Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการต่อไป
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Blogblog
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/4b79d33fbce9b211cc7658c0e2c3fa69/41624/cover.jpg
8 พฤษภาคม 2567
20241715126400000

การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่รุนแรงกับการผิดนัดชำระหนี้เกษตร

ลัทธพร รัตนวรารักษ์ชนกานต์ ฤทธินนท์
การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่รุนแรงกับการผิดนัดชำระหนี้เกษตร

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) ภาวะโลกร้อน และเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว (extreme weather events) ส่งผลต่อภาคเกษตรของไทยที่มีความเปราะบางสูงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ทั้งในมิติของผลิตภาพและผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลง ผลิตภาพแรงงานลดลง และผลต่อมูลค่าของที่ดินทำการเกษตร (ดูเพิ่มเติมในงานศึกษา เช่น Felkner et al., 2009; Pipitpukdee et al., 2020; Jirophat et al., 2022; Ananian, 2023; Thampanishvong et al., 2021) ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศรุนแรง (climate shock) ที่เกิดบ่อยขึ้นหรือรุนแรงขึ้นยังส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อการเพาะปลูก ซึ่งส่งผลกระทบต่อไปยังรายได้ของเกษตรกร และอาจนำไปสู่ปัญหาการชำระคืนหนี้ของเกษตรกรได้

งานวิจัยที่เพิ่งออกในปีนี้ของ Burney et al. (2024) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพอากาศกับการผลิตทางการเกษตร รายได้ และการชำระคืนหนี้ของสินเชื่อเพื่อการเกษตรในประเทศบราซิล โดยได้แยกองค์ประกอบ (decomposition) ของตัวแปรด้านสภาพอากาศ 2 ด้านคืออุณหภูมิและปริมาณน้ำฝน (precipitation) ออกเป็น 5 องค์ประกอบ (รวม 10 ตัวชี้วัด) ได้แก่

  1. ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิและปริมาณน้ำฝนตั้งต้นในแต่ละพื้นที่
  2. ค่าแนวโน้มระยะยาว (time trend)
  3. การเบี่ยงเบนตามฤดูกาลไปจากค่าเฉลี่ย (seasonal deviation)
  4. covariate shocks หรือ shock ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่หรือเกิดกับคนจำนวนมากพร้อมกัน
  5. idiosyncratic shocks หรือ shock ที่เกิดขึ้นเฉพาะกับพื้นที่นั้น ๆ โดยเป็นความผันผวนส่วนที่เหลือที่ไม่สามารถอธิบายได้จากตัวแปรอื่น ๆ

ผลในส่วนของการผิดนัดชำระหนี้ใหม่ (new default) แสดงให้เห็นว่าผลจากฤดูกาล (seasonal deviation) และ idiosyncratic shock จากปริมาณน้ำฝนทั้งในด้านที่ชื้นมากไปหรือแล้งเกินไป สัมพันธ์กับอัตราการผิดนัดชำระหนี้ใหม่ที่เพิ่มขึ้น (รูปที่ 1c 1h และ 1j) ส่วนผลจาก covariate shock นั้นให้ผลไม่เหมือนกัน ซึ่งอาจเป็นเพราะ covariate shock ที่เกิดในวงกว้างพร้อม ๆ กัน อาจมีการคาดการณ์ได้ดีกว่า หรือมีกลไกด้านราคาและประกันที่สามารถเข้ามาช่วยบรรเทาผลกระทบได้ดีกว่า (Burney et al., 2024)

รูปที่ 1: ผลขององค์ประกอบ 5 ด้านของอุณหภูมิและความชื้นต่อการผิดนัดชำระหนี้ใหม่ (new default) ในประเทศบราซิล

ผลขององค์ประกอบ 5 ด้านของอุณหภูมิและความชื้นต่อการผิดนัดชำระหนี้ใหม่ (new default) ในประเทศบราซิล

ที่มา: Burney et al. (2024)หมายเหตุ: ผลที่แสดงเป็น marginal effects ที่ได้จากการวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติ โดยใช้ข้อมูลของเมือง Bahia ในประเทศบราซิลในช่วงปี 2012–2017

