Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการต่อไป
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Blogblog
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/0f39f2c3e326d7a8de28b528e72d3cdb/41624/cover.jpg
14 สิงหาคม 2567
20241723593600000

คนไทยพร้อมแค่ไหนกับการเกษียณอายุ

บุญธิดา เสงี่ยมเนตร
คนไทยพร้อมแค่ไหนกับการเกษียณอายุ

เราพร้อมแค่ไหนกับการเกษียณ

คนไทยส่วนใหญ่ยังขาดความพร้อมในการเกษียณอายุ หากพิจารณาความพร้อมของประชากรไทยจากดัชนีความพร้อมเพื่อการเกษียณ (National Retirement Readiness Index: NRRI)1 พบว่า ในปี 2023 ดัชนี NRRI ของประชากรไทยมีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ที่ 49.30 (จากคะแนนเต็ม 100) ซึ่งปรับตัวลดลงจากปี 2020 ที่มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 56.70 ยิ่งไปกว่านั้น หากเราพิจารณาดัชนีย่อยที่สะท้อนความมั่นคงทางด้านการเงิน (F-IRR) ร่วมด้วย เราจะพบอีกว่า คนไทยมีความมั่นคงทางด้านการเงินอยู่ในระดับต่ำ โดยดัชนีย่อย F-IRR มีคะแนนเฉลี่ยเพียง 38.40 (ลดลงจากปี 2020 ที่มีค่าเฉลี่ยที่อยู่ 48 คะแนน) (Pisedtasalasai et al., 2023; Budsaratragoon et al., 2021) สะท้อนให้เห็นว่า คนไทยมีความพร้อมต่อการเกษียณอายุลดลง

นอกจากนี้ เรายังพบสัญญานที่สะท้อนว่า คนไทยมีแนวโน้มที่จะวางแผนสำหรับเก็บออมเพื่อใช้ในยามชราน้อยลง จากการสำรวจพฤติกรรมทางการเงินของครัวเรือนไทยของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานสถิติแห่งชาติระหว่างปี 2018–2022 พบว่า ในปี 2022 มีคนเพียง 16% ที่วางแผนเก็บออมเพื่อการเกษียณและสามารถทำได้ตามแผนที่ตั้งใจไว้ ซึ่งคนกลุ่มนี้มีสัดส่วนลดลงจากปี 2020 (18%) และ 2018 (19%) ในทางกลับกัน คนที่ยังไม่ได้คิดหรือวางแผนเก็บออมเพื่อเกษียณอายุเลยกลับมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นเป็น 19% (จากเดิม 15% ในปี 2020 และ 17% ในปี 2018) (รูปที่ 1)

รูปที่ 1: สัดส่วนคนที่คิดวางแผนเก็บออมไว้สำหรับยามชรา/เกษียณอายุ จำแนกตามสถานะ
ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณโดยผู้เขียน

ข้อสังเกตที่น่าสนใจอีก 3 ประการที่สะท้อนถึงความไม่พร้อมในการเกษียณอายุของคนไทยจากข้อมูล (รูปที่ 2) ได้แก่

  1. กลุ่มคนที่เกษียณอายุแล้ว (อายุ 61 ปีขึ้นไป) ที่สามารถเก็บออมได้ตามแผนที่ตั้งใจไว้ มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 21–22 เมื่อเทียบกับคนในช่วงวัยเดียวกัน
  2. กลุ่มคนที่เกษียณอายุแล้ว แต่ยังไม่สามารถเก็บออมได้ตามแผนที่ตั้งใจ มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 42–47 เมื่อเทียบกับคนในช่วงวัยเดียวกัน
  3. สัดส่วนของคนในวัยใกล้เกษียณ (ช่วงอายุ 51–60 ปี) รวมถึงคนที่เกษียณอายุแล้ว ที่ยังไม่ได้คิดวางแผนเก็บออมเพื่อยามชราภาพเลย มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 15–21 เมื่อเทียบกับกลุ่มคนในช่วงวัยเดียวกัน
รูปที่ 2: สัดส่วนคนที่คิดวางแผนเก็บออมไว้สำหรับยามชรา/เกษียณอายุ ในปี 2022 จำแนกตามช่วงอายุ
ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณโดยผู้เขียน

