Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการต่อไป
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Blogblog
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/92d4ca15c3f0a3b02a5cb14c309bf56f/e9a79/cover.png
18 สิงหาคม 2566
20231692316800000
PIER Statistics Series

ค่าจ้างลูกจ้างในระบบประกันสังคม แยกตามภูมิภาคและอายุ

ธนิสา ทวิชศรี

การกระจายตัวของค่าจ้างสามารถช่วยฉายภาพการกระจุกหรือกระจายตัวของงานในประเทศไทยได้ PIER Stat ชิ้นนี้นำเสนอภาพตัดขวางของค่าจ้างที่ลูกจ้างในระบบประกันสังคมได้รับในเดือนมกราคม 2566 แยกรายมิติภูมิภาคและอายุ

มิติภูมิภาค

ในมิติภูมิภาค มีจำนวนลูกจ้างในระบบประกันสังคมมากที่สุดในกรุงเทพและปริมณฑล รองลงมาในภาคกลาง และน้อยที่สุดในภาคเหนือและภาคใต้ ส่วนการกระจายของค่าจ้างนั้นมีสัดส่วนลูกจ้างที่มีรายได้สูงกว่า 15,000 บาท/เดือนมากที่สุด ในกรุงเทพฯ รองลงมาภาคตะวันออก ส่วนภูมิภาคที่มีสัดส่วนลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างน้อยกว่า 7,800 บาท/เดือนมากที่สุด ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามลำดับ

รูปที่ 1: การกระจายตัวของค่าจ้างลูกจ้างในระบบประกันสังคม รายภูมิภาค ณ เดือน มกราคม 2566
หมายเหตุ: ข้อมูลประกอบไปด้วยค่าจ้างรายเดือนที่ลูกจ้างภาคเอกชนในระบบประกันสังคมทั้งหมด 11.65 ล้านคนได้รับในเดือนมกราคม 2566 ระดับค่าจ้างรายเดือนที่ 7,800, 10,400 13,000 และ 15,000 บาทนั้น หากสมมุติให้ลูกจ้างทำงานโดยเฉลี่ย 26 วันต่อสัปดาห์ ค่าจ้างรายเดือนนี้เท่ากับค่าจ้างที่อัตรา 300, 400, 500, และ 577 บาทต่อวัน ตามลำดับ ที่มา: ข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคม
caution

ภาพนี้แสดงค่าจ้างที่ถูกรายงานกับสำนักงานประกันสังคมเท่านั้น รายได้ที่ลูกจ้างในระบบประกันสังคมได้รับจากแหล่งอื่น ๆ ไม่ได้รวมอยู่ในตัวเลขนี้ ส่วนแรงงานที่เป็นข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรต่างประเทศหรือระหว่างประเทศ ลูกจ้างที่ทำงานที่บ้านที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจ หรือ ลูกจ้างภาคการเกษตร ป่าไม้และประมง ไม่ได้อยู่ในประกันสังคม

มิติอายุ

ในมิติอายุ จากข้อมูลแบบตัดขวาง พบว่า กลุ่มลูกจ้างที่มีอายุสูงกว่าก็มีสัดส่วนที่มีรายได้สูงมากกว่าลูกจ้างในกลุ่มอายุน้อย ซึ่งเป็นไปตามหลักการของสะสมทุนมนุษย์ที่เมื่อลูกจ้างมีอายุมากขึ้น ทำงานแล้วมีทักษะสูงขึ้น จะได้รับค่าจ้างสูงขึ้น อย่างไรก็ดี ยังมีแรงงานจำนวนไม่น้อยที่ถึงแม้จะมีอายุมาก (45 ปีขึ้นไป) แต่ก็ยังได้รับค่าจ้างน้อยกว่า 10,400 ต่อเดือน เป็นสัดส่วนกว่าประมาณร้อยละ 20 ในกรุงเทพฯ และกว่าร้อยละ 50 ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

รูปที่ 2: การกระจายตัวของค่าจ้างของลูกจ้างในประกันสังคม แยกตามกลุ่มอายุ ในแต่ละภูมิภาค ณ เดือนมกราคม 2566
ที่มา: ข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคม

ทั้งนี้ การกระจายตัวของค่าจ้างก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่แตกต่างกันไปรายพื้นที่ อาทิ อุปสงค์ อุปทานของแรงงาน ภาคการผลิตหรืออุตสาหกรรม ภาวะเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ นโยบายภาครัฐโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน และอำนาจการต่อรองของนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งจากภาพข้างต้นเพียงอย่างเดียวยังไม่สามารถบอกได้ว่าปัจจัยใดมีผลต่อการกระจายตัวของค่าจ้างในแต่ละภูมิภาคอย่างไร

ธนิสา ทวิชศรี
ธนิสา ทวิชศรี
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email