Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
TH
EN
Research
Research
Discussion Paper
PIERspectives
aBRIDGEd
PIER Blog
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
Discussion Paper ล่าสุด
Exchange Rate Effects on Firm Performance: A NICER Approach
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
aBRIDGEd ล่าสุด
ผลกระทบของการขึ้นค่าเล่าเรียนต่อการตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัย
Events
Events
Conferences
Research Workshops
Policy Forums
Seminars
Exchanges
Research Briefs
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
งานประชุมเชิงปฏิบัติการต่อไป
Joint NSD-PIER Applied Microeconomics Research Workshop
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
งานสัมมนาล่าสุด
Special Economic Zones and Firm Performance: Evidence from Vietnamese Firms
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Puey Ungphakorn Institute for Economic Research
Community
Community
PIER Research Network
Visiting Fellows
Funding and Grants
PIER Research Network
PIER Research Network
Funding & Grants
Funding & Grants
About Us
About Us
Our Organization
Announcements
PIER Board
Staff
Work with Us
Contact Us
Staff
Staff
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
ประกาศล่าสุด
Call for Papers: PIER Research Workshop 2025
PIER Research Briefsbriefs
QR code
Year
2024
2023
2022
2021
...
/static/a9763138b9207244bb92f1f9e130a354/41624/photo.jpg
9 กันยายน 2565
20221662681600000

เจาะลึกเงินเฟ้อไทยผ่านข้อมูลราคาสินค้าและบริการรายย่อย

เจาะลึกเงินเฟ้อไทยผ่านข้อมูลราคาสินค้าและบริการรายย่อย

เนื้อหาการบรรยายในงาน PIER Research Brief นี้ ถูกกลั่นกรองจากบทความ เจาะลึกเงินเฟ้อไทยผ่านข้อมูลราคาสินค้าและบริการรายย่อย

งานวิจัยของ ดร.พิม มโนพิโมกษ์ คุณชัยธัช จิโรภาส ธนาคารแห่งประเทศไทย และ ดร.นุวัต หนูขวัญ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ใช้ข้อมูลราคาสินค้าและบริการรายย่อยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เพื่อวิเคราะห์เงินเฟ้อไทยในเชิงลึก สรุปว่า เงินเฟ้อไทยไม่ค่อยอ่อนไหวไปกับปัจจัยมหภาค เช่น วัฏจักรเศรษฐกิจ แต่ถูกขับเคลื่อนโดยปัจจัยเฉพาะของแต่ละสินค้าเป็นสำคัญ โดยเฉพาะสินค้าในหมวดพลังงาน อย่างไรก็ตาม ผลของปัจจัยเฉพาะไม่ได้มีการส่งผ่านไปสู่ราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ ในวงกว้างเท่าใดนัก ส่วนหนึ่งสะท้อนถึง ความสามารถของธนาคารกลางในการยึดเหนี่ยวเงินเฟ้อคาดการณ์ของสาธารณชน ทำให้เงินเฟ้อที่มาจากปัจจัยเฉพาะสามารถคลี่คลายไปได้เองและไม่ส่งผลยืดเยื้อ

ดร.นุวัต ให้ข้อสังเกตว่า การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการในระดับจุลภาคมีความแตกต่างกันมากในแต่ละเดือน ทั้งในแง่ของขนาดและทิศทางการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีทั้งสูงและต่ำไปกว่าตัวเลขรวม เช่น ในช่วงต้นปี 65 การเปลี่ยนแปลงของราคาเนื้อสุกรเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าสูงถึง 22.6% ในขณะที่ราคาสินค้าหลายรายการไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับลดลง ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้ารายย่อยที่มีความแตกต่างกันมากย่อมสะท้อนให้เห็นว่า shock หรือปัจจัยขับเคลื่อนเงินเฟ้อมีความหลากหลาย โดยบทความนี้ แบ่งปัจจัยดังกล่าวออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่

  1. ปัจจัยร่วม หรือปัจจัยมหภาค ที่ส่งผลต่อราคาสินค้าและบริการในวงกว้าง เช่น วัฏจักรเศรษฐกิจ หรือการดำเนินนโยบายการเงิน เป็นต้น และ
  2. ปัจจัยเฉพาะ ที่ส่งผลต่อราคาสินค้าหรือบริการบางประเภทเท่านั้น เช่น ผลจากโรคระบาดในสุกรข้างต้น สภาพอากาศแปรปรวนที่กระทบราคาผักผลไม้ มาตรการภาครัฐที่อุดหนุนค่าน้ำค่าไฟ เป็นต้น

ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของปัจจัยร่วมต่อเงินเฟ้อไทยในช่วงที่ผ่านมาลดน้อยลงมาก ในขณะที่ปัจจัยเฉพาะสินค้ามีความสำคัญมากขึ้น โดยสามารถอธิบายความผันผวนของเงินเฟ้อไทยได้สูงถึง 85% ส่วนใหญ่แล้วมาจากปัจจัยเฉพาะที่กระทบสินค้าในหมวดพลังงาน เช่น น้ำมันขายปลีกในประเทศ ซึ่งสะท้อนสัดส่วนการนำเข้าน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงของไทย ประกอบกับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีความผันผวนสูง ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อไทยเป็นปัจจัยด้านอุปทานเป็นหลัก

คุณชัยธัชเล่าว่า ด้วยความสามารถของธนาคารกลาง (ธปท.) ที่สามารถยึดเหนี่ยวเงินเฟ้อคาดการณ์ของสาธารณชนได้เป็นอย่างดีในช่วงที่ผ่านมา มีส่วนทำให้ปัจจัยเฉพาะมีบทบาทสูงขึ้นในการอธิบายเงินเฟ้อไทย ผ่านสองช่องทางสำคัญ โดยทำให้ราคาสินค้าและบริการรายย่อยอ่อนไหวไปกับวัฏจักรเศรษฐกิจน้อยลง เนื่องจากผู้ประกอบการเชื่อว่าธนาคารกลางจะสามารถดูแลเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบเป้าหมายได้ โดยผลการวิจัยพบว่า ราคาสินค้าและบริการในตะกร้าเงินเฟ้อไทยเกินครึ่งไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับอุปสงค์ส่วนเกินในเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยมหภาคที่สำคัญปัจจัยหนึ่ง นอกจากนี้ ยังส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงของราคาในหมวดย่อยที่เป็นผลจากปัจจัยเฉพาะ ไม่ส่งผ่านไปยังราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ เป็นวงกว้างอีกด้วย ทั้งนี้ ปัจจัยเฉพาะที่เกิดขึ้นในหมวดสินค้าหนึ่ง ๆ สามารถอธิบายความผันผวนของราคาในหมวดอื่น ๆ ได้โดยเฉลี่ยเพียงแค่ 3% เท่านั้น จึงทำให้เงินเฟ้อที่มาจากปัจจัยเฉพาะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวและไม่ยืดเยื้อ

ในบริบทของไทยที่ปัจจัยเฉพาะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเงินเฟ้อ การดำเนินนโยบายการเงินจึงย่อมมีความท้าทาย เนื่องจากปัจจัยเฉพาะเหล่านี้มักมีความผันผวนสูงและเกิดจากปัจจัยด้านอุปทานที่นโยบายการเงินไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้น ผู้ดำเนินนโยบายควรมองผ่าน (look through) ความผันผวนระยะสั้นเหล่านี้ และให้ความสำคัญกับการปรับตัวของเงินเฟ้อเข้าสู่กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อในระยะปานกลางเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี หากปัจจัยเฉพาะมีความรุนแรงและยืดเยื้อขึ้น ธนาคารกลางอาจจำเป็นต้องเข้าดูแลเพื่อยึดเหนี่ยวเงินเฟ้อคาดการณ์ของสาธารณชน

นอกจากนี้ ผลการวิจัยนี้ยังมีนัยต่อการติดตามและประเมินความเสี่ยงต่อเงินเฟ้อสำหรับการดำเนินนโยบายการเงิน โดยมีความจำเป็นมากขึ้น ที่ต้องอาศัยข้อมูลราคาในเชิงลึกเพื่อวิเคราะห์ที่มาของเงินเฟ้อ และประเมินการส่งผ่านผลกระทบของปัจจัยเฉพาะที่เกิดขึ้นนั้นด้วย

ชมคลิปวีดีโอ
Topics: MacroeconomicsMonetary economicsEconometrics
Tags: inflationrelative pricescommon component
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
พิม มโนพิโมกษ์
พิม มโนพิโมกษ์
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ชัยธัช จิโรภาส
ชัยธัช จิโรภาส
ธนาคารแห่งประเทศไทย
นุวัต หนูขวัญ
นุวัต หนูขวัญ
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์: 0-2283-6066

Email: pier@bot.or.th

เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2568 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

เอกสารเผยแพร่ทุกชิ้นสงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported license

Creative Commons Attribution NonCommercial ShareAlike

รับจดหมายข่าว PIER

Facebook
YouTube
Email