Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Weather Fluctuations and Economic Growth at Subnational Level: Evidence from Thailand
Discussion Paper ล่าสุด
Weather Fluctuations and Economic Growth at Subnational Level: Evidence from Thailand
Measuring the Inflation Impact Across Two Successive U.S. Tariff Rounds
PIER Blog ล่าสุด
Measuring the Inflation Impact Across Two Successive U.S. Tariff Rounds
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
PIER Research Workshop ประจำปี 2568
งานประชุมเชิงปฏิบัติการต่อไป
PIER Research Workshop ประจำปี 2568
Central Bank Reviews
งานสัมมนาล่าสุด
Central Bank Reviews
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับทุนสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ประจำปี 2568 รอบที่ 1
ประกาศล่าสุด
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับทุนสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ประจำปี 2568 รอบที่ 1
PIER Blogblog
QR code
Year
2025
2024
2023
2022
...
/static/f6b9c30752bb801bb58b38898aa5ea04/41624/cover.jpg
21 กรกฎาคม 2568
20251753056000000

การประเมินผลกระทบของมาตรการภาษีสองครั้งล่าสุดของสหรัฐฯ ต่อเงินเฟ้อ

จินต์จุฑา สง่าแสงภากร นันทอารี
การประเมินผลกระทบของมาตรการภาษีสองครั้งล่าสุดของสหรัฐฯ ต่อเงินเฟ้อ
note

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2568 ศาสตราจารย์อัลแบร์โต คาวัลโล (Alberto Cavallo) จาก Harvard Business School ได้บรรยายหัวข้อ “Tariffs and U.S. Inflation” ณ ธนาคารแห่งประเทศไทย การบรรยายครั้งนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ของเงินเฟ้อในสหรัฐฯ รวมถึงผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมของนโยบายภาษีนำเข้าใหม่ ศาสตราจารย์คาวัลโลเป็นหนึ่งในนักวิชาการแนวหน้าที่ศึกษาเรื่องพลวัตของเงินเฟ้อในโลกยุคใหม่ โดยเฉพาะผลของนโยบายการค้าประเภทต่าง ๆ เช่น ภาษีนำเข้า อีกทั้งยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง PriceStats แพลตฟอร์มที่รวบรวมข้อมูลราคาสินค้าออนไลน์รายวันจากทั่วโลก บทความนี้สรุปประเด็นหลักบางส่วนจากการบรรยายของศาสตราจารย์คาวัลโล และไม่ได้สะท้อนความคิดเห็นของผู้เขียน ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์แต่อย่างใด

ศาสตราจารย์คาวัลโลวิเคราะห์สถานการณ์เงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในปัจจุบัน โดยอ้างอิงจากข้อมูลของ PriceStats เขาระบุว่าแม้สหรัฐฯ จะมีเงินเฟ้อต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2567 แต่ระดับของเงินเฟ้อก็ยังอยู่ในระดับไม่น่ากังวลมากนัก ทว่าเมื่อเจาะลึกลงไปในระดับรายอุตสาหกรรม กลับพบข้อมูลที่อาจชี้จุดควรเฝ้าระวัง โดยเฉพาะในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2568 หลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าล่าสุด อุตสาหกรรมที่พึ่งพาการนำเข้าจากจีนเป็นหลัก เช่น เครื่องใช้ภายในบ้านและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มีอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอย่างมีนัยสำคัญ ในทางตรงกันข้าม ภาคขนส่งรวมถึงราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกลับมีอัตราเงินเฟ้อต่ำและทำให้สภาวะเงินเฟ้อโดยรวมดูไม่สูงมากนัก

บทเรียนจากสงครามภาษีระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนในปี พ.ศ. 2561–2562

เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ในปัจจุบัน ศาสตราจารย์คาวัลโลเปรียบเทียบสถานการณ์ปัจจุบันกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนในช่วงปี พ.ศ. 2561–2562 โดยในปี พ.ศ. 2564 เขาตีพิมพ์งานวิจัยเรื่อง “Tariff Pass-Through at the U.S. Border and at the Store” ซึ่งมุ่งตอบคำถามสำคัญว่า “ใครคือผู้แบกรับภาระภาษีในท้ายที่สุด” ศาสตราจารย์คาวัลโลอธิบายสาเหตุที่สหรัฐฯ กลายเป็นฝ่ายที่ต้องแบกรับภาระภาษีแม้ผลกระทบต่อผู้บริโภคชาวอเมริกันจะไม่สูงมากนักไว้ดังนี้

