Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการต่อไป
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Blogblog
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/ef2de766d11216f24287dea7f1847199/41624/cover.jpg
26 ธันวาคม 2567
20241735171200000

การเปลี่ยนงานและการยื่นขอรับสิทธิประกันการว่างงานในช่วงก่อนและหลังวิกฤตโควิด

ชนกานต์ เหลืองภิรมย์นฎา วะสี
การเปลี่ยนงานและการยื่นขอรับสิทธิประกันการว่างงานในช่วงก่อนและหลังวิกฤตโควิด

การเปลี่ยนงานและกลับเข้างานใหม่ของลูกจ้างนั้นเป็นเรื่องปกติของตลาดแรงงาน ธุรกิจที่ดำเนินการได้ดีก็มักจะมีการขยายขนาด ขณะที่ธุรกิจที่มีผลการดำเนินการไม่ดีหรือเริ่มเอาเทคโนโลยีมาทดแทนแรงงานก็อาจจะมีการลดจำนวนลูกจ้างลง บทความนี้จะขอเล่าถึงข้อเท็จจริงสามประการจากข้อมูลของลูกจ้างในระบบจากสำนักงานประกันสังคมในช่วงก่อนและหลังวิกฤตโควิด โดยเจาะไปที่กลุ่มลูกจ้างที่ออกจากบริษัทที่มีลูกจ้างออกจากงานพร้อมกันอย่างน้อย 50 คนในเดือนนั้น ๆ โดยคาดว่าการที่ลูกจ้างกลุ่มนี้ออกจากงานพร้อม ๆ กันน่าจะมาจากการปลดลูกจ้างครั้งใหญ่ของบริษัท (mass layoffs)1

ข้อที่ 1 อัตราการกลับเข้างานของลูกจ้างในระบบในปี 2023 กลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนวิกฤตโควิดแล้วโดยอัตราลูกจ้างที่กลับเข้ามาทำงานภายใน 1 ปีอยู่ที่ประมาณร้อยละ 45

รูปที่ 1 แสดงอัตราการกลับเข้ามาทำงานในระบบของกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวตามระยะเวลานับหลังจากออกจากงาน โดยลูกจ้างกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ออกจากบริษัทที่น่าจะมาจากการปลดลูกจ้างครั้งใหญ่ ข้อมูลที่แสดงเป็นภาพจากเดือนกรกฎาคมของทุก ๆ ปีตั้งแต่ปี 2018–2023

ในก่อนและหลังวิกฤตโควิด จำนวนลูกจ้างกลุ่มที่โดนปลดออกพร้อม ๆ กันมีประมาณ 160,000–190,000 คนต่อเดือน โดยสัดส่วนลูกจ้างที่สามารถกลับเข้ามาทำงานในระบบภายในเดือนแรกอยู่ที่ประมาณร้อยละ 26–33 และสัดส่วนที่สามารถกลับเข้ามาภายใน 6 เดือน เพิ่มเป็นร้อยละ 44–46 อย่างไรก็ดี สัดส่วนการกลับเข้ามาในระบบของลูกจ้างไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนักหลังจากนั้น นั่นคือ หากลูกจ้างออกจากตลาดแรงงานไปเกิน 6 เดือนแล้วนั้นโอกาสที่จะกลับเข้ามาในระบบค่อนข้างน้อย (ข้อมูลช่วงปี 2016–2017 ก็แสดงภาพคล้ายกัน)

รูปที่ 1 สัดส่วนการกลับเข้างานในระบบของกลุ่มที่น่าจะถูกปลดออกจากงาน
ที่มา: คณะผู้วิจัยคำนวณจากข้อมูลของสำนักงานประกันสังคม

ทั้งนี้ เส้นสีฟ้าที่อยู่ด้านบนสุด แสดงสัดส่วนการกลับเข้าระบบของลูกจ้างในปี 2021 ที่สูงกว่าปีอื่น ๆ ซึ่งน่าจะมาจากการที่มีลูกจ้างโดนปลดออกจากงานจำนวนมากในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนั้น และน่าจะเป็นการปลดออกจากงานชั่วคราว และเมื่อดูว่าลูกจ้างที่กลับเข้ามาในระบบ กลับมาที่บริษัทเดิมหรือย้ายไปที่บริษัทใหม่ สัดส่วนลูกจ้างที่กลับเข้ามาในบริษัทเดิมในช่วงปี 2021 ก็คิดเป็นร้อยละ 41 ซึ่งสูงกว่าช่วงก่อนและหลังวิกฤตโควิดที่ลูกจ้างส่วนใหญ่ที่กลับเข้ามาในระบบจะย้ายไปบริษัทใหม่ มีเพียงร้อยละ 15–20 ที่กลับมาที่บริษัทเดิม

