers’ hail insurance decisions. Agricultural Economics, 43(3), 343–354.
Gulati, A., Terway, P., & Hussain, S. (2018). Crop insurance in India: Key issues and way forward. Working paper.
Hatt, M., Heyhoe, E., & Whittle, L. (2012). Options for insuring Australian agriculture. ABARES Report to Client Prepared for Climate Division, 122.
Hazell, P., & Varangis, P. (2020). Best practices for subsidizing agricultural insurance. Global Food Security, 25, 100326.
Hess, U., Hazell, P., & Kuhn, S. (2016). Innovations and emerging trends in agricultural insurance. Deutsche Gesellschaft Für Internationale Zusammenarbeit (GIZ) GmbH.
Hill, R. V., Gajate-Garrido, G., Phily, C., & others. (2014). Using subsidies for inclusive insurance.
King, M., & Singh, A. P. (2020). Understanding farmers’ valuation of agricultural insurance: Evidence from Vietnam. Food Policy, 94, 101861.
Kislingerova, S., & Špička, J. (2022). Factors influencing the take-up of agricultural insurance and the entry into the mutual fund: A case study of the Czech Republic. Journal of Risk and Financial Management, 15(8), 366.
Lavorato, M., & Braga, M. (2018). Assessing the effects of premium subsidies on crop insurance demand: An analysis for grain production in Southern Brazil.
Mahul, O., & Stutley, C. J. (2010). Government support to agricultural insurance: challenges and options for developing countries. World Bank Publications.
Myyrä, S., & Liesivaara, P. (2015). One size policy does not fit all: latent farmer groups in crop insurance markets in Finland. Outlook on AGRICULTURE, 44(4), 297–302.
Njegomir, V., & Rihter, J. D. (2018). The problem of the demand for crop insurance: The case of Serbia. Економика Пољопривреде, 65(3), 995–1014.
Nurmet, M., Lemsalu, K., Poder, A., & others. (2018). Yield risk and the potential for insurance in agriculture. Proceedings of The19th International Scientific Conference “Economic Science for Rural Development, 9–11.
Reyes, C. M., Agbon, A. D., Mina, C. D., & Gloria, R. A. B. (2017). Agricultural insurance program: Lessons from different country experiences. PIDS Discussion Paper Series.
Takahashi, K., Ikegami, M., Sheahan, M., & Barrett, C. B. (2016). Experimental evidence on the drivers of index-based livestock insurance demand in Southern Ethiopia. World Development, 78, 324–340.
Van Asseldonk, M., van der Meulen, H., van der Meer, R., Silvis, H., & Berkhout, P. (2018). Does subsidized MPCI crowds out traditional market-based hail insurance in the Netherlands? Agricultural Finance Review, 78(2), 262–274.
Yamina, L., & Sabrina, K. (2021). The reality of agricultural insurance in Algeria. Economic and Management Research Journal, 15(3), 99–114.
Yusuf, M. Y., Fadhil, R., Bahri, T. S., & Maulana, H. (2021). Comparison study of agricultural insurance government subsidy and farmers’ self-subsistent premium in Indonesia. Economia Agro-Alimentare/Food Economy-Open Access, 23(2).

  1. ข้อมูลจากสมาคมประกันวินาศภัยไทย คำนวณโดยผู้เขียน↩
  2. ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร และสมาคมประกันวินาศภัยไทย คำนวณโดยผู้เขียน↩
  3. สรุปข้อมูลจากการศึกษาของ Ankrah et al. (2021); Baimisheva et al. (2019); Bielza et al. (2007); FAO (2021); FAO (2021); FAO (2022); Finger & Lehmann (2012); Gulati et al. (2018); Hatt et al. (2012); Hess et al. (2016); King & Singh (2020); Kislingerova & Špička (2022); Lavorato & Braga (2018); Mahul & Stutley (2010); Myyrä & Liesivaara (2015); Njegomir & Rihter (2018); Nurmet et al. (2018); Reyes et al. (2017); Yamina & Sabrina (2021); Takahashi et al. (2016); Van Asseldonk et al. (2018); Yusuf et al. (2021)↩
  4. การเปรียบเทียบในที่นี้มีข้อพึงระวัง คือ ข้อมูลที่ใช้ในการสร้างแผนที่นี้เกิดจากการประมวลข้อมูลงานวิจัย 22 การศึกษาในช่วงปี 2550–2565 ด้วยเหตุนี้ข้อมูลที่ปรากฎของแต่ละประเทศจึงอาจมาจากคนละช่วงเวลา รวมถึงอาจมีอคติจากการเลือกตัวอย่างอยู่↩
สุรศักดิ์ เจิดพสุพร
สุรศักดิ์ เจิดพสุพร
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email