สาเหตุแรกคือ ศาสตราจารย์คาวัลโลพบว่า ผู้นำเข้าสหรัฐฯ เป็นผู้รับภาระภาษีส่วนใหญ่ซึ่งตรงกันข้ามกับคำกล่าวอ้างของรัฐบาลทรัมป์ว่าผู้ส่งออกจีนจะเป็นฝ่ายแบกภาระภาษี ยกตัวอย่างเช่น ภาษีนำเข้า 20% จะทำให้ราคาสินค้าที่ผู้นำเข้าสหรัฐฯ ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น 18.4% โดยเฉลี่ย ในขณะที่ผู้ส่งออกจีนแทบไม่ลดราคาลงเพื่อรักษาระดับการส่งออกของจีนเลย ศาสตราจารย์คาวัลโลตั้งสมมติฐานว่า สาเหตุอาจเป็นเพราะต้นทุนของผู้ส่งออกจีนตึงตัวอยู่แล้ว หรือผู้นำเข้าสหรัฐฯ ไม่สามารถหาสินค้าทดแทนสินค้าจีนได้ทำให้พวกเขาจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าจีนต่อไปแม้ต้องเผชิญราคาที่สูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม กำแพงภาษีที่สูงขึ้นอาจไม่ได้ทำให้ราคาสินค้าในขายปลีกสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเสมอไป ศาสตราจารย์คาวัลโลพบว่า ภาษีจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าขายปลีกอย่างมีนัยสำคัญเมื่อภาษีนั้นสูงมากพอหรือภาษีนั้นเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ยกตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตเครื่องซักผ้าสามารถขึ้นราคาเครื่องซักผ้าได้มากกว่าสินค้าชนิดอื่นที่ถูกตั้งกำแพงภาษีสูงใกล้เคียงกันแต่เป็นที่รู้จักน้อยกว่า เขาเสนอว่าเป็นเพราะบริษัทที่เป็นที่รู้จักในวงกว้างสามารถชี้แจงต่อผู้บริโภคได้ง่ายว่าทำไมจึงจำเป็นต้องขึ้นราคาสินค้า จึงสามารถลดโอกาสการเสียลูกค้าจากการปรับราคาสินค้าที่สูงขึ้นได้ นอกจากนี้ ภาษีในอัตราสูง เช่น 20% มักกระตุ้นให้มีการปรับราคา ขณะที่ภาษีที่ต่ำกว่า เช่น 10% มักมีผลกระทบเล็กน้อย

สาเหตุที่สองคือ บริษัทในสหรัฐฯ มีการ "เร่งนำเข้าสินค้าล่วงหน้า" ก่อนการปรับขึ้นภาษีจะมีผล และยอมรับภาระต้นทุนโดยหวังว่าภาษีจะมีผลเพียงชั่วคราว นอกจากนี้ ยังมีการเบี่ยงเบนแหล่งนำเข้า ส่งผลให้สัดส่วนการนำเข้าจากจีนลดลงจาก 90% เหลือ 70% พฤติกรรมเหล่านี้มีส่วนช่วยจำกัดการส่งผ่านต้นทุนไปยังผู้บริโภคสหรัฐฯ ในช่วงเวลาดังกล่าว

สาเหตุที่สามคือ ผู้ส่งออกของสหรัฐฯ ต้องลดราคาสินค้าประมาณ 7% เพื่อตอบโต้กับภาษีตอบโต้จากต่างประเทศ ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 15%

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากภาษีรอบปัจจุบันในปีพ.ศ. 2568 เนื่องจากความไม่แน่นอนและกำแพงภาษีที่สูงขึ้น

ศาสตราจารย์คาวัลโลคาดการณ์ว่าจะกำแพงภาษีระลอกปัจจุบันจะส่งผลกระทบต่างออกไปจากรอบที่ผ่าน ๆ มา เขาสันนิษฐานว่าผลของต้นทุนที่สูงขึ้นจากภาษีจะส่งผ่านไปยังผู้บริโภคในอัตราที่สูงและเร็วขึ้น ซึ่งศาสตราจารย์คาวัลโลสนับสนุนข้อสันนิษฐานนี้ด้วยเหตุผลหลายประการ ดังนี้

