Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการต่อไป
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Blogblog
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/c3034e06fd0156800b62c71b21451849/41624/cover.jpg
22 สิงหาคม 2567
20241724284800000

สูตรคำนวณสิทธิประโยชน์กองทุนชราภาพประกันสังคม: รายจ่ายที่ (จะ) มากกว่ารายรับ

พิทวัส พูนผลกุล
สูตรคำนวณสิทธิประโยชน์กองทุนชราภาพประกันสังคม: รายจ่ายที่ (จะ) มากกว่ารายรับ

บทความนี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจรายรับรายจ่ายของกองทุนชราภาพและสงเคราะห์บุตรของประกันสังคม (กองทุนฯ)1 ผ่านการแสดงการคำนวณแบบง่าย ๆ โดยจะพยายามแสดงให้เห็นว่าทำไม “รายจ่าย” จึงจะค่อย ๆ สูงกว่า “รายรับ” หากกองทุนไม่ได้รับการปรับเปลี่ยน

“รายรับ” และ “รายจ่าย” ของกองทุนฯ มาจากไหน?

กองทุนฯ ใช้รายรับจากเงินสมทบของผู้ประกันตนรุ่นปัจจุบันเพื่อจ่ายสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตนที่สูงอายุ (pay-as-you-go) โดยเราสามารถเขียนรายรับและรายจ่ายของกองทุนฯ แต่ละปีในแบบง่าย ๆ ได้ว่า

สูตรคำนวณรายรับและรายจ่ายของกองทุนฯ

รายรับ = (จำนวนผู้ประกันตนที่สมทบ x เงินสมทบของแต่ละคน) + ผลตอบแทนจากการลงทุน
รายจ่าย = จำนวนผู้ได้รับสิทธิประโยชย์ x มูลค่าสิทธิประโยชน์ของแต่ละคน

เห็นได้ว่า 3 ปัจจัยสำคัญที่กำหนดว่ารายรับเพียงพอกับรายจ่ายหรือไม่นั้น คือ

  1. จำนวนผู้ประกันตนเทียบกับผู้ได้รับสิทธิประโยชน์
  2. สูตรการคำนวณเงินเก็บสมทบและสิทธิประโยชน์
  3. ผลตอบแทนจากการลงทุน

ซึ่งกองทุนฯ จำเป็นต้องคำนึงถึงทั้ง 3 ปัจจัย เพื่อรักษารายรับให้เพียงพอกับรายจ่าย และคำนึงว่าปัจจัยใดที่กองทุนสามารถปรับเปลี่ยนได้หรือไม่ได้ โดยในบทความนี้มุ่งเน้นให้ผู้อ่านเข้าใจสูตรคำนวณซึ่งเป็นปัจจัยที่กองทุนฯ สามารถกำหนดและปรับเปลี่ยนได้ โดยจะแสดงให้เห็นว่าทำไมสูตรคำนวณปัจจุบันจึงเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่จะทำให้รายจ่ายของกองทุนฯ ในอนาคตจะสูงกว่ารายรับ

สูตรคำนวณเงินสมทบและสิทธิประโยชน์ของกองทุนฯ

รายรับของกองทุนฯ มาจากเงินสมทบจาก 3 ฝ่าย คือลูกจ้างในระบบ 3% นายจ้าง 3% รัฐบาล 1% รวมเป็น 7% โดยคิดจากเงินเดือนที่ไม่เกินเพดานเงินเดือนที่ 15,000 บาท นอกจากนี้ กองทุนฯ ยังมีรายรับจากการนำเงินสมทบดังกล่าวไปลงทุน ซึ่งช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2019–2023) ได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.27% ต่อปี

รายจ่ายของกองทุนฯ เป็นการจ่ายสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตนในรูปแบบของบำเหน็จหรือบำนาญ มีรายละเอียดดังนี้

  • กรณีสมทบ 180 เดือน เงินบำนาญ = (20% + 1.5% x (จำนวนปีที่สมทบ-15 ปี)) x ค่าเฉลี่ยของเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย
  • กรณีสมทบน้อยกว่า 180 เดือน แต่มากกว่า 12 เดือน จะได้เงินส่วนสมทบของตนเองและนายจ้าง
  • กรณีส่งสมทบน้อยกว่า 12 เดือน จะได้รับเพียงส่วนสมทบของตนเองกลับคืนไป

โดยอายุที่เริ่มขอบำนาญได้คือ 55 ปี และจะได้ไปตลอดชีวิต

รูปที่ 1: ตัวอย่างรายรับที่กองทุนฯ ได้รับและรายจ่ายกองทุนฯ สัญญาที่จะให้กับผู้ประกันตนหนึ่งคนที่มีเงินเดือน 10,000 บาทต่อเดือน ตัดสินใจเกษียณตอนอายุ 55 ปี และมีอายุขัยอยู่ที่ 75 ปี
ที่มา: คำนวณโดยผู้เขียนหมายเหตุ: รายรับรายจ่ายในรูปยังไม่รวมผลตอบแทนจากการลงทุนและไม่รวมรายรับของคนรุ่นถัดไป

“รายจ่าย” ที่จะมากกว่า “รายรับ”

แล้วสูตรรายรับรายจ่ายข้างต้นมีปัญหาอะไร?

