Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Not Over the Hill: Exploring the Digital Divide among Vulnerable Older Adults in Thailand
Discussion Paper ล่าสุด
Not Over the Hill: Exploring the Digital Divide among Vulnerable Older Adults in Thailand
Beveridge curve: ตัวชี้วัดสำคัญของตลาดแรงงานและสภาวะเศรษฐกิจ
aBRIDGEd ล่าสุด
Beveridge curve: ตัวชี้วัดสำคัญของตลาดแรงงานและสภาวะเศรษฐกิจ
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Central Bank Reviews
งานสัมมนาล่าสุด
Central Bank Reviews
International Policy Forum on Climate Finance
งานประชุมเชิงนโยบายล่าสุด
International Policy Forum on Climate Finance
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับทุนสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ประจำปี 2568 รอบที่ 1
ประกาศล่าสุด
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับทุนสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ประจำปี 2568 รอบที่ 1
PIER Research Briefsbriefs
QR code
Year
2024
2023
2022
2021
...
12 ตุลาคม 2564
20211633996800000

โครงสร้างเศรษฐกิจสังคมไทย: ความเปราะบางท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง

สุพริศร์ สุวรรณิกธนิสา ทวิชศรี

เนื้อหาการบรรยายในงาน PIER Research Brief นี้ ถูกกลั่นกรองจากบทความ โครงสร้างเศรษฐกิจสังคมไทย: ความเปราะบางท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง

ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในบริบทโลกใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม งานวิจัยนี้ฉายภาพ 5 ความเปราะบางของเศรษฐกิจไทย และอีก 1 ความเปราะบางทางสังคมที่ประเทศไทยต้องเผชิญจากความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นเหล่านี้

ประการแรก เศรษฐกิจไทยเปราะบางต่อความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะการพึ่งพาต่างประเทศในระดับสูง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ความเปราะบางจากการพึ่งพิงจีนและสหรัฐอเมริกาในหลายด้าน อาทิ การส่งออกไปยังสองประเทศที่มีมูลค่ารวมกันเกือบ 1 ใน 3 ของการส่งออกทั้งหมด การท่องเที่ยวที่พึ่งพิงนักท่องเที่ยวจีนสูงถึง 28% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด

ประการที่สอง หากปรับตัวไม่ทัน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่อาจทำให้ไทยตกขบวนรถไฟได้ โดยคณะผู้วิจัยยกตัวอย่างความเปราะบางของโครงสร้างการส่งออกไทย ที่พบว่ามีมูลค่าเพิ่มที่ไทยสร้างได้อยู่ในระดับกลาง ๆ เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีขั้นกลางและขั้นสูง ชี้ให้เห็นว่าการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างชาติมายังธุรกิจไทยยังมีไม่สูงนัก

ประการที่สาม ภาวะโลกร้อนจะส่งผลใหญ่หลวงต่อไทยหากไม่เร่งปรับตัวตั้งแต่วันนี้ โดยคณะผู้วิจัยยกตัวอย่างที่อาจยังไม่เคยกล่าวถึงกันมากนัก คือความเปราะบางของภาคอุตสาหกรรมไทยที่กระจุกตัวอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น โดยมากกว่า 1 ใน 3 ของแรงงานนอกภาคเกษตรทั้งประเทศ มากกว่า 20% ของจำนวนสถานประกอบการ และมากกว่า 10% ของธุรกิจในอุตสาหกรรมส่งออกหลัก อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว

ประการที่สี่ การเข้าสู่สังคมสูงอายุส่งผลต่อโครงสร้างเศรษฐกิจไทยหลายด้าน โดยหากมองความเปราะบางของโครงสร้างแรงงานไทย พบว่ามีสัดส่วนแรงงานสูงวัย (มากกว่า 50 ปี) เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าในช่วงไม่ถึง 20 ปีที่ผ่านมา โดยเพิ่มจาก 3.4% ในปี 2545 มาสูงถึง 9.9% ในปี 2562

ประการที่ห้า วิกฤตโควิด 19 ได้สร้างหลายแผลเป็นต่อเศรษฐกิจไทย ตัวอย่างสำคัญคือ ความเปราะบางทางการเงินของครัวเรือนไทยที่เพิ่มขึ้น โดยพบว่าครัวเรือนไทยเริ่มผิดนัดชำระหนี้ และมีหนี้เสียเป็นวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะกลุ่มผู้กู้อายุน้อย ซึ่งมีหนี้เร็วและมีสัดส่วนผู้กู้ที่มีหนี้เสียมากอยู่แล้วก่อนเกิดวิกฤต

