Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการต่อไป
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Blogblog
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/203e4cc9193077dd37366653fda761af/41624/cover.jpg
27 พฤษภาคม 2567
20241716768000000

แรงงานต่างชาติในระบบของไทย

สัดส่วนแรงงานต่างชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จาก 3 ประเทศเพื่อนบ้าน และจีนเป็นหลัก
ธนิสา ทวิชศรี
แรงงานต่างชาติในระบบของไทย

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาลูกจ้างในระบบ (ครอบคลุมโดยประกันสังคม มาตรา 33) ของไทยโตขึ้นร้อยละ 15 จาก 10.2 ล้านคนในปี 2014 เป็น 11.9 ล้านคนในปี 2023 (เพิ่มขึ้น 1.6 ล้านคน) อย่างไรก็ดี กว่าร้อยละ 55 ของลูกจ้างในระบบที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากการโตของจำนวนลูกจ้างที่เป็นแรงงานต่างชาติ (รูปที่ 1)

รูปที่ 1: จำนวนแรงงานในระบบที่เพิ่มขึ้นระหว่างปี 2014 และ 2023
ที่มา: ข้อมูลประกันสังคม คำนวณโดยผู้เขียน

นอกจากนี้ ยังมีสัดส่วนแรงงานต่างชาติในระบบมากขึ้นเรื่อย ๆ จากเดิมเพียงร้อยละ 4 ในปี 2014 สูงขึ้นมาถึง ร้อยละ 11 ในปี 2023 (รูปที่ 2) โดยการเพิ่มขึ้นของแรงงานต่างชาตินั้นเริ่มสูงขึ้นในปี 2017 แต่มาชะลอและลดลงช่วงโควิดในปี 2019–2020 จนปี 2022 จำนวนแรงงานต่างชาติในไทยได้ฟื้นตัวและกลับมาสูงถึงระดับก่อนช่วงโควิดและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในปี 2023 มีจำนวนแรงงานต่างชาติในระบบกว่า 1.3 ล้านคน

รูปที่ 2: สัดส่วนแรงงานต่างชาติในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ปี 2014 ถึง 2023
ที่มา: ข้อมูลประกันสังคม คำนวณโดยผู้เขียน

หากส่องภาพแรงงานต่างชาติในไทยรายสัญชาติ (รูปที่ 3) แรงงานต่างชาติที่มีจำนวน 7 อันดับมากที่สุดในไทย ณ ปี 2023 ได้แก่ พม่า กัมพูชา ลาว จีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินเดีย และสหราชอาณาจักร ตามลำดับ โดยมีแรงงานจากประเทศพม่า กัมพูชา ลาว และ จีนเพิ่มมากที่สุด ส่วนแรงงานจากสหราชอาณาจักร และญี่ปุ่นมีจำนวนน้อยลง

รูปที่ 3: จำนวนแรงงานต่างชาติรายสัญชาติในประกันสังคมมาตรา 33 ปี 2014 ถึง 2023
ที่มา: ข้อมูลประกันสังคม เดือนธันวาคม 2023 คำนวณโดยผู้เขียน

หากฉายภาพสัดส่วนแรงงานต่างชาติตามระดับเงินเดือน (รูปที่ 4) จากข้อมูล ณ เดือนธันวาคม ปี 2023 จะเห็นว่าแรงงานต่างชาติในระบบ 1.3 ล้านคน ได้เงินเดือนน้อยกว่า 15,000 ซึ่งน่าจะเป็นงานทักษะต่ำกว่าร้อยละ 89 และโดยส่วนมากมาจากสามประเทศเพื่อนบ้าน คือ พม่า ลาว และกัมพูชา ส่วนแรงงานที่ได้เงินเดือนมากกว่า 15,000 บาทขึ้นไป ซึ่งน่าจะเป็นแรงงานทักษะกลางถึงสูง มีเพียง 1.5 แสนคน

รูปที่ 4: จำนวนแรงงานต่างชาติรายสัญชาติตามระดับเงินเดือน
ที่มา: ข้อมูลประกันสังคม เดือนธันวาคม 2023 คำนวณโดยผู้เขียน

ทิ้งท้าย

ภาพที่เห็นในบทความนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแรงงานไทยเท่านั้น ลูกจ้างที่ทำงานบ้าน งานเกษตร ประมง ขนส่งทางทะเล หรือองค์กรระหว่างประเทศก็ไม่ได้ครอบคลุมอยู่ในระบบประกันสังคม และยังมีแรงงานนอกระบบอีก อย่างไรก็ดี จากภาพข้างต้นเราพอจะเห็นว่าประเทศไทยมีการพึ่งพาแรงงานต่างชาติในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ แต่แรงงานต่างชาติส่วนใหญ่ยังอยู่ในกลุ่มแรงงานทักษะต่ำ

นอกจากนี้ ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์1ในไม่ช้า อัตราเฉลี่ยการเพิ่มของแรงงานไทยในระบบอยู่ที่เพียงร้อยละ 0.81 ต่อปีในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา2 ในอนาคตอาจต้องมีการพึ่งพาแรงงานต่างชาติมากขึ้น ก็เป็นประเด็นชวนคิดว่าจะมีการปรับตัวในเชิงนโยบาย เช่น การคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการของแรงงานต่างชาติให้ครอบคลุมเพื่อป้องกันปัญหาทางสังคมที่อาจตามมาอย่างไร หรือให้แรงจูงใจเพื่อดึงดูดแรงงานต่างชาติมาทำงานทักษะสูงเพิ่มขึ้นอย่างไร


  1. มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมด↩
  2. คำนวณโดยเฉลี่ย yoy growth rate แรงงานไทยในระบบ ซึ่งมีจำนวน 9.83 ล้านคนในปี 2014 เพิ่มขึ้นเป็น 10.55 ล้านคนในปี 2023 หากคำนวณจากแรงงานไทยในระบบที่เพิ่มขึ้น 7.25 แสนคน จากแรงงานไทยในระบบโตขึ้นร้อยละ 7.4 ใน 10 ปี หรือ ร้อยละ 0.74 ต่อปี↩
ธนิสา ทวิชศรี
ธนิสา ทวิชศรี
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email