Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการต่อไป
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Blogblog
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/4a9d60f488653a5bd238a8f4ab49a77f/e9a79/cover.png
12 ธันวาคม 2566
20231702339200000
PIER Digest Series

การห้ามการเลือกปฏิบัติในประกาศรับสมัครงานช่วยเพิ่มความเท่าเทียมในตลาดแรงงานได้อย่างไร?

อาชว์ ปวีณวัฒน์
การห้ามการเลือกปฏิบัติในประกาศรับสมัครงานช่วยเพิ่มความเท่าเทียมในตลาดแรงงานได้อย่างไร?

การกำหนดคุณลักษณะของผู้สมัคร เช่น เพศสภาพหรืออายุ ในประกาศรับสมัครงานเคยเป็นเรื่องปกติของการรับสมัครงานในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และประเทศในทวีปยุโรป ก่อนที่จะถูกกำหนดให้เป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา (Kuhn & Shen, 2023) อย่างไรก็ดี การกระทำดังกล่าวยังเป็นเรื่องถูกกฎหมายในอีกหลายประเทศ เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย รัสเซีย รวมถึงไทยด้วย โดย PIER Blog ล่าสุด ได้แสดงหลักฐานของการเลือกปฏิบัติในประกาศรับสมัครงานในประเทศไทย

อย่างไรก็ดี ยังมีคนตั้งคำถามเกี่ยวกับผลลัพธ์ของนโยบายห้ามการเลือกปฏิบัติในประกาศรับสมัครงาน เนื่องจาก

  1. ต่อให้มีกฎหมายห้ามนายจ้างในการระบุเพศสภาพที่ต้องการในประกาศรับสมัครงาน นายจ้างก็อาจพิจารณารับเฉพาะผู้สมัครที่มีเพศสภาพตรงตามที่ต้องการ ทำให้กฎหมายดังกล่าวไม่ได้ผลเท่าที่ควร หรือ
  2. ในกรณีที่นายจ้างมีความตั้งใจดีที่จะเพิ่มความหลากหลายในที่ทำงาน เช่น ต้องการรับพนักงานเพศหญิงเพิ่มขึ้นเนื่องจากพนักงานปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นเพศชาย การห้ามระบุเพศสภาพในประกาศรับสมัครงานอาจให้ผลตรงข้าม เป็นต้น

งานวิจัยของ Kuhn & Shen (2023) ใช้กรณีศึกษาของ XMRC ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มรับสมัครงานออนไลน์ในประเทศจีน ในการศึกษาผลกระทบของนโยบายภาครัฐที่ห้ามการเลือกปฏิบัติในการรับสมัครงาน1 โดยก่อนปี 2019 นายจ้างสามารถระบุเพศสภาพของผู้สมัครที่ต้องการได้เมื่อประกาศรับสมัครงานออนไลน์บนแพลตฟอร์ม XMRC โดยสามารถเลือกเป็นเพศชาย เพศหญิง หรือไม่ระบุ และผู้สมัครจะเห็นข้อความดังกล่าวในประกาศรับสมัครงานซึ่งรวมถึงตอนที่ค้นหา (search) งานที่เหมาะสม ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2019 XMRC ได้ยกเลิกการระบุเพศสภาพของผู้สมัครที่ต้องการในประกาศรับสมัครงานโดยที่ไม่ได้แจ้งให้ทั้งนายจ้างและผู้สมัครทราบล่วงหน้า

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่านโยบายดังกล่าวช่วยลดการเลือกปฏิบัติในตลาดแรงงานได้จริง โดยสามารถเพิ่มสัดส่วนผู้สมัครที่ประสบความสำเร็จและมาจากกลุ่มที่เคยถูกเลือกปฏิบัติในตำแหน่งงานที่ระบุเพศ เช่น ในกรณีของตำแหน่งงานที่เคยระบุว่าต้องการผู้สมัครเพศชาย สัดส่วนของผู้สมัครเพศหญิงที่ได้รับการติดต่อจากนายจ้างต่อผู้สมัครที่ได้รับการติดต่อทั้งหมด2 เพิ่มขึ้นจาก 5% เป็น 8% เป็นต้น โดย Kuhn & Shen (2023) อธิบายว่าความสำเร็จดังกล่าวเกิดขึ้นจากการที่

  1. จำนวนผู้สมัครของตำแหน่งงานที่เคยระบุเพศเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยผู้สมัครที่เพิ่มขึ้นนี้เกือบทั้งหมดมาจากกลุ่มที่เคยถูกเลือกปฏิบัติ (gender-atypical group) เช่น สัดส่วนผู้สมัครเพศหญิงที่สมัครในตำแหน่งที่เคยระบุว่าต้องการผู้สมัครเพศชาย เพิ่มขึ้นจาก 6% เป็น 11%
  2. โอกาสที่ผู้สมัครกลุ่ม gender-atypical ที่เพิ่มขึ้นนี้จะได้รับการติดต่อกลับจากนายจ้างลดลงเพียงเล็กน้อย เช่น โอกาสที่ผู้สมัครเพศหญิงที่สมัครในตำแหน่งที่ระบุว่าต้องการผู้สมัครเพศชายจะได้รับการติดต่อกลับลดลงจาก 87% มาอยู่ที่ 73%
  3. นโยบายดังกล่าวส่งผลให้นายจ้างได้รับใบสมัครจากผู้สมัครที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการ (matched qualifications) เพิ่มมากขึ้น