สำหรับประเด็นด้านสังคม งานวิจัยนี้ได้ฉายภาพความเปราะบางของสังคมไทยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และอาจเป็นอุปสรรคสำคัญในการที่หลายภาคส่วนจะร่วมมือกันดำเนินนโยบายเพื่อแก้ไขความเปราะบางทางเศรษฐกิจได้อย่างลุล่วง โดยคณะผู้วิจัยได้ทำการสำรวจออนไลน์ในโครงการ “คิดต่าง อย่างมีภูมิ” ตั้งแต่เดือนสิงหาคม–กันยายน 2564 จากกลุ่มตัวอย่างกว่า 2,000 รายที่สามารถสะท้อนความหลากหลายทางเศรษฐกิจและสังคมของไทยได้ และพบว่า ความสมานฉันท์ในสังคมไทยอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับคุณภาพสังคมด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะในมิติของความเชื่อมั่นในองค์กรที่อยู่ในระดับต่ำในกลุ่มคนรุ่นใหม่ หากวัดจากทัศนคติและค่านิยม ผู้วิจัยพบว่า คนรุ่นใหม่มีค่านิยมค่อนไปทางเสรีนิยมมากกว่าคนรุ่นเก่าอย่างมีนัยสำคัญ และความ “คิดต่าง” ของคนในสังคมอาจนำไปสู่ความแตกแยกทางสังคมได้ เพราะกลุ่มที่คิดต่างมักมีความรู้สึกไม่ดีต่อคนต่างความคิด และมองความต่างระหว่างสองกลุ่มมากเกินกว่าความเป็นจริง

นอกจากนั้น คณะผู้วิจัยพบว่า ความต่างวัย และพฤติกรรมการบริโภคสื่อด้านเดียวมีความสัมพันธ์ต่อความแตกแยกทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญ ในทางกลับกัน ความมั่นคงในชีวิต การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนที่คิดต่าง อาจช่วยลดความแตกแยกได้ และที่น่าสนใจ คือ คนที่คิดต่าง อาจไม่ได้ต่างอย่างที่คิด โดยแท้จริงแล้วคนสองกลุ่มมีความเห็นตรงกันในเชิงนโยบายหลายประการ เช่น รัฐควรจัดเก็บภาษีให้มากขึ้นเพื่อพัฒนาบริการขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพสูง คะแนนเสียงของทุกคนควรมีค่าเท่ากันในการเลือกตั้ง เป็นต้น ผลการศึกษานี้สะท้อนความเปราะบางของสังคมไทย ซึ่งหากไม่แก้ไข ก็อาจเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาความเปราะบางทางเศรษฐกิจ นำไปสู่ความเหลื่อมล้ำที่สูงขึ้น ดังนั้น การปลดล๊อคความเปราะบางทางสังคมถือเป็นกุญแจสำคัญ และสามารถเริ่มแก้ไขได้ด้วยการ “คิดต่าง อย่างมีภูมิ” โดย เปิดใจ ที่จะมองเห็นเข้าใจมุมมองคนคิดต่าง รับฟัง คนรอบข้าง คนคิดต่าง รับข้อมูลหลากหลาย พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และ ร่วมมือ แก้ไขปัญหาด้วยกันระหว่างหลายภาคส่วน เพื่อสร้าง “ความสมานฉันท์ในสังคมไทย” ซึ่งจะนำมาสู่การแก้ไขปัญหาความเปราะบางของประเทศอย่างตรงจุด ทันเวลา และนำมาสู่สังคมไทยที่มีการพัฒนาที่ทั่วถึงและยั่งยืน

สุพริศร์ สุวรรณิก
สุพริศร์ สุวรรณิก
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
ธนิสา ทวิชศรี
ธนิสา ทวิชศรี
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Topics: MacroeconomicsWelfare EconomicsDevelopment Economics
Tags: megatrendsgeopoliticstechnological disruptionclimate changeaging societyhousehold debtsocial cohesionpolarization
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สุพริศร์ สุวรรณิก
สุพริศร์ สุวรรณิก
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
ธนิสา ทวิชศรี
ธนิสา ทวิชศรี
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email