ข้อที่ 2 แม้สัดส่วนลูกจ้างที่มีสิทธิได้เงินทดแทนจากโครงการประกันการว่างงานค่อนข้างคงที่ แต่หลังจากวิกฤตโควิด สัดส่วนลูกจ้างที่ขอรับสิทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ซึ่งน่าจะมาจากการอนุญาตให้ผู้ว่างงานสามารถขึ้นทะเบียนและรายงานตัว online ได้

โครงการประกันการว่างงานนั้นเป็นหนึ่งในสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนมาตรา 33 ผู้ประกันตนจะมีสิทธิได้เงินทดแทนการว่างงาน เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือนภายใน 15 เดือนก่อนว่างงาน และว่างงาน 8 วันขึ้นไป ในกรณีที่ออกจากงานโดยสมัครใจจะได้รับเงินทดแทนร้อยละ 30 ของค่าจ้าง และขอรับสิทธิในช่วงที่ว่างงานได้ไม่เกิน 90 วัน ส่วนกรณีถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้าง และขอรับสิทธิในช่วงที่ว่างงานได้ไม่เกิน 180 วัน (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในบทความ "ใคร ๆ ก็ไม่อยากว่างงานจริงหรือ: ภาพจากข้อมูลประกันสังคม")2

รูปที่ 2 สัดส่วนผู้ที่มีสิทธิรับเงินทดแทนการว่างงาน และสัดส่วนที่มายื่นขอรับสิทธิ
ที่มา: คณะผู้วิจัยคำนวณจากข้อมูลของสำนักงานประกันสังคมคณะผู้วิจัยคำนวณจากข้อมูลของสำนักงานประกันสังคม โดยการมีสิทธิรับเงินทดแทนการว่างงานคำนวณจากการที่ลูกจ้างคนดังกล่าวอยู่ในระบบอย่างน้อย 6 เดือนภายในหนึ่งปีก่อนที่จะออกจากงาน

ตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นสัดส่วนผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการว่างงานค่อนข้างคงที่ อยู่ที่ร้อยละ 70–80 มาตลอด(เส้นสีส้ม) ขณะที่สัดส่วนผู้ที่มาขอรับสิทธิช่วงก่อนวิกฤตโควิดอยู่ที่ประมาณร้อยละ 20 และเพิ่มขึ้นเป็นเกือบร้อยละ 60 ในช่วงปี 2021 (เส้นสีเขียว) และลดมาเป็นร้อยละ 30 ในช่วงปี 2022–2023

ทั้งนี้ แม้แนวโน้มของการเข้าออกจากงานจะกลับมาอยู่ในระดับเดิมแล้ว แต่การที่สัดส่วนผู้มาขอรับสิทธิเพิ่มขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการขึ้นทะเบียนและรายงานตัวทำได้ง่ายขึ้น จากเดิมที่ผู้ยื่นขอรับสิทธิต้องขึ้นทะเบียนหางานกับกรมการจัดหางานและมารายงานตัวที่สาขาของสำนักงานประกันสังคมตามกำหนดทุกเดือน แต่ตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด สำนักงานประกันสังคมอนุญาตให้ผู้ว่างงานขึ้นทะเบียนและรายงานตัวตามกำหนดนัดผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของสำนักงานจัดหางานได้ โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สาขา

ข้อที่ 3 ลูกจ้างกลุ่มที่ออกจากงานในสัดส่วนที่สูงเป็นกลุ่มที่ค่าจ้างต่ำและอายุต่ำกว่า 30 ปี แต่ลูกจ้างกลุ่มนี้ไม่ได้ยื่นขอรับสิทธิประกันว่างงานมากนัก