สูตรดังกล่าวสัญญาที่จะจ่ายสิทธิประโยชย์สูงเกินกว่าที่น่าจะเป็นไปได้เมื่อเทียบกับรายรับที่มาจากผู้ประกันตนคนหนึ่ง ๆ2 บทความนี้จะวาดภาพช่องว่างระหว่างรายรับและรายจ่ายที่มาจากสูตรคำนวณ โดยยังไม่คำนึงถึงผลจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร โดยจะใช้วิธีการมองสองแบบ

แบบที่ 1 วัดจากดุลสุทธิของกองทุนฯ ณ สิ้นอายุขัยของผู้ประกันตน

วิธีนี้เหมือนเป็นการถามว่า หากกองทุนฯ ได้รับเงินสมทบแล้วนำไปลงทุน แล้วจ่ายบำนาญออกตามสูตรสิทธิประโยชน์ข้างต้น กองทุนฯ จะมีเงินเหลือเท่าไหร่เมื่อสิ้นอายุขัยของผู้ประกันตนแต่ละคน รูปที่ 2 แสดงดุลสุทธิดังกล่าว (ดุลค่าเป็นลบสะท้อนเงินที่ไม่เพียงพอ) ซึ่งเปลี่ยนแปลงตามจำนวนปีที่สมทบ อายุขัย และเงินเดือน ซึ่งเห็นได้ว่ารายจ่าย (แถวที่ 2 จากซ้าย) มีระดับสูงกว่ารายรับรวม (แถวซ้ายสุด) อยู่มาก และจะสูงขึ้นสำหรับผู้ประกันตนที่สบทบนานขึ้น ส่งผลให้ดุลสุทธิของกองทุนต่อผู้ประกันตนที่ได้รับบำนาญคนหนึ่ง ๆ จะติดลบ ณ สิ้นอายุของผู้ประกันตนคนนั้น ๆ (แถวกลาง)

รูปที่ 2: ดุลสุทธิของกองทุนฯ ณ สิ้นอายุขัย
ที่มา: คำนวณโดยผู้เขียนหมายเหตุ: กรณีที่รวมดอกเบี้ย ใช้อัตราดอกเบี้ย 3.27% กับทั้งเงินลงทุนและเงินกู้ยืมในกรณีที่รายจ่ายเริ่มสูงกว่ารายรับ

เราอาจจะถามต่อว่า แม้รายรับของกองทุนฯ จะน้อยกว่ารายจ่าย แต่การที่กองทุนสามารถนำเงินไปลงทุนสร้างรายรับเพิ่มเติมได้จะช่วยให้มีเงินเพียงพอหรือไม่ ข้อมูลสองแถวด้านขวามือของรูปที่ 2 สะท้อนดุลสุทธิของกองทุนฯ โดยสมมติให้สามารถนำเงินไปลงทุนได้ผลตอบแทนที่ 3.27% ต่อปี (ค่าเฉลี่ยผลตอบแทนจริงระหว่าง 2019–2023) โดยผู้ประกันตนที่สมทบจนถึงอายุ 55 ปี (เช่นกลุ่มคนที่ทำงานในระบบอยู่แล้วเมื่อเริ่มจัดตั้งกองทุนฯ) หมายถึงกองทุนจะมีเวลาลงทุนสั้นกว่า และมีดุลสุทธิที่น้อยกว่า เมื่อเทียบกับผู้ประกันตนที่สมทบตั้งแต่อายุ 25 ปี (เช่น กลุ่มคนที่เริ่มทำงานหลังมีการจัดตั้งกองทุนฯ แล้ว โดยกลุ่มคนเหล่านี้บางส่วนย้ายออกไปทำงานนอกระบบเมื่ออายุมากขึ้น) เห็นได้ว่าแม้จะคำนึงถึงผลตอบแทนจากการลงทุน ดุลสุทธิของกองทุนฯ ยังคงติดลบ ณ สิ้นอายุขัยของผู้ประกันตนที่ได้รับบำนาญ

แบบที่ 2 วัดจากผลตอบแทนที่กองทุนฯ ต้องได้รับเพื่อให้สามารถจ่ายบำนาญให้ผู้ประกันต้นได้พอดีจนสิ้นอายุขัย (Internal Rate of Return: IRR)