  1. ความเชื่อของภาคธุรกิจที่เปลี่ยนไป กล่าวคือ เชื่อว่านโยบายภาษีรอบใหม่ของทรัมป์จะมีผลยาวนาน ต่างจากในอดีตที่เชื่อว่ากำแพงภาษีจะอยู่เพียงชั่วคราว เนื่องจากในสมัยที่ผ่านมาของรัฐบาลไบเดน สหรัฐฯ ยังคงภาษีบางส่วนจากยุครัฐบาลทรัมป์ไว้

  2. สภาพแวดล้อมหลังการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้ภาคธุรกิจมีความยืดหยุ่นในการตั้งราคามากขึ้น และพร้อมปรับราคาให้สอดคล้องกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น

  3. ขนาดของภาษีรอบปัจจุบันที่สูงกว่ารอบก่อนมาก โดยเฉพาะภาษีตอบโต้สินค้าจากจีนที่สูงถึง 125% ในขณะที่รอบแรกในยุครัฐบาลทรัมป์มีไม่ถึง 10% และเพิ่มขึ้นเป็น 20% ภายใต้รัฐบาลไบเดน

งานวิจัยล่าสุดของศาสตราจารย์คาวัลโล ซึ่งติดตามข้อมูลราคาสินค้าจากผู้ค้าปลีกรายใหญ่ของสหรัฐฯ แสดงให้เห็นว่ามีการปรับราคาสินค้านำเข้าที่ได้รับผลกระทบจากภาษีอย่างรวดเร็ว แม้จะเป็นการปรับขึ้นในระดับปานกลางก็ตาม

นอกจากนี้ ราคาสินค้าที่สูงขึ้นจากผลของภาษียังส่งผลกระทบลุกลามไปยังสินค้าภายในประเทศที่ไม่ได้อยู่ภายใต้ภาษีโดยตรง สะท้อนถึงแรงกดดันด้านต้นทุนที่กว้างขึ้น หรือการมีอำนาจการตั้งราคาที่สูงขึ้นของผู้ผลิตในประเทศ เมื่อตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้า พบว่าสินค้าจากจีนมีแนวโน้มราคาสูงขึ้นอย่างชัดเจน ขณะที่สินค้าจากแคนาดาและเม็กซิโกค่อนข้างคงที่ ซึ่งอาจสะท้อนการคาดการณ์ของตลาดว่าสหรัฐฯ มุ่งเป้าไปที่จีนเป็นหลัก หรืออาจมีข้อตกลงทางการค้ากับสองประเทศเพื่อนบ้าน

แม้จะมีผลกระทบเฉพาะจุดในบางกลุ่มสินค้า ศาสตราจารย์คาวัลโลเน้นย้ำว่า ผลรวมของภาษีต่ออัตราเงินเฟ้อในภาพรวมยังคงจำกัดอยู่ เว้นแต่จะเกิดแรงกระแทกทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น ซึ่งจะเปิดช่องให้ภาคธุรกิจใช้เป็นเหตุผลในการปรับขึ้นราคาสินค้าได้มากขึ้น นอกจากนี้ แม้ “shrinkflation” หรือการลดขนาดสินค้าจะเป็นที่พูดถึงในสื่อ ศาสตราจารย์คาวัลโลกลับไม่พบหลักฐานว่าปรากฏการณ์นี้แพร่หลาย ในทางตรงกันข้าม เขาชี้ให้เห็นถึง “cheapflation” หรือการที่สินค้าราคาถูกมีราคาสูงขึ้นเร็วกว่าสินค้าราคาสูง เนื่องจากผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมไปซื้อของราคาถูกมากขึ้นในช่วงที่เงินเฟ้อสูง

ท้ายที่สุด ข้อค้นพบของศาสตราจารย์คาวัลโลบ่งชี้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจไม่จำเป็นต้องกังวลมากนักเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่เกิดจากภาษีนำเข้าในระยะสั้น ซึ่งอาจเปิดช่องให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคต อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนที่คงอยู่ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้กำหนดนโยบายต้องคำนึงถึง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ผู้อ่านสามารถศึกษาจากบทความวิจัยของศาสตราจารย์คาวัลโลเรื่อง “Tracking the Short-Run Price Impact of U.S. Tariffs”

จินต์จุฑา สง่าแสง
จินต์จุฑา สง่าแสง
นักศึกษาฝึกงาน
ภากร นันทอารี
ภากร นันทอารี
นักศึกษาฝึกงาน
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email