Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการต่อไป
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Blogblog
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/e1fee4f1cb6739c3ddfb84885912c9e9/41624/cover.jpg
5 กรกฎาคม 2567
20241720137600000

อัปเดตสกุลเงินหลักของโลก: เงินดอลลาร์สหรัฐฯ และผู้ท้าชิงจากจีน

เจตวัฒน์ ภัทรรังรอง
อัปเดตสกุลเงินหลักของโลก: เงินดอลลาร์สหรัฐฯ และผู้ท้าชิงจากจีน

เศรษฐกิจโลกได้เผชิญกับเหตุการณ์สำคัญทั้งโรคระบาดและสงคราม เช่น สงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งเป็นความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่สร้างความกังวลขึ้นในระบบการเงินโลกภายหลังสหรัฐฯ เข้าแทรกแซงระบบการชำระเงินระหว่างประเทศของรัสเซีย Gita Gopinath รองผู้อำนวยการบริหารคนแรกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ได้กล่าวว่า “ความสัมพันธ์ของเศรษฐกิจโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่รูปแบบที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามเย็น” ซึ่ง Gita พบว่า บางประเทศกำลังประเมินความเสี่ยงจากการพึ่งพาสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อให้สอดรับกับความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ในอนาคต (Gopinath, 2024)

สถานะของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จึงเริ่มถูกเปรียบเทียบกับผู้ท้าชิงล่าสุดต่อการเป็นสกุลเงินหลักของโลก ซึ่งก็คือเงินหยวน เนื่องจากเศรษฐกิจจีนมีอัตราการเติบโตที่สูงต่อเนื่อง จนในปี 2023 เศรษฐกิจจีนมีขนาดใหญ่ถึง 17% ของเศรษฐกิจโลก และเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับ 2 รองจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีขนาด 26% ของเศรษฐกิจโลก จึงไม่แปลกนักที่ข่าวเงินหยวนอาจถูกใช้เป็นสกุลเงินหลักแทนเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีมากขึ้น

รูปที่ 1: สัดส่วนสกุลเงินในการชำระเงินในระบบ SWIFT

สัดส่วนสกุลเงินในการชำระเงินในระบบ SWIFT

ที่มา: Gopinath (2024)หมายเหตุ: เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังมีอิทธิพลมากที่สุด ส่วนเงินหยวนถูกใช้เพิ่มขึ้นจากสัดส่วนที่ต่ำมาก

ข้อมูลล่าสุดจากระบบชำระเงินระหว่างประเทศหรือ SWIFT (รูปที่ 1) ชี้ว่า แม้ว่าสัดส่วนการใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในการชำระเงินระหว่างประเทศจะเริ่มลดลงตั้งแต่ต้นปี 2022 ในขณะที่เงินหยวนถูกใช้งานเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า แต่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงมีอิทธิพลเหนือกว่าเงินหยวนและมีสัดส่วนการใช้มากที่สุด โดยคิดเป็นกว่า 80% ของมูลค่าการชำระเงินระหว่างประเทศ เนื่องจากการค้าโลกโดยเฉพาะสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ยังคงตั้งราคาและรับชำระเงินในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการเข้ามามีบทบาทของเงินหยวนนั้น ยังเป็นการเพิ่มขึ้นจากสัดส่วนที่ต่ำมาก แม้พิจารณาการชำระเงินเฉพาะในกลุ่มประเทศคู่ค้าของจีน (China Bloc) กลับพบว่า เงินหยวนถูกใช้เพียง 8% ของมูลค่าการชำระเงินทั้งหมดเท่านั้น