รูปที่ 3 แสดงการกระจายตัวของค่าจ้างสำหรับลูกจ้างกลุ่มต่าง ๆ ณ เดือนกรกฎาคม 2023 โดยแถวล่างสุดเป็นค่าจ้างของผู้ประกันตนมาตรา 33 ทั้งหมด ซึ่งประมาณร้อยละ 40 มีค่าจ้าง 15,000 บาทต่อเดือนหรือสูงกว่านั้น และมีเพียงร้อยละ 10 มีค่าจ้างต่ำกว่า 7,800 บาทต่อเดือน ภาพการกระจายตัวของค่าจ้างของบริษัทที่มีการปลดลูกจ้างออกจำนวนมากก็ยังใกล้เคียงกัน [2]

อย่างไรก็ดี หากเจาะไปดูเฉพาะกลุ่มลูกจ้างที่ออกจากงานนั้น แถว [3]-[5] เกือบถึงร้อยละ 50 เป็นกลุ่มที่ค่าจ้างต่ำกว่า 7,800 บาท ซึ่งเป็นไปได้ว่า กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ทำงานเป็นสัญญาจ้างชั่วคราวหรือผลิตภาพเริ่มต่ำกว่าค่าจ้างซึ่งใกล้เคียงกับค่าจ้างขั้นต่ำ ภาพการกระจายตัวของค่าจ้างของกลุ่มที่กลับเข้ามาและไม่กลับเข้ามาในระบบนั้น ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก

นอกจากนี้ หากเปรียบเทียบกลุ่มที่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการว่างงานและผู้ไม่มีสิทธิ แถว [6]-[7] และผู้ที่ยื่นขอรับประกันว่างงานและมีสิทธิแต่ไม่ได้มายื่นขอรับสิทธิ์ แถว [8]-[9] ก็จะเห็นว่า ลูกจ้างกลุ่มที่มีค่าจ้างต่ำยังมีแนวโน้มที่จะไม่ได้อยู่ในตลาดแรงงานนานพอที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากการว่างงาน และมีแนวโน้มที่จะไม่ได้ยื่นขอรับสิทธิเงินทดแทนการว่างงาน นอกจากนี้ ในมิติของอายุ แม้ว่ากลุ่มลูกจ้างที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี จะมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 34 ของผู้ประกันตนทั้งหมด แต่กลับมีสัดส่วนถึงร้อยละ 60 ของกลุ่มที่โดนให้ออกจากงาน

รูปที่ 3 การกระจายตัวของค่าจ้างสำหรับลูกจ้างกลุ่มต่าง ๆ ณ เดือนกรกฎาคม 2023

บทความนี้ แสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพลวัตของตลาดแรงงานบางประเด็น ผู้ที่สนใจอาจจะสามารถศึกษาวิจัยต่อยอดได้ ตัวอย่างเช่นสาเหตุของการออกจากงานของกลุ่มลูกจ้างที่มีค่าจ้างต่ำและอายุน้อย การยื่นขอรับสิทธิประกันว่างงานในสัดส่วนที่น้อยของลูกจ้างบางกลุ่ม หรือผลของการรับสิทธิประกันว่างงานที่มากขึ้นต่อระยะเวลาว่างงานและสวัสดิภาพของแรงงาน


  1. จากข้อมูลประกันสังคม เราไม่สามารถทราบสาเหตุการออกจากงานที่แท้จริงได้ ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นการสมัครใจลาออกเอง นิยามของ mass layoff ที่ใช้ปรับมาจากนิยามของ US Bureau of Labor Statistics ซึ่งวัด mass layoff จากการที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งมีลูกจ้างจำนวน 50 คนขึ้นไปยื่นขอสิทธิประกันว่างงานภายใน 5 สัปดาห์↩
  2. แต่ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด สำนักงานประกันสังคมได้ขยายสิทธิประโยชน์ประกันว่างงาน กรณีที่ออกจากงานโดยสมัครใจจะได้รับเงินทดแทนร้อยละ 45 ของค่าจ้าง และขอรับสิทธิได้ไม่เกิน 90 วัน ส่วนกรณีถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินทดแทนร้อยละ 70 ของค่าจ้าง และขอรับสิทธิได้ไม่เกิน 200 วัน และมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายถึงขนาดที่ผู้ประกันตนไม่สามารถทำงานได้หรือนายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ ↩
ชนกานต์ เหลืองภิรมย์
ชนกานต์ เหลืองภิรมย์
บริษัทศรีตรังแอโกรอินดัสทรี
นฎา วะสี
นฎา วะสี
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email