Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการต่อไป
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Blogblog
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/2ded753b0e51362bedb8b06da504fb3a/e9a79/vat.png
6 มีนาคม 2567
20241709683200000
PIER Statistics Series

ประเทศต่าง ๆ เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราเท่าไหร่?

พิทวัส พูนผลกุล

การจัดเก็บภาษีบนการบริโภค

ภาษีการบริโภค (consumption tax) ประกอบด้วยภาษี 3 ประเภทหลัก ๆ คือ ภาษีการขาย (sales tax) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (value-added tax: VAT) และภาษีสรรพสามิต (excise tax) ซึ่งภาษีการบริโภคนี้ถือเป็นช่องทางสำคัญในการหารายได้ของรัฐบาลทั่วโลก โดยสร้างรายได้เฉลี่ยประมาณ 1 ใน 3 ของรายได้รัฐรวมในกลุ่มประเทศ OECD (Bunn et al., 2021)

สาเหตุที่ภาษีการบริโภคเป็นภาษีที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่วนหนึ่งอาจมาจากคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของภาษีดังกล่าว คือ

  1. รัฐสามารถจัดเก็บได้ง่าย ไม่ซับซ้อน ทำให้รัฐมีต้นทุนในการจัดเก็บภาษีที่ไม่สูง
  2. มีฐานภาษีที่กว้าง จึงเป็นช่องทางสำคัญที่ช่วยสร้างรายรับที่เพียงพอให้กับรัฐ
  3. ไม่กระทบต่อพฤติกรรมมากนัก ต่างจากการเก็บภาษีแบบอื่น เช่น ภาษีรายได้ที่มักกระทบแรงจูงใจในการทำงานหรือภาษีที่คิดจากกำไรจากการขายทรัพย์สินมักกระทบแรงจูงใจลงทุน (Hines Jr, 2007)
  4. เป็นแหล่งรายได้รัฐที่มีความผันผวนค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับรายได้จากภาษีลักษณะอื่น

อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์จำนวนหนึ่งเห็นว่าภาษีการบริโภคหากเป็นภาษีแบบอัตราคงที่ (flat rate) ก็จะมีข้อเสียเพราะผู้มีรายได้น้อยจะจ่ายภาษีคิดเป็นสัดส่วนของรายได้มากกว่าผู้มีรายได้มาก (regressive) (เช่น Fullerton & Rogers, 1996; Jorgenson & Wilcoxen, 1997) ซึ่งก็เป็นเพราะคนรายได้น้อยมักใช้จ่ายมากและออมน้อยเมื่อคิดเป็นสัดส่วนของรายได้นั้นเอง ลักษณะภาษีที่ regressive นี้จึงไม่ดีต่อการกระจายรายได้นัก ส่งผลให้อาจเกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการออกแบบควบคู่กับการเก็บภาษีผ่านช่องทางอื่นด้วย

ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร

รายได้จากภาษีการบริโภคส่วนใหญ่มาจากภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ value-added tax (VAT) ซึ่งเป็นภาษีที่เก็บบนมูลค่าเพิ่มของสินค้า/บริการในแต่ละขั้นของห่วงโซ่อุปทาน ลองพิจารณาตัวอย่างห่วงโซ่อุปทานแบบง่าย ๆ ที่ในห่วงโซ่ประกอบด้วย ผู้ผลิต → ผู้ค้าส่ง → ผู้ค้าปลีก → ผู้บริโภค ในห่วงโซ่ลักษณะนี้ ผู้เล่นแต่ละคนจะต้องนำส่ง VAT ดังต่อไปนี้

ผู้เล่นในห่วงโซ่อุปทานสร้างมูลค่าเพิ่มโดยมูลค่าเพิ่มที่สร้าง (สมมติ)ราคาขาย + VATVAT ที่ต้องนำส่งให้รัฐ
ผู้ผลิตผลิตสินค้า200 บาท200 บาท + 20 บาท20 บาท
ผู้ค้าส่งบรรจุหีบห่อและกระจายสินค้าไปยังท้องถิ่นต่าง ๆ200 บาท400 บาท + 40 บาท20 บาท
ผู้ค้าปลีกตั้งแสดงสินค้าและขายสินค้าให้กับผู้บริโภค100 บาท500 บาท + 50 บาท10 บาท
หมายเหตุ: สมมติ VAT ที่อัตรา 10%; ราคาขายรวม VAT = ราคาขายที่ผู้เล่นในแต่ละขั้นต้องการจะขายบวกด้วย VAT 10%

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า 1) มูลค่า VAT สุดท้ายที่ผู้บริโภคจ่ายจะสะท้อนมูลค่าเพิ่มที่เป็นผลรวมในแต่ละขั้นในห่วงโซ่อุปทานของสินค้า 2) การนำส่ง VAT ของผู้เล่นในห่วงโซ่แต่ละขั้นจะเท่ากับภาษีขาย (มูลค่า VAT ที่เก็บจากผู้เล่นลำดับถัดไปในห่วงโซ่) หักด้วยภาษีซื้อ (มูลค่า VAT ที่จ่ายให้กับผู้เล่นลำดับก่อนหน้าในห่วงโซ่) ซึ่งก็สะท้อนภาษีที่เก็บบนมูลค่าเพิ่มที่ผู้เล่นในลำดับนั้น ๆ สร้างขึ้น ซึ่งการคิดภาษีในลักษณะนี้ก็เพื่อเลี่ยงการเก็บภาษีแบบซ้ำซ้อนหรือที่เรียกกันว่า tax pyramiding นั่นเอง

เปรียบเทียบภาษีมูลค่าเพิ่มทั่วโลกในปัจจุบัน

รูปที่ 1 แสดงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศต่าง ๆ โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย แท่งสีส้มสะท้อนกลุ่มประเทศใน OECD และแท่งสีน้ำเงินสะท้อนประเทศอื่น ๆ โดย VAT เฉลี่ยของกลุ่มประเทศ OECD และกลุ่มประเทศที่ไม่ใช่ OECD อยู่ที่อัตรา 19% และ 15% ตามลำดับ

รูปที่ 1: อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศต่าง ๆ ในกลุ่ม OECD (สีส้ม) และนอกกลุ่ม OECD (สีน้ำเงิน)
ที่มา: OECD, PWC

เอกสารอ้างอิง

Bunn, D., Enache, C., & Boesen, U. (2021). Consumption tax policies in OECD countries. Washington, D. C: Tax Foundation.
Fullerton, D., & Rogers, D. L. (1996). Lifetime effects of fundamental tax reform. Economic Effects of Fundamental Tax Reform, 321–354.
Hines Jr, J. R. (2007). Taxing consumption and other sins. Journal of Economic Perspectives, 21(1), 49–68.
Jorgenson, D. W., & Wilcoxen, P. J. (1997). The long-run dynamics of fundamental tax reform. The American Economic Review, 87(2), 126–132.
พิทวัส พูนผลกุล
พิทวัส พูนผลกุล
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email