อย่างไรก็ดี เป็นที่ทราบกันดีว่าจุดเริ่มต้นของแผนเกษียณอายุที่ดีนั้นเริ่มต้นจากการมีพฤติกรรมทางการออมที่ดี แล้วที่ผ่านมาสถานการณ์การออมคนไทยเป็นเช่นไร…

การออมของคนไทย

ที่ผ่านมาเราพบว่า ผู้มีเงินออมเผื่อฉุกเฉินในระดับที่เหมาะสมมีจำนวนลดลง (Bank of Thailand, 2022) จากการสำรวจของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ในปี 2022 ผู้มีเงินออมเผื่อฉุกเฉินตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 22 ลดลงจากปี 2020 ที่มีสัดส่วนร้อยละ 27 ในขณะที่จำนวนผู้มีเงินออมเผื่อฉุกเฉินที่สามารถอยู่ได้ไม่เกิน 3 เดือนกลับมีสัดส่วนปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2018 (ตารางที่ 1)

ตารางที่ 1: สัดส่วนผู้มีเงินออมเผื่อฉุกเฉินในแต่ละระดับ
คำถาม: หากท่านต้องหยุดทำงานกะทันหันโดยไม่มีกำหนด ท่านคิดว่าเงินออมที่ท่านสะสมจากอดีตจนถึงปัจจุบันจะนำมาเป็นค่าใช้จ่ายของท่านได้นานเท่าไหร่ (โดยมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนเท่าเดิม)
ระดับเงินออมเผื่อฉุกเฉินปี 2018ปี 2020ปี 2022
ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ44%33%28%
น้อยกว่า 1 สัปดาห์4%5%5%
ไม่ถึง 3 เดือน20%25%32%
ไม่ถึง 6 เดือน8%11%12%
ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป24%27%22%
ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณโดยผู้เขียน

นอกจากนี้ คนส่วนใหญ่ยังนิยมเลือกเก็บออมเงินด้วยวิธีที่ไม่ซับซ้อนและ low risk - low return คนที่เลือกออมในผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความซับซ้อนยังคงมีจำนวนน้อย จากการสำรวจในปี 2022 พบว่า คนไทยส่วนใหญ่มักเลือกเก็บออมเงินเป็นเงินสดและเงินฝาก มีคนส่วนน้อยเพียงร้อยละ 2.6 เท่านั้นที่เลือกเก็บออมผ่านการลงทุนเพื่อผลตอบแทนที่สูงขึ้นอย่างการลงทุนในพันธบัตร หุ้น หรือกองทุนรวม (Bank of Thailand, 2022)

สิ่งที่น่าสนใจคือ หากเราพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนทักษะทางการเงินและวิธีการเก็บออมของคนแต่ละกลุ่มจะพบว่า กลุ่มคนที่มีระดับทักษะทางการเงิน (financial literacy) สูงมีแนวโน้มที่จะเก็บออมในผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความซับซ้อนมากกว่ากลุ่มคนที่มีระดับทักษะทางการเงินที่ต่ำกว่า (Bank of Thailand, 2022) (รูปที่ 3)

รูปที่ 3: เปรียบเทียบระดับทักษะทางการเงินและวิธีการเก็บออมเงินของคนแต่ละกลุ่มในปี 2022
ที่มา: Bank of Thailand (2022)หมายเหตุ: ตัวอย่างที่สำรวจสามารถเลือกตอบวิธีการออมได้มากกว่า 1 วิธี

ทักษะทางการเงินจึงนับเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้คนสามารถวางแผนการออม/การลงทุนภายใต้ตลาดที่มีความซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมทักษะทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินส่วนตัว (personal finance) มีส่วนช่วยให้คนสามารถตัดสินใจและวางแผนทางการเงิน (Lusardi & Messy, 2023; Kaiser & Lusardi, 2024) รวมถึงวางแผนเกษียณ (Lusardi & Mitchell, 2007; Van Rooij et al., 2012) ของตนเองได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดี การส่งเสริมทักษะทางการเงินในกลุ่มผู้ใหญ่ไม่ใช้เรื่องง่าย การฝึกอบรมผู้ใหญ่ในลักษณะ classroom-based setting และใช้ rules of thumb อาจไม่ตอบโจทย์ทุกครั้งเสมอไปเนื่องจากคนมีเป้าหมายและความต้องการที่แตกต่างกัน

ส่งท้าย

คนไทยส่วนใหญ่ยังขาดความพร้อมในการเกษียณ คนมีการวางแผนเก็บออมเพื่อการเกษียณล่าช้า การจะอาศัยแต่เบี้ยคนชราจากรัฐเพื่อยังชีพในบั้นปลายชีวิตคงไม่เพียงพอ นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในการรับมือกับสังคมสูงวัยในอนาคต

ดังนั้น การเตรียมความพร้อมให้ตนเองเพื่อการเกษียณอย่างมีคุณภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญ เริ่มต้นตั้งแต่วันนี้จากการวางแผนและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางการเงิน เลือกออม/ลงทุนเพื่อการเกษียณด้วยวิธีการที่เหมาะสม

ท้ายที่สุดแล้ว การเตรียมความพร้อมในการเกษียณก็คงเปรียบเสมือนการวิ่งมาราธอน ที่ต้องอาศัยวินัย ความสม่ำเสมอ และการวางแผนที่ดี เพื่อจะพาไปสู่ปลายทางที่เราสามารถออกแบบได้เอง

เอกสารอ้างอิง

Bank of Thailand. (2022). รายงานผลสำรวจทักษะทางการเงินของไทย ปี 2565. Bank of Thailand.
Budsaratragoon, P., Asavaroungpipop, N., Pisedtasalasai, A., Ratanabanchuen, R., Seelajaroen, R., & Sae-Sue, T. (2021). ดัชนีความพร้อมเพื่อการเกษียณ: การจัดทำ และการประยุกต์ใช้เชิงนโยบาย (1st ed.). Chulalongkorn Business School.
Kaiser, T., & Lusardi, A. (2024). Financial literacy and financial education: An overview.
Lusardi, A., & Messy, F.-A. (2023). The importance of financial literacy and its impact on financial wellbeing. Journal of Financial Literacy and Wellbeing, 1(1), 1–11.
Lusardi, A., & Mitchell, O. S. (2007). Baby boomer retirement security: The roles of planning, financial literacy, and housing wealth. Journal of Monetary Economics, 54(1), 205–224.
Pisedtasalasai, A., Asavaroungpipop, N., Ratanabanchuen, R., Seelajaroen, R., & Tanawit Sae-Sue. (2023). ดัชนีชี้วัดความพร้อมเพื่อการเกษียณ ปี 2566. Chulalongkorn Business School.
Van Rooij, M. C., Lusardi, A., & Alessie, R. J. (2012). Financial literacy, retirement planning and household wealth. The Economic Journal, 122(560), 449–478.

  1. ดัชนีชี้วัดความพร้อมเพื่อการเกษียณ หรือ NRRI เป็นดัชนีที่สะท้อนความพร้อมในการเกษียณของประชากรในระดับบุคคล คลอบคลุมทั้งในมิติของความมั่นคงทางการเงิน (F-RRI) และความมั่นคงด้านสุขภาพ/คุณภาพชีวิต (Q-RRI) ดัชนี NRRI ถูกจัดทำขึ้นโดยภาควิชาการธนาคารและการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Budsaratragoon et al., 2021)↩
บุญธิดา เสงี่ยมเนตร
บุญธิดา เสงี่ยมเนตร
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email