Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการต่อไป
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Blogblog
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/05e6b67a7a9c5594a89a477ef4f52bea/41624/cover.jpg
9 ตุลาคม 2566
20231696809600000

คนไทยกับพัฒนาการด้านทักษะทางการเงิน

บุญธิดา เสงี่ยมเนตร
คนไทยกับพัฒนาการด้านทักษะทางการเงิน

ทักษะทางการเงิน (financial literacy) คืออะไร?

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า ทักษะทางการเงิน (financial literacy) และอาจเข้าใจว่า คนที่มีทักษะทางการเงินที่ดีหมายถึงคนที่มีความรู้ความเข้าใจใน concept ทางการเงิน และมีความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินเพียงเท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว ทักษะทางการเงินที่ดีจะต้องมีหลายองค์ประกอบ ทั้งความสามารถทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน ความตระหนักรู้ รวมถึงการมีทัศนคติและพฤติกรรมที่ดีที่จะก่อให้เกิดการตัดสินใจทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เองก็ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมทักษะทางการเงินให้แก่ประชาชน และได้ติดตามพัฒนาการระดับทักษะทางการเงินของคนไทยอย่างใกล้ชิด ในการสร้างตัวชี้วัดระดับทักษะทางการเงินของคนไทยนั้นได้ถูกพิจารณาขึ้นจาก 3 องค์ประกอบ ได้แก่

  1. การมีความรู้ทางการเงินที่ดี (Financial knowledge)
  2. การมีพฤติกรรมทางการเงินที่ดี (Financial behavior)
  3. การมีทัศนคติทางการเงินที่ดี (Financial attitude)

ซึ่งสอดคล้องตามแนวทางการสำรวจที่เป็นสากลของ The Organization for Economic Co-operation and Development (OECD)

ที่ผ่านมาระดับทักษะทางการเงินของคนไทยมีพัฒนาการเป็นอย่างไร?

คนไทยมีพัฒนาการด้านทักษะทางการเงินที่ดีขึ้นในทุกช่วงวัย และมีลักษณะเป็น hump shape จากการสำรวจระดับทักษะทางการเงินของคนไทยโดย ธปท. และสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ทักษะทางการเงินของคนไทยในทุกช่วงวัยมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2016–2020 และมีลักษณะเป็น hump shape กล่าวคือ คนมักเพิ่มพูนทักษะทางการเงินตามอายุที่มากขึ้นและจะเริ่มมีทักษะที่แย่ลงเมื่อมีเข้าสู่วัยสูงอายุ (รูปที่ 1) ทั้งนี้ จากภาพรวมการสำรวจระดับทักษะทางการเงินครั้งล่าสุดของไทยเมื่อปี 2020 พบว่าทักษะทางการเงินของคนไทยมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 71 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยการสำรวจของกลุ่มประเทศ OECD ที่ร้อยละ 60.5 แต่ถึงแม้ไทยจะมีค่าเฉลี่ยคะแนนที่ค่อนข้างสูงโดยเปรียบเทียบ แต่ก็ยังมีหลายด้านที่ควรต้องส่งเสริม (ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2020)

รูปที่ 1: ระดับทักษะทางการเงินของคนไทยในแต่ละช่วงวัย

จากการสำรวจพบว่า คนไทยมีคะแนนทัศนคติทางการเงินที่ดี แต่ยังคงด้อยในด้านความรู้ทางการเงิน เมื่อพิจารณาในแต่ละองค์ประกอบของทักษะทางการเงินของคนไทย จะพบว่า คะแนนทักษะทางการเงินในแต่ละด้านมีพัฒนาการที่ดีขึ้น โดยด้านที่คนไทยทำคะแนนได้ดีที่สุดคือ ทัศนคติทางการเงิน ส่วนด้านที่ทำคะแนนได้น้อยที่สุดคือ ความรู้ทางการเงิน (รูปที่ 2)

รูปที่ 2: องค์ประกอบคะแนนทักษะทางการเงิน

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาว่าคนไทยนั้นขาดความรู้ทางการเงินในเรื่องใดเป็นพิเศษ พบว่า มี 3 สิ่งที่คนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ได้แก่

  1. วิธีคำนวณดอกเบี้ยและเงินฝากทบต้น
  2. วิธีการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน
  3. ความเข้าใจและการตระหนักในมูลค่าของเงินตามกาลเวลา

ซึ่ง 3 สิ่งนี้นับเป็นความรู้พื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นต่อการวางแผนและการตัดสินใจทางการเงินส่วนบุคคลและครัวเรือน (รูปที่ 3) นอกจากนี้ หากพิจารณาในด้านพฤติกรรมทางการเงินของคนไทยจะพบว่า คนไทยยังคงด้อยในเรื่องการเปรียบเทียบข้อมูลก่อนการเลือกซื้อ/ใช้บริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงิน (รูปที่ 4)

