Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการต่อไป
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Blogblog
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/4dc8f36225227c3a1a7f5c944bfeae2d/e9a79/cover.png
6 กันยายน 2566
20231693958400000
PIER Digest Series

การสื่อสารของธนาคารกลาง ส่งผลต่อการคาดการณ์เงินเฟ้อของครัวเรือนอย่างไร?

นุวัต หนูขวัญ

ธนาคารกลางทั่วโลกต่างให้ความสำคัญกับการพัฒนาและปรับปรุงการสื่อสารนโยบายการเงิน ทั้งเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินนโยบาย เพื่อดูแลการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายโดยผู้เล่นในตลาดการเงิน และที่สำคัญ เพื่อให้การคาดการณ์เงินเฟ้อของสาธารณชนมีเสถียรภาพ

งานวิจัยในประเทศที่พัฒนาแล้วมักจะพบว่า การสื่อสารของธนาคารกลางส่งผลต่อการคาดการณ์ดอกเบี้ยโดยผู้เล่นในตลาดการเงินได้ค่อนข้างดี แต่เมื่อพิจารณาการคาดการณ์เงินเฟ้อของครัวเรือนแล้ว กลับพบว่าอยู่ในระดับที่สูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางกำหนดไว้ และกระจายตัวสูง นอกจากนี้ ประชาชนจำนวนมากไม่ทราบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลางด้วยซ้ำ (รูปที่ 1) ซึ่งบ่งชี้ว่าการสื่อสารนโยบายการเงินไปที่ประชาชนทั่วไปยังไม่ดีเท่าที่ควร

รูปที่ 1: คนสหรัฐฯ คิดว่าเป้าหมายเงินเฟ้อของ Federal Reserve อยู่ที่เท่าใด?

คนสหรัฐฯ คิดว่าเป้าหมายเงินเฟ้อของ Federal Reserve อยู่ที่เท่าใด?

ที่มา: Coibion et al. (2022)

งานวิจัยของ Coibion et al. (2022) ได้ทำการทดลองสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุม (RCT) กับครัวเรือนในสหรัฐฯ ประมาณ 20,000 ครัวเรือน โดยทดลองให้ข้อมูลเกี่ยวกับเงินเฟ้อและการตัดสินนโยบายการเงินในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 8 รูปแบบ เพื่อประเมินว่าส่งผลให้การคาดการณ์เงินเฟ้อปรับลดลงมาได้มากน้อยเพียงใด ผลการศึกษาพบว่า

การให้ข้อมูลสถิติอย่างง่าย เช่น ข้อมูลเงินเฟ้อล่าสุด เป้าหมายเงินเฟ้อ หรือตัวเลขพยากรณ์เงินเฟ้อในอนาคตของธนาคารกลางเอง ส่งผลต่อการคาดการณ์เงินเฟ้อของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ แต่มีผลในระยะเวลาที่ค่อนข้างสั้น

อย่างไรก็ดี เมื่อให้กลุ่มตัวอย่างอ่านแถลงข่าวผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) หรืออ่านข่าวเกี่ยวกับผลการตัดสินนโยบายการเงินจากหนังสือพิมพ์ (USA Today) ซึ่งพยายามเขียนให้สั้นและเข้าใจง่าย กลับพบว่าไม่ได้ส่งผลดีต่อการคาดการณ์เงินเฟ้อเพิ่มเติม และอาจทำให้ผลดียิ่งลดลงด้วยซ้ำ โดยผู้วิจัยพบสาเหตุเนื่องจากประชาชนไม่ได้เชื่อถือและให้น้ำหนักกับข่าวสารจากหนังสือพิมพ์

นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ยังพบว่า การคาดการณ์เงินเฟ้อของประชาชนที่เปลี่ยนไป มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอย่างมีนัยสำคัญ โดยการคาดการณ์เงินเฟ้อที่สูงขึ้นทำให้ครัวเรือนเร่งการใช้จ่ายโดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีรายได้และการศึกษาสูง อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทน (เช่น รถ บ้าน) กลับลดลง

ผลการศึกษานี้มีนัยเชิงนโยบายที่น่าสนใจเกี่ยวกับการสื่อสารของธนาคารกลางไปยังประชาชนทั่วไป โดยควรเน้นสื่อสารข้อมูลที่เข้าใจง่าย รวมถึงสื่อสารอย่างต่อเนื่องและผ่านช่องทางที่คนเชื่อถือ

เอกสารอ้างอิง

Coibion, O., Gorodnichenko, Y., & Weber, M. (2022). Monetary Policy Communications and Their Effects on Household Inflation Expectations. Journal of Political Economy, 130(6), 1537–1584.
นุวัต หนูขวัญ
นุวัต หนูขวัญ
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email