ด้านเงินสำรองระหว่างประเทศ บทความของ Arslanalp et al. (2024) พบว่า ช่วง 20 ปีที่ผ่านมา สัดส่วนเงินสำรองที่อยู่ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับลดลงมาอยู่ต่ำกว่า 60% ของเงินสำรองระหว่างประเทศทั่วโลก (รูปที่ 2 ซ้ายมือ) บ่งชี้ว่าธนาคารกลางต่าง ๆ เริ่มทยอยลดการถือเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และทดแทนด้วยการถือเงินสำรองที่ไม่ใช่ 4 สกุลเงินหลักเพิ่มขึ้น (รูปที่ 2 ขวามือ) อาทิ ดอลลาร์ออสเตรเลีย ดอลลาร์แคนาดา และเงินหยวน ซึ่งการถือเงินหยวนเพิ่มขึ้นมามีสัดส่วนถึง 1 ใน 4 ของการถือเงินสำรองที่ไม่ใช่ 4 สกุลเงินหลัก เหตุการณ์นี้ได้สะท้อนถึงนโยบายส่งเสริมการใช้เงินหยวนในระดับสากลของรัฐบาลจีนในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ สัดส่วนเงินหยวนในเงินสำรองระหว่างประเทศยังอยู่ในระดับต่ำมาก คือ ไม่ถึง 3% ของมูลค่าเงินสำรองทั่วโลกและสัดส่วนได้ปรับลดลงตั้งแต่ปี 2022

รูปที่ 2: สัดส่วนสกุลเงินสำรองที่ใช้ในเงินสำรองระหว่างประเทศ

สัดส่วนสกุลเงินสำรองที่ใช้ในเงินสำรองระหว่างประเทศ

ที่มา: Arslanalp et al. (2024)หมายเหตุ: Nontraditional คือ สกุลเงินสำรองที่ไม่ใช่สกุลเงินหลัก 4 สกุล โดยสกุลเงินหลัก ได้แก่ ดอลลาร์สหรัฐฯ ยูโร ปอนด์ และเยน; สำหรับรูปขวา สกุลเงิน AUD คือ ดอลลาร์ออสเตรเลีย, CAD คือ ดอลลาร์แคนาดา, RMB คือ เงินหยวน

การลดลงของการถือเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อาจเกิดจากสถานการณ์ในบางประเทศที่เงินสำรองมีขนาดใหญ่ เช่น ธนาคารกลางรัสเซียที่ลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์เพิ่มสัดส่วนการถือยูโร ดังนั้น หากไม่รวมรัสเซียและสวิตเซอร์แลนด์ เท่ากับว่าสัดส่วนเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในเงินสำรองระหว่างประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทั้งนี้ นอกเหนือจาก 2 ด้านที่กล่าวมา Gopinath & Itskhoki (2022) พบว่า เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังมีสัดส่วนการใช้งานมากที่สุดในการกู้และฝากเงินระหว่างประเทศ รวมถึงหนี้สินระหว่างประเทศเช่นกัน (รูปที่ 3)

รูปที่ 3: สกุลเงินในระบบการเงินโลก

สกุลเงินในระบบการเงินโลก

ที่มา: Gopinath & Itskhoki (2022)

โดยสรุป เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังมีสถานะเป็นสกุลเงินหลักของระบบการเงินโลก และเงินหยวนยังห่างไกลกับการเป็นสกุลเงินหลักของโลกแทนเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ความพยายามในการลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังมีอยู่ เช่น การผลักดันการใช้เงินสกุลเงินท้องถิ่นแทนเงินดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับการค้าระหว่างประเทศในกลุ่มประเทศ BRICS ซึ่งมีจีนเป็นสมาชิก ดังนั้น ไทยควรบริหารสัดส่วนของสกุลเงินในระบบการเงินและเงินสำรองระหว่างประเทศอย่างเหมาะสม เพื่อรองรับการแบ่งขั้วอำนาจและให้สอดรับกับความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์และทิศทางการค้าการลงทุนโลกที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแล้ว

เอกสารอ้างอิง

Arslanalp, S., Eichengreen, B., & Simpson-Bell, C. (2024). Dollar Dominance in the International Reserve System: An Update [IMF Blog]. International Monetary Fund.
Gopinath, G. (2024). Geopolitics and its Impact on Global Trade and the Dollar.
Gopinath, G., & Itskhoki, O. (2022). Dominant Currency Paradigm: a review. In Handbook of International Economics (pp. 45–90). Elsevier.
เจตวัฒน์ ภัทรรังรอง
เจตวัฒน์ ภัทรรังรอง
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email