วิธีนี้เป็นการคำนวณว่ากองทุนฯ จะต้องมีผลตอบแทนเท่าใดเพื่อที่จะทำให้เงินที่ได้รับจากการสมทบเพียงพอต่อภาระที่ต้องจ่ายบำนาญพอดี รูปที่ 3 แสดงผลตอบแทนดังกล่าวซึ่งเปลี่ยนแปลงตามจำนวนปีที่สมทบ อายุขัย และเงินเดือน เทียบกับผลตอบแทนจริงเฉลี่ย 5 ปีซึ่งอยู่ที่ 3.27% ต่อปี ภาพซ้ายแสดงกรณีที่ผู้ประกันตนสมทบจนถึงอายุ 55 ปี ภาพขวาแสดงกรณีที่สมทบตั้งแต่อายุ 25 ปี

IRR ของผู้ประกันตนที่สมทบตั้งแต่อายุ 25 ปี จะปรับสูงขึ้นตามปีที่สมทบ เป็นผลจากมูลค่าบำนาญต่อปีที่สูงขึ้นและจากการที่กองทุนฯ จะมีเวลาในการนำเงินไปลงทุนที่สั้นลงระหว่างการสิ้นสุดการสมทบและก่อนเริ่มจ่ายสิทธิประโยชน์ สำหรับผู้ประกันตนที่สมทบถึงอายุ 55 ปี การที่สมทบนานขึ้นกองทุนฯ จะมีระยะเวลาในการลงทุนมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ IRR ปรับลดลง ทั้งนี้ ในทุกกรณีที่ผู้ประกันตนได้รับบำนาญ กองทุนจำเป็นต้องลงทุนสูงกว่าผลตอบแทนเฉลี่ยที่ผ่านมามากเพื่อให้กองทุนมีเงินเพียงพอในการจ่ายสิทธิประโยชน์ตามที่สัญญาไว้

รูปที่ 3: อัตราผลตอบแทนต่อปีที่ประกันสังคมต้องลงทุนได้
ที่มา: คำนวณโดยผู้เขียน

จากทั้งสองวิธีข้างต้น เราเห็นได้ว่ายิ่งคนสมทบนาน (กรณีเริ่มสมทบตั้งแต่อายุน้อย) และมีอายุขัยนานขึ้น ยิ่งทำให้เงินกองทุนไม่เพียงพอ เห็นแบบนี้แล้ว เมื่อเรามองว่าในกองทุนฯ มีผู้ประกันตนลักษณะดังกล่าวนับล้านคนที่กองทุนสัญญาจะจ่ายผลตอบแทนตามสูตรข้างต้น เราคงจะจินตนาการผลจากสูตรคำนวณเงินสมทบและการให้สิทธิประโยชน์ต่อภาพของความไม่ยั่งยืนของกองทุนได้ไม่ยากนัก3 สามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับระบบประกันสังคมได้ใน Wasi et al. (2020)

เอกสารอ้างอิง

Wasi, N., Devahastin Na Ayudhya, C., Porapakkarm, P., Lekfuangfu, N., & Piyapromdee, S. (2021). Putting an Economic Framework into Thailand’s Pension Reform (Discussion Paper No. 157). Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.
Wasi, N., Porapakkarm, P., Lekfuangfu, N., & Piyapromdee, S. (2020). ทำอย่างไร จะสูงวัย แบบไม่ยากจน: ตอนที่ 1 ระบบประกันสังคมไทย (aBRIDGEd No. 22/2020). Puey Ungphakorn Institute for Economic Research.

  1. บทความนี้สมมติว่ารายรับเข้ากองทุนถูกใช้สำหรับการจ่ายสิทธิประโยชน์ชราภาพทั้งหมดเพื่อให้ง่ายกับการทำความเข้าใจ↩
  2. ยกเว้นเสียแต่กองทุนจะมีจำนวนผู้ประกันตนในอนาคตเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ในบริบทสังคมสูงวัยของไทย หรือหากกองทุนฯ มีการปรับเพดานเงินสมทบและเงินเดือนของผู้ประกันตนในอนาคตมีการปรับสูงขึ้นมาก (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน Wasi et al. (2021))↩
  3. ในปัจจุบัน ผู้ประกันตนในกองทุนส่วนใหญ่อยู่ในช่วงที่สมทบเงินเข้ากองทุน และยังมีสัดส่วนคนที่ได้รับบำนาญไม่มากนัก กองทุนจึงยังอยู่ได้ และปัญหาดังกล่าวจะเห็นชัดและรุนแรงขึ้นในอนาคต↩
พิทวัส พูนผลกุล
พิทวัส พูนผลกุล
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email