สำหรับประเทศไทย รูปที่ 2 แสดงผลการวิเคราะห์เบื้องต้นของความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศรุนแรง (climate shock) กับการผิดนัดชำระหนี้ในสินเชื่อเกษตรโดยใช้ดัชนี Standard Precipitation-Evapotranspiration Index (SPEI) โดย SPEI เป็นดัชนีที่บอกถึงความแห้งแล้ง จากการใช้ข้อมูลปริมาณน้ำฝนและผลของอุณหภูมิต่อการระเหยของน้ำจากพื้นดิน ค่าดัชนีที่เป็นลบแสดงถึงความแห้งแล้ง และค่าที่เป็นบวกแสดงถึงความเปียกชื้น ยิ่งติดลบหรือยิ่งบวกมากจะแสดงถึงความรุนแรงของความแห้งแล้งและฝนตกหนักตามลำดับ การวิเคราะห์นี้ใช้ข้อมูลสินเชื่อจากเครดิตบูโร ในช่วงปี 2018–2022 ในระดับรายจังหวัด รายปี ผลที่พบคล้ายกัน คือสภาพอากาศที่ชื้นมากหรือแล้งมาก มีแนวโน้มสัมพันธ์กับอัตราการผิดนัดชำระหนี้ใหม่ที่สูงกว่าสภาพอากาศปกติ หรือแล้งหรือชื้นเพียงเล็กน้อย

รูปที่ 2: ความสัมพันธ์ระหว่างค่าดัชนี SPEI เฉลี่ย กับการผิดนัดชำระหนี้ใหม่ในสินเชื่อเกษตรของประเทศไทย (2018–2022)

ความสัมพันธ์ระหว่างค่าดัชนี SPEI เฉลี่ย กับการผิดนัดชำระหนี้ใหม่ในสินเชื่อเกษตรของประเทศไทย (2018–2022)

ที่มา: คำนวณโดยผู้เขียนหมายเหตุ: แต่ละจุดแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างดัชนี SPEI และอัตราการผิดนัดชำระหนี้ใหม่ต่อหนึ่งจังหวัดในหนึ่งปี เส้นสีแดงได้จากการประมาณการอัตราการผิดนัดชำระหนี้รายจังหวัดรายปีจากค่าดัชนี 12-month SPEI เฉลี่ยรายจังหวัดด้วยแบบจำลอง fixed-effect panel regression โดยใส่ quadratic term

แต่ดัชนี SPEI นี้เป็นเพียงหนึ่งในเครื่องชี้วัดด้าน climate shock และ climate change ที่มีจำนวนมากและมีรูปแบบที่หลากหลายในปัจจุบัน (ดูเพิ่มเติมใน Pongpech et al., 2022) การนำข้อมูลด้านสภาพภูมิอากาศและสภาพอากาศมาใช้ศึกษาผลต่อตัวแปรทางเศรษฐกิจยังมีความซับซ้อน ทั้งในการเลือกเครื่องมือชี้วัดให้เหมาะสม การเลือกช่วงเวลา วิธีการประมวลผลข้อมูลเชิงพื้นที่ให้สอดคล้องกับลักษณะข้อมูลด้านเศรษฐกิจ รวมไปถึงมิติและองค์ประกอบที่หลากหลายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งแต่ละด้านหรือตัวชี้วัดที่ต่างกันก็อาจส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่เหมือนกัน

เอกสารอ้างอิง

Ananian, S. (2023). Impact of Heat Stress on Labor Productivity and Decent Work.
Burney, J., McIntosh, C., Lopez-Videla, B., Samphantharak, K., & Gori Maia, A. (2024a). Empirical modeling of agricultural climate risk. Proceedings of the National Academy of Sciences, 121(16), e2215677121.
Burney, J., McIntosh, C., Lopez-Videla, B., Samphantharak, K., & Gori Maia, A. (2024b). Supporting Information for Empirical modeling of agricultural climate risk. Proceedings of the National Academy of Sciences, 121(16).
Felkner, J., Tazhibayeva, K., & Townsend, R. (2009). Impact of climate change on rice production in Thailand. American Economic Review, 99(2), 205–210.
Jirophat, C., Manopimoke, P., & Suwanik, S. (2022). The Macroeconomic Effects of Climate Shocks in Thailand (Discussion Paper No. 188). Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.
Pipitpukdee, S., Attavanich, W., & Bejranonda, S. (2020). Climate change impacts on sugarcane production in Thailand. Atmosphere, 11(4), 408.
Pongpech, S., Wasi, N., & Choedpasuporn, S. (2022). ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: วัดจากไหนและตีความอย่างไร? (aBRIDGEd No. 12/2022). Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.
Thampanishvong, K., Attavanich, W., Limmeechokchai, B., & Limsakul, A. (2021). การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในบริบทของไทย (aBRIDGEd No. 15/2021). Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.
ลัทธพร รัตนวรารักษ์
ลัทธพร รัตนวรารักษ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
ชนกานต์ ฤทธินนท์
ชนกานต์ ฤทธินนท์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email