ผลการศึกษาดังกล่าวยังสะท้อนถึงทัศนคติของนายจ้าง โดยจากผลการศึกษาที่พบว่าจำนวนผู้สมัครจากกลุ่ม gender-atypical เพิ่มสูงขึ้นมาก ในขณะที่อัตราการได้รับการติดต่อกลับลดลงจากเดิมเพียงเล็กน้อย แสดงให้เห็นว่าการระบุเพศสภาพของผู้สมัครที่ต้องการในประกาศรับสมัครงาน ไม่น่าจะเกิดจากอคติของนายจ้างที่มองว่าผู้สมัครเพศหนึ่งมีผลิตภาพ (productivity) สูงกว่าผู้สมัครอีกเพศหนึ่ง3 แต่อาจเกิดจากค่านิยมหรือความเชื่อเดิม ๆ ว่าตำแหน่งงานบางตำแหน่งเหมาะกับพนักงานเพศใดเพศหนึ่งมากกว่า เป็นต้น

นอกจากนี้ Kuhn & Shen (2023) ยังพบว่าสัดส่วนของผู้สมัครเพศชายที่ได้รับการติดต่อในตำแหน่งงานที่เคยระบุว่าต้องการผู้สมัครเพศหญิงนั้นเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นที่มากกว่าสัดส่วนของผู้สมัครเพศหญิงที่ได้รับการติดต่อในตำแหน่งงานที่เคยระบุว่าต้องการผู้สมัครเพศชาย โดยส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ตำแหน่งงานที่ระบุว่าต้องการผู้สมัครเพศชายส่วนมากจะเป็นงานวิชาชีพที่ต้องการทักษะหรือคุณสมบัติเฉพาะด้าน จำนวนผู้สมัครเพศหญิงจึงไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้มากในระยะสั้น เนื่องจากต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นต่อการสมัครงาน ตรงกันข้ามกับงานที่เคยระบุว่าต้องการผู้สมัครเพศหญิงที่เป็นงานเฉพาะด้านน้อยกว่า

โดยสรุป งานวิจัยชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่าการห้ามการเลือกปฏิบัติในประกาศรับสมัครงานช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าสู่ตลาดแรงงานของผู้สมัครงานกลุ่มที่ถูกเลือกปฏิบัติได้ อย่างไรก็ดี นโยบายดังกล่าวเพียงอย่างเดียวยังอาจช่วยแก้ปัญหาในมิติอื่น ๆ เช่น ความเหลื่อมล้ำทางรายได้และความก้าวหน้าในอาชีพได้ไม่มาก เนื่องจากตำแหน่งงานที่มีการระบุเพศของผู้สมัครที่ต้องการส่วนมากเป็นตำแหน่งงานระดับล่างที่จ่ายเงินเดือนไม่สูงนัก4

เอกสารอ้างอิง

Kuhn, P., & Shen, K. (2023). What Happens When Employers Can No Longer Discriminate in Job Ads? American Economic Review, 113(4), 1013–1048.

  1. รัฐบาลจีนออกนโยบายห้ามการประกาศรับสมัครงานโดยระบุเพศสภาพของผู้สมัครที่ต้องการตั้งแต่ปี 2016 และกำหนดโทษปรับสำหรับแพลตฟอร์มที่ไม่ปฏิบัติตาม อย่างไรก็ดี ช่วงเวลาของการบังคับใช้นโยบายดังกล่าวยังมีความแตกต่างกันระหว่างแพลตฟอร์ม โดย XMRC เริ่มถูกบังคับใช้นโยบายดังกล่าวในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2019↩
  2. งานวิจัยนี้มีข้อจำกัดตรงที่ผู้วิจัยทราบแต่เพียงว่าผู้สมัครแต่ละรายได้รับการติดต่อจากบริษัทหรือไม่ แต่ไม่ทราบว่าผู้สมัครรายใดบ้างที่ได้รับ job offer อย่างไรก็ดี เมื่อผู้วิจัยพิจารณาในมิติอื่น ๆ เช่น โอกาสที่ใบสมัครจะถูกอ่าน หรือโอกาสที่ผู้สมัครจะเลิกหางานบนแพลตฟอร์มหลังจากที่ได้รับการติดต่อจากบริษัท ก็ได้ข้อสรุปที่สอดคล้องกัน↩
  3. ถ้าหากการระบุเพศสภาพที่ต้องการเกิดจากอคติของนายจ้างจริง อัตราการได้รับการติดต่อกลับของผู้สมัครกลุ่ม gender-atypical น่าจะลดลงเป็นสัดส่วนกับจำนวนผู้สมัครกลุ่มนี้ที่เพิ่มขึ้น↩
  4. ข้อค้นพบนี้สอดคล้องกับผลการศึกษาของ ณัฐพลและคณะ (2566) ที่พบว่าการระบุเพศของผู้สมัครที่ต้องการนั้น ส่วนมากพบในตำแหน่งงานที่ใช้ทักษะต่ำ↩
อาชว์ ปวีณวัฒน์
อาชว์ ปวีณวัฒน์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email