รูปที่ 3: คะแนนความรู้ทางการเงินแยกตามแต่ละมิติ
รูปที่ 4: คะแนนพฤติกรรมทางการเงินแยกตามแต่ละมิติ

คำถามที่น่าสนใจคือ...คนส่วนใหญ่เรียนรู้และเพิ่มพูนทักษะทางการเงินกันอย่างไร

จากงานวิจัยในต่างประเทศพบว่า คนส่วนใหญ่มักเรียนรู้และสั่งสมทักษะจากประสบการณ์ งานศึกษาของ Hilgert et al. (2003) พบว่า คนส่วนใหญ่เรียนรู้จากประสบการณ์และข้อผิดพลาดทางการเงินของตนเอง โดย Agarwal et al. (2007) พบว่า ความผิดพลาดในการตัดสินใจทางการเงิน (financial mistakes) ของคนจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น และจะเริ่มกลับมาตัดสินใจผิดพลาดมากขึ้นเมื่อเลยวัย 50 ปีไปแล้ว เป็นลักษณะ U shape pattern อย่างไรก็ดี ถึงแม้การเรียนรู้จากประสบการณ์ (learning by doing) จะสามารถช่วยให้คนมีโอกาสตัดสินทางการเงินได้ดีขึ้น แต่การพึ่งกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์เพียงอย่างเดียวอาจใช้ไม่ได้กับทุกกลุ่ม Campbell et al. (2010) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนที่มีความรู้ทางการเงินน้อย รวมถึงกลุ่มที่มีโอกาสจำกัดในการลองผิดลองถูก

แล้วรัฐจะเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมทักษะทางการเงินเพื่อลดโอกาสการก่อ financial mistakes ให้แก่ประชาชนได้อย่างไร

สิ่งแรก ๆ ที่คนมักถึงนึกเมื่อต้องพูดถึงการยกระดับทักษะทางการเงินคือ การจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมทางการเงิน (financial education) แต่จากงานวิจัยที่ผ่านมา เรายังไม่สามารถหาข้อสรุปได้แน่ชัดถึงผลของการฝึกอบรมที่มีต่อทักษะทางการเงินและผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นทางเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากผลสัมฤทธิ์ของการฝึกอบรมขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งรูปแบบหลักสูตร วิธีการสื่อสาร ระยะเวลา และบุคลากรผู้สอน นอกจากนั้น ผู้บริโภคยังมีความหลากหลาย ยากที่จะใช้โปรแกรมที่มีลักษณะ one size fit all อีกทั้งต้นทุนของการฝึกอบรมค่อนข้างสูง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าของโปรแกรมด้วย Hastings et al. (2013)

ส่งท้าย

ท้ายที่สุด จุดหมายปลายทางหลักที่เราอยากเห็นคงไม่ใช่เพียงแค่อยากให้คนมีระดับทักษะทางการเงินที่ดีขึ้น แต่เราอยากเห็นคนในสังคมมีสุขภาพทางการเงินและภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้นด้วย การกระตุ้นให้เกิดสิ่งเหล่านี้ได้ คงไม่สามารถอาศัยแค่กลไกใดกลไกหนึ่งเพียงลำพัง แต่จำเป็นต้องอาศัยแรงผลักจากหลายทางร่วมกัน ผู้ดำเนินนโยบายเองก็ต้องช่วยสนับสนุน ส่งเสริม ทั้งการลงทุนในด้าน financial education ในรูปแบบเหมาะสม การกำกับดูแล การออกนโยบายที่จะช่วยลดอคติด้านพฤติกรรมของคน (behavioral biases) รวมถึงนโยบายที่ช่วยลดต้นทุนการตัดสินใจที่ผู้บริโภคต้องเผชิญในตลาดผลิตภัณฑ์ทางการเงิน Hastings et al. (2013) เพื่อให้คนช่วยให้ผู้บริโภคสามารถจัดการและตัดสินใจทางการเงินได้ดีขึ้น

เอกสารอ้างอิง

Agarwal, S., Driscoll, J. C., Gabaix, X., & Laibson, D. (2007). The age of reason: Financial decisions over the lifecycle. National Bureau of Economic Research Cambridge, Mass., USA.
Campbell, J. Y., Jackson, H. E., Madrian, B. C., & Tufano, P. (2010). The regulation of consumer financial products: an introductory essay with four case studies.
Hastings, J. S., Madrian, B. C., & Skimmyhorn, W. L. (2013). Financial literacy, financial education, and economic outcomes. Annu. Rev. Econ., 5(1), 347–373.
Hilgert, M. A., Hogarth, J. M., & Beverly, S. G. (2003). Household financial management: The connection between knowledge and behavior. Fed. Res. Bull., 89, 309.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2020). รายงานผลสำรวจทักษะทางการเงินของไทย ปี 2563. ธนาคารแห่งประเทศไทย.
บุญธิดา เสงี่ยมเนตร
บุญธิดา เสงี่ยมเนตร
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email